เจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ ปวดแผลผ่าคลอดหลังผ่าตัดคลอด อันตรายไหม

เจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ ปวดแผลผ่าคลอดหลังผ่าตัดคลอด อันตรายไหม

21.08.2024

หลังผ่าคลอด คุณแม่หลายคนอาจมีคำถามเกี่ยวกับวิธีรับมือกับอาการเจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ หลังคลอดกันอยู่แน่ ๆ อาการแบบนี้อันตรายไหม เป็นปกติของคุณแม่หลังผ่าตัดคลอดหรือเปล่า วันนี้เราจะมาคลายข้อสงสัยของคุณแม่หลังผ่าคลอด รวมถึงเคล็ดลับดี ๆ ในการดูแลตัวเองหลังผ่าคลอดมาฝากกัน

headphones

PLAYING: เจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ ปวดแผลผ่าคลอดหลังผ่าตัดคลอด อันตรายไหม

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • อาการเจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ เป็นอาการปวดแผลผ่าคลอดที่พบได้ปกติของคุณแม่ที่ผ่านการผ่าคลอด โดยจะมีอาการมากขึ้นเมื่อคุณแม่มีการเคลื่อนไหวขยับตัว รวมถึงการไอ และการหัวเราะด้วย
  • อาการปวดแผลผ่าคลอดของแม่ผ่าคลอดจะค่อย ๆ ดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ หรืออาจนานกว่านั้นหลายเดือนกว่าอาการปวดแผลผ่าคลอดจะหายสนิท
  • วิธีลดอาการปวดแผลผ่าคลอดสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น ไม่ยกของหนัก ใช้น้ำแข็งประคบแผล ใช้ผ้ารัดหน้าท้อง พักผ่อนมาก ๆ และการลุกนั่งอย่างช้า ๆ เป็นต้น

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

เจ็บแผลผ่าคลอดจี๊ด ๆ ปวดแผลผ่าคลอด เกิดจากอะไร

การผ่าคลอด เป็นวิธีการทำคลอดที่คุณหมอใช้วิธีการกรีดช่องท้องผ่านผนังมดลูกของคุณแม่แล้วใช้ไหมเย็บปิดแผลผ่าคลอด ทำให้คุณแม่หลังผ่าคลอดอาจรู้สึกเจ็บแผลผ่าคลอดจี๊ด ๆ เจ็บแปลบ ๆ เป็นครั้งคราวและอาจจะปวดแผลผ่าคลอดมากขึ้นเมื่อคุณแม่ขยับตัวไปมา ไอ จาม และหัวเราะ รวมถึงอาจเกิดจากการที่มดลูกของคุณแม่กำลังหดตัวโดยคุณแม่อาจรู้สึกเจ็บปวดมากขึ้นในขณะที่กำลังให้นมลูกน้อย นอกจากนี้ อาการท้องผูกและท้องอืดก็อาจทำให้เกิดอาการปวดบริเวณแผลได้เช่นกัน หากคุณแม่รู้สึกเจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ บ่อย ๆ ควรพักผ่อนให้มาก ๆ ทานอาหารที่มีประโยชน์ และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการปวดแผลผ่าคลอดมากขึ้น

 

อาการปวดแผลผ่าคลอด อันตรายไหม

 

อาการปวดแผลผ่าคลอด อันตรายไหม

หลังผ่าคลอด คุณแม่มักจะมีอาการปวดแผลผ่าคลอดซึ่งเป็นอาการปกติที่พบได้ทั่วไป ส่วนใหญ่แล้วคุณแม่จะยิ่งรู้สึกเจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ มากขึ้นเมื่อมีอาการไอ ขยับตัวไม่ว่าจะนั่งหรือนอน และหัวเราะ ในกรณีที่คุณแม่มีอาการปวดแผลผ่าคลอดเรื้อรังอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คนท้องปวดหลัง ปวดอุ้งเชิงกราน หรือแม้แต่อาการตึงและชา ให้รีบเข้าพบแพทย์ทันที

 

อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรคอยสังเกตอาการของตัวเองว่ามีอาการผิดปกติอย่างอื่นด้วยหรือไม่ เพราะอาจเป็นเป็นสัญญาณของแผลผ่าคลอดติดเชื้อ โดยมีลักษณะอาการดังต่อไปนี้ ควรเข้าพบแพทย์ทันที

  • แผลผ่าคลอดบวมแดง
  • มีไข้
  • เจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ มากขึ้น
  • มีเลือดซึมออกจากแผลผ่าคลอด

 

ปวดแผลผ่าคลอด ใช้เวลากี่วันถึงหายดี

แผลผ่าคลอดจะใช้เวลาในการสมานแผลนานกว่าแผลฝีเย็บ อาการปวดแผลผ่าคลอดของคุณแม่ผ่าคลอดอาจใช้เวลานานราว 2-3 สัปดาห์กว่าจะหาย และใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์กว่าที่แผลจะหายสนิท แต่สำหรับคุณแม่ที่คลอดธรรมชาติแผลฝีเย็บจะหายหลังจากคลอดได้ 7 วัน และอาจมีความรู้สึกเจ็บปวดแผลคลอดประมาณ 2 สัปดาห์ คุณแม่บางคนอาจจะยังรู้สึกเจ็บแผลผ่าคลอดแปลบ ๆ นาน ๆ ครั้งแบบนี้ไปอีกหลายเดือนจนกว่าจะหายปกติ แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลมากจนเกินไปนะคะ เพราะอาการเจ็บแผลผ่าคลอดจี๊ดแบบนี้จะค่อย ๆ ดีขึ้น

 

วิธีบรรเทาอาการปวดแผลผ่าคลอดของคุณแม่

1. ไม่ยกของหนัก

หลังผ่าคลอดคุณแม่ไม่ควรยกของหนัก หรือหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการเกร็งที่บริเวณกล้ามเนื้อหน้าท้อง เพราะอาจทำให้คุณแม่รู้สึกปวดแผลผ่าคลอดมากขึ้น และเสี่ยงต่อการเกิดแผลอักเสบจนทำให้แผลหายช้าขึ้นไปอีก

 

2. ประคบด้วยน้ำแข็ง

การประคบด้วยน้ำแข็งหรือเจลเย็นเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการปวดแผลผ่าคลอดของคุณแม่ได้ เพราะความเย็นจะช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดการไหลเวียนเลือด ลดการส่งสัญญาณประสาทให้ช้าลง จึงช่วยลดอาการเจ็บปวดแผลผ่าคลอดลงได้

 

3. รักษาความสะอาดของแผลผ่าคลอด

การรักษาความสะอาดแผลผ่าคลอดอย่างเหมาะสม จะช่วยลดโอกาสไม่ให้แผลผ่าคลอดของคุณแม่ไม่เกิดการอักเสบ บวมแดง หรือปวดแผล โดยวิธีดูแลแผลผ่าคลอดอย่างถูกวิธีคุณแม่สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการไม่แกะแผล หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำ หากแผลโดนน้ำคุณแม่ควรซับแผลเบา ๆ จนแห้งสนิทค่ะ

 

4. ตะแคงตัวเมื่อต้องการลุกจากเตียง

ช่วงที่คุณแม่รู้สึกเจ็บปวดแผลผ่าคลอดและต้องการลุกนั่งหรือลุกจากเตียงนอนหลังผ่าคลอด คุณแม่สามารถทำได้โดยการพลิกตะแคงตัวไปข้างใดข้างหนึ่ง จากนั้นใช้แขนช่วยดันตัวขึ้นเพื่อลดความตึงบริเวณแผลผ่าคลอดที่หน้าท้อง ทำให้อาการปวดแผลผ่าคลอดลดน้อยลง แล้วค่อย ๆ ลุกขึ้นจากเตียงอย่างช้า ๆ ค่ะ

 

5. ใช้ผ้ารัดท้องหลังคลอด

หากคุณแม่รู้สึกปวดแผลผ่าคลอดมาก สามารถบรรเทาอาการปวดแผลผ่าคลอดได้ด้วยการใช้ผ้ารัดหน้าท้อง เพราะในระหว่างที่คุณแม่รัดผ้า ตัวผ้าจะช่วยพยุงหน้าท้องไม่ให้แผลผ่าคลอดถูกดึงรั้งจากหน้าท้องที่หย่อนคล้อยนั่นเองค่ะ

 

6. ค่อย ๆ ลุกนั่งอย่างช้า ๆ

การลุกขึ้นที่รวดเร็วอาจทำให้คุณแม่รู้สึกปวดตึงที่แผลผ่าคลอดมากขึ้น วิธีลดอาการปวดแผลผ่าคลอดได้ คือ การที่คุณแม่ลุกขึ้นยืนอย่างช้า ๆ

 

7. เปลี่ยนท่าให้นมลูกน้อย

คุณแม่ที่ผ่าคลอดจำเป็นต้องให้นมลูก บางครั้งท่าการให้นมลูกอาจทำให้เกิดอาการปวดแผลผ่าคลอดมากขึ้น ดังนั้น เพื่อบรรเทาอาการปวดแผลผ่าคลอดคุณแม่ควรหาท่าสบาย ๆ ในการให้นมลูกน้อย โดยสามารถทำตามวิธีดังนี้

  • ท่าอุ้มลูกฟุตบอล (Clutch hold หรือ Football hold) นำหมอนมาหนุนเพื่อลดแรงกดทับจากน้ำหนักตัวของลูก จากนั้นให้คุณแม่อุ้มลูกน้อยในท่านอนตะแคง โดยที่แม่ใช้มือข้างใดข้างหนึ่งประคองที่คอของลูกน้อย ส่วนปลายเท้าของลูกสอดอยู่ใต้วงแขนของคุณแม่ในลักษณะเหมือนการโอบกอด แล้วจึงอุ้มลูกขึ้นมาดูดนมจากเต้าของคุณแม่
  • ท่าอุ้มนอนตะแคง (Side lying position) เริ่มจากให้คุณแม่จัดลูกในท่านอนตะแคงหันหน้าเข้าหาคุณแม่ ส่วนคุณแม่ก็นอนตะแคงเข้าหาลูก หนุนศีรษะให้สูงกว่าลูกเล็กน้อย โดยที่ปากของลูกต้องอยู่ในระดับเดียวกับเต้านมคุณแม่ ในระหว่างให้นม คุณแม่สามารถใช้หมอนหนุนหลังลูกน้อยเพื่อไม่ให้ลูกน้อยพลิกตัวไปมาได้

 

8. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์

คุณแม่ที่ผ่าคลอดควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าแผลผ่าคลอดจะแห้งสนิท เพื่อเป็นการลดอาการเจ็บปวดหลังผ่าคลอดของแม่ผ่าคลอด

 

9. พักผ่อนให้มาก ๆ

การพักผ่อนเป็นวิธีลดอาการปวดแผลผ่าคลอดได้ดีที่สุด เพราะคุณแม่ไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกายขณะหลับพักผ่อนจะไม่ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนที่กระทบถึงแผลผ่าคลอดนั่นเอง

 

อาการปวดแผลผ่าคลอดของคุณแม่เป็นสิ่งที่คุณแม่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่คุณแม่สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการดูแลทำความสะอาดแผลผ่าคลอดเป็นประจำ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการอักเสบของแผลผ่าคลอด ไม่ยกของหนัก ประคบเย็น เปลี่ยนท่าให้นมลูกให้เหมาะสม ใช้ผ้ารัดหน้าท้อง การลุกขึ้นนั่งหรือยืนช้า ๆ และหลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดและอาหารมันจนกว่าแผลจะหายดีจะช่วยป้องกันแก๊สและอาการท้องอืดได้ อาการเจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ ของคุณแม่ก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นจนหายสนิทในที่สุด

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด

 


อ้างอิง:

  1. What to Expect With a C-Section Scar, Webmd
  2. Postpartum Pain Management, Mass General Brigham Newton-Wellesley Hospital
  3. การดูแลหลังคลอด แบบผ่าตัดทางหน้าท้อง, โรงพยาบาลสมิติเวช
  4. Caring for Yourself after Birth, BC Women's Hospital + Health Centre
  5. Postpartum Symptoms and Solutions, what to expect
  6. การดูแลตัวเองหลังคลอดที่คุณแม่ต้องรู้, โรงพยาบาลเปาโล
  7. คำถามยอดฮิตที่คุณแม่ผ่าคลอดอยากรู้, โรงพยาบาลศิครินทร์
  8. บทความวิชาการ การจัดการความปวดหลังผ่าตัดคลอดบุตร, วารสารศูนย์อนามัยที่ 9
  9. C-Section Recovery, Webmd
  10. Cesarean Section: Postpartum Incision Care, Apollo Cradle & Children’s Hospital
  11. caesarean section, Australasian Birth Trauma Association

อ้างอิง ณ วันที่ 5 กรกฎาคม 2567

บทความแนะนำ

ผื่นคันในเด็ก ลูกมีผื่นคันขึ้นตามตัวแต่ไม่มีไข้ พร้อมวิธีดูแลลูก

ลูกมีผื่นคันขึ้นตามตัวแต่ไม่มีไข้ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

ลูกมีผื่นคันขึ้นตามตัวแต่ไม่มีไข้ บางครั้งลูกมีผื่นแดงขึ้นตามตัวและคัน ทำให้คุณพ่อคุณแม่เป็นกังวลว่าลูกเป็นอะไรกันแน่ ไปดูวิธีดูแลลูกเมื่อลูกมีผื่นแดงขึ้นตามตัว

ลูกเป็นผื่นเม็ดเล็ก ๆ คัน ลูกเป็นผื่น ดูแลลูกแบบไหนให้ถูกวิธี

ผดร้อนทารก ลูกเป็นผื่นเม็ดเล็ก ๆ คัน ดูแลลูกแบบไหนให้ถูกวิธี

ผดร้อนทารก ลูกเป็นผื่นเม็ดเล็ก ๆ คัน เกิดจากอะไร สาเหตุอะไรได้บ้าง ที่ทำให้ลูกมีผดร้อนทารกและลูกเป็นผื่นเม็ดเล็ก ๆ คัน พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย เมื่อลูกมีผื่นคัน

กลากน้ำนม เกิดจากอะไร โรคผิวหนังในเด็ก พร้อมวิธีดูแลเกลื้อนน้ำนม

กลากน้ำนม เกิดจากอะไร โรคผิวหนังในเด็ก พร้อมวิธีดูแลเกลื้อนน้ำนม

กลากน้ำนม คืออะไร กลากน้ำนม เกลื้อนน้ำนม หรือเกลื้อนแดด พบได้บ่อยในเด็กอายุ 3-14 ปี เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคกลากน้ำนมได้

นมย่อยง่าย เหมาะสำหรับเด็กเสี่ยงภูมิแพ้ จริงหรือไม่?

นมย่อยง่าย เหมาะสำหรับเด็กเสี่ยงภูมิแพ้ จริงหรือไม่?

นมย่อยง่าย คืออะไร เหมาะสำหรับเด็กที่มีความเสี่ยงเป็นภูมิแพ้จริงไหม ทำไมคุณแม่ถึงควรรู้เกี่ยวกับนมย่อยง่าย สำหรับลูก ไปทำความรู้จักและหาคำตอบพร้อมกัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก