คุณแม่ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าตัดขับรถได้ไหม อันตรายหรือเปล่า

ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าตัดขับรถได้ไหม อันตรายหรือเปล่า

22.08.2024

แม้ว่าหลังคลอด ภาระกิจของคุณแม่ที่สำคัญคือการดูแลลูกน้อย แต่การเคลื่อนไหวร่างกาย การเปลี่ยนอิริยาบถต่าง ๆ กิจกรรมที่เคยทำในชีวิตประจำวันในช่วงก่อนตั้งครรภ์ เช่น การออกกำลังกาย การขับรถที่คุณแม่หลายคนสงสัยว่าหลังผ่าคลอดขับรถได้ไหม ทางที่ดีที่สุดคือคุณแม่หลังคลอดควรต้องรอระยะเวลาในการพักผ่อน เพื่อฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรงดีก่อน จึงค่อยทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ และลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บ การอักเสบของแผลผ่าคลอด

headphones

PLAYING: ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าตัดขับรถได้ไหม อันตรายหรือเปล่า

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • หลังผ่าคลอด คุณแม่ควรปฏิบัติตัวตามที่แพทย์แนะนำ เพื่อฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรง ระมัดระวังไม่ทำให้แผลผ่าคลอดอักเสบหรือติดเชื้อ
  • คุณแม่ควรงดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เสี่ยงจะทำให้แผลเกิดแรงดันหรือแรงกดทับ เกิดปัญหา แผลปริแตก
  • หลังผ่าคลอด 6 สัปดาห์ คุณแม่สามารถกลับมาทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ดังเดิม เช่น การออกกำลังกาย การขับรถ
  • หลังผ่าคลอด คุณแม่ควรไปตรวจแผลตรงตามเวลาที่แพทย์นัด หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น เช่น แผลอักเสบ บวมแดง แผลฉีกขาด มีไข้ มีหนอง ให้รีบไปพบแพทย์

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

คุณแม่หลังผ่าตัดคลอด ขับรถได้เลยไหม?

คุณแม่หลายคนอาจมีคำถามว่า หลังผ่าคลอดกี่วันขับรถได้หรือหลังผ่าตัดขับรถได้ไหม หลังผ่าคลอดร่างกายของคุณแม่จะเปลี่ยนแปลง คุณแม่ควรพักผ่อน ระมัดระวังในทุกอิริยาบถต่าง ๆ ให้ดี ปฏิบัติตัวตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อฟื้นฟูร่างกายหลังคลอดให้กลับมาแข็งแรงเหมือนเดิม การขับรถอาจทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนที่อาจทำให้เลือดออก การขับรถมีการคาดเข็มขัดนิรภัย อาจทำให้สัมผัสโดนแผลผ่าคลอดได้

 

คุณแม่ผ่าคลอด ควรรอกี่วันถึงขับรถได้

คุณแม่ผ่าคลอดสามารถกลับมาทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ปกติ เช่น การขับรถ หลังจากการผ่าคลอดลูกแล้ว 6 สัปดาห์ คุณแม่ผ่าคลอดควรพักฟื้น เพื่อให้แผลผ่าคลอดสมานตัว หลีกเลี่ยงการเกิดแรงดันหรือแรงกดทับ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาแผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน

 

ทำไมคุณแม่ผ่าตัดคลอดถึงไม่ควรขับรถทันที

เพราะร่างกายหลังผ่าตัดคลอดของคุณแม่มีการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งยังอ่อนเพลียจากการคลอด มีบาดแผลจากการผ่าคลอด จึงต้องการการพักผ่อน เพื่อร่างกายจะได้ฟื้นตัวจากการคลอดลูกได้เร็วขึ้น ฉะนั้นเพื่อลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดปัญหาแผลปริ เพื่อให้แผลผ่าคลอดสมานตัวได้ดี คุณแม่ควรที่จะงดการออกแรง หรือขยับตัวที่จะทำให้เกิดแรงกดทับแผลผ่าคลอด การขับรถอาจทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนที่ทำให้แผลมีเลือดออกได้

 

หลังผ่าคลอด คุณแม่ทำงานบ้านได้ไหม

หลังผ่าคลอด 6 สัปดาห์ คุณแม่ผ่าคลอดที่พักฟื้น ร่างกายเริ่มแข็งแรงกลับมาเป็นปกติแล้ว สามารถทำงานบ้าน ทำอาหาร ทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่ต้องออกแรงมากในชีวิตประจำวันได้ แต่ไม่ควรทำงานที่ต้องออกแรงใช้กำลังกล้ามเนื้อหน้าท้องมาก ๆ หรือยกของหนัก ๆ เพราะอาจทำให้มดลูกเคลื่อนต่ำลง และจะทำให้เจ็บแผลผ่าคลอดได้ อีกทั้งควรระวังเรื่องการขยับตัวไปมา อาจเกิดการหน้ามืด ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

 

ผ่าคลอดกับคลอดธรรมชาติ ขับรถได้ทันทีเลยไหม

 

ผ่าคลอดกับคลอดธรรมชาติ ขับรถได้ทันทีเลยไหม

คุณแม่คลอดธรรมชาติ จะมีแผลฝีเย็บซึ่งแพทย์จะเย็บแผลด้วยไหมละลาย แผลจะหายภายในประมาณ 1 สัปดาห์ คุณแม่อาจรู้สึกเจ็บแผลไปจนกระทั่ง 2 สัปดาห์ ดังนั้นการเคลื่อนไหวร่างกายต่าง ๆ ต้องระมัดระวังในการกระทบกระเทือน กิจกรรมที่ไม่ควรทำในช่วง 6 สัปดาห์แรกหลังคลอดคือ การขับรถ การออกกำลังกายหนัก ๆ ยกของที่มีน้ำหนักมากกว่าทารก และไม่ควรเดินขึ้นลงบันไดบ่อย ๆ

 

สำหรับคุณแม่ผ่าคลอดควรกลับมาขับรถหลังผ่าคลอด 6 สัปดาห์เช่นกัน เพื่อลดการโดนสัมผัสแผลจากการคาดเข็มขัดนิรภัย และแรงสั่นสะเทือนในตอนขับรถที่อาจทำให้เลือดออกได้ หลังผ่าคลอด คุณแม่ควรพักผ่อน ระมัดระวังในทุกการขยับเปลี่ยนท่าทาง ปฏิบัติตัวตามที่แพทย์แนะนำ เพื่อฟื้นฟูร่างกายหลังคลอดให้กลับมาฟื้นตัวโดยเร็ว

 

วิธีดูแลแผลผ่าตัดหลังผ่าคลอดไม่ให้แผลอักเสบ

  1. ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  2. ลุก นั่ง เดิน ยืน เปลี่ยนท่าทางต่าง ๆ อย่างระมัดระวัง ไม่เร่งรีบ เพื่อไม่ให้แผลผ่าตัดตึงเกินไป
  3. ห้ามไม่ให้แผลโดนน้ำ ไม่แกะ ไม่เกาแผล
  4. ใส่ผ้ารัดหน้าท้อง เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บให้ลดลง ไม่ให้แผลถูกดึงรั้ง
  5. พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ยกของหนัก งดการออกกำลังกายหนัก ๆ งดเว้นกิจกรรมที่ทำให้เกิดการเจ็บแผล เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง
  6. คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่ งดอาหารที่มีรสจัดและไม่ดื่มแอลกอฮอล์
  7. ตรวจแผลตามที่แพทย์นัด หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น เช่น มีหนอง มีกลิ่นเหม็น บวมแดง แผลฉีกขาด อักเสบ
  8. หากคุณแม่ได้รับยาจากแพทย์ ควรทานให้จนครบตามที่แพทย์สั่ง ห้ามหยุดยาเองโดยเด็ดขาด
  9. ล้างแผล ทำความสะอาดแผลอย่างสม่ำเสมอ
  10. ไม่ทาครีมที่แผลผ่าคลอด
  11. หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นจนเกินไป

 

กิจกรรมต่าง ๆ ที่เคยทำในชีวิตประจำวันก่อนคลอด เช่น การออกกำลังกายหลังคลอด การทำงานบ้าน การขับรถ ถึงแม้มีความจำเป็น แต่ในช่วงหลังคลอดนั้น ร่างกายของคุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลง ควรพักผ่อน และประเมินร่างกายของตนเองให้ดี เชื่อฟังตามที่แพทย์แนะนำ เพื่อให้ร่างกายกลับมาฟื้นฟูแข็งแรงได้โดยเร็ว ไม่ควรทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการทำให้บาดแผลผ่าคลอดเจ็บ ปริแตก หรือสมานตัวช้า เพราะอาจทำให้แผลผ่าคลอดนั้นอักเสบ หรือติดเชื้อได้

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด

 

 

อ้างอิง:

  1. สิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้ เกี่ยวกับการผ่าคลอด, โรงพยาบาลสมิติเวช
  2. แผลผ่าคลอดปริ เกิดจากอะไร คุณแม่ควรดูแลแผลอย่างไร, HelloKhunmor
  3. 6 คำแนะนำหลังคลอดบุตร, โรงพยาบาลพญาไท
  4. การดูแลตัวเองหลังคลอดที่คุณแม่ต้องรู้, โรงพยาบาลเปาโล
  5. แผลผ่าคลอด ควรดูแลอย่างไร, pobpad
  6. คำถามยอดฮิตที่คุณแม่ผ่าคลอดอยากรู้, โรงพยาบาลศิครินทร์
  7. การดูแลตนเองหลังคลอด (Postpartum Self-Care), โรงพยาบาลMedPark

อ้างอิง ณ วันที่ 3 กรกฎาคม 2567
 

บทความแนะนำ

วิธีบีบน้ำนม บีบนมอย่างไรให้ถูกวิธี ช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่

วิธีบีบน้ำนมด้วยมือ บีบนมอย่างไรให้ถูกวิธี ช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่

วิธีบีบน้ำนมสำหรับคุณแม่ บีบนมด้วยมือแบบไหนช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่ได้ และช่วยลดการคัดเต้านมได้ดี ช่วยให้คุณแม่สามารถสต๊อกนมให้ลูกได้อย่างปลอดภัย

ลูกไม่ยอมดูดขวดนม ลูกติดเต้าไม่ดูดขวด ฝึกให้ลูกดูดนมแม่จากขวด

วิธีให้ลูกดูดขวด เมื่อลูกติดเต้าไม่ดูดขวดนม พร้อมวิธีรับมือลูกน้อย

รวมวิธีให้ลูกดูดขวดนม เมื่อลูกติดเต้าไม่ดูดขวดนม คุณแม่สามารถฝึกให้ลูกดูดนมแม่จากขวดได้ ไปดูวิธีให้ลูกดูดขวดนมด้วยตัวเอง ก่อนคุณแม่กลับไปทำงานกัน

แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ มักมีความกังวลว่า แม่เป็นโรคภูมิแพ้แล้วลูกจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือเปล่า ไปดูสาเหตุพร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้นกัน

สังเกตอาการลูกน้อย ภูมิแพ้ในเด็ก ลูกคัดจมูกหรืออาการโควิด 19

สังเกตอาการลูกน้อย ภูมิแพ้ในเด็ก ลูกคัดจมูกหรืออาการโควิด 19

อาการลูกคัดจมูก ลูกเป็นหวัดง่าย ไม่สบายบ่อย พบได้บ่อยในเด็กเป็นภูมิแพ้และอาจเกิดจากการติดเชื้อ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการลูกน้อย พร้อมวิธีป้องกันภูมิแพ้ในเด็ก

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก