คันแผลผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี พร้อมวิธีแก้อาการคันแผลผ่าคลอด

คันแผลผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี พร้อมวิธีแก้อาการคันแผลผ่าคลอด

28.08.2024

แผลผ่าตัดคลอด เกิดจากการผ่าตัดที่ทางการแพทย์เรียกว่า Cesarean Section (C-Section) เป็นการผ่าตัดด้วยการเปิดปากแผลตรงระหว่างช่วงผิวหน้าท้องและมดลูก การผ่าตัดคลอดลูกจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยจากสูติแพทย์ก่อนถึงสาเหตุที่ต้องคลอดลูกด้วยวิธีการผ่าตัด ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยต่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ สำหรับการผ่าคลอด จะทำให้เกิดแผลผ่าตัด คุณแม่อาจมีอาการคันแผลผ่าตัดตามมาได้

headphones

PLAYING: คันแผลผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี พร้อมวิธีแก้อาการคันแผลผ่าคลอด

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • ในช่วง 1-4 สัปดาห์หลังคลอด อาจเกิดอาการคันตรงบริเวณแผลผ่าคลอด ซึ่งเป็นอาการข้างเคียงปกติจากการผ่าตัดคลอดที่สามารถเกิดขึ้นได้
  • อาการคันแผลผ่าตัดในคุณแม่หลังคลอด เกิดจากการสมานตัวกันของแผลผ่าคลอดบริเวณชั้นนอกและผิวหนังชั้นใน
  • แผลที่เกิดจากการผ่าคลอด จะใช้เวลาในการสมานกันจนแผลหายดีเป็นปกติอย่างน้อย 6 เดือน

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

คุณแม่ที่คลอดลูกด้วยวิธีการผ่าตัด หลายท่านอาจเคยประสบกับปัญหา "อาการคันแผลผ่าตัด" ซึ่งสร้างความรำคาญและทรมานไม่น้อย อาการคันแผลผ่าตัดเป็นผลข้างเคียงของแผลผ่าตัด C-Section ที่อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ในช่วงสัปดาห์แรก ๆ หลังคลอด ดังนั้น เพื่อให้คุณแม่มือใหม่ที่พึ่งผ่าตัดคลอดลูก และคุณแม่ที่เตรียมคลอดลูกด้วยวิธีการผ่าตัด มีความเข้าใจและสามารถรับมือได้อย่างถูกต้อง เมื่อเกิดอาการคันแผลผ่าตัดขึ้นมา เรามาหาคำตอบในบทความนี้กัน

 

คุณแม่คันแผลผ่าตัด อันตรายไหม

ในช่วงหลังคลอดสัปดาห์แรก คุณแม่อาจเกิดอาการคันตรงบริเวณแผลผ่าคลอด ซึ่งเป็นอาการข้างเคียงปกติจากการผ่าตัดคลอดที่สามารถเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของคุณแม่ แนะนำให้สังเกตอาการร่วมอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ อาทิเช่น บริเวณแผลผ่าตัดเกิดการบวม แดง มีเลือดซึมออกจากแผล หรือมีไข้ ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ในช่วงหนึ่งเดือนแรกหลังคลอด อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อขึ้นที่แผลผ่าตัด แนะนำให้ไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ทันที

 

อาการคันแผลผ่าตัด เกิดจากอะไร

หลังคลอดคุณแม่มีอาการคันตรงบริเวณรอยผ่าคลอด หรือตรงบริเวณผิวรอบ ๆ แผลผ่าตัดนั้น เกิดจากการสมานตัวกันของแผลผ่าคลอดบริเวณชั้นนอกและผิวหนังชั้นใน โดยในช่วง 1 สัปดาห์แรก แผลผ่าคลอดบริเวณชั้นนอกจะเริ่มเกิดการสมานตัวกัน และเมื่อเข้าสู่ช่วง 2-4 สัปดาห์ ส่วนของผิวหนังชั้นในก็จะเริ่มสมานกันมากขึ้น และจะใช้เวลาหลังจากนี้อีกประมาณ 6 เดือนขึ้นไป แผลผ่าตัดคลอดก็จะจางลงไปเรื่อย ๆ เป็นสีขาวจนหายดี

 

แผลผ่าคลอดที่เย็บไว้ จะหายดีเมื่อไหร่

สำหรับแผลผ่าคลอด มีได้ทั้งแผลผ่าคลอดแนวนอนตามขอบกางเกงชั้นใน และแผลผ่าคลอดในแนวตั้งตรงใต้สะดือ โดยแผลผ่าคลอดทั้งสองแบบจะมีความยาวประมาณ 4-6 นิ้ว แผลผ่าคลอดที่เย็บไว้ จะใช้เวลาในการสมานกันจนแผลหายดีเป็นปกติอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป

  • หลังผ่าตัดคลอด 1 สัปดาห์ บริเวณชั้นนอกของแผลผ่าคลอดจะเริ่มเกิดการสมานตัวกันขึ้น
  • หลังผ่าคลอด 2-4 สัปดาห์ ส่วนของผิวหนังชั้นในก็จะเริ่มสมานกันมากขึ้น
  • หลังผ่าคลอด 6 เดือนขึ้นไป แผลผ่าคลอดจะปิดสนิท แผลจะเปลี่ยนสีคล้ำขึ้น เป็นสีแดงอมม่วง ตรงแผลผ่าตัดจะค่อย ๆ จางเป็นสีขาวเรียบไปกับผิว และหายสนิทจนเป็นปกติ

 

วิธีแก้อาการคันแผลผ่าตัด เมื่อคุณแม่รู้สึกคัน

  1. รักษาความสะอาดผิวตรงรอยแผล และรอบบริเวณแผลผ่าตัดให้แห้งสะอาด
  2. ช่วงที่ผิวหนังตรงแผลผ่าตัดคลอดกำลังสมานกัน คุณแม่ควรสวมเสื้อผ้าที่มีเนื้อผ้าเบาสบาย และไม่รัดแน่นกดทับตรงบริเวณแผลผ่าตัด เพื่อป้องกันไม่ให้เสื้อผ้าเสียดสีกับผิวหนังที่กำลังสมานตัวกัน
  3. ทาผลิตภัณฑ์บำรุงผิว หรือยาตามที่แพทย์แนะนำให้ใช้ได้หลังผ่าตัดคลอด เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นและยืดหยุ่นให้กับผิว

 

คันแผลผ่าคลอด 1 ปี หลังผ่าคลอด ผิดปกติไหม

 

คันแผลผ่าตัดนานผิดปกติ หลังผ่าคลอด ผิดปกติไหม

โดยมากแผลผ่าตัดจะปิดสนิทจนหายดี จะใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือน หากคุณแม่มีอาการผิดปกติหลังผ่าคลอดเป็นเวลายาวนานผิดปกติ แนะนำให้ไปปรึกษาสูติแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยถึงสาเหตุ และรับการรักษาได้อย่างถูกต้อง

 

วิธีดูแลแผลผ่าคลอด เมื่อคุณแม่คันแผลผ่าตัด

เพื่อให้แผลผ่าคลอดหายไว ลดการเกิดแผลเป็น และบรรเทาอาการระคายเคืองคันแผลผ่าตัด คุณแม่สามารถดูแลแผลผ่าคลอดหลังออกจากโรงพยาบาลเบื้องต้นตามคำแนะนำจากแพทย์ได้ ดังนี้
 

1. หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำ

เพื่อป้องกันแผลผ่าตัดอักเสบ และแผลหายช้า หลังคลอดในช่วงหนึ่งสัปดาห์แรก ควรระวังไม่ให้ตรงแผลผ่าตัดโดนน้ำ

 

2. แผลต้องสะอาดและแห้ง

หลังจากหนึ่งสัปดาห์ หากแผลสมานกันดีแล้ว คุณหมอจะตัดไหมที่แผลผ่าคลอดออกให้ ทุกครั้งที่คุณแม่อาบน้ำเสร็จ แนะนำให้ซับผิวตรงบริเวณผ่าตัดให้แห้ง หรือทำความสะอาดแผล จนกว่าจะหายสนิทตามคำแนะนำของแพทย์อย่างต่อเนื่อง

 

3. หลีกเลี่ยงไม่ยกของหนัก

เพื่อป้องกันการเกิดแผลคีลอยด์ และการฉีกขาดของแผลผ่าคลอด ในช่วง 3 เดือนหลังคลอด แนะนำให้คุณแม่หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก ๆ

 

4. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

อาหารคุณแม่หลังผ่าคลอด คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ได้คุณค่าสารอาหารครบ 5 หมู่ และเพิ่มอาหารในกลุ่มโปรตีนให้มากขึ้น เพราะจะช่วยในการฟื้นฟูและซ่อมแซมร่างกายหลังคลอด รวมถึงการผลิตน้ำนมแม่ และช่วยให้แผลผ่าคลอดหายเร็ว

 

การดูแลแผลผ่าคลอดและร่างกายโดยรวมของคุณแม่ให้กลับมาแข็งแรงได้เร็วนั้น จะส่งผลดีต่อร่างกายในการผลิตน้ำนมแม่ที่มีประสิทธิภาพสำหรับลูกน้อย ในน้ำนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด มีจุลินทรีย์สุขภาพหลายสายพันธุ์ เช่น บีแล็กทิส (B. lactis) ซึ่งจุลินทรีย์สุขภาพ บีแล็กทิส (B. lactis) เป็นหนึ่งในจุลินทรีย์สุขภาพในกลุ่มบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) และยังมีพรีไบโอติกหลายชนิด เช่น 2’FL ที่สามารถส่งต่อเพื่อสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่ดีให้ลูกน้อย สำหรับ 2’FL คือ HMOs (Human Milk Oligosaccharides) หรือ โอลิโกแซคคาไรด์ชนิดที่พบมากที่สุดในนมแม่ HMOs มีปริมาณมากที่สุดในช่วงน้ำนมเหลือง 5 วันแรกหลังคลอด ซึ่งเป็นสุดยอดของน้ำนมที่ให้ภูมิต้านทานสูงกับร่างกายของลูกน้อย

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด

 

 

อ้างอิง:

  1. ตอบข้อสงสัย คลอดแบบไหนดี คลอดปกติ VS ผ่าคลอด, โรงพยาบาลนครธน
  2. C-Section Scar Care: Your Guide to Helping It Heal, Parents
  3. 8 เคล็ดลับดูแลแผลผ่าคลอดให้แผลสวย หายไว ฟื้นตัวเร็ว, โรงพยาบาลวิมุต
  4. การดูแลหลังคลอด แบบผ่าตัดทางหน้าท้อง, โรงพยาบาลสมิติเวช

อ้างอิง ณ วันที่ 8 กรกฎาคม 2567
 

บทความแนะนำ

วิธีบีบน้ำนม บีบนมอย่างไรให้ถูกวิธี ช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่

วิธีบีบน้ำนมด้วยมือ บีบนมอย่างไรให้ถูกวิธี ช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่

วิธีบีบน้ำนมสำหรับคุณแม่ บีบนมด้วยมือแบบไหนช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่ได้ และช่วยลดการคัดเต้านมได้ดี ช่วยให้คุณแม่สามารถสต๊อกนมให้ลูกได้อย่างปลอดภัย

ลูกไม่ยอมดูดขวดนม ลูกติดเต้าไม่ดูดขวด ฝึกให้ลูกดูดนมแม่จากขวด

วิธีให้ลูกดูดขวด เมื่อลูกติดเต้าไม่ดูดขวดนม พร้อมวิธีรับมือลูกน้อย

รวมวิธีให้ลูกดูดขวดนม เมื่อลูกติดเต้าไม่ดูดขวดนม คุณแม่สามารถฝึกให้ลูกดูดนมแม่จากขวดได้ ไปดูวิธีให้ลูกดูดขวดนมด้วยตัวเอง ก่อนคุณแม่กลับไปทำงานกัน

แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ มักมีความกังวลว่า แม่เป็นโรคภูมิแพ้แล้วลูกจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือเปล่า ไปดูสาเหตุพร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้นกัน

สังเกตอาการลูกน้อย ภูมิแพ้ในเด็ก ลูกคัดจมูกหรืออาการโควิด 19

สังเกตอาการลูกน้อย ภูมิแพ้ในเด็ก ลูกคัดจมูกหรืออาการโควิด 19

อาการลูกคัดจมูก ลูกเป็นหวัดง่าย ไม่สบายบ่อย พบได้บ่อยในเด็กเป็นภูมิแพ้และอาจเกิดจากการติดเชื้อ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการลูกน้อย พร้อมวิธีป้องกันภูมิแพ้ในเด็ก

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก