อาการออทิสติกเทียม ลูกไม่สบตาเรียกไม่หัน เสี่ยงออทิสติกหรือเปล่า

อาการออทิสติกเทียม ลูกไม่สบตาเรียกไม่หัน เสี่ยงออทิสติกหรือเปล่า

30.09.2024

ลูกเปรียบเสมือนแก้วตาดวงใจของพ่อแม่ ทำให้พ่อแม่หลายคนเลือกที่จะประคบประหงมลูกน้อยไม่ให้ลูกต้องลำบาก ยอมทำทุกอย่างเพื่อลูกจนอาจเผลอทำร้ายลูกโดยไม่รู้ตัว ในทางตรงข้ามพ่อแม่ที่ให้อิสระปล่อยปละละเลยลูก ก็ส่งผลเสียต่อลูกน้อยเช่นเดียวกัน เพราะพฤติกรรมเหล่านี้ของพ่อแม่อาจส่งผลให้ลูกน้อยเป็นออทิสติกเทียมโดยไม่รู้ตัว ทำให้เด็กมีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน
 

headphones

PLAYING: อาการออทิสติกเทียม ลูกไม่สบตาเรียกไม่หัน เสี่ยงออทิสติกหรือเปล่า

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • ออทิสติกเทียม เป็นอาการของเด็กที่ขาดการเลี้ยงดูเอาใจใส่ของผู้ปกครอง และไม่ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการด้านต่าง ๆ ที่เหมาะสมตามวัย ทำให้เด็กมีความผิดปกติจากเด็กในวัยเดียวกัน
  • ลักษณะของเด็กที่มีอาการของออทิสติกเทียม เช่น ลูกไม่สามารถสื่อสารพูดคุยได้ พูดช้า มีโลกส่วนตัวสูง พูดไม่รู้เรื่อง เล่นกับเด็กในวัยเดียวกันไม่เป็น หรือไม่ชอบมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น เป็นต้น
  • อาการของออทิสติกเทียม มักจะแสดงอาการให้เห็นได้ชัดเมื่อลูกน้อยมีอายุ 2 ปี เมื่อคุณแม่สงสัยว่าลูกน้อยน่าจะเป็นเด็กออทิสติกเทียม ควรรีบพาลูกน้อยไปตรวจเช็กอาการกับคุณหมอเฉพาะทาง เพื่อให้ลูกน้อยได้รับการกระตุ้นพฤติกรรมที่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว เด็กจะได้กลับมามีพัฒนาการที่ดีขึ้นเหมือนเด็กปกติได้

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ออทิสติกเทียม เกิดจากอะไรได้บ้าง

ออทิสติกเทียม (Virtual autism) เป็นภาวะที่เด็กแสดงอาการคล้ายออทิสติกแท้ เนื่องจากขาดการดูแลและกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสม ได้แก่

  • การเลี้ยงลูกด้วยหน้าจอที่เป็นการสื่อสารทางเดียว ทำให้เด็กขาดทักษะการสื่อสารและการเข้าสังคม
  • การเลี้ยงลูกตามใจมากเกินไป ไม่ให้ลูกช่วยเหลือตนเอง ส่งผลให้ขาดความมั่นใจและไม่กล้าแสดงออก
  • การห้ามและควบคุมมากเกินไป ทำให้เด็กกลัวที่จะลองทำสิ่งใหม่ ๆ ส่งผลให้พัฒนาการล่าช้า

 

ออทิสติกเทียม ต่างกับออทิสติกแท้ยังไง

1. ออทิสติกเทียม

เป็นภาวะที่เด็กมีอาการบางอย่างที่คล้ายกับออทิสติกแท้ ที่มีผลมาจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ผู้ปกครอง ที่ทำให้ลูกน้อยขาดการกระตุ้นพัฒนาการในด้านต่าง ๆ เช่น ลูกไม่สามารถสื่อสารพูดคุยได้ พูดช้า เล่นกับเด็กในวัยเดียวกันไม่เป็น หรือไม่ชอบมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ออทิสติกเทียมสามารถรักษาได้ในระยะเวลาสั้น ๆ ถ้าได้รับการดูแลและกระตุ้นพัฒนาการอย่างเหมาะสม ลูกน้อยก็จะกลายเป็นเด็กปกติ

 

2. ออทิสติกแท้

เกิดจากความผิดปกติของสมองลูกน้อยอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของคุณแม่ ทำให้ลูกน้อยมีปัญหาด้านพัฒนาการการสื่อสาร พูดไม่ได้ พูดแปลก ๆ เฉยเมย อยู่ในโลกของตัวเอง ชอบเล่นคนเดียว ไม่ชอบเล่นกับเพื่อน มักไม่ยอมเล่นตามกฎกติกา และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เด็กซน เด็กสมาธิสั้น  โขกศีรษะ ก้าวร้าว และอารมณ์รุนแรง เป็นต้น เมื่อเด็กที่เป็นออทิสติกแท้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการ อาจทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้น แต่อาจมีพฤติกรรมบางอย่างที่ต่างจากเด็กในวัยเดียวกัน

 

หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกเป็นเด็กออทิสติกเทียม หรือออทิสติกแท้ ควรพาลูกน้อยไปตรวจเช็กพัฒนาการกับคุณหมอเฉพาะทาง เพื่อให้ลูกน้อยได้รับการวินิจฉัยอาการที่ถูกต้อง และได้รับการดูแลกระตุ้นพัฒนาการตามวัย อย่างเหมาะสม

 

เช็กให้ชัด ลูกมีอาการออทิสติกเทียมหรือไม่

ลักษณะของเด็กที่มีอาการของออทิสติกเทียม มีดังนี้

  • พูดช้า พูดไม่รู้เรื่อง: เด็กที่เป็นออทิสติกเทียมมักไม่ยอมพูด พูดซ้ำ ๆ หรือพูดไม่เป็นภาษา
  • เอาแต่ใจตัวเอง: ลูกน้อยไม่สามารถบอกความต้องการได้ ใช้การโวยวายแทนการสื่อสาร
  • หงุดหงิดง่าย: มีพฤติกรรมรุนแรง ร้องไห้ไม่มีเหตุผล หรือติดอยู่กับการทำอะไรซ้ำ ๆ
  • ไม่สบตา: เมื่อมีคนพูดคุยด้วย เด็กมักไม่สบตาหรือสบตาเพียงครู่เดียว
  • ไม่พยายามช่วยเหลือตัวเอง: ลูกน้อยที่เคยชินกับการได้รับความช่วยเหลือ จะไม่รู้จักช่วยเหลือตัวเอง
  • มีโลกส่วนตัวสูง: ติดเล่นคนเดียว ไม่สนใจรอบข้าง ไม่ชอบมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนวัยเดียวกัน
  • เรียกแล้วไม่หัน: ไม่สนใจเมื่อมีคนเรียก ไม่สบตาหรือแสดงความสนใจต่อผู้อื่น

 

เช็กให้ชัด ลูกมีอาการออทิสติกเทียมหรือไม่

 

ออทิสติกเทียม เกิดขึ้นกับเด็กวัยไหนได้บ้าง

ออทิสติกเทียม เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ลูกน้อยยังเล็ก แต่คุณแม่อาจจะยังไม่ทราบ เพราะโดยส่วนใหญ่แล้ว อาการของออทิสติกเทียมมักจะแสดงอาการให้เห็นได้ชัดเมื่อลูกน้อยมีอายุ 2 ปี

 

ออทิสติกเทียม ปล่อยไว้นาน ๆ ร้ายแรงแค่ไหน

เมื่อคุณแม่สงสัยว่าลูกน้อยเข้าข่ายอาการของเด็กออทิสติกเทียม ควรรีบพาลูกน้อยไปตรวจเช็กอาการกับคุณหมอเฉพาะทางอย่าปล่อยไว้นาน เพราะในช่วง 5 ปีแรกของชีวิต เป็นช่วงที่สมองของลูกน้อยยังมีการพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ หากคุณแม่ยังคงละเลย ปล่อยให้ลูกขาดการกระตุ้นพัฒนาการตามวัย อาจส่งผลในระยะยาวจนทำให้ลูกน้อยมีอาการที่ผิดปกติไปจากเด็กวัยเดียวกันได้

 

ออทิสติกเทียม แก้ไขเร็ว ลูกหายขาดได้

เด็กที่มีภาวะออทิสติกเทียม สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ซึ่งกุญแจสำคัญ คือ คุณแม่ต้องพาลูกเข้ารับการดูแลจากคุณหมอให้ไวที่สุดโดยเฉพาะในช่วง 5 ขวบปีแรกที่สมองยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อย่าปล่อยทิ้งไว้นาน เพื่อให้ลูกน้อยได้รับการกระตุ้นพฤติกรรมที่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว เด็กจะได้กลับมามีพัฒนาการที่ดีขึ้นเหมือนเด็กในวัยเดียวกันได้ในระยะเวลาสั้น ๆ

 

ลูกเป็นออทิสติกเทียม พ่อแม่รับมืออย่างไรดี

ออทิสติกเทียม เป็นอาการที่ขาดการกระตุ้นให้ลูกน้อยเกิดพัฒนาการเรียนรู้ คุณแม่จึงต้องพยายามเอาใจใส่ลูกน้อย คอยให้กำลังใจ และพยายามหากิจกรรมที่ช่วยเสริมพัฒนาการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ทั้งในด้านวิชาการ และไม่ใช่วิชาการ ดังต่อไปนี้

  • หมั่นพูดคุย ให้เวลาลูกมากขึ้นกว่าเดิม: พ่อแม่ควรพูดคุยสื่อสารกับลูกน้อยบ่อย ๆ เพื่อฝึกให้ลูกน้อยได้รู้จักการโต้ตอบ และการสบตาเวลาพูด
  • งดให้ดูหน้าจอทุกชนิดและกำหนดเวลาการดูหน้าจอ: คุณแม่ควรงดไม่ให้ลูกน้อยที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปีดูจอโทรศัพท์หรือแท็บเล็ต หากลูกน้อยมีอายุ 2 ปีขึ้นไป ให้จำกัดเวลาดูหน้าจอไม่เกินวันละ 1 ชั่วโมง และพ่อแม่ควรดูจอเป็นเพื่อนลูกด้วย
  • ให้เล่นของเล่นเสริมพัฒนาการ: การเล่นของเล่นตามวัย  จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อยได้ดีที่สุด หรืออาจเป็นการเล่นบทบาทสมมติในอาชีพที่ลูกสนใจ เพื่อให้เด็กรู้สึกอยากมีส่วนร่วม
  • ให้ลูกได้ออกไปเล่นใกล้ชิดกับธรรมชาติ: คุณแม่ควรปล่อยให้ลูกออกไปเล่นนอกบ้านบ้าง ไม่ควรปล่อยให้ลูกอุดอู้อยู่แต่ในบ้าน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของลูกน้อยได้เป็นอย่างดี
  • ให้ลูกได้เล่นกับเด็กวัยเดียวกัน: พ่อแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้เล่นกับเพื่อนวัยเดียวกันบ้าง เพื่อให้ลูกน้อยได้เกิดการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับสังคมที่เหมาะสมตามวัย

 

ความเอาใจใส่ของพ่อแม่ ย่อมส่งผลต่อพฤติกรรมและพัฒนาการของลูกน้อย หากคุณพ่อคุณแม่รักลูกให้พอดี และส่งเสริมให้ลูกน้อยทำกิจกรรมนอกบ้าน เล่นกับเพื่อน พูดคุยกันภายในครอบครัวบ่อย ๆ หรือแม้แต่การทำกิจกรรมร่วมกัน จะเป็นการช่วยให้ลูกน้อยเกิดการเรียนรู้และมีพัฒนาการที่ดียิ่งขึ้น แทนการปล่อยให้ลูกติดจอหรือลูกติดโทรศัพท์  เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกน้อยขาดการกระตุ้นพัฒนาการตามวัย จนทำให้ลูกน้อยเสี่ยงต่อออทิสติกเทียมได้ในอนาคต

 

บทความแนะนำสำหรับพัฒนาการลูกน้อย

 

 

อ้างอิง:

  1. ออทิสติกแท้ ออทิสติกเทียม เหมือนหรือต่าง อย่างไร, โรงพยาบาลสมิติเวช
  2. รู้จัก ออทิสติกเทียม ภาวะที่เกิดได้จากการเลี้ยงดู, โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
  3. ออทิสติกเทียม...คืออะไร แท้เทียมอย่างไร? พ่อแม่ควรรู้, โรงพยาบาลเปาโล
  4. ลูกของคุณเสี่ยงมีพฤติกรรมคล้ายออทิสติกหรือไม่, โรงพยาบาลกรุงเทพ

อ้างอิง ณ วันที่  7 สิงหาคม 2567
 

บทความแนะนำ

ตุ่มใสที่นิ้วอันตรายไหม ลูกมีตุ่มใสขึ้นที่มือคัน คุณแม่รับมือยังไงดี

ตุ่มใสที่นิ้วอันตรายไหม ลูกมีตุ่มใสขึ้นที่มือคัน คุณแม่รับมือยังไงดี

ตุ่มใสที่นิ้วลูก เกิดจากอะไร ลูกมีตุ่มใสที่มือคัน อันตรายไหม คุณพ่อคุณแม่จะรับมืออย่างไร หากลูกมีตุ่มใส ๆ ที่มือ พร้อมวิธีบรรเทาตุ่ม ใสที่นิ้ว

ลูกถ่ายวันละ 3-4 ครั้งปกติไหม ลูกถ่ายกะปริบกะปรอย อันตรายหรือเปล่า

ลูกถ่ายวันละ 3-4 ครั้งปกติไหม ลูกถ่ายกะปริบกะปรอย อันตรายหรือเปล่า

ลูกถ่ายวันละ 3-4 ครั้งปกติไหม หากลูกถ่ายกะปริบกะปรอยบ่อย ๆ ทุกวัน อันตรายกับลูกน้อยหรือเปล่า อาการถ่ายบ่อยของลูกแบบไหนที่คุณแม่ควรรีบพาไปพบแพทย์

เปลี่ยนชื่อลูกทำยังไง เปลี่ยนชื่อลูกในสูติบัตร มีขั้นตอนอย่างไร

เปลี่ยนชื่อลูกทำยังไง เปลี่ยนชื่อลูกในสูติบัตร มีขั้นตอนอย่างไร

อยากเปลี่ยนชื่อลูกทำยังไง เปลี่ยนชื่อลูกในสูติบัตรต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง มีขั้นตอนการเปลี่ยนชื่อลูกยังไง ไปดูเอกสารที่ต้องเตรียมและขั้นตอนการเปลี่ยนชื่อกัน

ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เป็นเพราะอะไร เป็นสัญญาณอันตรายไหม

ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เกิดจากอะไร อันตรายกับลูกน้อยไหม

อาการลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของลูกน้อยให้ดี เมื่อลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก