สักทับรอยผ่าคลอดอันตรายไหม พร้อมวิธีดูแลรอยสักทับแผลผ่าคลอด

สักทับรอยผ่าคลอด อันตรายไหม พร้อมวิธีดูแล

12.09.2024

แผลผ่าคลอด ไม่ใช่แค่รอยแผลเป็น แต่เป็นเครื่องหมายแห่งการเริ่มต้นชีวิตใหม่ เป็นเรื่องราวที่ร่างกายของคุณแม่ได้ผ่านมา และเป็นความทรงจำอันล้ำค่าที่ผูกพันระหว่างแม่กับลูกน้อย ไม่ผิดอะไรหากคุณแม่อยากมีรอยสักทับแผลผ่าคลอด เพื่อปกปิดรอยแผลเป็นจากการผ่าตัดคลอด หรือจะสักเพื่อเพิ่มความสวยงาม ล้อมรอบบริเวณแผลเป็นเพื่อความภาคภูมิใจ อย่างไรก็ตาม ก่อนสักทับรอยผ่าคลอด คุณแม่ควรทราบดังนี้

headphones

PLAYING: สักทับรอยผ่าคลอด อันตรายไหม พร้อมวิธีดูแล

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • สักทับรอยผ่าคลอด เป็นทางเลือกที่น่าสนใจของคุณแม่ผ่าคลอด แต่ควรศึกษาข้อดี-ข้อเสียและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนตัดสินใจ
  • ควรรอให้แผลเป็นอยู่ตัว คงที่ และไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกต่อไป จึงค่อยเริ่มสักทับรอยผ่าคลอด หากสักเร็วเกินไป แผลอาจมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ต้องเสียเงินสักซ้ำโดยไม่จำเป็น
  • ควรเลือกช่างสักที่มีประสบการณ์ ร้านสักที่ได้มาตรฐานและใส่ใจเรื่องความสะอาด เพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อจากการสัก

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

คุณแม่อยากสักทับแผลผ่าคลอด ทำได้ไหม

เทคโนโลยีทางการแพทย์ปัจจุบันยังไม่มีวิธีใดที่สามารถทำให้แผลเป็นหายไปได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ทำได้เพียงป้องกันและลดความรุนแรงของแผลไม่ให้กลายเป็นแผลนูนแดง หรือคีลอยด์ หลายคนอาจนึกถึงวิธีการอื่น ๆ นอกจากการรักษาทางการแพทย์ นั่นคือ การสักเพื่อปกปิดรอยแผลเป็น หากคุณแม่อยากใช้รอยสักทับแผลผ่าคลอด สามารถทำได้ไหม คำตอบคือ สามารถทำได้ การสักเป็นทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการซ่อนรอยแผลผ่าคลอด และช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับคุณแม่ อย่างไรก็ตาม ควรศึกษาข้อมูล และปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจ

 

สักทับรอยผ่าคลอด เสี่ยงต่อการติดเชื้อไหม

การสัก คือการเจาะผิวหนัง ซึ่งเป็นการเปิดช่องให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ ดังนั้น จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อได้เสมอ ความเสี่ยงในการติดเชื้อจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น สภาพแผลผ่าคลอด ความสะอาดของเครื่องมือและสถานที่สัก สุขอนามัยส่วนบุคคลของผู้สัก และการดูแลแผลหลังการสัก ควรดูแลแผลหลังการสักอย่างถูกวิธี เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ หากมีสัญญาณของการติดเชื้อควรไปพบแพทย์ทันที

 

เริ่มใช้รอยสักทับแผลผ่าคลอดตอนไหนดี ให้ชัวร์สุด

โดยปกติแล้วแผลผ่าคลอดอาจมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ขนาด และสีได้อีกเรื่อย ๆ จนกว่าจะผ่านไปประมาณ 1 ปี -1 ปี 6 เดือน พอถึงตอนนั้น แผลจะคงที่ อยู่ตัว เรียกว่า "แผลเป็นที่สมบูรณ์" ซึ่งจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกแล้ว คุณแม่ควรใจเย็น ๆ รอให้แผลเป็นสมบูรณ์ก่อนค่อยไปสัก จะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด หากสักเร็วเกินไปรอยสักอาจจะไม่สวย เพราะแผลเป็นอาจเปลี่ยนรูปทรง ขนาด สีไม่เหมือนเดิม เมื่อเวลาผ่านไป อาจต้องเสียเงินสักซ้ำอีกครั้ง

 

หมึกจากการสักทับรอยผ่าคลอด มีผลต่อการให้นมลูกไหม

การสักลายเป็นการใส่สีลงไปในผิวหนังชั้นนอกเท่านั้น สีเหล่านี้จะไม่ซึมลงไปในร่างกายจนถึงน้ำนมที่เป็นอาหารของลูกน้อย ดังนั้น การสักทับรอยผ่าคลอด จึงไม่ส่งผลต่อน้ำนมโดยตรง

 

แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องความสะอาดสำคัญมาก การสักลายต้องใช้เครื่องมือที่สะอาดและปลอดเชื้อ หากร้านสักไม่สะอาด อาจทำให้เกิดการติดเชื้อ เช่น ไวรัสตับอักเสบ หรือ เอชไอวีได้ ซึ่งเชื้อเหล่านี้อาจส่งผลต่อไปยังลูกน้อยผ่านทางน้ำนมแม่ ได้ เพื่อความปลอดภัย แม้ว่าจะไม่เสี่ยงโดยตรง ควรรอให้พ้นช่วงให้นมบุตรไปก่อนค่อยไปสักจะดีกว่า

 

ข้อดี-ข้อเสีย ของการสักทับรอยผ่าคลอด

แผลเป็นจากการผ่าคลอด เป็นเครื่องหมายถาวรบนร่างกายที่บอกเล่าเรื่องราวช่วงเวลาหนึ่งในชีวิตของคุณแม่ ที่มาพร้อมกับความทรงจำอันแสนวิเศษ คุณแม่บางท่านภูมิใจกับแผลเป็นนี้ ในขณะที่คุณแม่บางท่านอาจเลือกที่จะปกปิดรอยแผล การสักทับรอยแผลผ่าคลอดเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ แต่ก่อนจะตัดสินใจสักทับรอยผ่าคลอด ควรพิจารณาข้อดี-ข้อเสีย ให้ถี่ถ้วนก่อน

 

ข้อดีของการสักทับรอยแผลผ่าคลอด

  • เสริมความมั่นใจ: ซ่อนรอยแผลเป็นไว้ใต้รอยสัก เพื่อปกปิดรอยแผลเป็นที่ทำให้คุณแม่ไม่สบายใจ การสักทับรอยแผลสามารถช่วยลดเลือนรอยแผล ทำให้ดูจางลง คุณแม่จึงรู้สึกสบายใจที่จะสวมใส่เสื้อผ้าที่เปิดเผยผิวมากขึ้น
  • ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความเข้มแข็ง: การสักทับรอยแผลเป็น เปลี่ยนแผลผ่าคลอด ให้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความเข้มแข็ง เป็นเครื่องเตือนความทรงจำของการต่อสู้และการเป็นแม่
  • สร้างสรรค์ศิลปะบนร่างกาย: รอยแผลเป็นสามารถกลายเป็นส่วนหนึ่งของศิลปะบนร่างกายของคุณแม่ได้ โดยศิลปินสามารถออกแบบลวดลายที่สวยงาม ช่วยบ่งบอกตัวตนของคุณแม่

 

ข้อเสียของการสักทับรอยแผลผ่าคลอด

  • เจ็บกว่าปกติ: เพราะผิวบริเวณแผลเป็นมีความไวต่อความเจ็บปวดมากกว่าผิวหนังที่ไม่มีแผลเป็น อาจทำให้รู้สึกเจ็บระหว่างการสักมากกว่าปกติ
  • แผลเป็นอาจลุกลาม: สำหรับคนที่เป็นแผลคีลอยด์ หรือมีแนวโน้มจะเป็นแผลคีลอยด์ การสักอาจทำให้แผลเป็นลุกลามและใหญ่ขึ้นได้
  • สีสักไม่สม่ำเสมอ: ผิวแผลเป็นอาจดูดซับหมึกไม่ดีเท่าผิวปกติ ทำให้สีสักไม่สวยงาม อาจจางหรือเป็นดวง ๆ ได้ คุณแม่อาจต้องกลับมาสักซ้ำอีกครั้งในอนาคต

 

ข้อเสียของการสักทับรอยผ่าคลอด

 

เลือกช่างสักทับรอยผ่าคลอดยังไงดี ให้ปลอดภัย

การสักทับแผลผ่าคลอดนั้นต้องการความพิถีพิถันเป็นพิเศษ เพราะผิวบริเวณแผลเป็นมีความแตกต่างจากผิวปกติ การเลือกช่างสักที่มีประสบการณ์จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สวยงามและปลอดภัย โดยพิจารณาดังนี้

  • เช็กประสบการณ์ ดูผลงาน: สอบถามร้านสักเกี่ยวกับประสบการณ์ในการสักทับรอยแผลเป็น ขอดูผลงานก่อนหน้าโดยเฉพาะผลงานที่เกี่ยวข้องกับการสักทับรอยแผลเป็น เพื่อดูว่าสไตล์ของเขาเหมาะกับความต้องการของคุณหรือไม่ ช่างสักที่มีประสบการณ์จะเข้าใจลักษณะของผิวแผลเป็น และมีเทคนิคในการสักที่เหมาะสม เพื่อให้สีสักติดทนและดูเป็นธรรมชาติ
  • ความสะอาดของร้าน: สถานที่สักควรสะอาด มีเครื่องมือที่ผ่านการฆ่าเชื้อ และปฏิบัติตามมาตรฐานสุขอนามัย ยิ่งช่างสักใส่ใจความสะอาดของร้าน โอกาสที่คุณจะติดเชื้อ หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนก็จะยิ่งน้อยลง
  • ปรึกษาหารือ: พูดคุยกับช่างสักเกี่ยวกับไอเดียและความกังวลของคุณ ช่างสักที่ดีจะให้คำแนะนำและตอบข้อสงสัยได้อย่างละเอียด
  • หาข้อมูลจากโซเชียลมีเดีย: ดูผลงานของช่างสักจากโซเชียลมีเดีย เพื่อหาแรงบันดาลใจและเปรียบเทียบผลงานของศิลปินแต่ละคน

 

อยากสักทับรอยผ่าคลอด ปรึกษาแพทย์ก่อนดีไหม

การสักทับรอยแผลผ่าคลอดเป็นการตัดสินใจส่วนบุคคลขึ้นอยู่กับความต้องการของคุณแม่ อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่สนใจ แนะนำให้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประเมินความพร้อมของร่างกาย ประเมินสภาพผิวและให้คำแนะนำกับคุณแม่  

 

ไอเดียรอยสักทับแผลผ่าคลอด ทั้งสวยงามและมีความหมาย

แผลผ่าคลอดสามารถมีได้ทั้งในลักษณะแนวนอนตามแนวขอบกางเกงชั้นใน และลักษณะแนวตั้งใต้สะดือ โดยมีความยาวประมาณ 4-6 นิ้ว หากคุณแม่อยากมีรอยสักทับแผลผ่าคลอดสวย ๆ เรามีไอเดียรอยสักทับแผลผ่าคลอด ทั้งสวยงามและมีความหมายมาฝาก

รอยสักแนวนอน

รอยแผลผ่าคลอดส่วนใหญ่มักเป็นแนวนอน การเลือกสักทับด้วยลายเส้นแนวนอนจึงเป็นทางเลือกที่ลงตัว ช่วยให้รอยสักกลมกลืนไปกับรอยแผลได้เป็นอย่างดี มีลายให้เลือกหลายลาย ดังนี้

  • ดอกไม้: ดอกไม้เป็นสัญลักษณ์ของความงามและความอ่อนโยน การเลือกสักดอกไม้เรียงรายตามแนวรอยแผลจะช่วยให้รอยแผลดูเบาลงและเพิ่มความสดใสให้กับร่างกาย
  • คลื่น: ลายคลื่นเป็นสัญลักษณ์ของการเคลื่อนไหวและความต่อเนื่อง เหมาะสำหรับคุณแม่ที่ชอบความเรียบง่ายแต่สวยงาม
  • ลวดลายธรรมชาติ: ใบไม้ กิ่งไม้ หรือภูเขา เป็นลายสักที่ได้รับความนิยม เน้นความเป็นธรรมชาติและความสงบ
  • ข้อความ: คุณแม่สามารถเลือกสักข้อความที่เป็นแรงบันดาลใจ จากการตั้งชื่อลูก หรือวันที่คลอด เพื่อเป็นการรำลึกถึงช่วงเวลาสำคัญ

 

รอยสักแนวตั้ง

สำหรับคุณแม่ที่ต้องการให้รอยสักเป็นจุดเด่น การเลือกสักแนวตั้งก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ มีลายให้เลือกสัก ดังนี้

  • ต้นไม้/ดอกไม้ : ต้นไม้เป็นสัญลักษณ์ของการเติบโตและชีวิต ดอกไม้เป็นสัญลักษณ์ของความงามและความอ่อนโยน สักตั้งแต่รอยแผลลงมาจนถึงส่วนล่างของหน้าท้อง จะช่วยให้รอยแผลดูเหมือนเป็นก้านดอกหรือรากของต้นไม้
  • นก: นกเป็นสัญลักษณ์ของอิสระเสรี การสักนกบินขึ้นจากรอยแผล จะสื่อถึงการเริ่มต้นชีวิตใหม่และความหวัง
  • รูปทรงเรขาคณิต: รูปทรงเรขาคณิต เช่น สามเหลี่ยม วงกลม หรือสี่เหลี่ยม สามารถนำมารวมกันสร้างเป็นลวดลายที่สวยงามและทันสมัย
  • สัตว์: สัตว์ต่าง ๆ เช่น แมว เสือ หรือหมาป่า สามารถสื่อถึงบุคลิกของคุณแม่ได้

 

การได้รอยสักที่สวยงามและมีความหมาย จะช่วยให้คุณแม่รู้สึกมั่นใจและมีความสุขกับร่างกายของตัวเองมากขึ้น คุณแม่สามารถหาแรงบันดาลใจจากภาพรอยสักต่าง ๆ เพิ่มเติมบนอินเทอร์เน็ต หรือจากนิตยสารเกี่ยวกับรอยสัก อย่างไรก็ตาม อย่าลืมปรึกษาแพทย์และช่างสักผู้เชี่ยวชาญก่อนตัดสินใจไปสัก

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด

 


อ้างอิง :

  1. แก้รอยแผลเป็น โดยการสัก (Tattoo) ดีหรือไม่ ???, ศูนย์ศัลยกรรมความงาม โรงพยาบาลบางมด
  2. Can You Get a Tattoo Over a Scar?, Healthline
  3. ให้นมลูกสามารถสักลายได้ไหม ถ้าสักแล้วหลังจากนั้นต้องเว้นช่วงให้นมไหม, Pobpad
  4. แผลผ่าคลอด ควรดูแลอย่างไร, Pobpad
  5. สัก อันตรายหรือไม่ ศึกษาความเสี่ยงก่อนตัดสินใจ, Pobpad

อ้างอิง ณ วันที่ 22 กรกฎาคม 2567
 

บทความแนะนำ

คุณแม่หลังคลอดมีไข้หนาวสั่น พร้อมวิธีดูแลตัวเองเมื่อมีไข้หลังคลอด

คุณแม่หลังคลอดมีไข้หนาวสั่น พร้อมวิธีดูแลตัวเองเมื่อมีไข้หลังคลอด

คุณแม่หลังคลอดมีไข้หนาวสั่น อาการแบบนี้ปกติหรือไม่ ไข้หลังคลอดของคุณแม่ เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง คุณแม่หลังคลอดมีไข้หนาวสั่น ควรดูแลร่างกายตัวเองอย่างไร

เด็กขาโก่ง จำเป็นต้องดัดขาลูกไหม ลูกขาโก่งดูยังไง

เด็กขาโก่ง จำเป็นต้องดัดขาลูกไหม ลูกขาโก่งดูยังไง

เด็กขาโก่ง เกิดจากอะไร ภาวะขาโก่งในเด็ก อันตรายไหม ลูกน้อยขาโก่ง คุณแม่ต้องดัดขาลูกทุกวันหรือเปล่า ลูกขาโก่งดูยังไง ไปดูวิธีสังเกตเด็กขาโก่งและวิธีแก้ไขกัน

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน แผลสมานไม่สนิท เกิดจากอะไร

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน แผลสมานไม่สนิท เกิดจากอะไร

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณแม่แผลเย็บหลังคลอดไม่ติด แผลจะอักเสบไหม อันตรายกับคุณแม่หลังคลอดหรือเปล่า พร้อมวิธีดูแลแผลฝีเย็บไม่ติดกัน

Overfeeding คืออะไร ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป อันตรายแค่ไหน

Overfeeding คืออะไร ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป อันตรายแค่ไหน

Overfeeding คืออะไร คุณแม่ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป จะเป็นอันตรายกับลูกน้อยไหม ลูกน้อยจะมีอาการอย่างไร เมื่อให้นมลูกเยอะเกิน พร้อมวิธีให้นมลูกน้อยที่ถูกต้อง

ประจำเดือนหลังคลอดจะเริ่มมาเมื่อไหร่ ประจำเดือนหลังคลอดมากี่วัน

ประจำเดือนหลังคลอดจะเริ่มมาเมื่อไหร่ ประจำเดือนหลังคลอดมากี่วัน

ประจำเดือนหลังคลอดจะกลับมาตอนไหน ประจําเดือนหลังคลอดมากี่วัน แบบไหนเรียกผิดปกติ คุณแม่หลังคลอดดูแลตัวเองยังไงให้ร่างกายกลับมาปกติเร็วที่สุด

แม่หลังคลอดกินผลไม้อะไรได้บ้าง ผลไม้ชนิดไหนช่วยฟื้นฟูร่างกาย ดีต่อสุขภาพ

แม่หลังคลอดกินผลไม้อะไรได้บ้าง ผลไม้ชนิดไหนช่วยฟื้นฟูร่างกาย

แม่หลังคลอดกินผลไม้อะไรได้บ้าง ผลไม้ชนิดไหนช่วยให้ร่างกายของคุณแม่แข็งแรงและกระตุ้นน้ำนมให้ไหลดี มีคุณภาพ ช่วยให้สารอาหารส่งถึงลูกโดยตรง ไปดูกัน

ไขบนหัวทารก เกิดจากอะไร คุณแม่ดูแลไขที่หัวทารกได้อย่างไรบ้าง

ไขบนหัวทารก เกิดจากอะไร คุณแม่ดูแลไขที่หัวทารกได้อย่างไรบ้าง

ไขบนหัวทารก เกิดจากสาเหตุอะไร ไขที่หัวทารกอันตรายไหมกับลูกน้อยไหม ไขที่หัวทารกกี่วันถึงหายไป ต้องพาลูกน้อยไปพบแพทย์ไหม พร้อมวิธีดูแลและทำความสะอาดไขบนหัวลูก

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก