วัคซีนเด็กแรกเกิด สำคัญแค่ไหน ลูกน้อยต้องฉีดอะไรบ้าง

วัคซีนเด็กแรกเกิด สำคัญแค่ไหน ลูกน้อยต้องฉีดอะไรบ้าง

20.05.2024

แม้ในช่วงแรกเกิด เด็กแรกเกิดจะได้รับการดูแลเป็นอย่างดี แต่ก็ไม่ใช่ว่าเด็กแรกเกิดจะปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บและเชื้อโรคต่าง ๆ ที่มีเป็นจำนวนมากได้ หากเป็นในยุคโบราณที่ยังไม่มีทั้งตัวยาสมัยใหม่และวัคซีนแล้ว อัตราการรอดชีวิตของเด็กทารกก็คงจะน้อยกว่า

headphones

PLAYING: วัคซีนเด็กแรกเกิด สำคัญแค่ไหน ลูกน้อยต้องฉีดอะไรบ้าง

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • แม้เด็กแรกเกิดจะมีภูมิคุ้มกันแต่กำเนิดและภูมิคุ้มกันที่ได้จากนมแม่แล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่เพียงพอ
  • ปัจจุบันสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ได้กำหนดชนิดของวัคซีน และเวลาที่ควรได้รับวัคซีนเอาไว้ ซึ่งเป็นวัคซีนพื้นฐานที่เด็กไทยทุกคนควรได้รับ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
  • นอกจากวัคซีนพื้นฐานแล้ว ก็ยังมีวัคซีนเสริม ที่ไม่ใช่วัคซีนพื้นฐาน ที่แต่ละโรงพยาบาล หรือแต่ละสถานพยาบาลมีแตกต่างกัน ซึ่งสามารถขอรับวัคซีนเพิ่มเติมได้เช่นกัน
  • รายละเอียดให้สอบถามจากโรงพยาบาลที่ไปรับการคลอด หรือสถานพยาบาลของรัฐและเอกชนใกล้บ้าน

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

วัคซีนเด็กแรกเกิด โดยทั่วไปแล้วต้องฉีดอะไรบ้าง และฉีดเมื่อไหร่

โดยทั่วไปแล้ว ก่อนที่คุณแม่และลูกน้อยจะออกจากโรงพยาบาลเพื่อกลับบ้าน ก็จะได้รับวัคซีนพื้นฐานเลย ซึ่งตามที่สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย กำหนดไว้ว่าให้เด็กได้รับวัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG) วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ 1 (HB1) หากตรวจพบว่าคุณแม่เป็นพาหะของโรคไวรัสตับอับเสบบี เมื่อเด็กมีอายุ 1 เดือน จะต้องไปรับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี 2 (HB2) ด้วย หลังจากนั้นเมื่อเด็กมีอายุ 2 เดือน จะได้รับวัคซีนรวม 5 โรค คอตีบ,บาดทะยัก,ไอกรน,ตับอักเสบบี,ฮิบ (DTwP-HB-Hib) และวัคซีนโปลิโอชนิดฉีด (IPV) และวัคซีนโรต้า (Rota) โดยดำเนินการรับวัคซีนตามตารางการให้วัคซีนในเด็กไทย แนะนำโดย สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย 2567 เรื่อยไป ไปจนกว่าจะครบตามที่กำหนดไว้

 

ทำไม “นมแม่” จึงนับว่าเป็นวัคซีนชนิดแรกของเด็กทารก

เด็กทารก เมื่อคลอดออกมาแล้ว ก็จะได้รับภูมิคุ้มกันเริ่มแรกมาจากคุณแม่ผ่านนมแม่ และนมแม่เองก็มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ วิตามิน แคลเซียม สฟิงโกไมอีลินพัฒนาการสมองสติปัญญา และการเจริญเติบโตของลูก ทั้งยังมีสารภูมิคุ้มกันและจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายชนิด โดยจุลินทรีย์ที่ดีบางชนิดสามารถส่งเสริมการพัฒนาภูมิคุ้มกันได้อีกด้วย เช่น บีแล็กทิส (B. lactis) เป็นต้น ดังนั้น นมแม่ซึ่งเป็นอาหารมื้อแรกตามธรรมชาติของลูกน้อย จะเปรียบได้กับเป็นวัคซีนธรรมชาติชนิดแรกที่ลูกน้อยได้รับ

 

เด็กแรกเกิดอาจแพ้วัคซีนได้หรือไม่ และจะแสดงอาการอย่างไรบ้าง

ไม่ว่ายา อาหาร หรือวัคซีนใด ๆ ก็ตาม หากเป็นสารที่มนุษย์เราได้รับเข้าสู่ร่างกาย ก็มีความเสี่ยงที่จะแพ้ได้ ซึ่งไม่แตกต่างกับลูกน้อยที่ได้รับวัคซีน อาจจะมีอาการแพ้วัคซีนก็เป็นได้ โอกาสจะมากน้อยจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ดังนั้นทางสถานพยาบาลจะกำหนดให้เมื่อเด็กทารกได้รับวัคซีนแล้ว จึงให้รอดูอาการที่โรงพยาบาลก่อนเป็นเวลาอย่างต่ำ 30 นาที และเมื่อกลับบ้านแล้วให้สังเกตอาการต่อไปอีกเป็นเวลา 2-3 วัน หากลูกน้อยมีไข้ งอแง ไม่สบายตัว ไปจนถึงมีอาการรุนแรง ก็อาจจะเป็นอาการของการแพ้วัคซีนได้ ให้รีบพาลูกน้อยไปพบคุณหมอทันที

 

ตารางวัคซีนที่จำเป็นต้องได้รับ ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปีครึ่ง

อายุวัคซีนที่ต้องได้รับ
แรกเกิดวัคซีนวัณโรค (BCG), วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี (HBV1)
1 เดือนวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี (HBV2) 
2 เดือนวัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน ชนิดทั้งเซลล์ (DTwP) ,วัคซีนฮิบ (Hib-1), วัคซีนโปลิโอชนิดฉีด (IPV1) และวัคซีนโรต้า (Rota1)
4 เดือนวัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน ชนิดทั้งเซลล์ (DTwP) ,วัคซีนฮิบ (Hib-2), วัคซีนโปลิโอชนิดฉีด (IPV2) และวัคซีนโรต้า (Rota2)
6 เดือนวัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน ชนิดทั้งเซลล์ (DTwP) ,วัคซีนฮิบ (Hib-3), วัคซีนโปลิโอชนิดฉีด (IPV3) และวัคซีนโรต้า (Rota3)
9 - 12 เดือนวัคซีนรวม หัด,คางทูม,หัดเยอรมัน (MMR1) และวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี ( JE1)
18 เดือน วัคซีนรวม คอตีบ,บาดทะยัก,ไอกรน (DTwP เข็มกระตุ้น 1), โปลิโอชนิดกิน (OPV กระตุ้น 1) และวัคซีนรวม หัด,คางทูม,หัดเยอรมัน (MMR2)
2 – 2.5 ปีไข้สมองอักเสบเจอี (JE2)

    

โดยในแต่ละสถานพยาบาล อาจจะมีวัคซีนเพิ่มเติมโรคอื่น ๆ ทำให้อาจจะไม่ตรงกับตารางข้างต้น ขอให้สอบถามจากสถานพยาบาลได้

 

คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง เมื่อจะพาลูกไปฉีดวัคซีน

คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมเอกสารประจำตัวของลูกน้อย เช่น เอกสารประวัติการรักษา สูติบัตร สมุดบันทึกการฉีดวัคซีนของเด็กเล็ก เป็นต้น รวมทั้งควรเตรียมผ้าอ้อม เครื่องใช้จำเป็นสำหรับเด็กเล็กมาด้วย เพราะบางครั้งการขอรับบริการที่โรงพยาบาลของรัฐอาจจะต้องใช้เวลานาน

 

คุณพ่อคุณแม่จะพาลูกไปฉีดวัคซีนเด็กแรกเกิด ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

 

ถ้าผิดนัดฉีดวัคซีน ควรทำอย่างไรดี

ทางที่ดีที่สุดคือคุณพ่อคุณแม่ควรพาไปฉีดวัคซีนตามนัดทุกครั้ง แต่ถ้าหากผิดนัด แม้จะด้วยสาเหตุใดก็ตาม ไม่จำเป็นต้องรับวัคซีนใหม่ตั้งแต่ต้น แต่ให้สอบถามกับทางสถานพยาบาล เพราะอาจจะมีการปรับเปลี่ยนนัดใหม่ได้ รวมถึงได้รับวัคซีนตามกำหนดต่อได้เลย

 

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ การไปรับวัคซีน ถือเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายของลูกน้อย นอกจากจะช่วยให้เด็กแข็งแรง ยังเหมือนกับเป็นการไปพบคุณหมอตามกำหนดด้วย ดังนั้น อย่าหลงเชื่อความเชื่อที่ว่าเด็กไม่ควรรับวัคซีน เพราะวัคซีนป้องกันโรคสำหรับเด็กแรกเกิดนั้น ล้วนเป็นภูมิคุ้มกันโรคร้ายแรงที่อาจส่งผลถึงชีวิตของลูกน้อย ที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ยุคปัจจุบันสามารถป้องกันได้ และอย่าลืมไปรับวัคซีนตามนัดด้วย เพื่อให้ได้รับภูมิคุ้มกันที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคดีที่สุด

 

บทความแนะนำสำหรับพัฒนาการลูกน้อย

 


อ้างอิง:

  1. ตารางการให้วัคซีนในเด็กไทย แนะนำโดย สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย 2567, สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย
  2. วัคซีนเด็กเสริมภูมิคุ้มกันให้เจ้าตัวเล็ก, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  3. วัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็กแรกเกิด- 12 ปีที่พ่อแม่ต้องรู้, โรงพยาบาลเปาโล

อ้างอิง ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567
 

บทความแนะนำ

เด็กทารกนอนอ้าปาก ลูกนอนหายใจทางปาก อันตรายไหม

เด็กทารกนอนอ้าปาก ลูกนอนหายใจทางปาก อันตรายไหม

เด็กทารกนอนอ้าปากปกติไหม ลูกนอนหายใจทางปาก เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง คุณแม่ควรสังเกตอาการลูกน้อยอย่างไร เมื่อเด็กทารกนอนอ้าปากบ่อย พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

ลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว คุณแม่ดูแลลูกลิ้นขาวอย่างไรให้ถูกวิธี

ลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว คุณแม่ดูแลลูกลิ้นขาวอย่างไรให้ถูกวิธี

ลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว เกิดจากอะไร ลูกลิ้นขาวผิดปกติไหม อาการลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว คือเชื้อราในปากเด็กหรือเปล่า พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย เมื่อลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว

เด็กกัดเล็บตัวเองปกติไหม เสี่ยงติดเชื้อหรือเปล่า

เด็กกัดเล็บตัวเองปกติไหม เสี่ยงติดเชื้อหรือเปล่า

เด็กกัดเล็บตัวเอง เกิดจากอะไร ลูกน้อยกัดเล็บตัวเองบ่อย จะเสี่ยงติดเชื้อในปากหรือเปล่า คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร เมื่อรู้ว่าเด็กชอบกัดเล็บตัวเอง

สิวทารกแรกเกิด เป็นแบบไหน พร้อมวิธีดูแลทารกเป็นสิวที่หน้า

สิวทารกแรกเกิด เป็นแบบไหน พร้อมวิธีดูแลทารกเป็นสิวที่หน้า

สิวทารกเป็นยังไง เกิดจากอะไร สิวทารกแรกเกิดอันตรายไหม จะหายเองได้หรือเปล่า หรือว่าต้องทายาอะไรให้หายเร็ว คุณแม่ต้องดูแลลูกน้อยอย่างไร มีอะไรต้องระวังเป็นพิเศษไหม

ทารกจามบ่อยผิดปกติไหม ลูกจามบ่อย เป็นภูมิแพ้หรือเปล่า

ทารกจามบ่อยผิดปกติไหม ลูกจามบ่อย เป็นภูมิแพ้หรือเปล่า

เด็กทารกจามบ่อย เกิดจากอะไร ลูกจามบ่อยปกติไหม อาการแบบนี้ คือสัญญาณของภูมิแพ้ในเด็กหรือเปล่า คุณแม่ควรสังเกตอาการลูกน้อยอย่างไร เมื่อทารกจามบ่อยขึ้น

วิธีฝึกลูกนอนยาว ฝึกลูกนอนเอง ช่วยให้หลับสบายตลอดคืน

วิธีฝึกลูกนอนยาว ฝึกลูกนอนเอง ช่วยให้หลับสบายตลอดคืน

รวมวิธีฝึกลูกนอนยาว สอนลูกน้อยให้นอนหลับเองได้ ช่วยให้ลูกหลับสนิทตลอดคืน พร้อมเสริมพัฒนาการทางร่างกายและสมอง ช่วยเพิ่มเวลาพักผ่อนให้คุณพ่อคุณแม่

ขี้เทาทารก คืออะไร ภาวะอุจจาระแรกของทารก ที่พ่อแม่ควรรู้

ขี้เทาทารก คืออะไร ภาวะอุจจาระแรกของทารก ที่พ่อแม่ควรรู้

ขี้เทาทารก คืออะไร อุจจาระแรกของทารกหลังคลอดสำคัญไหม หากลูกกินขี้เทาทารกเข้าไปจะเป็นอันตรายกับลูกหรือเปล่า พร้อมวิธีสังเกตขี้เทาทารก ที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก