สังเกตอาการลูกน้อย ภูมิแพ้ในเด็ก ลูกคัดจมูกหรืออาการโควิด 19

ลูกคัดจมูกหรืออาการโควิด 19 ภูมิแพ้ในเด็ก ที่แม่ควรสังเกต

09.05.2024

เชื้อไวรัสโควิด-19 ได้สร้างความตระหนกกับคุณแม่ มาทำความรู้จักกับอาการภูมิแพ้-ไข้หวัด หรือเชื้อไวรัสโควิด-19 เพื่อสังเกตอาการของลูกน้อย คุณแม่ควรรู้ วิธีสังเกตอาการของลูกน้อยระหว่าง อาการภูมิแพ้ในเด็ก กับ อาการโควิด 19 ต่างกันอย่างไร

headphones

PLAYING: ลูกคัดจมูกหรืออาการโควิด 19 ภูมิแพ้ในเด็ก ที่แม่ควรสังเกต

อ่าน 8 นาที

 

สรุป

  • คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาความแตกต่างของอาการไข้หวัดธรรมดา, อาการภูมิแพ้ในเด็ก และอาการเชื้อไวรัสโควิด-19 เพื่อให้เตรียมรับมือเมื่อลูกน้อยเริ่มมีอาการป่วยในลักษณะต่าง ๆ และลดความเสี่ยงต่อการเป็นพาหะไปสู่ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุในครอบครัวได้
  • การดูแลตัวเองและลูกน้อยสำหรับเด็กเป็นภูมิแพ้ ด้วยการหลีกเลี่ยงการเดินทางโดยไม่จำเป็น รับประทานอาหารปรุงสุก สดใหม่ รวมถึงล้างมือด้วยน้ำสบู่อย่างน้อย 20 วินาที และดูแลสุขอนามัยในบ้านให้ดี
  • คุณแม่ได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังสามารถให้นมแม่ได้ตามปกติ เนื่องจากเชื้อโควิด-19 ไม่สามารถแพร่ผ่านน้ำนมได้ แต่ต้องใส่ใจในเรื่องการรักษาความสะอาดให้มากยิ่งขึ้นโดยการใส่หน้ากากอนามัย ป้องกันการไอ จาม น้ำลาย สารคัดหลั่งไปสัมผัสลูก

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

อาการภูมิแพ้ในเด็ก ลูกคัดจมูก กับ อาการโควิด 19 ต่างกันอย่างไร

 

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับคนทั่วโลกจำนวนไม่น้อย เนื่องจากเป็นไวรัสชนิดใหม่ ที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย เช่น ระบบทางเดินหายใจ และปอดเป็นหลัก อาการของโรคในเบื้องต้นอาจมีความคล้ายกับอาการไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หรืออาการภูมิแพ้

 

ซึ่งในประเทศไทยนั้นยังคงมีจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสสูงขึ้นและสร้างความวิตกกังวลให้กับทุกคน โดยเฉพาะครอบครัวที่มีเด็กเล็กและผู้สูงอายุ ถึงแม้จะเคยได้ยินว่าเด็กเล็กไม่ได้เป็นกลุ่มเสี่ยงหลัก และมีอันตรายน้อยกว่าผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ แต่คุณแม่ก็ยังคงเป็นห่วงและไม่วางใจกับความเสี่ยงนี้อย่างแน่นอน เพราะเด็กที่ติดเชื้อสามารถเป็นพาหะไปสู่ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุในครอบครัวได้

 

ความแตกต่างของอาการไข้หวัดธรรมดา, อาการภูมิแพ้ในเด็ก และ อาการเชื้อไวรัสโควิด-19 เพื่อให้คุณแม่เตรียมรับมือเมื่อลูกน้อยเริ่มมีอาการ

อาการของโรค #ภูมิแพ้ในเด็กอาการของโรค #ไข้หวัดธรรมดาอาการของโรค #เชื้อไวรัสโควิด 19
- มีน้ำมูก คัน และคัดจมูก  - คัดจมูก น้ำมูกไหลลักษณะใส  - บางคนอาจมีอาการไม่รุนแรง มีลักษณะเหมือนไข้หวัดทั่วไป ขณะที่บางคนมีอาการรุนแรงมากทำให้เกิดปอดอักเสบได้
- ไอจามหายใจลำบาก  - ไอมีเสมหะ จาม    - จะเริ่มจากอาการไข้ รู้สึกเมื่อยล้า
- แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก    - เจ็บคอ เสียงแหบ - มีอาการไอแห้ง ๆ
- มีผดผื่นคัน ขึ้นตามร่างกาย    - อาจมีอาการไข้ต่ำ ๆ ปวดศีรษะเล็กน้อย

- หายใจได้ลำบาก

- บางครั้งอาจมีอาการเจ็บคอ

ที่มา :
https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30283

 

4 เทคนิคดูแลตัวเองและลูกน้อยสำหรับเด็กเป็นภูมิแพ้ ให้อยู่บ้านอย่างปลอดภัย

 

4 เทคนิคดูแลตัวเองและลูกน้อยสำหรับเด็กเป็นภูมิแพ้ ให้อยู่บ้านอย่างปลอดภัย

1. ก่อนอื่นคุณแม่อาจพิจารณาว่า “จำเป็นต้องเดินทางไหม?”

ในช่วงที่มีโรคระบาด หากจำเป็นต้องเดินทาง ควรพิจารณาว่ามีความจำเป็นจริงหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางเพื่อท่องเที่ยว ทำงาน หรือการประชุม เพราะหากไม่เดินทาง ก็ย่อมจะไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อบางครั้งผู้จัดงานหรือจัดการประชุม อาจประกาศยกเลิกหรือเลื่อนออกไปเรียบร้อยแล้วในช่วงที่มีโรคระบาด ดังนั้นเช็คให้ดีก่อนการเดินทาง

 

สอนลูกให้รักษาความสะอาด โดยการล้างมือ ป้องกันภูมิแพ้ในเด็ก

 

2. สอนลูกเรื่องการดูแลตัวเองแบบง่าย ๆ "กินร้อน ช้อนกลางส่วนตัว ล้างมือ"

ทานอาหารโดยใช้ช้อนกลางส่วนตัว และปรุงสุก สดใหม่ ไม่ทานอาหารดิบ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ และฝึกให้ลูกล้างมืออย่างถูกต้อง ทั้งการล้างมือด้วยน้ำสบู่อย่างน้อย 20 วินาที และการใช้แอลกอฮอล์เจลล้างมือ โดยเฉพาะก่อนสัมผัสใบหน้า ตา จมูก ปาก ก่อนทานอาหาร และหลังจากเข้าห้องน้ำ รวมถึงการใส่หน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธีป้องกันภูมิแพ้ในเด็กและลดการติดเชื้อ

 

สอนลูกให้ดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี ป้องกันอาการลูกคัดจมูก

 

3. สอนลูกให้ดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี ป้องกันอาการลูกคัดจมูก

ปิดปากและจมูกขณะไอหรือจาม และสอนลูกให้ไอหรือจามอย่างถูกวิธี ด้วยการไอหรือจามใส่ข้อพับแขนด้านในหรือบนกระดาษทิชชู แล้วล้างมือให้สะอาด

 

4. ชวนลูกดูแลสุขอนามัยในบ้าน

ใช้เวลาอยู่บ้านให้เกิดประโยชน์ โดยชวนลูกทำความสะอาดบ้าน จัดบ้านให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีอากาศถ่ายเทสะดวก สะอาด ห่างไกลเชื้อโรค เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้ไกลตัวมากที่สุด หมั่นทำความสะอาดอยู่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะห้องน้ำ ห้องนั่งเล่น ห้องครัว เพราะเป็นห้องที่ทุกคนในบ้านใช้ร่วมกัน ดังนั้นควรเน้นการทำความสะอาดเป็นพิเศษ

 

5. คุณแม่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถให้นมลูกน้อยได้

การให้นมแม่ ถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการลดความเสี่ยงภูมิแพ้ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ลูก เพราะนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด และยังมีคุณสมบัติเป็น Hypo-Allergenic หรือ H.A. ที่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคภูมิแพ้ได้ และโปรตีนในนมแม่บางส่วน ได้ถูกย่อยให้มีขนาดเล็กลง หรือที่เรียกว่า PHP (Partially Hydrolyzed Proteins ) ซึ่งง่ายต่อการดูดซึมเข้าร่างกายของลูกน้อย มีพรีไบโอติกโอลิโกแซคคาไรด์ใยอาหารหลักที่สำคัญ ที่ช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อต่าง ๆ ซึ่งโอลิโกแซคคาไรด์ ประกอบด้วย ใยอาหารหลากหลายชนิด ซึ่ง 5 ใยอาหารหลัก (5 Oligosaccharide หรือ 5 HMO เช่น 2’FL, DFL, LNT, 6’SL และ 3’SL) มีช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันในเด็ก และมี โพรไบโอติกหลายชนิด เช่น B.lactis (บีแล็กทิส) ซึ่งเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการเกิดภูมิแพ้ ซึ่งหากคุณแม่ได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 ก็ไม่ต้องตกใจไปนะคะ เพราะคุณแม่ยังสามารถให้นมแม่ได้ตามปกติ เนื่องจากเชื้อโควิด-19 ไม่สามารถแพร่ผ่านน้ำนมได้ แต่ต้องใส่ใจในเรื่องการรักษาความสะอาดให้มากยิ่งขึ้น รวมถึงใส่หน้ากากอนามัย 2 ชั้น หรือใส่ Face shield เพื่อป้องกันการไอ จาม น้ำลาย สารคัดหลั่งไปสัมผัสลูก หากคุณแม่รับประทานฟ้าทะลายโจรอยู่ จะไม่สามารถให้นมลูกได้ ต้องหยุดกินก่อนอย่างน้อย 48 ชั่วโมง (หรือ 2 วัน) แล้วจึงสามารถให้นมได้ เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย

 

ชวนลูกดูแลสุขอนามัยในบ้าน ป้องกันภูมิแพ้ในเด็ก ลูกคัดจมูก

 

1. สิ่งของที่ใช้ทุกวันและจับบ่อย ๆ เช่น มือถือ คอมพิวเตอร์ หูฟัง

เพื่อป้องกันลูกคัดจมูกและอาการภูมิแพ้ในเด็ก ควรทำความสะอาดสม่ำเสมอ ทุกครั้งที่ใช้งาน โดยเช็ดแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นมากกว่า 70% แล้วเอาผ้าแห้งมาเช็ดซ้ำอีกรอบ

 

2. พื้นผิวที่สัมผัสบ่อย เช่น สวิตช์ไฟ โต๊ะ เก้าอี้ ราวจับบันได รีโมท

แนะนำให้ทำความสะอาดทุกวัน เพราะเป็นสิ่งที่เราต้องใช้มือสัมผัสโดยตรง ดังนั้นให้เช็ดด้วยแอลกฮอล์ที่มากกว่า 70% ในการทำความสะอาด ช่วยป้องกันภูมิแพ้ในเด็ก

 

3. อุปกรณ์ภายในห้องน้ำ เช่น อ่างล้างมือ โถชักโครก อ่างอาบน้ำ

เนื่องจากห้องน้ำมีความชื้นอยู่ และเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคมากกว่าที่อื่น ดังนั้น ควรใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ 1 ฝา/น้ำครึ่งลิตร ในการทำความสะอาดเช่นกัน

 

4. พื้นผิวโลหะ เช่น ลูกบิดประตู ก๊อกน้ำ

เป็นพื้นผิวที่เราสัมผัสบ่อย ๆ แต่เราอาจจะละเลยไป แนะนำให้เช็ดด้วยแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้น 70% แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง * ห้ามใช้น้ำยาฟอกผ้าขาว เพราะมีฤทธิ์กร่อนโลหะ

 

5. พวกผ้าต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า ผ้าปูเตียง ผ้าขนหนู

เวลากลับบ้านให้รีบเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที โดยเราสามารถซักผ้าได้ตามปกติเลย (ใช้ผงซักฟอก) หรือจะแช่น้ำร้อนสูง 60-90 องศาก็ได้
 

หลีกเลี่ยงการพาเด็กเป็นภูมิแพ้ออกไปสถานที่ที่คนเยอะ

 

6. หลีกเลี่ยงการพาลูกออกไปสถานที่ที่คนเยอะหากไม่จำเป็น

เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากเชื้อไวรัสโควิด-19 และภูมิแพ้ในเด็ก แบบง่าย ๆ ด้วยการหลีกเลี่ยงไปสถานที่คนเยอะ ๆ หรือถ้าจำเป็นควรป้องกันโดยการสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะการเดินระหว่างผู้อื่น ทั้งหน้าและหลัง เลือกที่นั่งให้ห่างจากผู้อื่น ไม่อยู่ใกล้ชิด โดยอย่างน้อยควรห่าง 2 เมตรขึ้นไป

 

เนื่องจากอาการไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่เคยเกิดขึ้นแล้ว และร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันในระดับหนึ่ง แต่ เชื้อไวรัสโควิด 19 ที่ร่างกายยังไม่มีภูมิคุ้มกัน เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ในระบบทางเดินหายใจ เชื้อโรคจะลามเข้าไปสู่ปอด ส่งผลให้เกิดอาการปอดบวม ปอดอักเสบ ได้มากกว่าอาการไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่

 

สิ่งสำคัญที่สุดของสุขอนามัยทุกคนในครอบครัวคือการป้องกัน เช่น ล้างมือบ่อย ๆ ไม่เอามือไปสัมผัสหน้าตา, หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย, หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีคนแออัดในช่วงที่มีการระบาด เว้นระยะห่าง (Social Distancing) 2 เมตร และเด็กควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ปีละ 1 ครั้ง เพื่อความปลอดภัยและห่างไกลโรค

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 

 

อ้างอิง:

  1. ภูมิแพ้-หวัด-ไข้หวัดใหญ่-โควิด-19 ตระหนักแยกอาการอย่าตระหนก, กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
  2. แยกอาการให้ชัด 'ภูมิแพ้ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โควิด-19' ต่างกันอย่างไร?, กรุงเทพธุรกิจ
  3. 5 ข้อต้องรู้เพื่อดูแลเด็กเล็กให้ห่างไกล COVID-19, Dataxet
  4. 5 ข้อต้องรู้เพื่อดูแลเด็กเล็กให้ห่างไกล COVID-19, posttoday
  5. ภูมิแพ้-หวัด-ไข้หวัดใหญ่-โควิด-19 ตระหนักแยกอาการอย่าตระหนก, thaipost
  6. แม่ติดเชื้อโควิด-19 กับการให้นมลูก, โรงพยาบาลสมิติเวช

อ้างอิง ณ วันที่ 3 มีนาคม 2567
 

บทความแนะนำ

เด็กทารกนอนอ้าปาก ลูกนอนหายใจทางปาก อันตรายไหม

เด็กทารกนอนอ้าปาก ลูกนอนหายใจทางปาก อันตรายไหม

เด็กทารกนอนอ้าปากปกติไหม ลูกนอนหายใจทางปาก เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง คุณแม่ควรสังเกตอาการลูกน้อยอย่างไร เมื่อเด็กทารกนอนอ้าปากบ่อย พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

ลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว คุณแม่ดูแลลูกลิ้นขาวอย่างไรให้ถูกวิธี

ลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว คุณแม่ดูแลลูกลิ้นขาวอย่างไรให้ถูกวิธี

ลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว เกิดจากอะไร ลูกลิ้นขาวผิดปกติไหม อาการลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว คือเชื้อราในปากเด็กหรือเปล่า พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย เมื่อลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว

เด็กกัดเล็บตัวเองปกติไหม เสี่ยงติดเชื้อหรือเปล่า

เด็กกัดเล็บตัวเองปกติไหม เสี่ยงติดเชื้อหรือเปล่า

เด็กกัดเล็บตัวเอง เกิดจากอะไร ลูกน้อยกัดเล็บตัวเองบ่อย จะเสี่ยงติดเชื้อในปากหรือเปล่า คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร เมื่อรู้ว่าเด็กชอบกัดเล็บตัวเอง

สิวทารกแรกเกิด เป็นแบบไหน พร้อมวิธีดูแลทารกเป็นสิวที่หน้า

สิวทารกแรกเกิด เป็นแบบไหน พร้อมวิธีดูแลทารกเป็นสิวที่หน้า

สิวทารกเป็นยังไง เกิดจากอะไร สิวทารกแรกเกิดอันตรายไหม จะหายเองได้หรือเปล่า หรือว่าต้องทายาอะไรให้หายเร็ว คุณแม่ต้องดูแลลูกน้อยอย่างไร มีอะไรต้องระวังเป็นพิเศษไหม

ทารกจามบ่อยผิดปกติไหม ลูกจามบ่อย เป็นภูมิแพ้หรือเปล่า

ทารกจามบ่อยผิดปกติไหม ลูกจามบ่อย เป็นภูมิแพ้หรือเปล่า

เด็กทารกจามบ่อย เกิดจากอะไร ลูกจามบ่อยปกติไหม อาการแบบนี้ คือสัญญาณของภูมิแพ้ในเด็กหรือเปล่า คุณแม่ควรสังเกตอาการลูกน้อยอย่างไร เมื่อทารกจามบ่อยขึ้น

วิธีฝึกลูกนอนยาว ฝึกลูกนอนเอง ช่วยให้หลับสบายตลอดคืน

วิธีฝึกลูกนอนยาว ฝึกลูกนอนเอง ช่วยให้หลับสบายตลอดคืน

รวมวิธีฝึกลูกนอนยาว สอนลูกน้อยให้นอนหลับเองได้ ช่วยให้ลูกหลับสนิทตลอดคืน พร้อมเสริมพัฒนาการทางร่างกายและสมอง ช่วยเพิ่มเวลาพักผ่อนให้คุณพ่อคุณแม่

ขี้เทาทารก คืออะไร ภาวะอุจจาระแรกของทารก ที่พ่อแม่ควรรู้

ขี้เทาทารก คืออะไร ภาวะอุจจาระแรกของทารก ที่พ่อแม่ควรรู้

ขี้เทาทารก คืออะไร อุจจาระแรกของทารกหลังคลอดสำคัญไหม หากลูกกินขี้เทาทารกเข้าไปจะเป็นอันตรายกับลูกหรือเปล่า พร้อมวิธีสังเกตขี้เทาทารก ที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก