ลูกไม่ยอมดูดขวดนม ลูกติดเต้าไม่ดูดขวด ฝึกให้ลูกดูดนมแม่จากขวด

วิธีให้ลูกดูดขวดนม เมื่อลูกติดเต้า พร้อมวิธีรับมือลูกน้อย

10.05.2024

นมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น โปรตีน แคลเซียม ดีเอชเอ และสฟิงโกไมอีลิน ที่เป็นประโยชน์ต่อลูกน้อย คุณแม่จึงควรให้ทารกกินนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน และสามารถให้นมแม่ได้นานถึง 2 ปี หรือนานกว่านั้น คุณแม่หลายคนจึงวางแผนให้ลูกน้อยกินนมแม่ให้นานที่สุด ในบางกรณีที่คุณแม่ต้องฝึกให้ลูกดูดนมแม่จากขวด เรามาดูเคล็ดลับดี ๆ กันเลย!!!

headphones

PLAYING: วิธีให้ลูกดูดขวดนม เมื่อลูกติดเต้า พร้อมวิธีรับมือลูกน้อย

อ่าน 4 นาที

 

สรุป

  • ลูกน้อยไม่ยอมดูดนมแม่จากขวดเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น ลูกน้อยรู้สึกอิ่มนมแม่อยู่ จุกนมไม่เหมาะกับเด็ก ลูกติดเต้าคุ้นชินกับการกินนมจากเต้ามากกว่า หรือลูกน้อยรู้สึกไม่สบาย เป็นต้น
  • การให้ลูกฝึกดูดนมแม่จากขวดจะช่วยให้คุณแม่สามารถออกไปทำธุระได้สะดวก หรือกลับไปทำงานได้หลังจากวันลาคลอดหมดแล้ว โดยไม่ต้องกังวลว่าลูกน้อยจะไม่ได้กินนมแม่
  • วิธีฝึกลูกดูดนมแม่จากขวดมีหลายวิธี คุณแม่ต้องค่อย ๆ ฝึกลูกน้อยค่อยเป็นค่อยไป เริ่มจากลองให้คุณพ่อป้อนก่อน ในระหว่างนั้นอาจสลับให้ลูกเข้าเต้าบ้าง ลองให้ลูกได้ฝึกดูดจุกนมเพื่อให้ลูกมีความเคยชิน

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

สาเหตุที่ลูกน้อยไม่ยอดดูดนมแม่จากขวด

  1. ลูกน้อยอิ่มนมแล้ว
  2. มีอาการไม่สบายท้อง ไม่สบายตัว
  3. คุ้นเคยกับการกินนมจากเต้า
  4. รสชาติของนมที่เปลี่ยนไป
  5. ลักษณะของจุกนม

 

ควรฝึกให้ลูกดูดนมแม่จากขวดนม ตอนไหนดี

ในกรณีที่คุณแม่มีปริมาณน้ำนมมาก คุณแม่สามารถให้ลูกน้อยได้รู้จักขวดนมได้ก่อน 1 เดือน หรือประมาณ 3 สัปดาห์ได้ โดยเริ่มจากการให้ลูกเข้าเต้าสลับกับการให้ลูกน้อยดูดนมแม่จากขวดวันละ 1-2 มื้อ เพื่อเป็นการกระตุ้นการสร้างน้ำนมของคุณแม่อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การที่คุณแม่ให้ลูกได้ดูดนมแม่จากขวดเพียงอย่างเดียวในช่วง 3-4 สัปดาห์แรกหลังคลอดอาจเร็วเกินไป เพราะทำให้น้ำนมของคุณแม่ถูกกระตุ้นได้ไม่ดีมากนัก ซึ่งส่งผลต่อปริมาณน้ำนมที่อาจลดลงได้ ในทางตรงกันข้าม หากคุณแม่เริ่มต้นให้ลูกดูดนมช้าไปอาจทำให้ลูกติดเต้าพออยากให้ลูกน้อยเริ่มดูดนมแม่จากขวดอาจทำได้ยาก



ลูกติดเต้า ไม่ดูดขวด มีข้อเสียอะไรบ้าง

 

ลูกติดเต้า ไม่ดูดขวด มีข้อเสียอะไรบ้าง

เมื่อลูกน้อยติดเต้าไม่ยอมกินนมแม่จากขวดอาจส่งผลต่อการกินนมของลูกในอนาคต เพราะถ้าลูกติดเต้ามาก ๆ เมื่อคุณแม่ไม่ว่างมีความจำเป็นต้องออกไปทำธุระทำให้คุณแม่ไม่สามารถทิ้งลูกน้อยไปได้ ในกรณีที่คุณแม่เจ็บป่วยขึ้นมาแล้วไม่สามารถให้ลูกกินนมแม่ได้ หรือคุณแม่ที่ต้องกลับไปทำงานอาจทำให้ลูกน้อยได้รับนมไม่เพียงพอต่อความต้องการได้

 

วิธีให้ลูกดูดขวด ฝึกลูกได้ไม่ต้องบังคับ

การที่จะให้ลูกน้อยดูดนมแม่จากขวดทันทีอาจเป็นเรื่องที่ยาก คุณแม่จะต้องเริ่มจากการค่อย ๆ ปรับพฤติกรรมการกินนมของลูกน้อยเพื่อให้เด็กสามารถเปลี่ยนจากการดูดนมจากเต้าแล้วไปดูดนมแม่จากขวดแทน ซึ่งวิธีการฝึกลูกดูดนมแม่จากขวด มีดังนี้

  • ลองให้คนอื่นป้อนดู: บางครั้งที่ลูกไม่ยอมดูดนมแม่จากขวดเพราะเห็นคุณแม่และคาดหวังว่าจะได้กินนมจากเต้า คุณแม่ลองเปลี่ยนให้คุณพ่อหรือคนที่ช่วยเลี้ยงให้ป้อนนมลูกน้อยแทน ช่วงแรกลูกอาจร้องไห้งอแงไม่ยอมดูดนมแต่คุณแม่ต้องอดทนรอเวลาก่อน พอลูกหิวนม มาก ๆ แล้วแม่ไม่ยอมมาจะช่วยให้ลูกเริ่มดูดนมแม่จากขวดได้
  • สลับให้นมจากเต้า และนมขวด: คุณแม่ควรค่อย ๆ ให้ลูกน้อยได้ทำความรู้จักกับการดูดนมแม่จากจุกยางก่อน โดยการให้ลูกกินนมจากเต้าแล้วสลับกับดูดนมแม่จากจุกยางหลาย ๆ ครั้ง เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้และปรับตัวให้คุ้นชินกับการดูดนมทีละน้อย
  • ให้ลูกดูดนมขวดตอนหิวมาก ๆ : หากคุณแม่ลองมาหลายวิธีแล้ว ลองพยายามให้ลูกกินนมแม่จากขวดเมื่อลูกน้อยรู้สึกหิวมาก ๆ เพราะอาจทำให้เด็กยอมดูดนมแม่จากขวดได้
  • เปลี่ยนจุกนม: บางครั้งลักษณะของจุกนมหรือขนาดของจุกนมอาจไม่ตอบสนองต่อการดูดนมของลูกน้อยได้ คุณแม่ลองเปลี่ยนจุกนมที่มีเนื้อสัมผัสคล้ายกับหัวนมแม่ก่อนอย่างจุกนมที่ทำจากยางธรรมชาติ เพราะมีความนิ่มและมีขนาดรูที่เล็กเหมาะสำหรับลูกน้อย เพื่อที่จะช่วยให้ลูกสามารถเริ่มต้นดูดนมจากจุกได้ดีขึ้น
  • จัดท่าให้นม: ถ้าลูกน้อยไม่ยอมดูดนมจากขวดคุณแม่ลองเปลี่ยนท่าให้นมก่อน โดยพยายามจัดท่าให้ตัวเองนั่งตัวตรง อุ้มลูกให้ศีรษะแนบชิดกับอก และถือขวดนมให้ขนานกับพื้น หรือในกรณีที่ลูกนอนอยู่ให้คุณแม่จัดท่าลูกน้อยในลักษณะนอนแนวตรง แล้วเอียงขวดนมเล็กน้อยเพื่อไม่ให้เด็กดูดอากาศเข้าไป

 

การเลือกจุกขวดนมที่ถูกใจลูก ก็สำคัญไม่แพ้กัน

ประเภทของจุกนมและขนาดของจุกนมล้วนมีความสำคัญมาก คุณแม่จึงควรเลือกจุกนมที่เหมาะสมกับลูกน้อยมากที่สุด เพื่อให้ลูกสามารถดูดนมได้ดียิ่งขึ้น และป้องกันปัญหาการสำลักนมเนื่องจากนมไหลเร็วเกินไป วิธีเลือกจุกนมให้ลูกน้อย มีดังนี้

ประเภทของจุกนม

มีทั้งแบบยางและซิลิโคน หากคุณแม่ต้องการจุกนมที่นุ่มแนะนำให้เลือกยางเพราะมีทั้งความนิ่มและการยืดหยุ่นได้ดี แต่ข้อเสียคือมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่า ในขณะที่จุกนมซิลิโคนจะมีความคงทนมากกว่า แน่นกว่า จึงใช้งานได้ยาวนานกว่า

 

ลักษณะของจุกนม

โดยทั่วไปจะมีอยู่ 3 แบบ คือ จุกนมปลายมนคล้ายระฆัง เป็นจุกนมธรรมดาทั่วไป หากลูกน้อยติดเต้าแนะนำให้เลือกใช้จุกนมปลายเรียบแบน ซึ่งจะมีฐานที่กว้างคล้ายกับการดูดนมจากเต้าของคุณแม่มากกว่า ในกรณีที่แม่อยากให้ลูกดูดนมได้ดียิ่งขึ้นอาจเลือกใช้จุกนมแบบปลายแหลมแบนที่ออกแบบมารองรับบริเวณเพดานปาก เหงือก และลิ้นของลูกน้อยได้เป็นอย่างดี

 

ขนาดของรูจุกนม

คุณแม่ควรเลือกขนาดของรูจุกนมตามช่วงวัยและความเหมาะสมกับเด็ก หากลูกน้อยอยู่ในวัยทารกควรเลือกรูจุกนมขนาดเล็กเพื่อชะลอการไหลของนมให้ช้าลง ลูกจะได้ไม่เกิดการสำลักนม เมื่อลูกน้อยโตขึ้นมาคุณแม่ค่อยเปลี่ยนมาใช้จุกนมที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อให้น้ำนมไหลทันตามความต้องการของลูกน้อย

 

ควรฝึกให้ลูกดูดนมแม่จากขวดกี่สัปดาห์ก่อนแม่กลับไปทำงาน

คุณแม่ที่มีวันลาจำกัดและจำเป็นต้องกลับไปทำงาน แนะนำให้คุณแม่ควรเริ่มฝึกลูกดูดนมและควรวางตารางปั๊มนม ล่วงหน้าประมาณ 1-2 สัปดาห์ก่อนเริ่มกลับไปทำงาน เพื่อเตรียมสต๊อกน้ำนมแม่ไว้ให้ลูกน้อย ในระหว่างนั้นคุณแม่ควรอยู่ให้ห่างจากลูกในช่วงเวลาให้นมแล้วให้คนดูแลมาคอยป้อนนมให้ลูกแทน เพื่อที่ลูกจะได้ค่อย ๆ ปรับตัวให้คุ้นชินเมื่อคุณแม่ต้องกลับไปทำงาน

 

การฝึกให้ลูกดูดนมแม่จากขวดคุณแม่ไม่ควรเริ่มต้นช้าเกินไปเพราะอาจทำให้ลูกน้อยกลายเป็นเด็กติดเต้าได้ แต่ก็ไม่ควรเริ่มต้นฝึกลูกเร็วเกินไปเพราะอาจทำให้คุณแม่ได้รับการกระตุ้นการสร้างน้ำนมที่น้อยเกินไปจนทำให้ปริมาณน้ำนมเริ่มลดน้อยลงได้ หากคุณแม่ไม่แน่ใจสามารถปรึกษาคุณหมอ เพื่อขอคำแนะนำในการเริ่มฝึกลูกดูดนมแม่จากขวดในช่วงเวลาที่เหมาะสมได้

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 

อ้างอิง:

  1. ลูกไม่ยอม ดูดนมจากขวด จะรับมืออย่างไรดี, hellokhunmor
  2. ไม่อยากเฝ้าแต่ลูกติดเต้าทำไงดี, โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์
  3. กินนมขวด เทคนิคสำคัญสำหรับการฝึกให้ลูกกินนมขวด, hellokhunmor
  4. Here’s How to Bottle-Feed Your Baby, whattoexpect
  5. จุกนมทารก เลือกให้ถูก ทำความสะอาดให้เป็น, pobpad
  6. Planning to Be Away from Your Baby: Introducing a Bottle, stanford medicine childrens health

อ้างอิง ณ วันที่ 18 มกราคม 2567
 

บทความแนะนำ

เปลี่ยนชื่อลูกทำยังไง เปลี่ยนชื่อลูกในสูติบัตร มีขั้นตอนอย่างไร

เปลี่ยนชื่อลูกทำยังไง เปลี่ยนชื่อลูกในสูติบัตร มีขั้นตอนอย่างไร

อยากเปลี่ยนชื่อลูกทำยังไง เปลี่ยนชื่อลูกในสูติบัตรต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง มีขั้นตอนการเปลี่ยนชื่อลูกยังไง ไปดูเอกสารที่ต้องเตรียมและขั้นตอนการเปลี่ยนชื่อกัน

หัวนมบอด คืออะไร ปัญหาหัวนมบอดของคุณแม่ให้นมที่แก้ไขได้

หัวนมบอด คืออะไร ปัญหาหัวนมบอดของคุณแม่ให้นมที่แก้ไขได้

หัวนมบอด คืออะไร คุณแม่หัวนมบอดและหัวนมสั้น สามารถให้นมลูกได้ปกติไหม ลูกจะได้รับสารอาหารที่เพียงพอหรือเปล่า ไปรู้จักอาการหัวนมบอดที่แม่ควรรู้กัน

เจ็บเต้าจี๊ด ๆ เหมือนเข็มทิ่ม เจ็บเต้าจี๊ด ๆ ข้างซ้ายผู้หญิง อันตรายไหม

เจ็บเต้าจี๊ด ๆ เหมือนเข็มทิ่ม เจ็บเต้าจี๊ด ๆ ข้างซ้ายผู้หญิง อันตรายไหม

คุณแม่เจ็บเต้าจี๊ด ๆ เหมือนเข็มทิ่ม บางครั้งเจ็บเต้าจี๊ด ๆ ข้างซ้ายผู้หญิง อาการแบบนี้เกิดจากอะไร หากเจ็บเต้านมบ่อยจะเป็นอันตรายกับแม่ให้นมไหม ไปดูกัน

ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เป็นเพราะอะไร เป็นสัญญาณอันตรายไหม

ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เกิดจากอะไร อันตรายกับลูกน้อยไหม

อาการลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของลูกน้อยให้ดี เมื่อลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก