ล้างจมูกทารก แบบไหนปลอดภัย ล้างยังไงไม่ให้ลูกกลัว

ล้างจมูกทารกได้ตั้งแต่กี่เดือน แบบไหนปลอดภัย ไม่ทำให้ลูกกลัว

23.04.2024

จมูกของทารก เมื่อมีน้ำมูกก็อาจจะทำให้เขาหายใจไม่สะดวก คุณแม่ลองสังเกตดูแล้วก็คงจะรู้สึกอึดอัดแทนได้ แต่จะให้ยานอกเหนือคำแนะนำของแพทย์ก็ไม่ใช่วิธีการทสมควรสำหรับลูกน้อยในวัยแบเบาะ วิธีที่สามารถทำได้เองที่บ้านและปลอดภัย คือการล้างจมูก คุณแม่บางท่านอาจจะรู้สึกกังวลเพราะว่าการล้างจมูกจะดูคล้ายว่าปลอดภัยแต่ว่าต้องลงมือทำด้วยตัวเองก็คงระแวงว่ามีสิ่งที่ไม่รู้หรือทำไม่ถูกหรือเปล่า บทความนี้จะอธิบายทั้งเหตุผลที่ควรล้างจมูกให้ทารก ความถี่ที่เหมาะสม อุปกรณ์ที่ต้องใช้และลำดับวิธีการ

headphones

PLAYING: ล้างจมูกทารกได้ตั้งแต่กี่เดือน แบบไหนปลอดภัย ไม่ทำให้ลูกกลัว

อ่าน 7 นาที

 

สรุป

  • การล้างจมูกควรทำวันละ 2 ครั้ง และอาจจะทำได้ 3-4 ครั้ง ถ้าสังเกตว่าลูกน้อยมีน้ำมูกเยอะ
  • อายุที่เหมาะสมที่จะทำการล้างจมูกได้คือตั้งแต่แรกเกิด และจริง ๆ แล้วคุณแม่เองก็สามารถล้างจมูกได้เหมือนกัน เป็นกิจกรรมดี ๆ เพื่อสุขภาพในครอบครัว
  • เพื่อความปลอดภัย ไม่ระคายเคืองโพรงจมูกและป้องกันการติดเชื้อซ้ำซ้อน ควรล้างจมูกตามที่แพทย์แนะนำ
  • ในระหว่างขั้นตอนการล้างจมูกทารก สามารถใช้ได้ทั้งกระบอกฉีดยาและลูกยาง และควรจะหมั่นพูดคุยกับลูกน้อย ร้องเพลง นำของเล่นมาไว้ในมือเขา และพูดชื่นชมเขาหลังล้างจมูกเรียบร้อยแล้ว เสียงของคุณแม่และความใส่ใจจะทำให้ลูกน้อยสบายใจด้วย เป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมเชิงบวกเพื่อให้ลูกน้อยมีท่าทีร่วมมือในการล้างจมูกครั้งต่อ ๆ ไป

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ทำไมต้องล้างจมูกให้ทารก

ลูกน้อยสามารถเกิดอาการเป็นหวัดคัดจมูกในเด็กได้เช่นเดียวกับวัยผู้ใหญ่ ลองคิดดูว่าผู้ใหญ่อย่างเราเวลาคัดจมูก ยังน่ารำคาญเลย ลูกน้อยน่าจะรู้สึกไม่ต่างกัน แต่ด้วยวัยจึงไม่สามารถดูแลและจัดการกับตัวเองได้ เพราะแบบนั้นถ้าหากว่าคุณแม่ล้างจมูกให้ ก็จะเป็นการช่วยลูกน้อยให้สามารถหายใจทางจมูกได้ง่าย ทำให้ลูกน้อยโล่งจมูกและมีความสุขในขณะที่ดื่มนมจากอกแม่ด้วย

 

ล้างจมูกให้ทารกได้บ่อยแค่ไหน

  • อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ตื่นนอนตอนเช้าและก่อนเข้านอน หรือมากกว่านั้นได้ แต่ไม่ควรเกินวันละ 3-4 ครั้ง
  • เมื่อรู้สึกว่ามีน้ำมูกข้น คัดจมูก
  • แนะนำให้ทำขณะท้องว่าง เพราะจะไม่ทำให้อาเจียน

 

การล้างจมูกทารก มีประโยชน์มากกว่าที่คิด

ลูกน้อยสามารถมีน้ำมูกไหลโดยเฉลี่ยถึงหนึ่งลิตรต่อวัน และจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อน้องเป็นหวัด ซึ่งเกิดขึ้นโดยเฉลี่ย 6-8 ครั้งต่อปี ส่วนใหญ่มักมีน้ำมูกมากในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤษภาคม เพราะฉะนั้นช่วงเดือนเหล่านี้ให้คุณแม่สามารถเตรียมศึกษาวิธีล้างจมูกทารกได้เลย

  • จมูกของลูกน้อยเหมือนกับผู้ใหญ่ ในชีวิตประจำวันทั้งสูดฝุ่น ละอองเกสรดอกไม้ สะเก็ดผิวหนังหรือขนของสัตว์เลี้ยง ฯลฯ เข้าไป การล้างจมูกทำความสะอาด จะเพิ่มและคงความชุ่มชื้นแก่ช่องจมูก และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานกรองอนุภาคต่าง ๆ ด้วย
  • กำจัดชะล้างสารคัดหลั่งออกไป คือ น้ำมูกนั่นเอง
  • ลดอาการคัดจมูก เป็นผลให้เมื่อไม่มีการสะสมของน้ำมูกและหายใจสะดวกขึ้น ทำให้จมูกชุ่มชื้น จะช่วยป้องกันเลือดกำเดาไหล
  • ลดความถี่และระยะเวลาของการเป็นหวัด
  • ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการคัดจมูก (หูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบ ไอ)
  • ควบคุมโรคหอบหืดได้ดีขึ้น

 

ล้างจมูกทารกได้ตั้งแต่กี่เดือน

  • ตั้งแต่แรกเกิดเลย การล้างจมูกเป็นวิธีที่ปลอดภัย
  • เด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี ไม่ควรได้รับยาลดน้ำมูกเพราะอาจมีผลข้างเคียงตามมา การใช้ยาลดน้ำมูกในเด็ก ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยา
  • เด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปีควรได้รับการดูแลในเบื้องต้น เช่น การใช้ลูกยางดูดน้ำมูก หรือ วิธีล้างโพรงจมูกที่ถูกต้อง ถ้าหากไม่ดีขึ้นหรือยังมีปัญหาจากการอาการน้ำมูกไหล คัดจมูก ควรปรึกษากุมารแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา รวมถึงเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดจากการใช้ยาได้

 

ล้างจมูกให้ทารก ต้องเตรียมอุปกรณ์อะไรบ้าง

  • ใช้น้ำเกลือตามที่แพทย์หรือเภสัชกรแนะนำ
  • ถ้วยสะอาดสำหรับใส่น้ำเกลือ
  • กระบอกฉีดยาพลาสติกขนาด 1 ซีซี (อาจจำเป็นต้องมีหลอดหยดกรณีเด็กอายุต่ำกว่า 1-5 ปี)
  • หลอดบีบดูดน้ำมูกและเสมหะ กรณีที่เด็กไม่สามารถสั่งน้ำมูกหรือไอออกมาเอง
  • กระบอกฉีดยาหรือลูกยาง เบอร์ 0-2 สำหรับใช้กับลูกน้อยอายุ 1 ขวบ
  • กระบอกฉีดยาหรือลูกยาง เบอร์ 2-4 สำหรับใช้กับลูกน้อยอายุมากกว่า 1 ปี
  • ภาชนะสำหรับเก็บขยะ ไว้ทิ้งกระดาษทิชชู่ และอุปกรณ์อื่น ๆ หลังใช้เสร็จแล้ว

 

ขั้นตอนการล้างจมูกให้ทารกอย่างถูกวิธี

  1. คุณแม่ต้องล้างมือทั้งสองให้สะอาด ควรถูสบู่และเช็ดมือด้วยผ้าสะอาดให้แห้ง
  2. ใช้กระบอกฉีดยาเพื่อดูดน้ำเกลือเข้าไป การเตรียมน้ำเกลือไว้ก่อน ให้เทน้ำเกลือลงในภาชนะสะอาดที่จะสามารถจุ่มส่วนดูดของกระบอกฉีดยาลงไปได้
  3. สำรวจด้วยสายตาว่าลูกน้อยอยู่ในท่านอนหรือนั่งที่สะดวกกับการล้างจมูก ในลูกรักวัยแรกเกิดอาจจะใช้ผ้าพันตัวไว้ด้วยหากไม่แน่ใจว่าลูกน้อยจะให้ความร่วมมือหรือกังวลว่าลูกน้อยจะเคลื่อนไหวไปมา การห่อตัวลูกน้อยจะช่วยให้การล้างจมูกของคุณแม่เป็นไปอย่างอ่อนโยน
  4. จัดท่าทางให้ลูกน้อยนอนหงาย ประคองศีรษะไว้ในท่ายกสูง เพื่อป้องกันการสำลัก
  5. จับศีรษะเด็กนิ่ง ๆ ค่อย ๆ หยดน้ำเกลือทีละ 2-3 หยด หรือค่อย ๆ ใส่กระบอกฉีดยาเข้าไปในรูจมูกข้างที่จะล้าง บีบน้ำเกลือครั้งละ 0.5 ซีซี ชิดด้านบนของจมูก ทำเบา ๆ ค่อย ๆ คุณแม่ควรลองฝึกบีบน้ำเกลือกับอุปกรณ์ที่มีก่อน จะได้กะแรงได้ถูก กระบอกฉีดยาแต่ละอันอาจจะฝืดไม่เท่ากัน หรือคุณแม่อาจจะใช้ลูกยางเบอร์เดียวกันที่มีแรงฉีดเบากว่า
  6. ใช้ลูกยางแดงที่สะอาด ดูดน้ำมูกหรือเสมหะออก โดยบีบอากาศทั้งหมดออกก่อน จากนั้นค่อย ๆ สอดเข้าไปในรูจมูกประมาณ 1-1.5 เซ็นติเมตร ค่อย ๆ คลายส่วนที่บีบเพื่อดูดน้ำมูกเข้าไปในลูกยางแดง จากนั้นบีบของเหลวลงในกระดาษทิชชู่
  7. ทำซ้ำหลาย ๆ ครั้งในรูจมูกแต่ละข้างจนกระทั่งไม่มีน้ำมูกเหลืออยู่
  8. มีเสมหะอยู่ในลำคอ ให้สอดลูกยางแดงเพื่อดูดเสมหะออกจากลำคอ หากต้องการให้เด็กไอเสมหะให้สอดปลายของลูกยางแดงสะอาดเข้าไปประมาณโคนลิ้นเพื่อกระตุ้นให้ไอและดูดเสมหะตามที่กล่าวข้างต้น ซึ่งต้องระวังด้วย ขณะดูดเสมหะให้จับหน้าลูกน้อยหันไปด้านใดด้านหนึ่งด้วย เพื่อป้องกันการหายใจไม่ออก

 

น้ำเกลือล้างจมูกทารกได้ตั้งแต่กี่เดือน ไขข้อข้องใจสำหรับคุณแม่

 

เคล็ดลับการล้างจมูกทารก แบบไม่ให้ลูกกลัว

การล้างจมูกทารก ลูกน้อยอาจมีความกังวลหรือไม่คุ้นเคยและงอแง เพื่อให้ลูกน้อยสบายใจและอาการไข้หวัดไม่แย่ลงด้วยความเครียด คุณแม่อาจจะยึดทำตามเคล็ดลับต่อไปนี้

  1. หากลูกดิ้นให้ใช้ผ้าห่อตัวเอาไว้ ป้องกันหลุดมือหรือว่าฟาดไปโดนสิ่งของทำให้เป็นอันตรายได้
  2. ใช้น้ำเสียงที่อ่อนโยน ไม่ดุ ไม่ทำเสียงแข็ง ให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลาย ลูกน้อยพร้อมจะฟังคุณแม่และมั่นใจในตัวคุณแม่มากกว่าถ้าแสดงความอ่อนโยนในการพูดคุยกับเขา
  3. เปิดเพลงผ่อนคลายคลอไปด้วย เพราะถ้าเครียดอาจจะทำให้อาการที่เป็นสาเหตุของน้ำมูกไหลอย่างไข้หวัดแย่ลงอีก ควรให้ผ่อนคลาย แล้วร่างกายจะแข็งแรงขึ้น
  4. เบี่ยงเบนความกลัวด้วยของเล่นชิ้นโปรด หรือการละเล่นโปรด ทั้งของเล่นชิ้นโปรดหรือการละเล่นต้องมีคุณแม่อยู่ด้วยกัน ลูกรักจะรู้สึกได้ถึงความรักและความใส่ใจ จึงผ่อนคลายขึ้น
  5. เมื่อล้างเสร็จให้ชื่นชม และกอดลูกทุกครั้ง เพราะจะทำให้เกิดสภาพแวดล้อมเชิงบวก เช่นเดียวกับการให้ยาที่ต้องรับประทาน การให้รางวัลเป็นแผนการเพื่อให้ลูกรักเลือกที่จะยอมรับการดูแลจากคุณแม่ และแสดงออกมาเป็นท่าทีที่เป็นมิตร

 

อากาศทุกปีจะมีช่วงที่ทำให้เด็ก ๆ เป็นหวัดได้ง่าย และเด็กแต่ละคนมีภูมิคุ้มกันไม่เท่ากัน ด้วยปัจจัยที่หลากหลาย เด็กบางคนอาจมีน้ำมูกที่เกิดจากโรคภูมิแพ้ในเด็ก แต่ทุกคนล้วนแต่มีอาการคัดจมูกได้ทั้งนั้น เวลาผู้ใหญ่สักคนคัดจมูกหรือมีน้ำมูกกับเสมหะมาก ก็รู้สึกไม่สบายตัว และบางทีต้องสั่งน้ำมูกหรือสูดหายใจแรง ๆ ทำเสียงแปลก ๆ อยู่ตลอด บ่อยครั้งก็รู้สึกเจ็บคอขึ้นมา ลูกรักของคุณแม่ก็เช่นกัน แต่เพราะว่าการล้างจมูกเป็นตัวช่วยได้ เพื่อจัดการกับปัญหามีน้ำมูกและเสมหะ ทั้งคุณแม่และลูกรักสามารถล้างจมูกไปด้วยกันได้ เป็นกิจกรรมเพื่อสุขภาพในครอบครัว

 
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

 

 

อ้างอิง:

  1. How to Clean Your Baby’s Nose, WebMD
  2. Saline Nasal Washes for Children, โรงพยาบาลนครธน
  3. Cleaning Baby’s Nose: Your How-To Guide, Healthline
  4. What Are the Benefits of Cleaning the Nose?, MedicineNet
  5. How to Clear a Baby's Stuffy Nose, Parents
  6. Use Caution When Giving Cough and Cold Products to Kids, FDA
  7. How to Safely Give Saline Drops to Babies, Verywell Health
  8. Colds, KidsHealth
  9. Soothing Your Sick Child, WebMD
  10. Medicine - Helping Children Take Oral Medication, Children's Minnesota
  11. ในเด็กเล็ก (ตำกว่า 2 ปี) มีนำมูกไหลมาก ๆ แต่ใส จนทำให้เด็กงอแงมาก สามารถให้ยาลดนำมูกได้หรือไม่ เนื่องจากหมอเด็กบางท่านไม่แนะนำ actifed / cpm จะมียากลุ่มใดหรือยาใดที่สามารถให้ได้คะ(นอกจาก dimetapp), หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  12. “ล้างจมูก” ไม่ยาก – วิธีการล้างจมูกที่ถูกต้อง, โรงพยาบาลศิครินทร์
  13. ล้างจมูกในเด็กอย่างไรให้ปลอดภัย เหมาะสมกับช่วงวัย, โรงพยาบาลนครธน

อ้างอิง ณ วันที่ 22 มีนาคม 2567

 

บทความแนะนำ

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เป็นเพราะอะไร คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลแบบไหน

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เป็นเพราะอะไร คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลแบบไหน

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท ทารกนอนหลับไม่สนิทบิดตัวไปมา เกิดจากสาเหตุอะไร ปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้คุณพ่อคุณแม่ ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท อันตรายหรือเปล่า ไปดูกัน

โรคซางในเด็กเล็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ดูแลและป้องกันได้หรือเปล่า

โรคซางในเด็กเล็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ดูแลและป้องกันได้หรือเปล่า

โรคซางในเด็กเล็ก เกิดจากสาเหตุอะไร หากลูกของคุณแม่มีอาการเหมือนจะเป็นโรคซาง มีไข้ เบื่ออาหาร หรือน้ำหนักลด คุณแม่ควรเฝ้าดูอาการและรีบพาไปพบแพทย์ทันที

วัคซีนเด็กแรกเกิด สำคัญแค่ไหน ลูกน้อยต้องฉีดอะไรบ้าง

วัคซีนเด็กแรกเกิด สำคัญแค่ไหน ลูกน้อยต้องฉีดอะไรบ้าง

วัคซีนเด็กแรกเกิดสำคัญกับลูกน้อยแค่ไหน ทำไมควรฉีดวัคซีนเด็กแรกเกิด เพื่อสร้างเกราะป้องกันและเสริมภูมิต้านทานโรคให้ลูก คุณแม่ควรเตรียมตัวให้ลูกน้อยอย่างไร ไปดูกัน

ลูกตัวร้อน ทำอย่างไรดี พร้อมวิธีสังเกตอาการลูกมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ

ลูกตัวร้อนอย่างเดียวทำไงดี พร้อมวิธีสังเกตเมื่อลูกตัวร้อนไม่ทราบสาเหตุ

ลูกตัวร้อนอย่างเดียว ลูกตัวร้อนมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ เกิดจากอะไร คุณแม่ดูแลลูกน้อยอย่างไรได้บ้าง หากลูกร้องไห้ไม่หยุด อ่อนเพลียและมีอาการอาเจียน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก