รวมปัญหาเต้านม ที่คุณแม่ให้นมลูกหลายคนต้องเจอ
เรียนรู้ ปัญหาเรื่องหัวนมและเต้านม
รู้ก่อน ป้องกันก่อน คุณแม่รู้ไหม ปัญหากวนใจเรื่องหัวนมเจ็บ หัวนมแตก คือ สาเหตุที่ทำให้คุณแม่หลายท่าน ไม่ประสบความสำเร็จในการให้นม ลูกเข้าเต้าไม่ถูกวิธี อาจเป็นสาเหตุทำให้ คุณแม่หัวนมเจ็บหัวนมแตก
สาเหตุ
- มาจากการให้ลูกเข้าเต้าไม่ถูกวิธี อมไม่ลึกถึงลานนมดูดติดเฉพาะหัวนม
- เต้านมแม่คัดตึงลูกอมไม่ติด
- ลูกมีพังผืดใต้ลิ้น แลบลิ้นออกได้น้อย ดูดได้แต่หัวนม
- ลูกได้จุกนมขวดมาก่อน เกิดภาวะสับสนหัวนม
การแก้ไข
แก้ไขตามสาเหตุ ปรับท่าให้นมและวิธีการอมให้ถูกวิธี (อุ้มและดูดให้ถูกท่า) การเปลี่ยนท่าดูดนม สามารถช่วยลดอาการ เจ็บหัวนมได้ โดยเปลี่ยนจากท่านอนขวางบนตัก (Cradle Hold) เป็นท่าอุ้มด้านข้าง (Football Hold) หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ กรณีลูกมีพังผืดใต้ลิ้น
เต้านมคัด
เต้านมคัด อาจเกิดจากคุณแม่มี น้ำนมมาก ระบายน้ำนมออกจากเต้าไม่ดี
เต้านมคัด พบได้บ่อยในวันที่ 2-5 หลังคลอด
- สาเหตุ: มักเกิดจากมีน้ำนมมาก และเกิดการ ระบายน้ำนมออกจากเต้าไม่ดี เนื่องจากลูกดูดช้า หรือดูดไม่ถูกวิธี
- การแก้ไข: คุณแม่ควรระบายน้ำ นมออกจากเต้า โดยให้ลูกดูด หรือ บีบน้ำนมทุก 2 ชั่วโมง หรืออาจ ประคบเต้านม ด้วยผ้าชุบน้ำ อุ่นจัด (ความร้อนที่แม่ สามารถทนได้) ประคบเต้านม ก่อนประมาณ 10 นาที แล้วจึง บีบน้ำนมสลับกับการนวด และประคบเต้านมต่อไป
เต้านมอักเสบ
เต้านมอักเสบ อาจเกิดจากท่อน้ำนม อุดตัน หรือเต้านมคัดที่ไม่ได้รับการ แก้ไข และมีการติดเชื้อ
เต้านมอักเสบ มักมีอาการ บวมแดง ร้อน ปวดมาก และเจ็บ เวลาจับต้อง
- สาเหตุ: 1 ในสาเหตุเกิดจาก ท่อน้ำนมอุดตัน หรือเต้านมคัดที่ไม่ ได้รับการแก้ไขร่วมกับมีการติดเชื้อ เนื่องจากระบายน้ำนมออกมาได้ ไม่ดี
- การแก้ไข: แก้ไขตามสาเหตุ ช่วยให้แก้ไข ได้อย่างถูกวิธี ควร ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือคลินิก นมแม่
บทความแนะนำ
43 เคล็ดไม่ลับ "วิธีสร้างสมอง… สู่พรสวรรค์ของลูกน้อยวัย 4 ปี"
“ทำไมของชิ้นนั้นถึงเป็นแบบนี้” “นอกจากทำวิธีนี้เราทำวิธีไหนได้อีก” การตั้งคำถามชวนให้ลูกคิดในแง่มุมต่างๆ เป็นการฝึกทักษะทางการคิดที่ดี การกระตุ้นให้ลูกตอบโดยใช้ประโยคที่ยาวขึ้นเพื่ออธิบาย ก็เป็นการฝึกความสามารถในการถ่ายทอดสิ่งที่ตัวเองคิดออกมา เป็นสิ่งที่ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย ซึ่งก็เป็นทักษะสำคัญอย่างหนึ่งที่เด็กจำเป็นต้องใช้ในการสื่อสารสิ่งที่คิด
53 เคล็ดไม่ลับ "วิธีสร้างสมอง… สู่พรสวรรค์ของลูกน้อยวัย 3ปี"
สมองที่เฉียบคมต้องอาศัยร่างกายที่แข็งแรง การเรียนรู้ไม่ควรจำกัดอยู่แต่ในห้องเรียนแต่เกิดได้ จากการทำสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน การปลูกฝังแนวคิดที่ว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นรอบตัวและเป็นเรื่องที่ สนุกไม่น่าเบื่อจะช่วยสร้างนิสัยใฝ่รู้ให้กับลูกไปตลอดชีวิต ความสามารถในการใฝ่หาความรู้และ ความอยากรู้อยากเห็นเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราโดดเด่นขึ้นมา