เด็กทารกผิวลอกปกติไหม พร้อมวิธีดูแลเด็กทารกผิวลอก

เด็กทารกผิวลอกปกติไหม พร้อมวิธีดูแลเด็กทารกผิวลอก

14.11.2024

ทารกผิวลอกเป็นอาการที่พบได้ในทารกตั้งแต่แรกคลอด เพราะเป็นกระบวนการหนึ่งตามธรรมชาติที่ช่วยทำให้ลูกน้อยสามารถปรับตัวกับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ได้ แต่เด็กผิวลอกอาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้เช่นกัน เมื่อคุณแม่เห็นว่าลูกน้อยมีอาการผิวลอกต้องระวังไม่ให้ลูกน้อยเกิดอาการระคายเคืองเพิ่มขึ้น สำหรับวิธีดูแลจัดการเมื่อทารกผิวลอกจะมีอะไรบ้าง มาดูเคล็ดลับดี ๆ ที่สามารถทำได้ง่าย ๆ กันได้เลย

headphones

PLAYING: เด็กทารกผิวลอกปกติไหม พร้อมวิธีดูแลเด็กทารกผิวลอก

อ่าน 5 นาที

สรุป

  • ทารกผิวลอกเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ปกติหลังคลอด หรืออาจมีสาเหตุมาจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นมากเกินไปจนทำให้ผิวแห้งและเกิดการระคายเคืองขึ้นมาได้ ทำให้เกิดอาการผิวลอกหรือผิวเป็นขุย และอาจเกิดอาการคัน
  • เมื่อคุณแม่พาลูกน้อยอาบน้ำ ไม่ควรใช้น้ำที่ร้อนเกินไป และไม่ควรให้ลูกอาบน้ำนานหรือแช่น้ำนานเกินไป เพราะอาจจะยิ่งทำให้ผิวแห้งและเกิดอาการระคายเคืองมากขึ้น อีกทั้งไม่ควรถูผิวของทารกหรือใช้ฟองน้ำถูตัว หากคุณแม่ต้องการเช็ดตัวแนะนำให้ใช้วิธีซับตัวให้แห้งจะดีที่สุด
  • หลังจากอาบน้ำควรใช้ครีมหรือโลชั่นที่ปราศจากน้ำหอม หรือสารเคมีที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคือง เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวของทารก และควรเลือกสวมเสื้อผ้าที่บางเบา และนุ่มเพื่อป้องกันไม่ให้ผิวที่บอบบางของทารกเกิดการระคายเคืองเพิ่มขึ้น

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ทารกผิวลอก เกิดจากอะไร

ทารกผิวลอกจะมีลักษณะผิวเป็นขุย บางคนอาจมีรอยแดงและผิวแตกลายด้วย ซึ่งอาการของทารกผิวลอกเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่

1. อาการปกติหลังคลอด

หากลูกน้อยเป็นทารกแรกคลอดผิวที่ลอกออกมาจะมาจากไขที่ปกคลุมอยู่เหนือผิวหนังที่ย่นของทารกได้ลอกออกเป็นขุย โดยมักจะลอกออกในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด

 

2. อากาศเย็นเกินไป

ลูกน้อยอาจมีอาการผิวแห้งจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น ทำให้ผิวหนังลอกเป็นขุยเพราะถูกดูดเอาความชุ่มชื้นจากผิวไป ทำให้ผิวหนังของทารกลอกได้ง่าย

 

3. ผิวระคายเคือง

เด็กอาจมีอาการแพ้หรืออาการระคายเคืองจากการสัมผัสกับสารบางอย่าง เช่น สบู่ และแชมพูสระผมที่มีน้ำหอมและสารเคมีที่ทำให้เกิดการระคายเคืองได้ง่าย

 

อาการของเด็กทารกผิวลอก เป็นแบบไหน

อาการของเด็กทารกผิวลอก โดยปกติแล้วผิวทารกแรกคลอดจะลอกเป็นขุยภายใน 24-36 ชั่วโมงหลังคลอด และจะหายเป็นปกติภายในสัปดาห์แรก ส่วนเด็กคลอดก่อนกำหนด กว่าผิวจะลอกอาจใช้เวลานานถึง 2-3 สัปดาห์ โดยจะมีระยะเวลาของการผิวลอกดังนี้

  • เด็กทารกผิวลอก 1-2 วันแรก: ในช่วงประมาณ 2 วันแรกผิวของทารกจะยังไม่ลอก หากมีการลอกทันทีหลังคลอดอาจมีภาวะที่ผิดปกติได้ เช่น โรคดักแด้ ทารกคลอดเกินกำหนด และภาวะขาดออกซิเจนในครรภ์
  • เด็กทารกผิวลอก หลังจากคลอดประมาณ 2 วัน: คุณแม่จะสังเกตเห็นว่ามือและเท้าของลูกน้อยจะค่อย ๆ ลอกเป็นขุย
  • เด็กทารกผิวลอก ภายใน 2-3 สัปดาห์: อาการผิวลอกของลูกน้อยจะหายเป็นปกติโดยที่คุณแม่ไม่จำเป็นต้องทายารักษา ทาครีม หรือพยายามถูเอาผิวที่เป็นขุยออกไป เพราะอาจทำให้ผิวของทารกขาดความชุ่มชื้นได้

 

ผลิตภัณฑ์สูตรออร์แกนิก ที่เหมาะกับทารกผิวลอก

ช่วงที่ทารกผิวลอก คุณแม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวและทำความสะอาดผิวลูกน้อยที่ปราศจากน้ำหอม ปราศจากสารประกอบทางเคมีหรือสารปรุงแต่งต่าง ๆ เช่น สารกันบูด สารฆ่าเชื้อแบคทีรียที่ก่อให้เกิดอาการแพ้และระคายเคือง โดยควรเลือกผลิตภัณฑ์ดูแลผิวอย่างสบู่ที่มีฤทธิ์ความเป็นกรดและด่างเท่า ๆ กับผิวของทารก และเน้นทำความสะอาดผิวของทารกเท่านั้น ส่วนแชมพูสระผมคุณแม่สามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เดียวกันกับสบู่ได้ แต่ควรเลือกที่ผ่านการทดสอบการแพ้และระคายเคืองต่อเยื่อบุตาน้อย หรือเลือกใช้ที่เป็นสูตรออร์แกนิกที่มีความปลอดภัยต่อทารกจะดีที่สุด

 

วิธีดูแลทารกผิวลอก อย่างถูกวิธี

 

วิธีดูแลทารกผิวลอก อย่างถูกวิธี

การดูแลผิวทารกที่อยู่ในช่วงผิวลอก คุณแม่สามารถดูแลทำความสะอาดผิวของลูกน้อยได้ง่าย ๆ ให้ถูกวิธี ดังนี้

1. ไม่ควรอาบน้ำให้ลูกด้วยน้ำอุ่นเป็นเวลานาน

เมื่อทารกมีผิวลอกคุณแม่ต้องไม่ให้ลูกอาบน้ำอุ่นเป็นเวลานาน และควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวที่อ่อนโยน ปราศจากน้ำหอม และสารต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดการระคายเคืองเพิ่มขึ้นได้

 

2. ไม่ควรอาบน้ำให้ลูกนานเกินไป

คุณแม่หลายคนเวลาอาบน้ำให้ลูกมักจะเลือกให้ลูกแช่ในอ่างอาบน้ำ หากลูกน้อยอยู่ในช่วงผิวลอกคุณแม่ต้องระวังไม่ให้ลูกน้อยแช่ในอ่างอาบน้ำนานเกินไป เพราะอาจทำให้ผิวแห้งมากขึ้นกว่าเดิม

 

3. ไม่ต้องใช้ฟองน้ำถูตัวให้ลูก

ในระหว่างที่อาบน้ำ หากคุณแม่เห็นว่าผิวของทารกเป็นขุย คุณแม่ต้องไม่ใช้ฟองน้ำถูตัวลูกน้อย เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองเพิ่มขึ้นได้

 

4. ทาครีมมอยเจอร์ไรเซอร์ให้ลูกทุกวัน

ทารกผิวลอก ส่วนหนึ่งมาจากผิวที่แห้งขาดความชุ่มชื้น การทามอยเจอร์ไรเซอร์บำรุงผิวจึงเป็นวิธีที่ช่วยเติมความชุ่มชื้นให้กับทารกได้ โดยคุณแม่ควรเลือกมอยเจอร์ไรเซอร์ที่ปราศจากน้ำหอม และส่วนผสมของพืช เพราะสารเหล่านี้อาจไปทำลายเกราะป้องกันผิวได้ หากลูกน้อยมีผิวที่แห้งมากคุณแม่สามารถทาครีมมอยเจอร์ไรเซอร์ให้ลูกน้อยให้บ่อยขึ้นได้

 

5. ห้ามถูหรือลอกผิวลูก

สำหรับทารกแรกคลอดหากคุณแม่เห็นว่าลูกน้อยมีผิวลอก ไม่ควรไปถูหรือขัดให้ผิวที่ลอกเป็นขุยหลุดออกไป เพราะอาการผิวลอกในทารกจะค่อย ๆ หายไปเองภายใน 1 สัปดาห์ หากคุณแม่ต้องการเช็ดตัวลูกหลังอาบน้ำแนะนำให้ใช้วิธีค่อย ๆ ซับที่ผิวของลูกจนกว่าตัวจะแห้ง

 

6. เลือกเสื้อผ้าที่มีความอ่อนโยนต่อผิว

คุณแม่ควรเลือกเสื้อผ้าที่โปร่งสบายสำหรับลูก และระบายอากาศได้ดีอย่างผ้าฝ้ายและผ้าใยป่าน และควรหลีกเลี่ยงผ้าเนื้อแข็งที่มีการระบายอากาศไม่ดีอย่างผ้าไนลอน และผ้าใยสังเคราะห์ เพราะอาจทำให้ลูกน้อยรู้สึกร้อนและเกิดผดผื่นได้ง่าย รวมถึงควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ซักทำความสะอาดเสื้อผ้าสำหรับเด็กอ่อน เพราะถ้าใช้ผงซักฟอกทั่วไปอาจทำให้เกิดสารตกค้างและเกิดการระคายเคืองเมื่อสัมผัสกับผิวของลูกน้อยที่กำลังลอกเพิ่มขึ้นได้

 

7. เปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อย ๆ

บริเวณที่ใส่ผ้าอ้อมของลูกน้อยมักจะสัมผัสกับความอับชื้น และการเสียดสีอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดการระคายเคืองอยู่บ่อย ๆ ดังนั้น คุณแม่จึงต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกน้อยบ่อย ๆ และอาจเลือกใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่ดูดซึมอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันไม่ให้ทารกเกิดผิวแห้งและลดการระคายเคืองลง

 

การลอกของผิวหนังของทารกแรกเกิด ถือเป็นเรื่องปกติและจะหายไปเองภายใน 1 สัปดาห์ แต่สภาพอากาศที่เย็นหรือการระคายเคืองก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดผิวลอกได้ เมื่อลูกน้อยรู้สึกไม่สบายตัวเนื่องจากผิวลอก คุณแม่สามารถทำให้เด็ก ๆ รู้สึกสบายตัวขึ้นได้ โดยการทามอยเจอร์ไรเซอร์บำรุงผิวสูตรอ่อนโยน ที่ปราศจากสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองและอาการแพ้ สวมใส่เสื้อผ้าที่นุ่มและเบาบาง หากลูกน้อยมีผิวหนังแดง แตกเป็นสะเก็ด หรือทารกมีผื่นแดงคัน ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 


อ้างอิง:

  1. Baby Skin Care: Tips for Your Newborn, WebMd
  2. คู่มือสำหรับพ่อแม่ เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็ก ตอน วัยเด็กเล็ก 0-3 ปี, กรมกิจการเด็กและเยาวชน
  3. พ่อแม่ไม่ต้องกังวล อาการเหล่านี้...เป็นภาวะปกติในทารกแรกเกิด, โรงพยาบาลพญาไท
  4. Skincare for babies, The Royal Children’s Hospital Foundation
  5. ผิวแห้ง ปัญหาผิวขาดความชุ่มชื้นดูแลอย่างไร, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

อ้างอิง ณ วันที่ 7 กันยายน 2567
 

บทความแนะนำ

เด็กทารกนอนอ้าปาก ลูกนอนหายใจทางปาก อันตรายไหม

เด็กทารกนอนอ้าปาก ลูกนอนหายใจทางปาก อันตรายไหม

เด็กทารกนอนอ้าปากปกติไหม ลูกนอนหายใจทางปาก เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง คุณแม่ควรสังเกตอาการลูกน้อยอย่างไร เมื่อเด็กทารกนอนอ้าปากบ่อย พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

ลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว คุณแม่ดูแลลูกลิ้นขาวอย่างไรให้ถูกวิธี

ลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว คุณแม่ดูแลลูกลิ้นขาวอย่างไรให้ถูกวิธี

ลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว เกิดจากอะไร ลูกลิ้นขาวผิดปกติไหม อาการลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว คือเชื้อราในปากเด็กหรือเปล่า พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย เมื่อลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว

เด็กกัดเล็บตัวเองปกติไหม เสี่ยงติดเชื้อหรือเปล่า

เด็กกัดเล็บตัวเองปกติไหม เสี่ยงติดเชื้อหรือเปล่า

เด็กกัดเล็บตัวเอง เกิดจากอะไร ลูกน้อยกัดเล็บตัวเองบ่อย จะเสี่ยงติดเชื้อในปากหรือเปล่า คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร เมื่อรู้ว่าเด็กชอบกัดเล็บตัวเอง

สิวทารกแรกเกิด เป็นแบบไหน พร้อมวิธีดูแลทารกเป็นสิวที่หน้า

สิวทารกแรกเกิด เป็นแบบไหน พร้อมวิธีดูแลทารกเป็นสิวที่หน้า

สิวทารกเป็นยังไง เกิดจากอะไร สิวทารกแรกเกิดอันตรายไหม จะหายเองได้หรือเปล่า หรือว่าต้องทายาอะไรให้หายเร็ว คุณแม่ต้องดูแลลูกน้อยอย่างไร มีอะไรต้องระวังเป็นพิเศษไหม

ทารกจามบ่อยผิดปกติไหม ลูกจามบ่อย เป็นภูมิแพ้หรือเปล่า

ทารกจามบ่อยผิดปกติไหม ลูกจามบ่อย เป็นภูมิแพ้หรือเปล่า

เด็กทารกจามบ่อย เกิดจากอะไร ลูกจามบ่อยปกติไหม อาการแบบนี้ คือสัญญาณของภูมิแพ้ในเด็กหรือเปล่า คุณแม่ควรสังเกตอาการลูกน้อยอย่างไร เมื่อทารกจามบ่อยขึ้น

วิธีฝึกลูกนอนยาว ฝึกลูกนอนเอง ช่วยให้หลับสบายตลอดคืน

วิธีฝึกลูกนอนยาว ฝึกลูกนอนเอง ช่วยให้หลับสบายตลอดคืน

รวมวิธีฝึกลูกนอนยาว สอนลูกน้อยให้นอนหลับเองได้ ช่วยให้ลูกหลับสนิทตลอดคืน พร้อมเสริมพัฒนาการทางร่างกายและสมอง ช่วยเพิ่มเวลาพักผ่อนให้คุณพ่อคุณแม่

ขี้เทาทารก คืออะไร ภาวะอุจจาระแรกของทารก ที่พ่อแม่ควรรู้

ขี้เทาทารก คืออะไร ภาวะอุจจาระแรกของทารก ที่พ่อแม่ควรรู้

ขี้เทาทารก คืออะไร อุจจาระแรกของทารกหลังคลอดสำคัญไหม หากลูกกินขี้เทาทารกเข้าไปจะเป็นอันตรายกับลูกหรือเปล่า พร้อมวิธีสังเกตขี้เทาทารก ที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก