ลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว คุณแม่ดูแลลูกลิ้นขาวอย่างไรให้ถูกวิธี

ลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว คุณแม่ดูแลลูกลิ้นขาวอย่างไรให้ถูกวิธี

20.11.2024

เคยสังเกตไหมว่าทำไมหลังให้นมลูกแล้วลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว เกิดขึ้นกระจายอยู่ในช่องปาก อาการเหล่านี้เหมือนเป็นอาการปกติของทารก แต่รู้ไหมว่าอาจมีอันตรายซ่อนอยู่ในนั้น เพราะการปล่อยให้ลูกลิ้นเป็นฝ้านาน ๆ จนเช็ดไม่ออกอาจเป็นสัญญาณของอาการติดเชื้อราในช่องปาก จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกลิ้นเป็นฝ้าธรรมดา กับลูกลิ้นเป็นฝ้าเพราะติดเชื้อ วิธีแยกอาการเบื้องต้นและวิธีดูแลลูกน้อยเมื่อลูกลิ้นเป็นฝ้า เรามาหาคำตอบจากบทความนี้กันได้เลย

headphones

PLAYING: ลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว คุณแม่ดูแลลูกลิ้นขาวอย่างไรให้ถูกวิธี

อ่าน 4 นาที

 

สรุป

  • อาการลิ้นลูกเป็นฝ้าเกิดจากน้ำนมที่ตกค้างอยู่ภายในช่องปาก เมื่อปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ จะเกิดเป็นคราบสีขาวขึ้น หากคุณแม่ไม่ยอมทำความสะอาดช่องปากให้ลูกหลังกินนม เมื่อปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เกิดการสะสมและติดเชื้อราในช่องปากได้
  • ลักษณะอาการของลูกเป็นลิ้นฝ้าขาว และเชื้อราในช่องปากมีความคล้ายคลึงกัน ปกติแล้วคราบสีขาวหลังกินนมจะเช็ดทำความสะอาดออกได้ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ลูกน้อยมีการติดเชื้อราในช่องปาก คราบสีขาวจะเช็ดไม่ออกหรือเช็ดออกยาก พอเช็ดออกแล้วอาจเห็นเป็นสีชมพู หรือมีคราบเลือดติด
  • วิธีป้องกันไม่ให้ลูกน้อยเกิดเชื้อราในช่องปาก แนะนำให้คุณแม่ทำความสะอาดช่องปากลูกน้อยทุกครั้งด้วยผ้าก๊อซชุบน้ำต้มสุก ล้างทำความสะอาดจุกนม อุปกรณ์ให้นมและเครื่องปั๊มนมโดยเฉพาะส่วนที่สัมผัสกับหัวนมคุณแม่ เช็ดหัวนมคุณแม่ให้สะอาดและควรซับให้แห้ง เพื่อลดการสะสมของการเกิดเชื้อ

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว เกิดจากอะไร

อาการลิ้นลูกเป็นฝ้าขาวเกิดจากน้ำนมที่ตกค้างอยู่ภายในช่องปาก เมื่อปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ จะเกิดเป็นคราบสีขาวขึ้น ซึ่งสาเหตุหลักของอาการลูกลิ้นเป็นฝ้าขาวอาจเกิดได้จาก 2 กรณี คือ

1. คราบนมแม่

อาการลิ้นลูกเป็นฝ้าขาวสามารถเกิดจากคราบน้ำนมที่ตกค้างหลังจากแม่ให้นมแล้วเกาะกันเป็นคราบขาวหรือปื้นขาวบนลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม หรือเพดานปาก โดยปกติแล้วคราบน้ำนมจะละลายไปภายในหนึ่งชั่วโมง

 

2. เชื้อราในปาก

เป็นอีกหนึ่งตัวการที่ทำให้ลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว เนื่องจากเชื้อราชนิดนี้มีอยู่แล้วในปากของทารก พอลูกน้อยกินนมเข้าไป หากไม่ล้างหรือเช็ดคราบนมออกจะทำให้เชื้อราเกิดการเจริญเติบโตขึ้นจนเกิดเป็นคราบฝ้าขาวเกาะกันแน่น หรือเกิดจุดฝ้าขาวหนาบริเวณลิ้น กระพุ้งแก้ม เพดานปาก และเหงือก เช็ดเท่าไหร่ก็เช็ดไม่ออก

 

ลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว อันตรายไหม

อาการลูกลิ้นเป็นฝ้าขาวมักไม่เป็นอันตราย แต่อาจทำให้ลูกน้อยรู้สึกไม่สบายตัวและอาจเกิดปัญหาในการให้นมลูกได้ เพราะการปล่อยให้คราบน้ำนมเกาะแน่นจนเกิดการติดเชื้อราขึ้นเป็นปื้นสีขาวหนา อาจทำให้เด็กรู้สึกระคายเคือง หรือรู้สึกเจ็บเวลาดูดนมแม่ เมื่อลูกน้อยไม่ยอมกินนมบ่อย ๆ อาจส่งผลให้ลูกน้อยได้รับนมไม่เพียงพอจนกระทบต่อการเจริญเติบโตของทารกได้

 

ดังนั้น คุณแม่จึงควรหมั่นดูแลรักษาความสะอาดช่องปากของลูกน้อยหลังจากให้นมลูกอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อราเกาะจนเป็นปื้นขาวหนา ๆ เนื่องจากเชื้อราชนิดนี้มักเจริญเติบโตได้ดีในบริเวณที่อุ่นและชื้น ในช่องปากของทารกจึงเป็นแหล่งที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรานั่นเอง

 

ลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว กับ เชื้อราในปาก ต่างกันอย่างไร

ลักษณะอาการของลูกเป็นลิ้นฝ้าขาว และเชื้อราในช่องปากมีความคล้ายคลึงกัน หากต้องการแยกให้ออกคุณแม่สามารถสังเกตได้จากลักษณะอาการ ดังต่อไปนี้

1. หลังกินนมจะเกิดฝ้าขาวขึ้น

ลูกลิ้นเป็นฝ้าขาว มักเกิดขึ้นจากคราบน้ำนมหลังคุณแม่ให้นม หากคุณแม่ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดคราบสีขาวออกได้แสดงว่าฝ้าที่เกิดขึ้นเป็นเพียงคราบน้ำนมเท่านั้น

 

2. ไม่สามารถเช็ดคราบฝ้าสีขาวออกได้

ในกรณีที่คุณแม่ไม่สามารถเช็ดคราบสีขาวออกได้ แต่หากเช็ดหลุดแล้วมีคราบสีแดงเหมือนคราบเลือดบริเวณลิ้น แสดงว่าลูกน้อยอาจติดเชื้อราในช่องปากได้

 

3. ลูกดูดนมได้น้อยลง

หากลูกไม่ยอมดูดนม ทั้งยังมีอาการร้องไห้งอแง และมีจุดขาวในช่องปากที่ไม่สามารถเช็ดออกได้ อาจเป็นสัญญาณว่าลูกน้อยเกิดเชื้อราในปากเด็ก

 

หากลูกน้อยมีอาการลิ้นฝ้าขาวที่เกิดจากเชื้อราในปาก ควรรีบพาลูกน้อยไปปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและแนวทางการใช้ยาในการรักษาอาการลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว เพราะการปล่อยไว้นานอาจทำให้เด็กได้รับสารอาหารไม่เพียงพอโดยเฉพาะทารกวัย 6 เดือนแรกที่ได้รับสารอาหารผ่านนมแม่เพียงอย่างเดียว

 

ลูกลิ้นขาวนานแค่ไหน ควรปรึกษาแพทย์

 

ลูกลิ้นขาวนานแค่ไหน ควรปรึกษาแพทย์

ปกติแล้วอาการลิ้นลูกเป็นฝ้าขาวจะหายได้เองภายในหนึ่งหรือสองสัปดาห์ หากฝ้าสีขาวไม่ยอมหายนานกว่า 2 สัปดาห์แล้วควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที แต่ถ้าคุณแม่พบว่าลูกน้อยร้องไห้งอแง ไม่สามารถดูดนมหรือกินข้าวได้ ปฏิเสธจุกหลอก แสดงว่าลูกน้อยมีอาการเจ็บลิ้น คุณแม่ไม่ต้องรอให้นานถึง 2 สัปดาห์ สามารถพาลูกน้อยไปพบแพทย์ได้ทันที

 

วิธีป้องกันลูกลิ้นเป็นฝ้าขาว ที่ถูกต้อง

เมื่อลูกลิ้นขาว ลิ้นเป็นฝ้า หรือมีปื้นสีขาว คุณแม่สามารถดูแลป้องกันให้ลูกน้อยได้ด้วยวิธีดังนี้

1. ใช้ผ้าก๊อซชุบน้ำอุ่น เช็ดทำความสะอาดลิ้นลูกหลังกินนม

หลังจากคุณแม่ให้ลูกน้อยดูดนมควรทำสะอาดลิ้นลูกด้วยผ้าก๊อซชุบน้ำต้มสุก โดยให้คุณแม่เตรียมน้ำต้มสุกใส่ถ้วยเล็ก ๆ จากนั้นนำผ้าก๊อซมาพันที่นิ้วชี้ที่ล้างมือสะอาดแล้ว แล้วจุ่มลงในน้ำต้มสุก เช็ดทำความสะอาดให้ทั่วช่องปาก เริ่มจากสันเหงือกบนและล่าง กระพุ้งแก้มทั้งสองข้าง และลิ้น

 

2. ทำความสะอาดเครื่องปั๊มนม

คุณแม่ควรทำความสะอาดอุปกรณ์ให้นมลูกไม่เพียงแค่จุกนม และขวดนมเท่านั้น แต่ต้องทำความสะอาดที่เครื่องปั๊มนมบริเวณที่มีการสัมผัสหัวนมของคุณแม่ด้วย เพื่อฆ่าเชื้อที่ก่อให้เกิดเชื้อราหรือการสะสมของเชื้อราในช่องปาก

 

3. ทำความสะอาดของเล่นและของใช้ลูกอยู่เสมอ

เด็กมักชอบหยิบจับของเล่นไปอมหรือเอาเข้าปากเสมอ อาจมีเชื้อราในช่องปาก อาจทำให้เชื้อราชนิดนี้ติดอยู่กับของเล่นลูกด้วย คุณแม่จึงต้องทำความสะอาดของเล่นลูกเป็นประจำเพื่อลดการความเสี่ยงรับเชื้อและการสะสมของเชื้อราที่อยู่กับของเล่นลูกน้อย

 

4. ให้คุณแม่เช็ดหัวนมให้สะอาด

ทำความสะอาดภายในช่องปากของลูกน้อยแล้ว ควรทำความสะอาดหัวนมของคุณแม่ด้วย เพราะการปล่อยเต้าทิ้งไว้ไม่ทำความสะอาดอาจเป็นการสะสมของเชื้อราที่ทำให้ลูกลิ้นเป็นฝ้าได้ ดังนั้น คุณแม่ต้องคอยเช็ดทำความสะอาดหัวนมหลังจากให้นมหรือปั๊มนมให้ลูก แล้วปล่อยให้เต้านมแห้งสนิทเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์อื่น ๆ

 

5. ทำความสะอาดช่องปากอย่างเบามือ

หมั่นเช็ดทำความสะอาดลิ้น และฟันให้ลูกน้อยบ่อย ๆ เพื่อให้ลูกน้อยชินและยอมแปรงฟันเมื่อลูกน้อยถึงวัยที่สามารถแปรงฟันได้


อาการลูกลิ้นเป็นฝ้าขาว แม้ว่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ปกติหลังจากทารกกินนม แต่ไม่ควรชะล่าใจ หมั่นเช็ดทำความสะอาดช่องปากลูกน้อยหลังกินนมอยู่เสมอ หากพบว่าปื้นสีขาวที่ลิ้นเช็ดไม่ออก และลูกมีอาการเจ็บลิ้นและไม่ยอมดูดนมให้รีบพาไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา ในขณะเดียวกัน คุณแม่ไม่ควรละเลยหรือปล่อยให้ลูกลิ้นเป็นฝ้าขาว เป็นระยะเวลานาน เพราะอาจเป็นสาเหตุให้ลูกไม่ยอมดื่มนมแม่และขาดสารอาหารได้

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 


อ้างอิง:

  1. การแก้ปัญหาลิ้นเป็นฝ้าขาวของลูกน้อยค่ะ, โรงพยาบาลเปาโล
  2. What are those spots on my baby’s lips, tongue and mouth?, Children's Wisconsin
  3. What Is Thrush in Babies?, what to expect

อ้างอิง ณ วันที่ 9 กันยายน 2567
 

บทความแนะนำ

เด็กทารกนอนอ้าปาก ลูกนอนหายใจทางปาก อันตรายไหม

เด็กทารกนอนอ้าปาก ลูกนอนหายใจทางปาก อันตรายไหม

เด็กทารกนอนอ้าปากปกติไหม ลูกนอนหายใจทางปาก เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง คุณแม่ควรสังเกตอาการลูกน้อยอย่างไร เมื่อเด็กทารกนอนอ้าปากบ่อย พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

เด็กกัดเล็บตัวเองปกติไหม เสี่ยงติดเชื้อหรือเปล่า

เด็กกัดเล็บตัวเองปกติไหม เสี่ยงติดเชื้อหรือเปล่า

เด็กกัดเล็บตัวเอง เกิดจากอะไร ลูกน้อยกัดเล็บตัวเองบ่อย จะเสี่ยงติดเชื้อในปากหรือเปล่า คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร เมื่อรู้ว่าเด็กชอบกัดเล็บตัวเอง

สิวทารกแรกเกิด เป็นแบบไหน พร้อมวิธีดูแลทารกเป็นสิวที่หน้า

สิวทารกแรกเกิด เป็นแบบไหน พร้อมวิธีดูแลทารกเป็นสิวที่หน้า

สิวทารกเป็นยังไง เกิดจากอะไร สิวทารกแรกเกิดอันตรายไหม จะหายเองได้หรือเปล่า หรือว่าต้องทายาอะไรให้หายเร็ว คุณแม่ต้องดูแลลูกน้อยอย่างไร มีอะไรต้องระวังเป็นพิเศษไหม

ทารกจามบ่อยผิดปกติไหม ลูกจามบ่อย เป็นภูมิแพ้หรือเปล่า

ทารกจามบ่อยผิดปกติไหม ลูกจามบ่อย เป็นภูมิแพ้หรือเปล่า

เด็กทารกจามบ่อย เกิดจากอะไร ลูกจามบ่อยปกติไหม อาการแบบนี้ คือสัญญาณของภูมิแพ้ในเด็กหรือเปล่า คุณแม่ควรสังเกตอาการลูกน้อยอย่างไร เมื่อทารกจามบ่อยขึ้น

วิธีฝึกลูกนอนยาว ฝึกลูกนอนเอง ช่วยให้หลับสบายตลอดคืน

วิธีฝึกลูกนอนยาว ฝึกลูกนอนเอง ช่วยให้หลับสบายตลอดคืน

รวมวิธีฝึกลูกนอนยาว สอนลูกน้อยให้นอนหลับเองได้ ช่วยให้ลูกหลับสนิทตลอดคืน พร้อมเสริมพัฒนาการทางร่างกายและสมอง ช่วยเพิ่มเวลาพักผ่อนให้คุณพ่อคุณแม่

ขี้เทาทารก คืออะไร ภาวะอุจจาระแรกของทารก ที่พ่อแม่ควรรู้

ขี้เทาทารก คืออะไร ภาวะอุจจาระแรกของทารก ที่พ่อแม่ควรรู้

ขี้เทาทารก คืออะไร อุจจาระแรกของทารกหลังคลอดสำคัญไหม หากลูกกินขี้เทาทารกเข้าไปจะเป็นอันตรายกับลูกหรือเปล่า พร้อมวิธีสังเกตขี้เทาทารก ที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้

กระหม่อมทารกปิดเมื่อไหร่ ทารกแรกเกิดกระหม่อมหลังปิดกี่เดือน

กระหม่อมทารกปิดเมื่อไหร่ ทารกแรกเกิดกระหม่อมหลังปิดกี่เดือน

กระหม่อมทารก คืออะไร เด็กทารกแรกเกิดกระหม่อมหลังปิดกี่เดือน กระหม่อมทารกบุ๋ม อันตรายไหม คุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างไรให้ปลอดภัย พร้อมวิธีสังเกตกระหม่อมทารก

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก