10 วิธีกระตุ้นน้ำนม เพิ่มน้ำนมคุณแม่ เมื่อน้ำนมไม่ไหล

10 วิธีกระตุ้นน้ำนม เพิ่มน้ำนมคุณแม่ เมื่อน้ำนมไม่ไหล

25.09.2019

เชื่อว่าคุณแม่มือใหม่หลาย ๆ คน น่าจะเคยผ่านช่วงเวลาที่หนักใจ หรือท้อใจกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งถือเป็นสารอาหารจากธรรมชาติที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย เพราะนมแม่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์มากมาย รวมถึงยังมีสารอาหารที่จะช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของลูกให้ทำงานได้ดีขึ้นและมีพัฒนาการทางสมองและร่างกายที่ดีอีกด้วย

headphones

PLAYING: 10 วิธีกระตุ้นน้ำนม เพิ่มน้ำนมคุณแม่ เมื่อน้ำนมไม่ไหล

อ่าน 12 นาที

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ความกังวลหลักของคุณแม่หลังคลอดมีหลายปัจจัย เช่น กลัวน้ำนมไม่ไหลหรือมีน้ำนมไม่เพียงพอกับความต้องการของลูก คุณแม่บางคนเจอลูกปฏิเสธเต้านม ไม่มีการดูดกระตุ้นเพื่อเพิ่มการผลิตน้ำนมตามธรรมชาติ การใช้เครื่องปั๊มนมไม่ถูกวิธี หรือคุณแม่ขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ รวมไปถึงสารอาหารที่จะช่วยบำรุงคุณแม่ในระหว่างการให้นมลูก เพื่อลดความกังวลต่าง ๆ เหล่านี้ เราได้สรุปแนวทางและเทคนิคต่าง ๆ ที่จะช่วยให้คุณแม่ให้น้ำนมลูกน้อยได้อย่างมีคุณภาพและต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ

 

อาหารเพิ่มน้ำนม บำรุงน้ำนมมีอะไรบ้าง

คุณแม่ที่ต้องการเพิ่มน้ำนม จำเป็นต้องได้รับสารอาหารเพียงพอ ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ สำหรับคุณแม่ให้นมบุตรร่างกายต้องการพลังงานประมาณ 2,500 Kcal/วัน เพิ่มขึ้นมากกว่าตอนตั้งครรภ์ จึงควรรับประทานอาหารที่เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกายเพื่อให้ร่างกายนำมาใช้ผลิตเป็นน้ำนม ในกรณีที่คุณแม่น้ำนมไม่ไหล ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหารอย่างหลากหลายและมีสารอาหารครบถ้วน จึงเป็นสิ่งสำคัญและช่วยเพิ่มน้ำนมคุณแม่ได้ ยกตัวอย่างอาหารที่เหมาะสม

  • อาหารจำพวกผลไม้ อาทิ มะละกอสุก อุดมไปด้วยไฟเบอร์ วิตามินเอ บี ซี ธาตุเหล็ก และแคลเซียมสูง มะขาม นิยมใช้กิ่งหรือต้นมะขาม อินทผลัม อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ คุณแม่บางท่านอาจจะทานอินทผลัมตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ เพื่อช่วยสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมดลูก ช่วยให้การบีบตัวของมดลูกระหว่างการคลอดได้ดี 
  • อาหารจำพวกผัก อาทิ หัวปลี สุดยอดผักเรียกน้ำนม มีธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส ขิง อุดมด้วยแคลเซียม วิตามินเอ วิตามินบี ใบกะเพรา มีแคลเซียม และฟอสฟอรัสสูง ฟักทอง มีวิตามินเอ ฟอสฟอรัส และเบต้าแคโรทีน    
  • อาหารจำพวกธัญพืช อาทิ งาดำ แหล่งแคลเซียมชั้นดี ช่วยบำรุงน้ำนมให้มีปริมาณมากยิ่งขึ้น อัลมอนด์ อุดมไปด้วยวิตามินอีและโอเมก้า 3 บำรุงให้น้ำนมที่ได้รับมีคุณภาพ ข้าวกล้องหรือขนมปังโฮลวีต มีใยอาหารสูงช่วยลดปัญหาท้องผูกได้
  • อาหารจำพวกผลิตภัณฑ์จากนม อาทิ นมวัว ที่มีสารอาหารครบถ้วน เสริมสร้างแคลเซียม โดยคุณแม่ให้นมควรดื่มอย่างน้อยวันละ 2-3 แก้ว 
  • อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ อาทิ ปลาแซลมอน ปลาทู ปลากะพง ทำให้ได้รับกรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 และ DHA เพิ่มขึ้นซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาทางสมองและระบบประสาทของทารก โดยควรรับประทานปลาทะเลอย่างหลากหลาย     เนื้อหมู เนื้อไก่ รับประทานประมาณ 2 ช้อนโต๊ะต่อมื้อ หรือเทียบเท่ากับไข่ไก่ 1 ฟองต่อมื้อ

 

วิธีกระตุ้นน้ำนมแม่ อาหารบำรุงน้ำนมควรเน้นสารอาหารแบบไหน

  

อาหารบำรุงน้ำนมควรเน้นสารอาหารแบบไหน

อาหารบำรุงน้ำนม  กลุ่มที่ 1 

เป็นสารอาหารที่ช่วยเพิ่มความเข้มข้นและปริมาณของน้ำนมแม ่ รวมถึงส่งผลต่อสุขภาพของลูกน้อยที่ดี 

  • วิตามินบี 1 พบได้ในอาหารจำพวก ปลา เนื้อหมู ถั่ว ธัญพืชต่าง ๆ
  • วิตามินบี 2 พบได้ในอาหารจำพวก อัลมอนด์ ถั่วต่าง ๆ เนื้อแดง ปลาที่มีกรดไขมันจำเป็นสูง ไข่ ชีส
  • วิตามินบี 6 พบได้ในอาหารจำพวก ปลา เนื้อสัตว์ปีก ถั่วลูกไก่ ธัญพืชตระกูลถั่ว มันฝรั่ง ผลไม้อบแห้ง กล้วย
  • วิตามินบี 12 พบได้ในอาหารจำพวก หอย ตับ โยเกิร์ต ปลาที่มีกรดไขมันจำเป็นสูง ไข่ ปู กุ้ง อาหารที่หมักจากยีสต์ตามธรรมชาติ
  • วิตามินเอ พบได้ในอาหารจำพวก มันเทศ แครอท ผักใบเขียวเข้ม เครื่องใน ไข่
  • วิตามินดี พบได้ในอาหารจำพวก ปลาที่มีกรดไขมันจำเป็นสูง น้ำมันตับปลา
  • โคลีน พบได้ในอาหารจำพวก ไข่ ตับวัว ตับไก่ ถั่วพีนัท
  • ซีลีเนียม  พบได้ในอาหารจำพวก อาหารทะเล ธัญพืชไม่ขัดสี ถั่วต่าง ๆ
  • ไอโอดีน พบได้ในอาหารจำพวก สาหร่ายทะเล ตับ นม เกลือไอโอดีน

 

อาหารบำรุงน้ำนม กลุ่มที่ 2

เป็นสารอาหารที่มีผลต่อสุขภาพแม่โดยตรง ช่วยในการฟื้นตัวหลังคลอด  เป็นสารอาหารที่ไม่ได้ช่วยเพิ่มความเข้มข้นของสารอาหารในน้ำนมแม่ แต่ช่วยบำรุงสุขภาพโดยการเพิ่มสารอาหารให้แก่คุณแม่ให้นม 

  • โฟเลต พบได้ในอาหารจำพวก ผักใบเขียว หน่อไม้ฝรั่ง อะโวคาโด ถั่วต่าง ๆ
  • แคลเซียม พบได้ในอาหารจำพวก ผักใบเขียว นม โยเกิร์ต
  • ธาตุเหล็ก พบได้ในอาหารจำพวก เนื้อแดง เนื้อหมู เนื้อสัตว์ปีก ถั่วต่าง ๆ ผักสีเขียว
  • ทองแดง พบได้ในอาหารจำพวก ธัญพืชไม่ขัดสี ถั่วต่าง ๆ อาหารทะเล เครื่องใน มันฝรั่ง
  • สังกะสี พบได้ในอาหารจำพวก หอยนางรม เนื้อแดง เนื้อหมู เนื้อสัตว์ปีก ถั่วต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์จากนมวัว

 

อาหารเพิ่มน้ำนม บำรุงน้ำนมคุณแม่ตั้งครรภ์

 

3 เคล็ดลับวิธีเพิ่มน้ำนมแม่ให้เพียงพอกับลูกน้อย

1. ให้ลูกดูดนมจากเต้าของคุณแม่เป็นประจำ 

เนื่องจากการผลิตน้ำนมของแม่เป็นกระบวนการอุปสงค์ อุปทาน ถ้าลูกดูดเยอะ ดูดบ่อย น้ำนมก็จะผลิตเยอะ แต่ถ้าลูกดูดน้อย น้ำนมก็ผลิตน้อย ซึ่งเป็นกลไกธรรมชาติ โดยวิธีการกระตุ้นน้ำนมและเพิ่มน้ำนมที่ดีที่สุด ในกรณที่คุณแม่น้ำนมไม่ไหล คือการใช้เทคนิค ดูดเร็ว ให้ลูกดูดนมจากเต้าทันทีหลังคลอด เพื่อกระตุ้นน้ำนมครั้งแรก โดยให้ลูกน้อยดูดนมให้ได้วันละ 8-12 ครั้ง หรือตามที่ลูกต้องการ ดูดนาน ให้ลูกดูดนมข้างละประมาณ 15 นาที หรือจนกว่าลูกจะเลิกดูดเอง

 

2. การปั๊มน้ำนม

ในช่วงหลังคลอดแรก ๆ คุณแม่ควรให้ลูกน้อยได้ดูดนมจากเต้าให้ได้มากที่สุด นอกจากจะเป็นการกระตุ้นน้ำนมและเพิ่มน้ำนมแล้ว ยังช่วยให้ลูกน้อยได้รับน้ำนมที่มีประโยชน์จากคุณแม่อีกด้วย แต่สำหรับแม่บางท่าน เมื่อครบกำหนดลาคลอดแล้วต้องเริ่มกลับไปทำงาน การปั๊มนมก็เป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ลูกได้มีน้ำนมดื่มอย่างต่อเนื่อง ซึ่งโดยส่วนใหญ่ในช่วง 6 เดือนแรก อาจต้องปั๊ม 8-12 ครั้งต่อวัน หรือ ทุก 2-4 ชั่วโมง และควรปั๊มในช่วงรอบดึก อย่างน้อย 2 รอบต่อคืน และใช้เวลาในการปั๊มประมาณครั้งละ 15-20 นาที เพื่อให้ได้ปริมาณน้ำนมที่เพียงพอ

 

ในกรณีที่คุณแม่น้ำนมเยอะ อาจพิจารณารอบการปั๊มให้พอ เพื่อไม่ให้เกิดการอุดตันของเต้านม และเมื่ออยู่ที่ทำงานหรือข้างนอก คุณแม่ก็ควรที่จะปั๊มให้ได้ทุก 3-4 ชั่วโมง เพื่อกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำนมอย่างเพียงพอ และคุณแม่ต้องควรหมั่นทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องปั๊มนมให้ปลอดเชื้ออยู่เสมอ พร้อมสำหรับการใช้งานครั้งถัดไป ทั้งนี้การดื่มให้เพียงพออย่างน้อย 3-4 ลิตรต่อวันก็มีส่วนช่วยให้ปั๊มนมดียิ่งขึ้น

 

3. ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวของคุณแม่ให้นมบุตร

  • รับประทานให้ครบ 5 หมู่ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต  โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ และไขมัน  ในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายทุกวัน และงดอาหารหมักดอง
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่ม ประเภทแอลกอฮอล์ ยาดองเหล้า  ทุกชนิด เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา  กาแฟ
  • งดอาหารรสจัด เช่นหวานจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด เผ็ดจัด
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ  ไม่ตรากตรำทำงานหนักเกินไป
  • ออกกำลังกายพอประมาณ
  • กินยาบำรุงตามแพทย์สั่ง สำหรับยาอื่น ๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง
  • เมื่อมีอาการผิดปกติใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์ทันที

 

10 วิธีกระตุ้นน้ำนมแม่ ช่วยเพิ่มน้ำนม เมื่อคุณแม่น้ำนมไม่ไหล

1. เริ่มให้นมลูกเร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ 

ควรให้นมภายใน 1 ชั่วโมงหลังคลอด เพราะประโยชน์นมแม่  ช่วยส่งผลดีต่อลูกน้อยและช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่ในระยะยาว และยังเป็นการเพิ่มความอบอุ่นระหว่างแม่กับลูกน้อยได้อีกด้วย

 

2. ให้นมถี่ขึ้นหรือตามความต้องการของลูก 

การดูดกระตุ้นจะส่งสัญญาณให้ร่างกายสร้างน้ำนมเพิ่มมากขึ้น ช่วยเพิ่มน้ำนม กรณีแม่น้ำนมไม่ไหลและลูกไม่ยอมกินนมจากเต้า คุณแม่อาจใช้วิธีการปั๊มนมให้ถี่ทุก 2-3 ชั่วโมง เพื่อส่งสัญญาณให้ร่างกายสร้างน้ำนมเพิ่มมากขึ้น

 

3. ปั๊มนมระหว่างมื้อให้นม 

ยิ่งน้ำนมเกลี้ยงเต้ามากเท่าไหร่ การผลิตน้ำนมยิ่งมากขึ้น และเร็วขึ้นเท่านั้น ซึ่งการปั๊มนมต่ออีกประมาณ 10 นาทีหลังจากให้ลูกเข้าเต้า จะช่วยให้นมเกลี้ยงเต้ามากยิ่งขึ้น และร่างกายจะผลิตน้ำนมมากขึ้น

 

4. ดื่มน้ำเปล่าให้มากขึ้น 

เนื่องจาก 90% ของน้ำนมคือน้ำ น้ำจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการผลิตน้ำนม ในช่วงให้นม ควรดื่มน้ำอย่างน้อย 2-3 ลิตรต่อวัน และดื่มน้ำอย่างน้อย 250 มิลลิลิตร ทุกครั้งหลังให้นม

 

5. นอนพักให้มากขึ้น ลดสิ่งรบกวนที่ทำให้เครียดหรือเหนื่อย 

การนอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้ร่างกายสามารถเพิ่มการผลิตน้ำนมมากขึ้น ดังนั้นในบางเวลา คุณแม่อาจจะขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้างให้ช่วยดูแลงานบ้านอื่น ๆ เพื่อที่คุณแม่จะได้มีเวลาพักผ่อนและสามารถให้นมลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

6. ทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ได้พลังงานที่เพียงพอ 

ในช่วงให้นมลูก ร่างกายของแม่จะต้องการพลังงานมากขึ้น 300-500 กิโลแคลอรี่ต่อวัน  ดังนั้น การเพิ่มน้ำนมที่ดี คุณแม่ควรทานอาหารให้ได้พลังงานที่เพียงพอ

 

7. ทานอาหารที่ช่วยเพิ่มน้ำนม 

พืชผัก และอาหารบางชนิด มีสารอาหารที่อาจช่วยเพิ่มน้ำนมได้ ควรเลือกพืชผักเหล่านี้มาประกอบอาหาร และทานให้หลากหลายในแต่ละวัน

 

8. การทำ Power Pumping

การปั๊มนมให้ลูกเป็นรอบ ๆ เลียนแบบการดูดของลูก เพื่อบอกร่างกายว่าต้องการน้ำนมมากขึ้น ทำให้ร่างกายสร้างน้ำนมเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง โดยการทำ Power pumping จะให้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง จะมีการปั๊มสลับกับการหยุดพัก โดยใช้เทคนิคเพิ่มน้ำนม ปั๊ม 20 นาที/พัก 10 นาที/ ปั๊ม 10 นาที/พัก 10 นาที/ปั๊ม 10 นาที

 

9. ทานสมุนไพรเพิ่มน้ำนม 

สมุนไพรบางชนิดสามารถเพิ่มน้ำนมหรือในกรณีที่น้ำนมไม่ไหลได้ อาทิ Fenugreek, Blessed thistle, Fennel, Milk thistle เป็นต้น แต่เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญการให้นมแม่ก่อนทานยาหรือสมุนไพรต่าง ๆ

 

10. หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ หรือยาที่อาจลดการสร้างน้ำนม 

การดื่มแอลกอฮอล์ หรือ การสูบบุหรี่ จะทำให้การสร้างน้ำนมลดลง รวมถึงยาบางชนิดก็อาจทำให้การสร้างน้ำนมลดลงได้ 

 

ไขข้อข้องใจ อาหารบำรุงน้ำนมแม่

  • อาหารเพิ่มน้ำนมและกระตุ้นน้ำนม อาทิ แกงเลียงหัวปลี ไก่ผัดขิง กระเพราหมูสับ ฟักทองผัดไข่น้ำพริกมะขาม (รสไม่จัด) ผัดกุยช่ายใส่ตับ ซึ่งเป็นอาหารเพิ่มน้ำนม คุณแม่ชั้นดี และในระหว่างวันอาจจะดื่มน้ำขิงร่วมด้วย  โดยคุณแม่ควรเลือกสูตรหวานน้อยหรือไม่หวาน เพื่อลดความเสี่ยงน้ำตาลสูง
  • อาหารที่คนท้องควรหลีกเลี่ยง ควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกนมถั่วเหลือง ข้าวสาลี ข้าวโพด และถั่ว เพราะอาจทำให้ลูกน้อยเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้ งดหรือลดเครื่องดื่มและขนมที่มีสารคาเฟอีน แต่ในบางครั้งหากคุณแม่มีความต้องการดื่มกาแฟ ก็สามารถดื่มได้ แต่ต้องเว้นช่วงปั๊มนมหรือเข้าเต้าประมาณ 2-3 ชั่วโมงและมีคาเฟอีนในปริมาณน้อยกว่า 200 มิลลิกรัม หรือดื่มกาแฟไม่เกินวันละ 1-2 แก้ว หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาจส่งผลทางอารมณ์ของลูกน้อย งดอาหารปรุงไม่สุกและอาหารค้างคืนเพราะอาจทำให้คุณแม่ท้องเสียได้ง่าย และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อพัฒนาการที่ดีทางด้านสมองของลูกน้อย
  • ผลไม้เพิ่มน้ำนม อาทิ มะละกอ ใช้เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ ป้องกันโรคนิ่ว บำรุงผิว และช่วยกระตุ้นให้น้ำนมแม่มากขึ้น กล้วย มีโพแทสเซียมสูง เหมาะสำหรับคุณแม่หลังคลอดนั้นสามารถกินกล้วยเพื่อช่วยฟื้นฟูร่างกาย พุทรา เมื่อรับประทานเป็นประจำ จะช่วยให้คุณแม่มีน้ำนมมากขึ้น รวมถึงยังช่วยบำรุงร่างกายของคุณแม่หลังคลอดได้ดี และแคนตาลูป เป็นผลไม้ที่ให้น้ำมาก คุณแม่ที่เพิ่งให้นมลูกไปจึงต้องการน้ำเพื่อมาทดแทนสิ่งที่ขาดหายและเพื่อปรับสมดุลในร่างกาย
  • เครื่องดื่มบำรุงคุณแม่หลังคลอดที่สามารถดื่มได้ อาทิ น้ำขิง นอกจากเพิ่มน้ำนมให้ลูกได้ ยังสามารถช่วยคุณแม่ควบคุมน้ำหนักหลังคลอดด้วย เนื่องจากขิงช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย ช่วยกระบวนการเผาพลาญ ทำให้เลือดในร่างกายหมุนเวียนดีขึ้น และน้ำหัวปลี ซึ่งหัวปลีมีสรรพคุณที่โดดเด่นในการบำรุงน้ำนมแม่ได้เป็นอย่างดี เพราะมีแคลเซียมสูง โปรตีน ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส วิตามินซี เบต้าแคโรทีน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด แก้โรคกระเพาะอาหาร และยังบำรุงเลือดได้ดีอีกด้วย

 

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแนวทางบางส่วนที่จะช่วยให้คุณแม่สามารถให้นมแก่ลูกน้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพและยาวนานต่อเนื่อง เพราะในนมแม่จะมีสารอาหารครบถ้วน มีสารอาหารบำรุงสมองอย่าง สฟิงโกไมอีลิน ดีเอชเอ เออาร์เอ และ มีจุลินทรีย์สุขภาพในตระกูลบิฟิโดแบคทีเรียม อาทิ บี แล็กทิส ช่วยปรับสมดุลในระบบทางเดินอาหาร เสริมภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ทำให้ลูกเติบโตอย่างแข็งแรง สมวัย พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อีกทั้งการให้นมแม่เป็นหนึ่งในวิธีการเลี้ยงดูลูก ที่ช่วยก่อให้เกิดสายสัมพันธ์ และกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้งห้าของลูก “การให้นมแม่จึงถือเป็นของขวัญที่มีค่าที่สุดแก่ลูกน้อยนั้นเอง”

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 

อ้างอิง

  • Boonchalerm P, et al. J Nurs Sci Vol 30 No 4 October - December 2012
  • โภชนาการแม่หลังคลอดระยะให้นมลูก, โรงพยาบาลนครธน
  • อาหารสำหรับคุณแม่ให้นมบุตร, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  • ลดอ้วนหลังคลอด ไม่ต้องพึ่งยา ให้ลูกดูด "นม" ทุกวัน ช่วยรีดไขมัน เพิ่มเผาผลาญ, กรมสุขภาพจิต
  • ให้นมลูกอยู่คุณแม่ห้ามกินอะไรบ้าง, โรงพยาบาลวิชัยเวช

อ้างอิง ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2566
 

 

 

บทความแนะนำ

เจ็บเต้าจี๊ด ๆ เหมือนเข็มทิ่ม เจ็บเต้าจี๊ด ๆ ข้างซ้ายผู้หญิง อันตรายไหม

เจ็บเต้าจี๊ด ๆ เหมือนเข็มทิ่ม เจ็บเต้าจี๊ด ๆ ข้างซ้ายผู้หญิง อันตรายไหม

คุณแม่เจ็บเต้าจี๊ด ๆ เหมือนเข็มทิ่ม บางครั้งเจ็บเต้าจี๊ด ๆ ข้างซ้ายผู้หญิง อาการแบบนี้เกิดจากอะไร หากเจ็บเต้านมบ่อยจะเป็นอันตรายกับแม่ให้นมไหม ไปดูกัน

วิธีบีบน้ำนม บีบนมอย่างไรให้ถูกวิธี ช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่

วิธีบีบน้ำนมด้วยมือ บีบนมอย่างไรให้ถูกวิธี ช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่

วิธีบีบน้ำนมสำหรับคุณแม่ บีบนมด้วยมือแบบไหนช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่ได้ และช่วยลดการคัดเต้านมได้ดี ช่วยให้คุณแม่สามารถสต๊อกนมให้ลูกได้อย่างปลอดภัย

ลูกไม่ยอมดูดขวดนม ลูกติดเต้าไม่ดูดขวด ฝึกให้ลูกดูดนมแม่จากขวด

วิธีให้ลูกดูดขวด เมื่อลูกติดเต้าไม่ดูดขวดนม พร้อมวิธีรับมือลูกน้อย

รวมวิธีให้ลูกดูดขวดนม เมื่อลูกติดเต้าไม่ดูดขวดนม คุณแม่สามารถฝึกให้ลูกดูดนมแม่จากขวดได้ ไปดูวิธีให้ลูกดูดขวดนมด้วยตัวเอง ก่อนคุณแม่กลับไปทำงานกัน

แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ มักมีความกังวลว่า แม่เป็นโรคภูมิแพ้แล้วลูกจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือเปล่า ไปดูสาเหตุพร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้นกัน