3 วิธีละลายนมแม่ พร้อมวิธีอุ่นนมแม่ที่ถูกต้อง ช่วยให้น้ำนมมีคุณภาพ

3 วิธีละลายนมแม่ พร้อมวิธีอุ่นนมแม่ที่ถูกต้อง ช่วยให้น้ำนมมีคุณภาพ

24.03.2021

เพราะ “นมแม่” เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย ที่คุณแม่สามารถผลิตได้เองด้วยกลไกตามธรรมชาติ ซึ่งเปรียบเสมือนวัคซีนที่ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานต่าง ๆ เพราะมีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิดให้แก่ลูกน้อย รวมไปถึงเป็นแหล่งอาหารหลักและเป็นอาหารเพียงอย่างเดียวเพื่อสร้างการเจริญเติบโตของลูกตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัย 6 เดือน ซึ่งการเก็บรักษา รวมไปถึงการนำออกมาใช้ให้ลูกน้อยได้ดื่มกิน ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องมีวิธีการคงคุณค่าของนมแม่ให้ได้มากที่สุด

headphones

PLAYING: 3 วิธีละลายนมแม่ พร้อมวิธีอุ่นนมแม่ที่ถูกต้อง ช่วยให้น้ำนมมีคุณภาพ

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • การนำนมแม่ที่สต็อกไว้ในช่องแข็งมาละลาย ก็มีส่วนสำคัญที่จะช่วยคงคุณค่าสารอาหารไว้ให้ได้มากที่สุด ซึ่งคุณแม่ควรรู้วิธีละลายนมแม่ที่ถูกต้อง เพื่อคงคุณค่าของสารอาหารในนมแม่ไว้ให้ครบถ้วนที่สุด
  • วิธีละลายนมแม่หรือวิธีอุ่นนมแม่ที่ดี ไม่ควรให้นมแช่แข็งละลายเองด้วยอุณหภูมิห้อง ควรแช่ในน้ำเปล่าอุณหภูมิปกติแล้วจึงนำไปแช่ในน้ำอุ่นก่อนป้อนทารก
  • หากนำนมมาป้อนลูกแล้วเหลือจากการป้อนในมื้อนั้น สามารถเก็บให้ลูกกินได้ถึงมื้อต่อไปเท่านั้น ไม่ควรนำน้ำนมที่เหลือจากการป้อนนมลูกกลับไปแช่แข็งอีก

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

การอุ่นนม คืออะไร

  • หลังจากที่คุณแม่ปั๊มนมให้ลูกน้อยและเก็บสะสมนมสต๊อกได้แล้ว ซึ่งนมแม่ที่สต๊อกไว้ไม่ควรมีอายุเกิน 1 ปี เพราะนอกจากจะมีกลิ่นหืนซึ่งเกิดจากปฏิกิริยากับอากาศแล้ว เซลล์เม็ดเลือดขาวและสารภูมิคุ้มกันที่มีในนมแม่จะทยอยเสื่อมสลายไปเรื่อย ๆ ตามระยะเวลาและอุณหภูมิที่เก็บ นอกจากนี้ยังอาจมีการเจริญของเชื้อแบคทีเรียขึ้นได้ 
  • เมื่อต้องการนำน้ำนมแม่ที่สต๊อกออกมาให้นมลูก คุณแม่ต้องมีการวางแผนถึงปริมาณน้ำนมในแต่ละมื้อสำหรับลูก เตรียมภาชนะหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับละลายน้ำนมโดยที่ยังคงคุณค่าสารอาหารต่าง ๆ ในน้ำนมแม่ให้ครบถ้วนที่สุด เพราะความร้อนที่เกิน 40 องศาเซลเซียส จะทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวในนมแม่ ส่วนนมที่เย็นเกินไป จะทำให้เด็กมีภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ อาจส่งผลอันตรายต่อเด็กแรกเกิดได้
  • วิธีละลายนมแม่หรือวิธีอุ่นนมแม่ ห้ามใช้น้ำร้อนหรือนำเข้าไมโครเวฟเด็ดขาด เพราะการอุ่นในไมโครเวฟทำให้ความร้อนในนมไม่สม่ำเสมอ มีความร้อนสูง อาจทำลายคุณค่าสารอาหารของนมแม่ นอกจากนี้อาจทำให้ลวกปากและลิ้นของลูกน้อยได้

 

วิธีละลายนมแม่หรือวิธีอุ่นนมแม่ที่ถูกต้อง

 

วิธีอุ่นนมแม่ที่ถูกต้อง ทำอย่างไรได้บ้าง

  • คุณแม่ควรวางแผนว่าต้องการใช้ปริมาณน้ำนมแม่ในแต่ละวันเท่าใด และนำนมแม่จากสต็อกที่แช่แข็ง ย้ายมาแช่ในช่องธรรมดาก่อน 1 คืน (12 ชั่วโมง) จนละลายเป็นน้ำ แล้วจึงแบ่งใส่ขวด ก่อนนำมาอุ่นให้เป็นอุณหภูมิที่เหมาะสม โดยนมแม่ที่ละลายแล้วจะสามารถเก็บได้ 24 ชั่วโมง แต่ไม่ควรนำกลับไปแช่แข็งอีก
  • เติมน้ำอุ่นที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 60 องศาเซลเซียส ใส่แก้วกาแฟที่มีหูจับ ประมาณครึ่งแก้ว ผสมกับน้ำอุณหภูมิห้องอีกครึ่งแก้ว (สัดส่วน 1:1) จะได้น้ำอุ่นอุณหภูมิประมาณ 40 องศาเซลเซียส ซึ่งเหมาะสมต่อการอุ่นน้ำนมแม่ กรณีใช้น้ำร้อนที่อุณหภูมิ 95 องศาเซลเซียส ให้ผสมน้ำร้อน 1 ส่วน กับ น้ำอุณหภูมิห้อง 4 ส่วน (สัดส่วน 1:4) แล้วค่อยแช่ขวดนมลงไป
  • แช่ขวดนมที่บรรจุน้ำนมแม่ที่เย็นลงไปแช่ในแก้วกาแฟที่ใส่น้ำอุณหภูมิประมาณ 40 องศาเซลเซียส ประมาณ 5-10 นาที คุณแม่จะได้นมที่มีอุณหภูมิประมาณ 25-30 องศาเซลเซียส ซึ่งเหมาะสมต่อการให้ลูกน้อยดื่มได้แล้วค่ะ 
  • วิธีการทดสอบอุณหภูมิแบบง่าย ๆ สำหรับคุณแม่ สามารถทำได้โดยการหยดน้ำนมที่อุ่นแล้วใส่หลังมือ เพื่อวัดอุณหภูมิโดยจะต้องไม่รู้สึกร้อนหรือเย็น หมายถึงว่า ได้นมที่อุณหภูมิใกล้เคียงกับหลังมือของคุณแม่นั้นเอง
  • โดยปกตินมแม่ที่อุ่นแล้วสามารถเก็บได้อีก 2-3 ชั่วโมง ในอุณภูมิห้อง และหากลูกดูดนมขวดนั้นไปแล้ว คุณแม่สามารถเก็บต่อได้อีกไม่เกิน 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น

 

1. วิธีละลายนมแม่ ด้วยการวางทิ้งไว้เฉย ๆ

วิธีละลายนมแม่หรือวิธีอุ่นนมแม่ โดยการวางทิ้งไว้เฉย ๆ เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุด โดยคุณแม่สามารถนำนมแม่ที่แช่ตู้เย็นในช่องธรรมดาออกมาวางในภาชนะที่สะอาดที่จัดเตรียมไว้ โดยวางให้นมมีอุณหภูมิเท่าอุณหภูมิห้องก่อนนำไปให้ลูกกิน 

  • ข้อดี: ง่าย สะดวก และคุณแม่สามารถไปทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้ โดยคอยสังเกตระยะเวลาที่วางนอกตู้เย็นไม่ให้นานเกินไป
  • ข้อเสีย: น้ำนมแม่อาจจะมีกลิ่นหืน  และมีชั้นไขมันแยกตัว ต้องเขย่าเบา ๆ ให้ลูกก่อนกิน และคุณแม่อาจเผลอลืมวางทิ้งไว้นานจนเกินไป จนนมแม่เสียได้

 

2. วิธีละลายนมแม่ ด้วยการนำไปแกว่งในน้ำ หรือน้ำอุ่น

วิธีละลายนมแม่หรือวิธีอุ่นนมแม่ โดยการน้ำไปแกว่งในน้ำอุ่น การเตรียมภาชนะใส่น้ำอุ่นที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 40 องศา และนำนมแม่ลงไปแช่ประมาณ 5 – 10 นาที ซึ่งจะได้นมแม่มี่มีอุณหภูมิเหมาะสมต่อลูกน้อย

  • ข้อดี: นมแม่มีอุณหภูมิที่เหมาะสมแก่ลูก โดยใช้เวลาอุ่นนมไม่นานมากนักก็สามารถให้ลูกดื่มได้
  • ข้อเสีย: หากเตรียมน้ำสำหรับแช่นมร้อนจัดเกินไป จะทำให้เม็ดเลือดขาวในน้ำนมแม่ ที่ช่วยเรื่องภูมิคุ้มกันถูกทำลายได้ และคุณค่าสารอาหารในน้ำนมก็จะเสียไปด้วย และควรระวังหยดน้ำที่แช่นมอาจปนเปื้อนระหว่างให้นมลูกน้อยได้

 

3. วิธีละลายนมแม่ โดยใช้เครื่องอุ่นนม

วิธีละลายนมแม่หรือวิธีอุ่นนมแม่ โดยการใช้เครื่องอุ่นนม ที่ปัจจุบันมีมากมายในท้องตลาด บางรุ่นสามารถอุ่นนมและฆ่าเชื้อขวดนมได้ด้วย รวมถึงประหยัดเวลาในการอุ่นนม  

  • ข้อดี: สะดวก ลดระยะเวลาในการอุ่นนมในลูก ดูแลความสะอาดได้ง่าย ปลอดภัยต่อลูกน้อย และมีอุณหภูมิเหมาะสมคงที่
  • ข้อเสีย: เพิ่มค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องอุ่นนม และมีค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากการใช้งาน

 

นมแม่แช่แข็งอยู่ได้นานเท่าไหร่

คุณแม่สามารถเก็บน้ำนมแม่ หรือการทำสต๊อก เพื่อจะสามารถให้นมแม่แก่ลูกได้อย่างยาวนานที่สุดได้ ทั้งนี้ปัจจัยในการเก็บรักษาให้มีระยะเวลายาวนาน ขึ้นกับรูปแบบของการเก็บด้วยเช่นกัน โดยแบ่งเป็น ดังนี้

  • 3-4 ชั่วโมง เมื่อวางไว้ในห้องอุณหภูมิ 27-32 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิห้อง 16-26 องศาเซลเซียส จะเก็บได้ 4-8 ชั่วโมง
  • 1 วัน ในกระติกที่มีน้ำแข็งตลอดเวลา อุณหภูมิประมาณ 15 องศาเซลเซียส
  • 3-5 วัน ในตู้เย็นช่องธรรมดา อุณหภูมิประมาณ 0-4 องศาเซลเซียส (ระยะเวลาขึ้นอยู่กับความเย็นที่รั่วออกไปมากน้อยเมื่อเปิด-ปิดตู้เย็น)
  • 2 สัปดาห์ ในช่องแช่แข็งของตู้เย็นแบบประตูเดียว อุณหภูมิประมาณ -15 องศาเซลเซียส
  • 3-6 เดือน สำหรับช่องแช่แข็งของตู้เย็นแบบสองประตู อุณหภูมิประมาณ -18 องศาเซลเซียส
  • 6-12 เดือน เมื่อเก็บในช่องแช่แข็งเย็นจัด หรือ ตู้เย็นชนิดตู้แช่แข็ง อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส 
  • ไม่ควรเก็บน้ำนมไว้ที่ประตูตู้เย็น

 

วิธีละลายนมแม่หรือการให้นมแม่อย่างปลอดภัยและยาวนานที่สุด เป็นสิ่งที่คุณแม่ต้องหมั่นศึกษาและทำความเข้าใจ รวมถึงวิธีเก็บน้ำนม ที่คุณแม่ควรศึกษาเอาไว้เบื้องต้นด้วย เพื่อแนวทางที่เหมาะสมกับครอบครัว และรูปแบบการเลี้ยงดูลูกน้อย S-Mom Club เชื่อว่าคุณแม่ทุกท่านจะประสบความสำเร็จในการเลี้ยงดูลูกด้วยนมแม่ เพื่อช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกันและพัฒนาการที่ดีต่อร่างกายและสมอง

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 

อ้างอิง:

  1. นมแม่เก็บแค่ไหน ใช้เท่าไหร่ ถึงจะดีที่สุด, โรงพยาบาลเปาโล
  2. ให้นมแม่อย่างปลอดภัย สบายใจยิ่งขึ้น ด้วยหลัก “1 2 3”, โรงพยาบาลพญาไท
  3. คำแนะนำวิธีการเก็บน้ำนมแม่, โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์
  4. นมแม่เก็บแค่ไหน ใช้เท่าไหร่ ถึงจะดีที่สุด, โรงพยาบาลเปาโล
  5. วิธีเก็บรักษานมแม่, breastfeedingthai

อ้างอิง ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน 2566

บทความแนะนำ

ลูกเป็นผื่นผิวสาก ๆ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลทารกมีผื่นสาก

ลูกเป็นผื่นผิวสาก ๆ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลทารกผื่นสาก

ลูกเป็นผื่นผิวสาก ๆ เกิดจากอะไร ทารกมีผื่นสาก บอกอะไรได้บ้าง ลูกเป็นผื่นผิวสาก ๆ ทารกผื่นสาก เป็นอันตรายไหม มีสาเหตุมาจากอะไร พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

ลูกมีผื่นคันขึ้นตามตัวแต่ไม่มีไข้ พร้อมวิธีดูแล

ลูกมีผื่นคันขึ้นตามตัวแต่ไม่มีไข้ พร้อมวิธีดูแล

ลูกมีผื่นคันขึ้นตามตัวแต่ไม่มีไข้ บางครั้งมีผื่นแดงขึ้นตามตัวและคัน ทำให้คุณพ่อคุณแม่เป็นกังวลว่าลูกเป็นอะไร ไปดูวิธีดูแลเมื่อลูกมีผื่นคันขึ้นตามตัวแต่ไม่มีไข้

ลูกเป็นผื่นเม็ดเล็ก ๆ คัน ลูกเป็นผื่น ดูแลลูกแบบไหนให้ถูกวิธี

ผดร้อนทารก ลูกเป็นผื่นเม็ดเล็ก ๆ คัน ดูแลลูกแบบไหนให้ถูกวิธี

ผดร้อนทารก ลูกเป็นผื่นเม็ดเล็ก ๆ คัน เกิดจากอะไร สาเหตุอะไรได้บ้าง ที่ทำให้ลูกมีผดร้อนทารกและลูกเป็นผื่นเม็ดเล็ก ๆ คัน พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย เมื่อลูกมีผื่นคัน

กลากน้ำนม เกิดจากอะไร โรคผิวหนังในเด็ก พร้อมวิธีดูแลเกลื้อนน้ำนม

กลากน้ำนม เกิดจากอะไร โรคผิวหนังในเด็ก พร้อมวิธีดูแลเกลื้อนน้ำนม

กลากน้ำนม คืออะไร กลากน้ำนม เกลื้อนน้ำนม หรือเกลื้อนแดด พบได้บ่อยในเด็กอายุ 3-14 ปี เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคกลากน้ำนมได้