โรคซางในเด็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ป้องกันได้หรือเปล่า
อาการไข้ ลิ้นเป็นฝ้าขาว มีตุ่มในคอหรือตามตัว คุณแม่อาจเคยได้ยินคนกล่าวถึงว่าเป็นอาการของโรคซางมาก่อน แต่พอคุยกับคุณหมออาจจะตกใจก็ได้ เพราะคุณหมอในวงการแพทย์แผนปัจจุบันอาจไม่ได้มองโรคนี้ในแบบเดียวกับคุณแม่ ถ้ามองต่างกัน การตีความเพื่อรักษาและป้องกันก็ต้องแตกต่างออกไปด้วย คุณแม่มีความรักขณะที่คุณหมอมีความรู้ ทั้งความรักและความรู้ต้องใช้ร่วมกันจึงจะสร้างเกราะคุ้มกันทางสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีให้กับลูกน้อย
สรุป
- ในเอกสารของแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ซาง เป็นคำอ้างอิงจากพระคัมภีร์ปฐมจินดา ในภาษาบาลี แปลตรง ๆ ว่าโรคในเด็ก
- ซางที่แปลว่าโรคในเด็ก เป็นคำกว้าง พบว่าในแผนแพทย์ปัจจุบันได้พยายามกำหนดขอบเขตนิยามคำว่า ซาง ว่าเป็น โรคที่เกี่ยวข้องกับการขาดสารอาหาร มีพยาธิในลำไส้ หรือโรคพุงโรก้นปอด
- การดูแลโรคซาง ควรทำทั้งในแง่ของการป้องกันและการรักษาร่วมกัน คุณแม่ควรจัดอาหารที่มีโภชนาการครบถ้วนให้ลูกน้อยในปริมาณที่เหมาะสม ปรึกษากับคุณหมอเพื่อเข้ารับการตรวจและวินิจฉัยถ้ามีอาการผิดปกติที่น่าสงสัยจนทนอยู่เฉยให้บรรเทาเองไม่ได้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- รู้หรือไม่ โรคซาง ไม่มีอยู่จริงทางการแพทย์
- ทำไมเมื่อก่อนถึงเรียกกันว่า “โรคซาง”
- อาการของโรคซางในเด็ก มีอะไรบ้าง
- โรคซางในเด็ก เกิดจากสาเหตุอะไรกันแน่
- เราสามารถป้องกันโรคซางไม่ให้เกิดขึ้นกับลูกได้ไหม
- คุณหมอมีวิธีรักษาโรคซางในเด็กอย่างไรบ้าง
รู้หรือไม่ โรคซาง ไม่มีอยู่จริงทางการแพทย์
- ซาง ปรากฏในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ว่าเป็น” ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ตามตำราแพทย์แผนโบราณ เป็นโรคที่เป็นในเด็กเล็ก มีลักษณะเกิดเป็นเม็ดขึ้นในปากในคอ ลิ้นเป็นฝ้า มีอาการไม่กินนม ไม่กินข้าว ปวดหัว ตัวร้อน มีชื่อต่าง ๆ เช่น ซางเพลิง ซางน้ำ ซางขโมย ซางโจร ซางโค”
- จากการค้นหาข้อมูลเบื้องต้นจากเว็บไซต์ควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ก็จะไม่พบข้อมูลของโรคซาง
- ในคลังความรู้ พจนานุกรมศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่เผยแพร่โดยกรมการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก มีคำว่า ซาง ให้ความหมายว่า ซาง เรียบเรียงความหมายได้ว่า โรคในเด็ก พบในเด็กอายุน้อย มีอาการเป็นไข้ อ่อนเพลีย ปากแห้ง อาเจียน ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ ท้องเสีย มีตุ่มเกิดขึ้นในปาก ลำคอ และลิ้นขุ่นขาว แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ซางเจ้าเรือน และ ซางจร ชนิดที่สองนี้แสดงอาการแตกต่างกันตามวันเกิดของเด็ก
ทำไมเมื่อก่อนถึงเรียกกันว่า “โรคซาง”
- ซาง ในตำราแพทย์แผนโบราณ อ้างอิงถึงคัมภีร์ปฐมจินดาที่บันทึกโรคในเด็กวัยแรกเกิดถึง 12 ปี
- โรคซาง ปรากฏในพระคัมภีร์ปฐมจินดาที่ให้กำเนิดการรู้จักโรคซางนั้นว่าเป็นความรู้ที่ชีวกโกมารภัจจ์ หรือแพทย์สมัยพระพุทธเจ้าที่ปรากฏในพระคัมภีร์ทางศาสนา ได้รับมาอีกต่อจากพระดาบสชื่อว่า ฤทธิยาธรดาบส ซึ่งเป็นอาจารย์
- หากพิจารณาดูจากการกำเนิดของชื่อ และเทียบกับภาษาบาลีที่เคยรุ่งเรืองในอินเดีย จะพบคำศัพท์ ซาง แปลว่า “กุมารคลโรค” หรือโรคที่เกิดในเด็ก ในพจนานุกรมสำหรับผู้เรียนภาษาบาลี
- ดังนั้นที่เมื่อก่อนเรียกโรคในเด็กว่า “โรคซาง” ก็เพราะอิทธิพลการใช้พระคัมภีร์ปฐมจินดาของแพทย์แผนโบราณในการรักษาโรคต่าง ๆ
อาการของโรคซางในเด็ก มีอะไรบ้าง
- สรุปโดยทั่วไป โรคซางในเด็ก คือ เม็ดขึ้นในปากในคอ ลิ้นเป็นฝ้า มีอาการ เช่น ไม่กินนม ไม่กินข้าว ปวดหัวตัวร้อน
- ในการศึกษาภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านในการรักษาโรคหละ ละอองซางในเด็ก อาการของโรคซางจะมีแผลในปาก ปากเปื่อย ออกเม็ดออกผื่นตามร่างกาย บางทีก็ท้องเสีย ท้องผูก ปวดบิดถ่ายเป็นมูกเลือด
- สรุปอาการให้แคบลง ตามคำแนะนำของ ผู้เชี่ยวชาญบางท่าน เป็นอาการขาดสารอาหารและพุงโรก้นปอดเพราะพยาธิลำไส้
โรคซางในเด็ก เกิดจากสาเหตุอะไรกันแน่
1. หมอพื้นบ้าน
เชื่อว่า ซางเกิดจากคุณแม่ของลูกน้อยเลือกกินของที่แสลง ซึ่งส่งผลเสียต่อเด็กที่ดื่มนมแม่ รองลงไปเป็นเพราะกรรมพันธุ์ หรือธรรมชาติที่ทำให้เกิดผลของโรค ทั้งนี้เป็นเพียงความเชื่อเท่านั้น
2. อาการซางเจ้าเรือนแบ่งตามความเชื่อดั้งเดิม
- ซางไฟ มีไข้ เจ็บตามเนื้อตามตัว ไม่อยากอาหาร กรณีถ้าอาการแย่ลง กลางลิ้นจะเป็นสีดำ ขอบลิ้นเป็นสีแดง ถ้ามีเลือดออกจะถึงตายได้ มีตุ่มพองเหมือนไฟลวก เป็นถุงหนองที่ผิวหนัง ท้อง เข่า แข้ง ทางเดินหายใจทำงานผิดปกติ ถ่ายเป็นมูก เป็นเลือด เป็นหนอง ตับมีขนาดใหญ่ขึ้น อาเจียนอาหารออกมา
- ซางน้ำ มีไข้ ท้องโต กินอาหารได้มาก มีผื่นสีแดงบนผิวหนัง บริเวณหลัง ราวคาง แขน กลางทรวงอก ป่วยแล้วไม่ถึงตาย ระบบทางเดินอาหารไม่ปกติ ขับถ่ายมีกลิ่น
- ซางแดง มีไข้ กินอาหารได้ ถอนหายใจยาว กรณีอาการหนักจะถ่ายเป็นมูกเลือด เป็นหนอง ที่ผิวหนังแถวกระหม่อม สันหลัง คอ คาง ขาหนีบ และรักแร้จะมีตุ่มสีแดง มีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร อาเจียน ถ่ายปัสสาวะและอุจจาระไม่สะดวก
- ซางสะกอ มีไข้ กินอาหารได้ ถอนหายใจยาว กรณีอาการหนักจะถ่ายเป็นมูกเลือด เบลอมึน อยู่ไม่นิ่ง มีตุ่มที่ผิวหนังบริเวณรอบสะดือ ทวารหนัก กระหม่อม หลัง และเหงือก ระบบทางเดินอาหารไม่ปกติ ปัสสาวะและอุจจาระติดขัด อาเจียนปกติ และมีอาเจียนเป็นลม หลังแข็ง ตัวเหลือง ตัวแห้ง
- ซางวัว มีไข้ เจ็บตามร่างกาย สะอึก หายใจติดขัด ตัวแดง ผิวหน้าสาก เมื่ออาการหนักจะถ่ายและอาเจียน บนตัวมีผดผื่น ที่ต้นลิ้นและข้างลิ้นมีตุ่มขึ้น ปากและลิ้นเปื่อย ไอ มีความผิดปกติในทางเดินหายใจ
- ซางช้าง มีไข้ เจ็บที่มือและเท้า ไม่รับประทานอาหาร ก้าวร้าวกัดเต้าคุณแม่ ถ้าอาการหนักจะไอ อาเจียนเป็นลม เจ็บคอ คอบวม รอบ ๆ คอจะเปื่อยเน่า ถ่ายเป็นมูกเลือด ผิวหนังบริเวณท้องถึงอก คอ ลิ้น ปาก เท้า หัวหน่าว ชายโครง มีเม็ดขึ้น คันไปทั้งตัว ระบบทางเดินอาหารมีปัญหา กระหายน้ำ ปวดปัสสาวะบ่อย มีอาการท้องผูก
- ซางขโมย มีไข้ รับประทานอาหารได้ รู้สึกเสียดแทงไปทั่วทั้งตัว อาการหนักจะถ่ายเป็นน้ำเหม็นและมีมูกเลือด ผิวหนังเป็นเกล็ดแห้ง การมองเห็นไม่ค่อยดี ผิวหนังบริเวณสันหลัง กระหม่อม ปาก ลิ้น มีเม็ดตุ่มขึ้น ตัวลายเหมือนปลากระทิง มีแผลเปื่อยเป็นขุมทั้งตัว ปากและคอเปื่อย ปากแตก มีความผิดปกติในทางเดินอาหาร เจ็บหัวหน่าว ปวดมวน
- หากมองเป็นโรคในเด็ก อาจจะต้องดูตามอาการ ต้องได้รับคำวินิจฉัยจากคุณหมอ เพื่อระบุหาสาเหตุของโรค
- มองกรอบความเป็นไปได้ที่แคบลง สาเหตุหลักอาจเป็นอาการขาดสารอาหาร และพุงโรก้นปอดเพราะพยาธิลำไส้
- ทั้งหมดนี้ไม่ได้มากจากความรู้ทางการแพทย์แผนปัจจุบัน โดยเป็นเพียงความเชื่อสืบต่อกันมาจากอดีต หากลูกมีอาการป่วยใด ๆ ที่คล้ายซาง ควรพาลูกไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป
เราสามารถป้องกันโรคซางไม่ให้เกิดขึ้นกับลูกได้ไหม
ดูแลลูกรักผ่านการรับประทานอาหาร
- อาหารที่ถูกหลักโภชนาการ และมีสารอาหารครบถ้วน
- อาหารที่ปรุงสุกสะอาด
- ปริมาณอาหารที่เหมาะสม
การดูแลเบื้องต้นนี้สอดคล้องกับคำแนะนำของแพทย์แผนปัจจุบันให้ดูแลเรื่องโภชนาการ และบันทึกอาการของโบราณาจารย์ ที่ว่าเด็กเป็นซางนั้นเกิดจากเด็กกินอาหารสกปรก ติดเชื้อโรค เป็นบิด เป็นมูก ท้องเดิน บางคนมีอาการท้องอักเสบ เป็นไข้เพราะเชื้อโรค อุจจาระบ่งบอกสุขภาพที่ไม่ดี และเด็กบางคนก็เป็นซางเพราะกินอาหารสกปรก ติดไข่หรือตัวพยาธิไส้เดือนเข้าไป ทำให้ไม่เติบโตสมวัย เด็กจะหิวโหยอยากกินของแปลก ๆ เพราะความหิวโหย ผิวพรรณหม่นหมอง ไม่มีแรง จิตใจซึมเศร้า เสียงเบา มีฝี มีหนอง ต่อมทอนซิลอักเสบ สำรอกหรืออ้วก และความผิดปกติอื่น ๆ เด็กอาจจะชัก และหอบในบางทีด้วย
คุณหมอมีวิธีรักษาโรคซางในเด็กอย่างไรบ้าง
แพทย์จะตรวจร่างกายหาสาเหตุ และวินิจฉัยอาการหรือโรค ร่วมกับแนะนำการจัดการเลือกสรรอาหารและดูแลโภชนาการ รวมถึงสุขอนามัยของอาหาร เพื่อลูกรัก
ซาง เป็นคำจำกัดความอาการผิดปกติในเด็กที่ตกทอดมาแต่โบราณ เป็นส่วนหนึ่งของภูมิปัญญาแบบไทยที่พยายามรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต และรักษาด้วยการเรียนรู้ผิดถูกจากการใช้ยาสมุนไพร แต่อาจเพราะไม่ได้จำกัดความไว้แต่ต้นเป็นกรอบแคบ เมื่อพูดถึงการรักษาในทางการแพทย์สมัยใหม่ที่มีระเบียบแยกแยะโรคตามอาการ จึงไม่ม ีการยอมรับ ซาง เป็นคำศัพท์ทางการแพทย์แผนปัจจุบัน หากคุณแม่สังเกตพบอาการผิดปกติใดเกิดขึ้นกับลูก ควรพาไปพบแพทย์เพื่อได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกวิธี
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่
- สฟิงโกไมอีลิน คืออะไร สำคัญต่ออย่างไรต่อสมองของลูกน้อย
- DHA สารอาหารสำคัญ ช่วยพัฒนาสมองของลูกน้อย
- 2’-FL คืออะไร ? รู้จัก 2’-FL โอลิโกแซคคาไรด์ในนมแม่ (HMOs)
- น้ำนมเหลือง ที่มีสฟิงโกไมอีลิน สารอาหารสำคัญ ช่วยพัฒนาสมองจากแม่สู่ลูก
- ลูกเป็นโรคภูมิแพ้ คุณแม่รับมือภูมิแพ้ในเด็กได้อย่างไร
- ลูกอ้วก ไม่มีไข้ ท้องเสีย เกิดจากอะไร คุณพ่อคุณแม่ รับมืออย่างไรดี
- อาการทารกท้องอืด พร้อมวิธีป้องกันและวิธีดูแลทารกท้องอืด
- สีอุจจาระทารก สีแบบไหนปกติ สีแบบไหนที่คุณแม่ต้องระวัง
- ลูกอุจจาระสีเขียวอันตรายไหม อึทารกสีเขียวบ่งบอกอะไรได้บ้าง
- ลูกท้องเสียให้กินอะไรดี ลูกท้องเสียกี่วันหาย อาการแบบไหนเรียกรุนแรง
- ทารกไม่ถ่ายกี่วันผิดปกติ ทารกตดบ่อย ลูกน้อยควรกินอะไรให้ขับถ่ายง่าย
- ทารกอุจจาระเป็นเม็ดมะเขือ อุจจาระเป็นเม็ด พร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้น
- ทารกอุจจาระมีมูก ลูกท้องเสียถ่ายมีมูกเลือด แบบไหนที่ต้องระวัง
- วิธีนวดท้องให้ทารกถ่าย สำหรับลูกน้อยที่ท้องผูก ไม่ยอมถ่ายหลายวัน
- ลูกปวดท้องตรงสะดือเป็น ๆ หาย ๆ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลทารกปวดท้อง
อ้างอิง:
- คำว่า "ซาง", พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554
- รายชื่อโรค, กรมควบคุมโรค
- พจนานุกรมศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (DICTIONARY), กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข
- โรคซาง, หมอชาวบ้าน
- การศึกษาความถี่ของสมุนไพรจากตำรับยารักษาโรคหละละออง ซาง ในคัมภีร์ปฐมจินดา, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
- พระคัมภีร์ปฐมจินดา อายุรเวทศึกษา, โรงเรียนสิริภัจจ์การแพทย์แผนไทย
- พจนานุกรม ไทย-บาลี, โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดพระธรรมกาย
- การศึกษาภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านในการรักษาโรค หละ ละอองซางในเด็ก, มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น
- การศึกษาภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านในการรักษาโรค หละ ละอองซางในเด็ก, มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น
- ซางที่มีความรุนแรงในเด็ก, กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
- ว่าด้วยยารักษาโรคเด็ก, หมอชาวบ้าน
อ้างอิง ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567
แชร์ได้เลย
บทความแนะนำ
โภชนาการลูก วัย 2 - 3 ขวบ เด็กวัยนี้ต้องกินอะไรให้ฉลาดและแข็งแรง
หนึ่งในหลายปัญหาที่พ่อแม่ต้องเผชิญเมื่อลูกรักเข้าสู่วัย 2 – 3 ปี คือ ปัญหาด้านโภชนาการ เด็กวัยนี้เริ่มมีความเป็นตัวเองมากขึ้น รู้ว่าตัวเองชอบหรือไม่ชอบอะไร จึงค่อนข้างเลือกกิน และกินยาก ทำเอาพ่อแม่ต่างเป็นกังวลว่า ลูกจะกลายเป็นเด็กตัวเล็ก รูปร่างแคระแกร็น น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ มีพัฒนาการทางด้านร่างกายและสติปัญญาด้อยกว่าเพื่อนวัยเดียวกัน