ทฤษฎีของเพียเจต์ คืออะไร ช่วยเสริมพัฒนาการของลูกได้จริงไหม

ทฤษฎีของเพียเจต์ คืออะไร ช่วยเสริมพัฒนาการของลูกได้จริงไหม

29.08.2024

ทฤษฎีของเพียเจต์ มีความเชื่อว่าพัฒนาการด้านสติปัญญาของมนุษย์ทุกคน ล้วนมาจากประสบการณ์ในการพบเจอกับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่จะเกิดการจัดการ และการปรับตัวของตนเอง เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างสมดุลและอยู่รอด เป็นการพัฒนาด้านสติปัญญาและด้านความคิดของคน ๆ นั้นต่อไป

headphones

PLAYING: ทฤษฎีของเพียเจต์ คืออะไร ช่วยเสริมพัฒนาการของลูกได้จริงไหม

อ่าน 8 นาที

 

สรุป

  • ฌอง เพียเจต์ หรือ Jean Piaget ชาวสวิสเซอร์แลนด์ มีความสนใจศึกษาค้นคว้าด้านจิตวิทยาเกี่ยวกับเด็ก โดยใช้ข้อมูลจากลูกของตนเองทั้ง 3 คน มาศึกษาค้นคว้าวิจัย และเกิดเป็นทฤษฎีที่ได้รับความนิยม คือ ทฤษฎีการพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ (Piaget's Theory of Cognitive Development)
  • ทฤษฎีของเพียเจต์ จะศึกษากระบวนการคิดทางด้านสติปัญญาตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยรุ่น ซึ่งเพียเจต์เชื่อว่าคนทุกคนมีพื้นที่ติดตัวตั้งแต่แรกเกิด คือ การจัดการระบบภายใน (Organization) และการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม (Adaptation)
  • ทฤษฎีของเพียเจต์ แบ่งพัฒนาการทางสติปัญญาออกเป็น 4 ขั้นตามช่วงวัย คือ ขั้นการใช้ประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ (Sensorimotor Stage) อายุ 0-2 ขวบ, ขั้นเตรียมความคิดที่มีเหตุผล (Preoperational Stage) อายุ 2-7 ขวบ, ขั้นคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นรูปธรรม (Concrete Operation Stage) อายุ 7-11 ขวบ และขั้นการคิดอย่างมีเหตุผลและอย่างเป็นนามธรรม (Formal Operation Stage) ในช่วงอายุ 11 ปีขึ้นไป

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

มาทำความรู้จัก ฌอง เพียเจต์ (Jean Piaget)

ฌอง เพียเจต์ หรือ Jean Piaget เกิดที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1896 และดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ แห่งมหาวิทยาลัยเจนีวา จบปริญญาเอกด้านชีวรักษาสัตว์ และสนใจศึกษาค้นคว้าด้านจิตวิทยา โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก อีกทั้งยังใช้ข้อมูลจากลูกของตนเองทั้ง 3 คน มาประกอบการศึกษาค้นคว้าวิจัย และเกิดเป็นทฤษฎีต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และหนึ่งในทฤษฎีของเพียเจต์ที่ได้รับความนิยม คือ ทฤษฎีการพัฒนาการทางสติปัญญาของ เพียเจต์ (Piaget's Theory of Cognitive Development)

 

ทฤษฎีของเพียเจต์ มีแนวคิดอย่างไร

ทฤษฎีของเพียเจต์ จะศึกษากระบวนการคิดทางด้านสติปัญญาตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยรุ่น ซึ่งเพียเจต์เชื่อว่าคนทุกคนมีพื้นที่ติดตัวตั้งแต่แรกเกิด คือ การจัดการระบบภายใน (Organization) ทำให้คนมีการทำอะไรอย่างเป็นระบบ มีกระบวนการต่อเนื่องเป็นเรื่องราว และการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม (Adaptation) โดยการปรับตัวของคนนั้น จะประกอบไปด้วย 2 กระบวนการหลัก คือ การดูดซับ (Assimilation) ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นก่อนกับเด็กแรกเกิดที่ยังไม่มีประสบการณ์มากนัก ทำให้แสดงออกพฤติกรรมตามประสบการณ์ที่เคยได้พบเจอมาก่อน แต่เด็กจะค่อย ๆ เรียนรู้และซึมซับไปเรื่อย ๆ ตามประสบการณ์ที่ได้พบเจอมากขึ้น ซึ่งโครงสร้างทางปัญญาที่อยู่ในสมองของเด็ก จะค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้นตามประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ อีกหนึ่งกระบวนการ คือ การปรับให้เหมาะ (Acommodation) เป็นการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ ๆ ซึ่งการปรับตัว หรือการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับสิ่งใหม่ ๆ ทั้งหมดนี้จะทำให้เกิดพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กได้

 

ทฤษฎีของเพียเจต์ แบ่งพัฒนาการทางสติปัญญาออกเป็นกี่ขั้น

เพียเจต์ ได้แบ่งขั้นตอนการพัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดตามช่วงวัย เป็นดังนี้

1. ขั้นที่ 1 การใช้ประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ (Sensorimotor Stage)

เป็นขั้นที่เด็กมีพัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดก่อนที่จะเริ่มสื่อสารได้ ซึ่งเป็นช่วงวัยแรกเกิดจนถึง 2 ปีแรก โดยในวัยนี้จะใช้ประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ในการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมโดยอัตโนมัติ

 

2. ขั้นที่ 2 เตรียมความคิดที่มีเหตุผล (Preoperational Stage)

ในช่วงวัยนี้จะเริ่มมีการพัฒนาในด้านการสื่อสารด้วยภาษา เริ่มเรียนรู้ที่จะใช้ภาพหรือสัญลักษณ์แทนสิ่งต่าง ๆ แต่ยังไม่มีเหตุผลมากเพียงพอ จึงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง และไม่สามารถเข้าใจเหตุผลเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้

 

3. ขั้นที่ 3 คิดอย่างมีเหตุผลและเป็นรูปธรรม (Concrete Operation Stage)

เริ่มมีเหตุและผลสำหรับใช้ในการแก้ไขปัญหาได้มากขึ้น เข้าใจระเบียบกฏเกณฑ์ อย่างมีเหตุผล สามารถเข้าใจหลักการคำนวณต่าง ๆ รวมถึงคิดย้อนกลับไปมาได้ มีจินตนาการเป็นภาพในใจ

 

4. ขั้นที่ 4 การคิดอย่างมีเหตุผลและอย่างเป็นนามธรรม (Formal Operation Stage)

สามารถคิดอะไรที่เป็นนามธรรมได้มากขึ้น ใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหา มีกระบวนการความคิด โดยการตั้งสมมติฐาน วิเคราะห์หาสาเหตุจนได้ข้อสรุป สามารถเชื่อมโยงวิธีการแก้ไขปัญหากับสถานการณ์หนึ่งกับสถานการณ์อื่น ๆ ได้

 

ทฤษฎีของเพียเจต์ มีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง

ถึงแม้ทฤษฎีของเพียเจต์จะมีอิทธิพลต่อความรู้ด้านจิตวิทยาพัฒนาการมากมาย แต่ก็อาจมีข้อดีข้อเสีย หากมีการนำมาประยุกต์ใช้อย่างไม่ถูกต้อง หรือมีความรู้ความเข้าใจที่ไม่เพียงพอ ซึ่งมีข้อสังเกต ดังนี้

  1. ทฤษฎีของเพียเจต์จะศึกษากระบวนการทางความคิดและสติปัญญาตามช่วงอายุ โดยจำกัดแค่ช่วงแรกเกิดจนถึงวัยรุ่นตอนต้นเท่านั้น แต่ไม่ได้ศึกษาต่อในระดับผู้ใหญ่ที่มีอายุเพิ่มมากขึ้น
  2. เพียเจต์เชื่อว่าพัฒนาการทางสติปัญญาจะพัฒนาไปตามทีละขั้น ซึ่งเพียเจต์แบ่งเป็น 4 ขั้น ซึ่งจะเป็นพัฒนาการที่ต่อเนื่องกัน และจะไม่มีพัฒนาการใดที่ข้ามขั้นใดขั้นหนึ่งไป แต่ในความเป็นจริงพบว่าผู้ใหญ่บางคนก็อาจจะยังไม่มีพัฒนาการในขั้นใดขั้นหนึ่งของทฤษฎีเพียเจต์
  3. เพียเจต์เชื่อว่าพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กแต่ละคน จะประกอบไปด้วยพันธุกรรมหรือพื้นฐานเด็กที่มีมาแต่กำเนิด กับสภาพแวดล้อมหรือการเลี้ยงดูของครอบครัว ซึ่งในบางทฤษฎีอาจมองว่าสิ่งแวดล้อมหรือการเรียนรู้มีอิทธิพลมากกว่า อีกทั้งทุกช่วงวัยสามารถเรียนรู้และเข้าใจในเรื่องเดียวกันได้ โดยขึ้นอยู่กับรูปแบบการถ่ายทอด ความยากง่ายให้เหมาะสมกับอายุ แต่ไม่ปิดกั้นเนื้อหาที่จะให้เรียนรู้ด้วยช่วงอายุตามหลักการของเพียเจต์

 

ทฤษฎีของเพียเจต์ ช่วยให้พ่อแม่เข้าใจธรรมชาติของลูกได้จริงไหม

 

ทฤษฎีของเพียเจต์ ช่วยให้พ่อแม่เข้าใจธรรมชาติของลูกได้จริงไหม

เนื่องจากทฤษฎีของเพียเจต์กล่าวว่าพัฒนาการทางสติปัญญาจะเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ และการปรับตัวด้วยการส่งเสริมจากการพบเจอสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ซึ่งเด็กจะสามารถซึมซับได้ดีมากน้อย ขึ้นอยู่กับความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคน โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถเพิ่มศักยภาพทางสติปัญญาของลูก ด้วยการกระตุ้นพัฒนาการตามช่วงวัย เช่น ในเด็กเล็กควรเน้นการเรียนรู้จากประสาทสัมผัส และการเคลื่อนไหว ของสิ่งต่าง ๆ รอบตัวตามธรรมชาติ และเพิ่มการเรียนรู้ด้วยตนเองในการคิด วิเคราะห์ แบบมีเหตุและผลให้มากขึ้นตามช่วงวัย

 

กิจกรรมที่พ่อแม่สามารถนำทฤษฎีของเพียเจต์ มาปรับใช้กับลูกแต่ละช่วงวัยได้

1. อายุ 0-2 ขวบ

เป็นช่วงวัยที่เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสต่าง ๆ และการเคลื่อนไหวของร่างกายที่ตอบสนองกับสิ่งแวดล้อมในลักษณะต่าง ๆ เนื่องจากพัฒนาการทางภาษายังไม่ดีนัก จึงควรเน้นกิจกรรมที่จะส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาด้วยการเน้นการหยิบ จับ วัตถุรูปทรงต่าง ๆ การเคลื่อนไหวของร่างกายแบบซ้ำ ๆ ด้วยการกำมือหรือแบมือ และลองให้เริ่มแก้ปัญหาง่าย ๆ เช่น การหาที่ซ่อนสิ่งของ

 

2. อายุ 2-7 ขวบ

เป็นช่วงอายุก่อนมีเหตุและผล ซึ่งเด็กจะเริ่มเรียนรู้ที่จะเข้าใจสัญลักษณ์แทนความหมายหรือวัตถุต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เริ่มมีความเข้าใจในเรื่องการสื่อสารด้วยภาษา มีคำศัพท์ในสมองมากขึ้น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถทำกิจกรรมด้วยการเล่นบทบาทสมมติกับลูกได้ หรือนำสิ่งของรอบตัวมาประดิษฐ์เป็นสิ่งของอื่นที่สมมติขึ้น

 

3. อายุ 7-11 ขวบ

ช่วงวัยนี้จะเริ่มมีเหตุและผลแบบรูปธรรมอย่างชัดเจน สามารถแก้ไขปัญหาด้วยเหตุและผลได้เป็นอย่างดี สามารถแบ่งแยกและเปรียบเทียบสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ กิจกรรมที่เหมาะสม อาจจะให้โจทย์เด็ก แล้วให้จินตนาการวาดรูปตามโจทย์ที่ได้รับ หรือลองศึกษาเส้นทางแบบง่าย ๆ รวมถึงการทำโจทย์คิดเลขแบบง่าย ๆ ให้ย้อนกลับไปมาได้

 

4. อายุ 11 ขวบขึ้นไป

ลูกน้อยอายุ 11 เดือน หรือ เด็กอายุ 1 ขวบขึ้นไป เริ่มมีเหตุผลแบบนามธรรม เริ่มมีความคิดอ่านแบบผู้ใหญ่มากขึ้น ซึ่งจะมีพัฒนาการด้านสติปัญญาสูงขึ้นมาก สามารถคิดแบบวิทยาศาสตร์ได้ คือ การตั้งสมมติฐาน วิเคราะห์ แยกแยะ มีความอิสระมากขึ้น โดยในวัยนี้อาจเน้นกิจกรรมที่ให้มีส่วนร่วมแสดงออกความคิดเห็นมากขึ้น

 

ทฤษฎีของเพียเจต์ เชื่อว่าความสามารถในการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับพัฒนาการทางสติปัญญาของแต่ละคน และการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม โดยแบ่งระยะของพัฒนาการทางสติปัญญาตามช่วงวัยออกเป็น 4 ระยะ โดยทุกคนจะต้องผ่านพัฒนาการทั้ง 4 ระยะ ซึ่งแต่ละระยะจะพัฒนามาจากระยะก่อนหน้า และพัฒนาอย่างต่อเนื่องไปสู่ระยะถัดไป โดยจะไม่ข้ามขั้นใดขั้นหนึ่ง ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการของลูกด้วยกิจกรรมที่เหมาะสมตามช่วงวัยของเด็ก และเน้นให้เรียนรู้ต่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัวด้วยตนเอง

 

บทความแนะนำสำหรับพัฒนาการลูกน้อย

 

 

อ้างอิง:

  1. ทฤษฎีการเรียนรู้พื้นฐาน, คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  2. บทที่ 3 ทฤษฎีพัฒนาการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  3. บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง, มหาวิทยาลัยบูรพา
  4. บทที่ 2 ทฤษฎีและพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กประถมศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

อ้างอิง ณ วันที่ 18 กรกฎาคม 2567
 

บทความแนะนำ

ตุ่มใสที่นิ้วอันตรายไหม ลูกมีตุ่มใสขึ้นที่มือคัน คุณแม่รับมือยังไงดี

ตุ่มใสที่นิ้วอันตรายไหม ลูกมีตุ่มใสขึ้นที่มือคัน คุณแม่รับมือยังไงดี

ตุ่มใสที่นิ้วลูก เกิดจากอะไร ลูกมีตุ่มใสที่มือคัน อันตรายไหม คุณพ่อคุณแม่จะรับมืออย่างไร หากลูกมีตุ่มใส ๆ ที่มือ พร้อมวิธีบรรเทาตุ่ม ใสที่นิ้ว

ลูกถ่ายวันละ 3-4 ครั้งปกติไหม ลูกถ่ายกะปริบกะปรอย อันตรายหรือเปล่า

ลูกถ่ายวันละ 3-4 ครั้งปกติไหม ลูกถ่ายกะปริบกะปรอย อันตรายหรือเปล่า

ลูกถ่ายวันละ 3-4 ครั้งปกติไหม หากลูกถ่ายกะปริบกะปรอยบ่อย ๆ ทุกวัน อันตรายกับลูกน้อยหรือเปล่า อาการถ่ายบ่อยของลูกแบบไหนที่คุณแม่ควรรีบพาไปพบแพทย์

เปลี่ยนชื่อลูกทำยังไง เปลี่ยนชื่อลูกในสูติบัตร มีขั้นตอนอย่างไร

เปลี่ยนชื่อลูกทำยังไง เปลี่ยนชื่อลูกในสูติบัตร มีขั้นตอนอย่างไร

อยากเปลี่ยนชื่อลูกทำยังไง เปลี่ยนชื่อลูกในสูติบัตรต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง มีขั้นตอนการเปลี่ยนชื่อลูกยังไง ไปดูเอกสารที่ต้องเตรียมและขั้นตอนการเปลี่ยนชื่อกัน

ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เป็นเพราะอะไร เป็นสัญญาณอันตรายไหม

ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เกิดจากอะไร อันตรายกับลูกน้อยไหม

อาการลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของลูกน้อยให้ดี เมื่อลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก