ท่านอนหลังผ่าคลอด ท่านอนคนผ่าคลอด คุณแม่นอนแบบไหนถึงดีที่สุด

ท่านอนหลังผ่าคลอด คุณแม่ควรนอนท่าไหนดีที่สุด

21.08.2024

หลังผ่าคลอดลูกนั้น ร่างกายคุณแม่จะพบกับการเปลี่ยนแปลงมากมาย รวมไปถึงความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากการผ่าคลอด เพื่อพักฟื้นให้ร่างกายกลับมาแข็งแรง การนอนหลับพักผ่อน เป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่หลังผ่าตัดคลอดนั้นต้องดูแลตนเองเป็นพิเศษ คุณแม่ควรนอนในท่าที่สบาย ไม่กดทับแผล เพื่อทำให้นอนหลับสนิท เพราะการนอนหลับที่เพียงพอจะช่วยให้คุณแม่มีแรง ร่างกายไม่อ่อนเพลีย และฟื้นตัวจากการผ่าคลอดได้เร็ว มีร่างกายแข็งแรงพร้อมในการเลี้ยงดูลูกน้อยในทุก ๆ วัน

headphones

PLAYING: ท่านอนหลังผ่าคลอด คุณแม่ควรนอนท่าไหนดีที่สุด

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • การนอนพักผ่อนเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับคุณแม่หลังคลอด เพราะร่างกายต้องการพักผ่อน พักฟื้น และเตรียมร่างกายให้แข็งแรงเพื่อพร้อมที่จะดูแลทารก
  • คุณแม่ผ่าคลอดควรนอนในท่าที่สบาย ไม่กดทับแผล ไม่เสี่ยงนอนในท่าที่ทำให้เจ็บแผล เมื่อจะลุกจากที่นอน ควรนอนตะแคง แล้วใช้มือยันพยุงตัว ค่อย ๆ ลุกขึ้น
  • หลังจากการผ่าคลอดลูก คุณแม่สามารถนอนในท่าตะแคงได้ การนอนตะแคงไม่ได้ทำให้แผลแตก หรือปริแต่อย่างใด
  • หลังคลอด หากคุณแม่รู้สึกเจ็บแผลอาการไม่ดีขึ้น นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อได้รับการแนะนำอย่างถูกวิธี

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ท่านอนหลังผ่าคลอด สำคัญแค่ไหนกับคุณแม่ผ่าคลอด

หลังผ่าคลอดคุณแม่ควรนอนพักผ่อนมากที่สุดเมื่อลูกหลับ เพื่อพักฟื้นให้ร่างกายที่อ่อนเพลีย กลับมาแข็งแรง และเตรียมร่างกายให้พร้อมในการให้นมลูกในตอนกลางคืน คุณแม่ผ่าคลอดควรนอนในท่าที่ไม่ทำให้เจ็บแผล ปรับหัวเตียงให้สูงขึ้น เพื่อให้แผลผ่าคลอดไม่ตึงและลดการเจ็บแผล เมื่อจะลุกจากที่นอน ควรนอนตะแคง แล้วใช้มือยันลุกขึ้น


คุณแม่ผ่าคลอดนอนตะแคงได้ไหม

หลังจากการผ่าคลอดลูก แพทย์มักจะให้คุณแม่นอนราบ 24 ชั่วโมง หลังจากนั้น คุณแม่สามารถนอนในท่าตะแคงได้ เพราะการนอนตะแคงนั้นไม่ได้ทำให้แผลแตก หรือปริแต่อย่างใด ควรนอนหนุนหมอนสูง เพื่อที่แผลผ่าคลอดนั้นไม่เจ็บ ไม่ตึงแผล

 

ท่านอนหลังผ่าคลอด นอนท่าไหนสบายตัว ไม่เจ็บแผล

1. ท่านอนหงาย

ท่านอนหงายนี้เหมาะสำหรับคุณแม่หลังผ่าคลอด เพราะการนอนหงายจะทำให้เกิดแรงกดบริเวณบาดแผลน้อยที่สุด คุณแม่สามารถใช้หมอนรองไว้ใต้เข่าเพื่อการนอนที่สบายขึ้นได้

 

2. ท่านอนตะแคง

สำหรับท่านอนตะแคงถือเป็นท่าที่สบายที่สุดรองจากท่านอนหงาย ท่านี้ไม่ทำให้มีแรงกดทับกับแผลผ่าคลอด ทำให้การลุกจากเตียงหลังผ่าคลอดได้ง่าย และควรนอนตะแคงทางด้านซ้ายเพื่อระบบการย่อยอาหารที่ดี และระบบเลือดไหลเวียนได้ดี

 

3. นอนโดยใช้หมอนหนุน

การนอนตัวตรง ใช้หมอนหนุนหลัง แม้ว่าจะไม่สบายเท่ากับการนอนราบ แต่สะดวกต่อการให้นมลูกในช่วงแรกคลอด

 

4. นอนพิงเอนไปด้านหลัง

การนอนหงายเอนโดยใช้หมอนหนุนศีรษะให้เอียงยกขึ้นประมาณ 45 องศา ท่านอนนี้ช่วยให้สบาย หายใจได้สะดวกไม่อึดอัด เหมาะกับการพักฟื้น ไม่กดทับแผลผ่าคลอด

 

วิธีลุกจากเตียงหลังผ่าคลอด

  • นอนตะแคงข้างใดข้างหนึ่งหรือข้างที่ถนัด
  • หากนอนตะแคงซ้าย ใช้ข้อศอกด้านซ้ายที่ถูกทับด้านล่างยันกับพื้น
  • ใช้แขนอีกข้างยันเตียง หรือเหล็กกั้นเตียง หรือใช้เกาะไหล่คนที่คอยช่วยพยุงลุกขึ้น
  • ค่อย ๆ ยกตัวลุกขึ้นอย่างช้า ๆ
  • นั่งพักสักครู่แล้วค่อย ๆ ก้าวลงจากเตียง

 

เคล็ดลับท่านอนหลังผ่าคลอด ช่วยให้แม่ผ่าคลอดนอนหลับสบาย

 

ท่านอนหลังผ่าคลอด ช่วยให้แม่ผ่าคลอดนอนหลับสบาย

  • นอนในท่านอนที่ถนัด สบายตัว อาจใช้หมอนหนุนสอดรองไว้ใต้เข่าเพื่อการนอนที่สบายขึ้นได้
  • จัดสภาพแวดล้อมห้องนอนให้อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ร้อนจนเกินไป สร้างบรรยากาศให้น่านอนผ่อนคลาย สะอาด สงบ ทำให้แสงในห้องนอนนั้นสว่างน้อยที่สุด
  • ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ก่อนถึงเวลานอนอย่างน้อย 2 ชั่วโมง หลีกเลี่ยงการทานอาหารมื้อเย็นที่หนัก ๆ หรือย่อยยาก
  • หากคุณแม่มีอาการเจ็บผ่าคลอด จนนอนไม่ได้ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอาการปวด
  • หลีกเลี่ยงแสงสีฟ้า เพราะแสงสีฟ้านั้นจะยับยั้งการหลั่งสารเมลาโทนิน ที่ควบคุมการตื่น และ นอนหลับ ส่งผลให้ตื่นตัว นอนหลับยาก นอนหลับไม่สนิท คุณแม่ควรงดการดูจอโทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดก่อนนอน

 

สิ่งที่คุณแม่ไม่ควรทำหลังผ่าคลอด ป้องกันแผลผ่าคลอดปริ

1. การนอนคว่ำ

การนอนคว่ำเป็นท่านอนที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะน้ำหนักที่นอนลงไปนั้นจะกดทับเข้าไปที่แผลผ่าคลอด อาจส่งผลให้เจ็บแผลได้

 

2. การออกกำลังกายหนัก

หลังผ่าคลอดช่วงเดือนแรก คุณแม่ไม่ควรออกกำลังกายหนัก ๆ ออกแรงเยอะ ยกของหนัก ควรพักฟื้นดูแลตนเอง หลีกเลี่ยงการเกิดแรงดันที่ท้อง เพราะอาจทำให้แผลเปิด หรือฉีกขาดได้

 

3. การอาบน้ำหรือแช่น้ำ

คุณแม่ควรใช้ฝักบัวอาบน้ำ แทนการแช่น้ำในอ่าง อาบน้ำด้วยสบู่ฤทธิ์อ่อน ไม่ถูสบู่ หรือทาแป้งลงบนแผลโดยตรง ซับแผลให้สะอาดและแห้ง ไม่ใส่เสื้อผ้ารัดแน่นจนเกินไป

 

4. งดการมีเพศสัมพันธ์

หลังผ่าคลอด 6 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนแผล ที่อาจทำให้แผลติดเชื้อ อักเสบ หรือแผลปริได้

 

5. อย่าเดินขึ้น-ลงบันไดบ่อย

หลีกเลี่ยงกิจกรรมในชีวิตประจำวันที่ทำให้ออกแรงมาก ๆ ลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดแผลผ่าคลอดตึง แผลปริ เช่น การขึ้น-ลงบันไดบ่อย ๆ

 

6. ไปพบแพทย์ตามนัด

เพื่อตรวจแผลผ่าคลอด และรับคำปรึกษาหลังผ่าคลอดจากแพทย์ทุกครั้ง

 

การดูแลตัวเองหลังผ่าคลอดเป็นกุญแจหลักสำคัญมาก ที่จะช่วยให้แผลผ่าคลอดของคุณแม่ฟื้นตัวได้เร็ว มีสุขภาพแข็งแรงพร้อมที่จะดูแลลูกน้อย คุณแม่ควรนอนหลับพักผ่อน ดูแลระมัดระวังให้ดีและควรไปตรวจตามนัดสม่ำเสมอ หากพบความผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกายหลังผ่าคลอด มีปัญหาการนอนไม่หลับ นอนไม่พอ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำอย่างถูกวิธี

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด

 

 

อ้างอิง:

  1. การดูแลหลังผ่าคลอด แบบผ่าตัดทางหน้าท้อง, โรงพยาบาลสมิติเวช
  2. 32 วิธีดูแลตัวเองหลังคลอด, องค์การบริหารส่วนตำบลแควอ้อม จังหวัดสมุทรสงคราม
  3. ผ่าคลอด สิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้, โรงพยาบาลสมิติเวช
  4. Tips and Tricks for High Quality Sleep After a C-Section, healthline
  5. คำแนะนำสำหรับผู้ป่าวยที่ได้รับการผ่าตัดทางนรีเวช, โรงพยาบาลเปาโล
  6. How to Sleep After a C-Section: 5 Key Pieces of Advice, Risescience
  7. 8 เคล็ดลับดูแลแผลผ่าคลอดให้แผลสวย หายไว ฟื้นตัวเร็ว, โรงพยาบาลวิมุต
  8. แผลผ่าคลอด ควรดูแลอย่างไร, pobpad
  9. แผลผ่าคลอดปริ เกิดจากอะไร คุณแม่ควรดูแลแผลอย่างไร, HelloKhunmor
  10. การดูแลตนเองหลังคลอด (Postpartum Self-Care), โรงพยาบาลเมดพาร์ค
  11. แสงสีฟ้าจากหน้าจอ ส่งผลร้ายต่อดวงตาอย่างไรบ้าง, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

อ้างอิง ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2567
 

บทความแนะนำ

 เด็กแพ้นมวัว มีอาการอย่างไร พร้อมวิธีสังเกตลูกน้อย

เด็กแพ้นมวัว มีอาการอย่างไร พร้อมวิธีสังเกตลูกน้อย

เด็กแพ้นมวัว เกิดจากอะไร อาการเด็กแพ้นมวัวเป็นแบบไหน ลูกแพ้นมวัวจะมีผื่นแพ้นมวัวหรือเปล่า พร้อมวิธีสังเกตว่าเด็กแพ้อาหารทั่วไปหรือเด็กแพ้นมวัว

ผื่นแพ้อาหารทารก พร้อมวิธีป้องกันผื่นแพ้อาหารทารก

ลักษณะผื่นแพ้อาหารทารก พร้อมวิธีป้องกันผื่นแพ้ในเด็ก

ลักษณะผื่นแพ้อาหารทารกเป็นอย่างไร ผื่นแพ้อาหารทารก หนึ่งในอาการของภูมิแพ้ที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม ไปดูวิธีสังเกตทารกแพ้อาหาร พร้อมวิธีป้องกันผื่นแพ้

ผื่นลมพิษในเด็ก ผื่นลมพิษเด็ก พร้อมวิธีป้องกัน

ผื่นลมพิษในเด็ก ผื่นลมพิษเด็ก พร้อมวิธีป้องกัน

ลมพิษในเด็ก อาการผื่นนูนแดงที่เกิดขึ้นตามร่างกายของลูก ผื่นลมพิษในเด็ก คืออะไร ลูกน้อยจะมีอาการอย่างไร หากเป็นผื่นลมพิษ พร้อมวิธีป้องกันลมพิษในเด็ก

ลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ ผื่นแพ้ในเด็กเกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล

ลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ ลูกแพ้เหงื่อตัวเอง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลลูก

ลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ เกิดจากอะไร อาการลูกแพ้เหงื่อตัวเอง มักเกิดขึ้นหลังเด็กมีเหงื่อออกตามใบหน้าและลำตัว ไปรู้จักอาการลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ พร้อมวิธีดูแลลูก

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก