เด็กพัฒนาการช้าเป็นยังไง พร้อมวิธีสังเกตเมื่อเด็กมีพัฒนาการล่าช้า

เด็กพัฒนาการช้าเป็นยังไง พร้อมวิธีสังเกตเมื่อเด็กมีพัฒนาการล่าช้า

04.10.2024

เด็กพัฒนาการช้า อาจเกิดจากหลายสาเหตุทั้งปัจจัยทางพันธุกรรม สุขภาพ ปัญหาจากการคลอด หรือแม้แต่การเลี้ยงดู การเข้าใจสาเหตุของปัญหาจะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถหาแนวทางแก้ไขและส่งเสริมพัฒนาการของลูกได้อย่างถูกต้อง และตรงจุด บทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กพัฒนาการล่าช้า พร้อมทั้งแนะนำวิธีการกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสม

headphones

PLAYING: เด็กพัฒนาการช้าเป็นยังไง พร้อมวิธีสังเกตเมื่อเด็กมีพัฒนาการล่าช้า

อ่าน 7 นาที

 

สรุป

  • เด็กพัฒนาการช้า จะมีลักษณะของพัฒนาการที่ล่าช้ากว่าเด็กในช่วงวัยเดียวกัน ซึ่งเด็กพัฒนาการช้าไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับพัฒนาการด้านใดก็ตาม จะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านที่เหลือให้ล่าช้าตามไปด้วย
  • เด็กพัฒนาการช้า สาเหตุอาจมาจากพันธุกรรม เช่น พ่อแม่ หรือญาติพี่น้อง มีประวัติยีน หรือโครโมโซมผิดปกติ
  • เด็กพัฒนาการช้า สามารถสังเกตได้จากความผิดปกติของอวัยวะในร่างกาย ได้แก่ ใบหู ดวงตา จมูก ปาก ลิ้น ผิวหนัง รวมทั้งแขนขาและลำตัว

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

พัฒนาการ (Child Development) คือกระบวนการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ทักษะทางสังคม อารมณ์ และสติปัญญา ซึ่งต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่องตามแต่ละช่วงวัยของเด็ก การสังเกตพัฒนาการของลูกตั้งแต่แรกเกิดจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งในเด็กปกติจะมีลำดับขั้นของพัฒนาการ หากพบว่าเด็กมีพัฒนาการช้าเกิน 6 เดือน เป็นไปได้ว่าลูกของคุณพ่อคุณแม่อาจมีความผิดปกติทางพัฒนาการไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่ง จำเป็นที่จะต้องพบแพทย์เฉพาะทางเด็ก เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย และได้รับการกระตุ้นพัฒนาการอย่างทันที

 

เด็กพัฒนาการช้าเป็นอย่างไร

เด็กพัฒนาการช้า จะมีลักษณะของพัฒนาการที่ล่าช้ากว่าเด็กในช่วงวัยเดียวกัน ซึ่งเด็กพัฒนาการช้าไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับพัฒนาการด้านใดก็ตาม จะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านที่เหลือให้ล่าช้าตามไปด้วย คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตพัฒนาการล่าช้าในแต่ละด้านของลูกได้ดังนี้

  • พัฒนาการด้านสติปัญญา: ไม่เข้าใจคำสั่ง ไม่สามารถใช้ความคิดในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างสมวัย
  • พัฒนาการด้านร่างกาย: การเคลื่อนไหวร่างกายทั้งส่วนกล้ามเนื้อมัดเล็ก และกล้ามเนื้อมัดใหญ่ พลิกตัว คลาน ลุก นั่ง ยืน เดิน และการใช้มือในการจับดินสอขีดเขียนไม่เป็นไปตามพัฒนาการของช่วงวัย
  • ด้านการพูดสื่อสาร: พูดไม่เป็นคำ ไม่เข้าใจที่คนรอบข้างพูดสื่อสารกัน
  • พัฒนาการด้านอารมณ์และการเข้าสังคม: ไม่เข้าใจคำพูดหรือคำสั่งง่าย ๆ ไม่มองหน้า ไม่สบตา และไม่แสดงอารมณ์ร่วมใด ๆ และไม่เล่นกับใคร

 

เด็กพัฒนาการช้า เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง

สาเหตุที่ทำให้เด็กพัฒนาการช้า พัฒนาการไม่สมวัยเหมือนกับเพื่อนวัยเดียวกัน เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่

  1. พันธุกรรม: ที่ได้รับมาจากพ่อแม่ หรือญาติพี่น้องมีประวัติยีน หรือโครโมโซมผิดปกติ
  2. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม: ไม่เคยได้รับการกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการตามช่วงวัย หรือได้รับโภชนาการที่ไม่มีประโยชน์ สารอาหารไม่ครบ ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  3. สภาพแวดล้อมไม่ดี: ได้รับการเลี้ยงดูมาในสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากพ่อแม่ดีเท่าที่ควร
  4. การติดเชื้อ: เด็กอาจได้รับการติดเชื้อขณะอยู่ในครรภ์คุณแม่ หรือหลังคลอดมีการติดเชื้อรุนแรง ป่วยเยื้อหุ้มสมองอักเสบ
  5. ความผิดปกติของระบบประสาท: อาจเกิดจากการเป็นโรคทางสมองและระบบประสาท ที่ส่งผลทำให้มีความบกพร่องต่อพัฒนาการ เช่นเด็กมีอาการชัก มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อจนไม่สามารถขยับเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างเหมาะสม

 

เด็กพัฒนาการช้า เกิดจากความผิดปกติของร่างกายหรือเปล่า

อยากรู้ว่าลูกเป็นเด็กพัฒนาการช้าหรือไม่ คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตความผิดปกติของลูกได้จากอวัยวะของร่างกาย ได้แก่

  1. หูผิดปกติ: ลักษณะของใบหูผิดรูป ใบหูอาจจะอยู่ตรงตำแหน่งที่สูงหรือต่ำจากตำแหน่งปกติ ติ่งหูมีความยาวมากกว่าติ่งหูปกติ และไม่มีรูหู
  2. ผิวหนังผิดปกติ: มีปานบนผิวหนังเกิน 6 จุด ลักษณะของผิวตัวจะเป็นสีหลือง และมีปานเป็นริ้ว ๆ สีขาวหรืออาจเป็นสีดำ
  3. ตาผิดปกติ: ดวงตาทั้งสองข้างอาจจะเหล่เข้า เหล่ออก หรือห่างกันจนผิดปกติ เห็นแสงสะท้อนของรูม่านตาเป็นสีขาว
  4. จมูกผิดปกติ: ลักษณะของดั้งจมูกมีความบี้มาก หรืออาจเชิดสูงมากกว่าปกติ ไม่ตอบสนองต่อกลิ่นต่าง ๆ
  5. ปากผิดปกติ: ไม่เห็นริมฝีปาก มีภาวะของปากแหว่งเพดานโหว่ พูดติดอ่าง พูดไม่ชัด และไม่ส่งเสียงตอบโต้ตามวัย
  6. ลิ้นผิดปกติ: เวลาพูดจะเห็นลิ้นออกมาจากปากเนื่องจากลิ้นใหญ่ และมีน้ำลายไหลย้อยออกจากปาก ไม่เคี้ยวหรือกลืนอาหาร
  7. แขนขาและลำตัวผิดปกติ: กล้ามเนื้อแขนขามีการเกร็งมาก มีการยึดติดของข้อต่อต่าง ๆ ทำให้มีความยากลำบากในการเคลื่อนไหว และแขนขาทั้งสองข้างมีความยาวไม่เท่ากัน

 

เหล่านี้เป็นลักษณะอาการเบื้องต้นที่แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่สังเกต อย่างไรก็ดี จำเป็นได้รับการตรวจวินิจฉัยยืนยันจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และรับคำแนะนำต่อไป

 

เด็กพัฒนาการช้า ต่างกับเด็กออทิสติกยังไง

เด็กพัฒนาการช้าและเด็กออทิสติก เป็นสองภาวะที่มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นภาวะเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงทั้งสองภาวะนี้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน การทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างสองภาวะนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการวินิจฉัยและการวางแผนการรักษาที่เหมาะสมสำหรับเด็ก

  • เด็กพัฒนาการช้า (Developmental Delay in Children) คือจะมีทักษะพัฒนาการของช่วงวัยบางด้านที่ช้ากว่าเกณฑ์ ซึ่งหากได้รับการแก้ไข และการกระตุ้นจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้เร็ว ก็จะสามารถกลับมามีพัฒนาการเท่าทันกับเด็กที่อยู่ในวัยเดียวกัน
  • เด็กออทิสติก (Autism spectrum disorder: ASD) ออทิสติกในเด็ก เป็นโรคที่มีความผิดปกติทางระบบประสาท ไม่สามารถที่จะหายได้เอง ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น หรือมีปัญหาในการเข้าสังคม รวมถึงมีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสารที่ล่าช้า

 

ลูกพัฒนาการล่าช้าแบบไหน ควรปรึกษาแพทย์

 

ลูกพัฒนาการล่าช้าแบบไหน ควรปรึกษาแพทย์

การสังเกตพัฒนาการตามช่วงวัยจะทำให้ทราบว่าลูกมีพัฒนาการล่าช้า เด็กพัฒนาการเร็ว หรือพัฒนาการเป็นปกติหากพบว่าลูกมีพัฒนาการไม่เป็นไปตามตารางพัฒนาการตามวัยเกิน 6 เดือนขึ้นไป ถือว่ามีความผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการอย่างเร็ว

  • ลูกอายุ 1-2 เดือน ไม่ตอบสนองต่อเสียงรอบข้าง
  • ลูกอายุ 6 เดือน ยังไม่พลิกคว่ำ ไม่ส่งเสียงอ้อแอ้
  • ลูกอายุ 9 เดือน ยังนั่งเองไม่ได้ ไม่แสดงอารมณ์ใด ๆ และไม่เล่นสนุก
  • ลูกอายุ 12 เดือน ไม่สนใจ ไม่สื่อสารกับคนรอบข้าง

 

เด็กพัฒนาการล่าช้า มีวิธีป้องกันไหม

ถึงแม้ว่าพัฒนาการล่าช้าที่เกิดขึ้นกับเด็กนั้นแม้จะไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันไม่ให้ลูกเป็นเด็กพัฒนาการล่าช้าได้ ด้วยวิธีการเบื้องต้นดังนี้

  • ขณะตั้งครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมีหรือสารพิษ และไปพบคุณหมอตามนัด เพื่อรับการตรวจ ติดตามสุขภาพครรภ์ตลอด 9 เดือน
  • หลังคลอด หากสังเกตพบว่าลูกมีความผิดปกติของพัฒนาการที่ไม่เป็นไปตามช่วงวัย แนะนำให้พาไปพบแพทย์ เพราะหากได้รับการตรวจวินิจฉัยและกระตุ้นพัฒนาการก่อนอายุ 3 ปี จะส่งผลที่ดีต่อพัฒนาการในระยะยาวของเด็ก

 

อยากกระตุ้นพัฒนาการให้ลูก ทำยังไงได้บ้าง

เด็กพัฒนาการช้า คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยกระตุ้นพัฒนาการให้ลูกได้ดังนี้

  • พูดคุยกับกุมารแพทย์ ขอคำปรึกษา และแนวทางในการกระตุ้นพัฒนาการในด้านที่ล่าช้า
  • ทำกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการ อาทิเช่น การกระตุ้นการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กด้วยการให้เล่นปั้นดินน้ำมัน หรือพาลูกเที่ยวเล่นนอกบ้าน พบเพื่อนในวัยเดียวกัน จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์และสังคมให้ลูก
  • อ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟัง เพื่อเป็นการเพิ่มคลังคำศัพท์ เนื่องจากนิทานสำหรับเด็กทารก จะช่วยกระตุ้นทักษะด้านภาษาให้กับลูก
  • ไม่ควรหยิบยื่นหน้าจอต่าง ๆ ให้ลูกดู หรือให้ลูกเล่นก่อนวัย 2 ปี

 

ทั้งนี้เพื่อพัฒนาการการเจริญเติบโตของร่างกาย และพัฒนาการสมองการเรียนรู้ของลูกน้อยที่สมวัย คุณแม่ควรให้ลูกกินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด เนื่องจากนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด อุดมไปด้วยสารอาหารที่สำคัญต่อพัฒนาการ เช่น ดีเอชเอ วิตามิน แคลเซียม แอลฟา-แล็คตัลบูมิน และสฟิงโกไมอีลิน ซึ่งช่วยในพัฒนาการสมอง สติปัญญา และการเจริญเติบโตของลูกให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น

 

หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกมีพัฒนาการล่าช้า เมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน อย่าเพิ่งวิตกกังวลเกินไป การสังเกตและการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะพัฒนาการของเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน การได้รับการวินิจฉัยและการบำบัดที่ถูกต้อง จะช่วยให้ลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่ได้รับการกระตุ้นและมีพัฒนาการที่เหมาะสมได้

 

บทความแนะนำสำหรับพัฒนาการลูกน้อย

 

 

อ้างอิง:

  1. 5 สัญญาณบ่งบอก ลูกน้อยพัฒนาการล่าช้า, โรงพยาบาลสินแพทย์
  2. พัฒนาการเด็ก…สำคัญอย่างไร?, โรงพยาบาลกรุงไทย
  3. พัฒนาการของเด็กตามช่วงวัย, โรงพยาบาลเปาโล
  4. พัฒนาการเด็ก (Child Development), สถาบันราชานุกุล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
  5. เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ, สถาบันราชานุกุล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
  6. พัฒนาการล่าช้าในเด็ก (Developmental Delay in Children), MedPark Hospital
  7. เด็กพัฒนาการล่าช้า, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  8. 4 สิ่งผิดปกติบ่งบอกว่าลูกรักเป็น “เด็กพัฒนาการล้าช้า”, โรงพยาบาลพญาไท

อ้างอิง ณ วันที่ 8 สิงหาคม 2567
 

บทความแนะนำ

Overfeeding คืออะไร ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป อันตรายแค่ไหน

Overfeeding คืออะไร ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป อันตรายแค่ไหน

Overfeeding คืออะไร คุณแม่ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป จะเป็นอันตรายกับลูกน้อยไหม ลูกน้อยจะมีอาการอย่างไร เมื่อให้นมลูกเยอะเกิน พร้อมวิธีให้นมลูกน้อยที่ถูกต้อง

ไขบนหัวทารก เกิดจากอะไร คุณแม่ดูแลไขที่หัวทารกได้อย่างไรบ้าง

ไขบนหัวทารก เกิดจากอะไร คุณแม่ดูแลไขที่หัวทารกได้อย่างไรบ้าง

ไขบนหัวทารก เกิดจากสาเหตุอะไร ไขที่หัวทารกอันตรายไหมกับลูกน้อยไหม ไขที่หัวทารกกี่วันถึงหายไป ต้องพาลูกน้อยไปพบแพทย์ไหม พร้อมวิธีดูแลและทำความสะอาดไขบนหัวลูก

ลูกกัดเต้าเป็นแผลมีหนอง ลูกกัดหัวนมทำยังไงดี พร้อมวิธีดูแลตัวเอง

ลูกกัดเต้าเป็นแผลมีหนอง ลูกกัดหัวนมทำยังไงดี พร้อมวิธีดูแลตัวเอง

ลูกกัดเต้าเป็นแผลมีหนอง ทำยังไงดี ลูกกัดเต้าจนหัวนมแม่เป็นแผล คุณแม่ให้นมลูกต่อได้ไหม ทำไมลูกถึงชอบกัดหัวนมแม่ พร้อมวิธีรับมือเมื่อลูกกัดเต้าเป็นแผล

วิธีไล่ลมในท้องทารก เมื่อลูกน้อยมีอาการท้องอืด ไม่สบายท้อง

วิธีไล่ลมในท้องทารก เมื่อลูกน้อยมีอาการท้องอืด ไม่สบายท้อง

วิธีไล่ลมในท้องทารก คุณพ่อคุณแม่ทำยังไงได้บ้าง เมื่อลูกน้อยรู้สึกท้องอืด ไม่สบายท้อง การไล่ลมในท้องทารกต้องทำยังไง ไปดูวิธีไล่ลมในท้องทารก ช่วยให้ลูกสบายท้องกัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก