ไหมละลายหลังคลอดกี่วันหาย แผลผ่าคลอดไหมละลายตอนไหน

ไหมละลายหลังคลอดกี่วันหาย แผลผ่าคลอดไหมละลายตอนไหน

22.08.2024

การผ่าคลอดส่วนใหญ่มักใช้ไหมละลายในการเย็บปิดแผลผ่าคลอด โดยไหมชนิดนี้จะละลายไปเองเมื่อถึงระยะเวลาและมักจะสลายลงในช่วงที่แผลผ่าคลอดของคุณแม่เริ่มหายสนิท มาถึงตรงนี้คุณแม่คงสงสัยใช่ไหมว่าไหมละลายคืออะไร ทำไมถึงหลุดเองได้ ต้องใช้เวลากี่วัน และมีวิธีการดูแลแผลผ่าคลอดไหมละลายอย่างไร เรามาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันเลย

headphones

PLAYING: ไหมละลายหลังคลอดกี่วันหาย แผลผ่าคลอดไหมละลายตอนไหน

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • แผลผ่าคลอดไหมละลายเป็นไหมที่ละลายตามกลไกของร่างกายคุณแม่ เมื่อถึงเวลาไหมจะสลายไปเองโดยที่คุณแม่ไม่ต้องตัดไหม และใช้เวลานานกว่า 10-20 วัน กว่าไหมละลายจะสลายหลุดออกไปหมด
  • ไหมละลายทำจากวัสดุหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นใยธรรมชาติหรือใยสังเคราะห์ สาเหตุที่คุณหมอใช้ไหมละลายในการเย็บแผลผ่าคลอดนั้น เป็นเพราะเกิดจากการผ่าตัดที่บริเวณมดลูกทำให้การเข้าไปตัดไหมทำได้ไม่สะดวกและเสี่ยงต่อการติดเชื้อด้วย
  • การใช้ไหมละลายหลังคลอดนอกจากไม่ต้องไปตัดไหมแล้ว ยังทำให้แผลผ่าคลอดของคุณแม่แนบสนิทกัน โดยที่แผลผ่าคลอดจะเรียบสวยงาม ไม่ทิ้งรอยเย็บแผลให้คุณแม่กังวลใจ

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

แผลผ่าคลอดไหมละลาย คืออะไร

แผลผ่าคลอดไหมละลาย คือการที่คุณหมอเย็บแผลผ่าตัดของคุณแม่ผ่าคลอดด้วยไหมละลาย โดยไหมละลายนี้จะละลายหายไปเองโดยที่คุณแม่ผ่าคลอดไม่จำเป็นต้องกลับมาให้คุณหมอตัดไหมที่โรงพยาบาล และคุณแม่ไม่ต้องกังวลว่าไหมจะละลายก่อนที่แผลจะเริ่มสมาน เพราะปกติแล้วไหมละลายที่คุณหมอใช้เย็บแผลผ่าคลอดจะเป็นไหมที่ละลายตามกลไกระยะเวลาของการรักษานั่นเอง

 

แผลผ่าคลอดไหมละลาย ต่างจากแผลทั่วไปยังไงบ้าง

แผลผ่าคลอดไหมละลาย มักเป็นแผลที่มีลักษณะแผลผ่าตัดที่มีขอบเรียบที่เกิดขึ้นภายในห้องผ่าตัด เช่น แผลผ่าตัดคลอด แผลจากการคลอดลูกทางช่องคลอด เป็นต้น เมื่อคุณหมอเย็บแผลผ่าคลอดเข้าด้วยกันด้วยไหมละลายทำให้แผลชิดสนิทได้ง่าย ซึ่งต่างจากแผลทั่วไปที่เป็นการเย็บบาดแผลบริเวณผิวหนังทั่วไป ที่มักเป็นแผลจากอุบัติเหตุที่เสี่ยงต่อการเกิดการอักเสบจากการติดเชื้อได้ง่าย จึงจำเป็นต้องใช้ไหมไม่ละลายเพราะมีแรงดึงรั้งที่ดีกว่าไหมละลาย และยังลดความเสี่ยงจากไหมละลายที่อาจขาดหลุดก่อนได้

 

ไหมละลายผ่าคลอด มีลักษณะอย่างไร

อันดับแรกคุณแม่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “ไหมละลาย” เป็นไหมที่ละลายได้เมื่ออยู่ในร่างกายของมนุษย์เท่านั้น เมื่อไหมนี้ไปอยู่นอกร่างกายเส้นไหมจะไม่ละลาย เนื่องจากตัวไหมละลายจะค่อย ๆ สลายไปเมื่อเจอกลไกธรรมชาติของร่างกายจะละลายหมดไปตามระยะเวลาของไหมละลายแต่ละประเภท ไหมละลายผลิตจากวัสดุหลายชนิดที่มาจากทั้งใยธรรมชาติ และใยสังเคราะห์

 

ในกรณีที่คุณแม่ผ่าคลอด คุณแม่อาจเลือกใช้ไหมละลายที่เรียกว่า “Chromic catgut” เป็นไหมละลายที่เหมาะสำหรับเย็บมดลูกของคุณแม่ผ่าคลอด ซึ่งเป็นชั้นที่ลึกกว่าการเย็บแผลฝีเย็บที่ช่องคลอดที่มีความแข็งแรงเพียงพอ และต้องใช้ระยะเวลาอีกนานกว่าไหมละลายจะสลายตัวประมาณ 10-20 วัน เพื่อให้แผลผ่าคลอดแนบสนิท ไม่ละลายหลุดได้ง่ายจนทำให้เกิดแผลผ่าคลอดอักเสบขึ้นมาก่อน

 

ทำไมต้องใช้ไหมละลาย เย็บแผลผ่าคลอด

สาเหตุที่ใช้ไหมละลายในการเย็บมดลูกหรือเย็บแผลผ่าคลอดนั้น เป็นเพราะการผ่าคลอดเกิดจากการผ่าตัดที่อยู่ในชั้นลึกเข้าไปถึงบริเวณมดลูก ลักษณะของการเย็บ คุณหมอจะใช้ไหมละลายเย็บให้แผลแนบชิดกัน แล้วซ่อนปมไว้ใต้ผิวเพื่อป้องกันเชื้อโรค ทั้งยังทนต่อแรงดึง และมีระยะเวลาการย่อยสลายของไหมที่ใช้เวลานานกว่าแผลผิวหนังภายนอก คุณแม่ที่ผ่าคลอดจึงไม่จำเป็นต้องไปตัดไหม อีกทั้ง ไหมละลายที่ใช้ไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคือง เมื่อคุณหมอเย็บแผลผ่าคลอดจะเป็นแผลผ่าตัดขนาดเล็ก ไม่เป็นลายตะขาบเหมือนกับการเย็บไหมที่ไม่ละลาย คุณแม่จึงมีแผลผ่าคลอดที่เล็กสวยนั่นเอง

 

แผลผ่าคลอดไหมละลาย มีข้อดีอย่างไร

ข้อดีของแผลผ่าคลอดที่ใช้ไหมละลายได้ มีดังนี้

  1. คุณแม่ไม่ต้องไปตัดไหมออก เพราะแผลผ่าตัดอยู่ลึกเข้าไปข้างในถึงบริเวณมดลูก โดยไหมละลายที่คุณหมอเย็บติดกันไว้จะค่อย ๆ ละลายสลายหายไปเองเมื่อครบระยะเวลาของไหม
  2. ลักษณะของแผลผ่าคลอดจะเล็ก สวยงามไม่เป็นลายตะขาบเหมือนกับแผลจากไหมไม่ละลาย
  3. ตัวไหมจะมีแรงดึงมากพอทำให้แผลผ่าตัดแนบสนิทกัน แต่ไม่ถึงกับดึงรั้งแผลจนเกินไป ทำให้แผลไม่สวย

 

ไหมละลายหลังคลอดกี่วันหาย หากเปรียบเทียบกับไหมธรรมดา

ไหมละลายหลังคลอดหลัก ๆ จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. ไหมละลายที่ใช้เย็บแผลฝีเย็บ: ไหมละลายชนิดนี้จะใช้เวลาในการละลายที่รวดเร็วเพียง 5-10 วันเท่านั้น เพราะเป็นการเย็บปิดแผลบริเวณที่ไม่ลึกมาก และไม่ต้องการใช้แรงดึงที่มากเกินไป
  2. ไหมละลายที่ใช้เย็บแผลผ่าคลอด: ไหมที่ใช้เย็บปิดแผลผ่าคลอดจะเป็นไหมที่ต้องการแรงดึงรั้งแผลที่นานกว่า เนื่องจากเป็นการผ่าตัดที่อยู่ลึกเข้าไปอีกชั้น ทำให้การละลายของไหมช้ากว่า และกว่าไหมจะละลายอาจใช้เวลานานถึง 10-20 วันเลยทีเดียว กว่าที่ไหมจะละลายหมดไป

 

สำหรับไหมธรรมดาหรือไหมไม่ละลายคุณหมอจะเย็บที่ผิวหนังทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นแผลจากอุบัติเหตุต้องการแรงดึงรั้งที่ดี เพราะหากใช้ไหมละลายที่มีแรงดึงรั้งน้อยกว่า อาจเสี่ยงต่อแผลปริหรือหลุดไปก่อนที่แผลจะหาย และจำเป็นต้องใช้การตัดไหมหลังจากแผลสมานกันดีแล้ว ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วง 3 วัน ถึง 3 สัปดาห์ เพราะหากไม่ตัดไหมที่ไม่ละลายนี้อาจอยู่ได้นานถึง 1 ปี แล้วไหมจะเปราะหลุดไปเอง

 

ไหมละลายหลุด แผลอักเสบ สังเกตอาการได้อย่างไร

ปกติไหมละลายของแม่ผ่าคลอดจะหลุดเองภายใน 2 สัปดาห์ แต่คุณแม่ยังรู้สึกปวดที่แผลผ่าคลอดอยู่อาจเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากแผลผ่าคลอดยังหายไม่สนิท เพราะการผ่าคลอดคุณหมอจะกรีดเนื้อเยื่อหลายชั้นลงไปยังมดลูก ซึ่งกว่าแผลผ่าคลอดจะหายดีต้องใช้เวลานานถึง 3 เดือน ทำให้คุณแม่ผ่าคลอดหลายคนยังมีอาการปวดแผลผ่าคลอดอยู่บ้าง แม้ว่าไหมละลายจะหลุดไปแล้ว อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่มีอาการอื่นร่วมด้วย อาจเป็นสัญญาณของแผลอักเสบ ได้แก่

  • แผลผ่าคลอดมีรอยแดง บวม คุณแม่รู้สึกเจ็บปวดบริเวณแผลผ่าคลอดมากขึ้นเรื่อย ๆ
  • แผลผ่าคลอดมีกลิ่นเหม็นแรง
  • แผลผ่าคลอดมีแผล มีหนอง หรือมีเลือดไหลซึมออกมา
  • รู้สึกถึงอาการชาที่บริเวณรอยแผลผ่าคลอด
  • มีไข้สูง หรือมีอาการหนาวสั่น
  • คุณแม่หายใจไม่สะดวก
  • เริ่มมีภาวะซึม
  • แผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน เพราะไหมละลายหลุดก่อนที่แผลจะหายสนิท

 

ใช้เวลานานแค่ไหน กว่าแผลผ่าคลอดไหมละลายจะสมานตัว

แผลผ่าคลอดบริเวณชั้นในจะหายช้ากว่าแผลผ่าคลอดบริเวณชั้นนอก โดยที่แผลผ่าคลอดชั้นนอกจะใช้เวลาเพียง 1 สัปดาห์ แผลก็สมานเรียบร้อยและเร็วกว่าแผลชั้นใน ในขณะที่แผลผ่าคลอดชั้นในจะใช้เวลานานถึง 2-4 สัปดาห์กว่าที่แผลจะสมานตัว ซึ่งช่วงนี้คุณแม่จะสังเกตเห็นว่า ที่แผลผ่าคลอดจะค่อย ๆ เปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีแดงอมม่วงคล้ำขึ้นเรื่อย ๆ แล้วแผลผ่าคลอดจะเปลี่ยนเป็นสีขาวแล้วจะหายไปกลมกลืนกับสีผิวหนังของคุณแม่ในระยะเวลาประมาณ 6 เดือน แผลผ่าคลอดจึงหายสนิท

 

วิธีดูแลแผลผ่าคลอดไหมละลายที่ถูกต้อง สำหรับแม่ผ่าคลอด

 

วิธีดูแลแผลผ่าคลอดไหมละลาย สำหรับแม่ผ่าคลอด

1. อย่าให้แผลโดนน้ำในช่วง 7 วันแรก

หลังผ่าคลอดคุณแม่ไม่ควรให้แผลโดนน้ำ เพราะอาจทำให้แผลเกิดการติดเชื้อและอักเสบขึ้นมาได้ หากคุณแม่พบว่าแผลผ่าคลอดถูกน้ำให้นำผ้ามาซับน้ำออกเบา ๆ แล้วเปลี่ยนพลาสเตอร์ปิดแผลใหม่ทันที อย่าปล่อยให้แผลเปียกน้ำเด็ดขาด

 

2. หลีกเลี่ยงการยกของหนัก

การยกของหนัก ๆ เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดแรงกดทับบริเวณแผลผ่าคลอด ทำให้แผลผ่าคลอดของคุณแม่เสี่ยงต่อการอักเสบได้ เพราะในขณะที่คุณแม่ยืดตัว อาจทำให้เกิดการตึงของแผลจนทำให้แผลฉีกขาดและเกิดการอักเสบขึ้นได้

 

3. รักษาความสะอาดอย่างถูกวิธี

หลังจากที่แผลผ่าคลอดของคุณแม่เริ่มสมานแล้ว ไหมละลายก็จะเริ่มหลุดสลายไป คุณแม่ก็ไม่จำเป็นต้องปิดพลาสเตอร์กันน้ำแล้ว แต่ควรหมั่นทำความสะอาดแผลวันละ 2-3 ครั้ง และซับแผลให้แห้งเบา ๆ ทุกครั้ง

 

ตอนนี้คุณแม่ผ่าคลอดคงเข้าใจเกี่ยวกับไหมละลายของแผลผ่าคลอดมากขึ้นแล้ว หลังจากนี้คุณแม่ผ่าคลอดก็จะดูแลแผลผ่าคลอดได้ถูกวิธี ให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อ ระมัดระวังไม่ให้แผลถูกน้ำ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่ควรทำหลังผ่าคลอดและไม่ควรยกของที่หนักมากเกินไป เมื่อไหมละลายเริ่มหลุดควรหมั่นดูแลทำความสะอาดแผลผ่าคลอดจนแผลเริ่มหายสนิท หากคุณแม่พบว่าแผลมีรอยบวมแดง มีอาการปวดท้องรุนแรง มีเลือดไหลซึม แผลปริ ควรรีบเข้าพบแพทย์เพราะอาจเป็นสัญญาณของแผลผ่าคลอดอักเสบได้

 


บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด

 

 

อ้างอิง:

  1. การดูแลตัวเองหลังคลอดที่คุณแม่ต้องรู้, โรงพยาบาลเปาโล
  2. การดูแลฝีเย็บ, โรงพยาบาลพนมสารคาม
  3. วัสดุเย็บแผล: Suture Materials, ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  4. ไหมละลายกับไหมไม่ละลาย, คลินิกเวชกรรมแพทย์ธนานนท์ สุพรรณบุรี
  5. แผลผ่าตัด ดูแลอย่างไรไม่ให้ติดเชื้อ, Pobpad
  6. Caring for Yourself after Birth, BC Women's Hospital + Health Centre
  7. หนังสือเรื่องน่ารู้คู่มือแม่ท้อง, หมอโอ๋
  8. ภาวะแผลติดเชื้อ สัญญาณร้ายที่ไม่ควรละเลย!, โรงพยาบาลเปาโล
  9. 8 เคล็ดลับดูแลแผลผ่าคลอดให้แผลสวย หายไว ฟื้นตัวเร็ว, โรงพยาบาลวิมุต

อ้างอิง ณ วันที่ 5 กรกฎาคม 2567
 

บทความแนะนำ

 เด็กแพ้นมวัว มีอาการอย่างไร พร้อมวิธีสังเกตลูกน้อย

เด็กแพ้นมวัว มีอาการอย่างไร พร้อมวิธีสังเกตลูกน้อย

เด็กแพ้นมวัว เกิดจากอะไร อาการเด็กแพ้นมวัวเป็นแบบไหน ลูกแพ้นมวัวจะมีผื่นแพ้นมวัวหรือเปล่า พร้อมวิธีสังเกตว่าเด็กแพ้อาหารทั่วไปหรือเด็กแพ้นมวัว

ผื่นแพ้อาหารทารก พร้อมวิธีป้องกันผื่นแพ้อาหารทารก

ลักษณะผื่นแพ้อาหารทารก พร้อมวิธีป้องกันผื่นแพ้ในเด็ก

ลักษณะผื่นแพ้อาหารทารกเป็นอย่างไร ผื่นแพ้อาหารทารก หนึ่งในอาการของภูมิแพ้ที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม ไปดูวิธีสังเกตทารกแพ้อาหาร พร้อมวิธีป้องกันผื่นแพ้

ผื่นลมพิษในเด็ก ผื่นลมพิษเด็ก พร้อมวิธีป้องกัน

ผื่นลมพิษในเด็ก ผื่นลมพิษเด็ก พร้อมวิธีป้องกัน

ลมพิษในเด็ก อาการผื่นนูนแดงที่เกิดขึ้นตามร่างกายของลูก ผื่นลมพิษในเด็ก คืออะไร ลูกน้อยจะมีอาการอย่างไร หากเป็นผื่นลมพิษ พร้อมวิธีป้องกันลมพิษในเด็ก

ลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ ผื่นแพ้ในเด็กเกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล

ลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ ลูกแพ้เหงื่อตัวเอง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลลูก

ลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ เกิดจากอะไร อาการลูกแพ้เหงื่อตัวเอง มักเกิดขึ้นหลังเด็กมีเหงื่อออกตามใบหน้าและลำตัว ไปรู้จักอาการลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ พร้อมวิธีดูแลลูก

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก