ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน ต้องพักฟื้นนานไหม
การดูแลทารกหลังคลอด เป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่ต้องเอาใจใส่ แต่การดูแลร่างกายของตนเองหลังคลอดนั้น ก็เป็นเรื่องที่ไม่อาจละเลยได้เช่นกัน เพื่อสุขภาพที่ดีของตนเอง คุณแม่ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกของหนัก ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน ผ่าคลอดยกของหนักได้ตอนไหน หลังผ่าคลอดคุณแม่จะดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร มาอ่านข้อมูลเพื่อการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธีกัน
สรุป
- การดูแลแผลผ่าคลอด ปฏิบัติตามแพทย์แนะนำ เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้แผลสมานตัวได้เร็ว การละเลยไม่ดูแลแผลผ่าคลอดให้ดี หรือยกของมีน้ำหนักมากเกินไป อาจส่งผลให้แผลหายช้า แผลปริ ทำให้การฟื้นตัวช้า
- หลังผ่าคลอดการยกของหนัก การออกแรงหรือเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องมากเกินไป จะทำให้เจ็บแผลผ่าคลอด ทำให้แผลผ่าคลอดอักเสบ หรือฉีกขาดได้
- หลังผ่าคลอดคุณแม่ควรฟื้นฟูร่างกายหลังการคลอด เพื่อสร้างความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อ คุณแม่ปรับพฤติกรรม ระวังในการปรับเปลี่ยนท่าต่าง ๆ การยกของหนัก ไม่ดูแลตัวเอง จะยิ่งทำให้การฟื้นตัวหลังคลอดช้า
- หลังผ่าคลอดคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการตัวเองให้ดี หากแผลผ่าคลอดบวมแดง อักเสบ มีกลิ่นเหม็น เป็นหนอง ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- ผ่าคลอดยกของหนักได้ตอนไหน
- หลังการคลอด คุณแม่ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่กิโล
- คุณแม่ผ่าคลอดยกของหนักทันที มีผลกระทบอะไรบ้าง
- คุณแม่ผ่าคลอดต้องพักฟื้นนานแค่ไหน ถึงกลับมายกของได้
- แผลผ่าคลอดปริจากการยกของหนัก คุณแม่ควรทำยังไง
- วิธีดูแลแผลผ่าคลอด ป้องกันแผลผ่าคลอดอักเสบ
ผ่าคลอดยกของหนักได้ตอนไหน
หลังจากคุณแม่ผ่าตัดคลอดมาในช่วง 3 เดือนแรก ควรงดออกแรงเยอะ ไม่ยกของหนักหรือเกร็งกล้ามเนื้อท้อง การออกแรงหรือเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องจะทำให้เจ็บแผล แผลผ่าคลอดอักเสบ หรือฉีกขาดได้
คุณแม่ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่กิโลหลังผ่าคลอด
คุณแม่หลายคนอาจสงสัยว่าผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน และยกของหนักได้กี่กิโลกรัม แม้ว่าแพทย์ไม่ได้แจ้งน้ำหนักที่แน่ชัดว่า หลังจากการผ่าคลอดการห้ามยกของหนักนั้น สิ่งของที่ห้ามยกจะหนักกี่กิโลกรัม แต่คุณแม่ควรระมัดระวังในการยกของนั้น ๆ ว่าไม่ควรต้องใช้แรงเยอะ หรือ ยกสิ่งของใดที่มีน้ำหนัก ที่หนักกว่าน้ำหนักของลูกน้อย โดยไม่ควรยกของหนักในช่วง 3 เดือนแรก
คุณแม่ผ่าคลอดยกของหนักทันที มีผลกระทบอะไรบ้าง
1. มดลูกและแผลผ่าคลอดฉีกขาด
หลังผ่าคลอดนั้นคุณแม่อาจรู้สึกเจ็บมดลูกเนื่องจากมดลูกกำลังหดตัว การดูแลแผลผ่าคลอดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้บรรเทาความเจ็บปวด และทำให้แผลสมานตัวได้เร็ว การละเลยไม่ดูแลแผลผ่าคลอดให้ดี เกิดแรงกดทับที่ท้องมากเกินไป เริ่มออกกำลังกายเร็วเกินไป ยกของมีน้ำหนักมากเกินไป จะทำให้แผลปริ ส่งผลให้การฟื้นตัวของแผลผ่าคลอดหายช้า
2. เลือดไหลออกตรงบริเวณแผลผ่าคลอด
เนื่องจากเกิดแรงดันหรือแรงกดทับที่บริเวณแผลตรงหน้าท้องมากเกินไป ทำให้แผลเปิดได้ ฉะนั้นคุณแม่ควรพักผ่อน พักฟื้นดูแลตัวเองให้ดี เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาแผลปริได้
3. เสี่ยงต่อการปวดหลัง
การที่คุณแม่มือใหม่ตั้งครรภ์และต้องอุ้มน้ำหนักของทารกน้อยไว้ในขณะตั้งครรภ์ ทำให้คุณแม่มีอาการปวดหลัง คุณแม่ควรฟื้นฟูร่างกายหลังการผ่าตัดคลอด ดูแลตัวเองหลังคลอดเพื่อสร้างความยืดหยุ่น สร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ คุณแม่ควรปรับพฤติกรรม ระมัดระวังการขยับร่างกาย อิริยาบถต่าง ๆ การอุ้มลูกผิดท่า ยกของหนัก ไม่ดูแลตัวเอง จะยิ่งทำให้การฟื้นตัวหลังคลอดช้า และทำให้ปวดหลังมากยิ่งขึ้น จนทำให้ข้อกระดูกเสื่อม หรือโครงสร้างกระดูกผิดปกติ
คุณแม่ผ่าคลอดต้องพักฟื้นนานแค่ไหน ถึงกลับมายกของได้
ในช่วงแรกหลังจากการผ่าตัดคลอด คุณแม่ควรระมัดระวังอย่ายกของหนัก แม้จะต้องอุ้มลูกน้อย หรือทำงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ บ้าง แต่ก็ไม่ควรออกแรงมาก หรือเกร็งหน้าท้องมาก และไม่ควรยกของหนักในช่วง 3 เดือนแรก ควรที่จะพักฟื้นเพื่อให้ร่างกายนั้นได้ปรับตัว และสร้างคอลลาเจนให้หนาขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้บาดแผลผ่าคลอดนั้นเกิดแผลนูน หรือฉีกขาด
แผลผ่าคลอดปริจากการยกของหนัก คุณแม่ควรทำยังไง
- เข้าพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจประเมินอย่างละเอียดว่า มีภาวะรุนแรงขั้นไหน ควรได้รับการรักษา ทานยาตามที่แพทย์สั่ง
- ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
- ลุกนั่งให้ระมัดระวัง เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
- ล้างแผลให้สะอาดเป็นประจำ จนกว่าแผลจะแห้งสนิท
- หลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่ควรทำหลังผ่าคลอด งดการยกสิ่งของที่หนักจะทำให้เกิดแรงกด แรงดัน เช่น การออกกำลังกายหนัก ๆ ยืน เดินเป็นเวลานานเกินไป
- หลังเกิดแผลปริแตก เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนบริเวณแผลที่จะอักเสบ หรือติดเชื้อ ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลา 6 สัปดาห์
วิธีดูแลแผลผ่าคลอด ป้องกันแผลผ่าคลอดอักเสบ
- อย่าให้แผลโดนน้ำ เพราะอาจทำให้แผลอักเสบ ติดเชื้อ และหายช้าได้
- รักษาความสะอาดดูแลให้แผลแห้งเสมอ ไม่แกะ ไม่เกาแผล
- ห้ามยกของหนักหรือออกแรงเยอะ เพื่อลดการออกแรง เนื่องจากแรงยึดจะทำให้แผลตึงหรือแผลปริได้
- คุณแม่ควรขยับตัวบ้างเพื่อป้องกันพังผืด แม้ว่าหลังผ่าคลอดจะทำให้ปวดแผลบ้าง แต่การเริ่มขยับตัวตั้งแต่ในช่วงแรก ๆ ตามคำแนะนำของแพทย์ จะทำให้แผลไม่เกิดพังผืดยึดเกาะ และจะทำให้แผลฟื้นตัวได้เร็ว
- ใส่ผ้ารัดพยุงท้อง เพื่อป้องกันไม่ให้แผลที่ผ่าตัดคลอดถูกรั้งจากผนังหน้าท้องที่หย่อน การใส่ผ้ารัดพยุงท้องหลังผ่าคลอดจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บแผลผ่าตัด
- พักผ่อนให้เพียงพอ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทานอาหารหลังผ่าคลอดที่มีประโยชน์ครบทั้ง 5 หมู่
- ขยับตัว เดิน ยืน ลุก นั่ง อย่างช้า ๆ ระมัดระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้แผลผ่าตัดตึงเกินไป
- ตรวจแผล ล้างแผล ดูแลแผลผ่าคลอดตามที่แพทย์นัด หากแผลผ่าคลอดบวมแดง อักเสบ มีกลิ่นเหม็น เป็นหนอง ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
คุณแม่ที่คลอดลูกแล้ว หรือวางแผนว่าจะผ่าตัดคลอด อาจมีความกังวลใจในการผ่าตัดคลอดและกังวลว่าผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือนและผ่าคลอดยกของหนักได้ตอนไหน คุณแม่ควรเตรียมความพร้อมทำความเข้าใจ และดูแลแผลหลังผ่าตัดคลอดให้ถูกวิธี ปฏิบัติตัวตามที่แพทย์ได้แนะนำ เพื่อป้องกันไม่ให้แผลผ่าคลอดนั้นติดเชื้อ และควรหมั่นสังเกตอาการตัวเองให้ดี หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับแผลผ่าคลอด ไม่ควรชะล่าใจ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด
- สมองและภูมิคุ้มกันของเด็กผ่าคลอด
- ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก
- Colostrum คือ น้ำนมสีหลืองที่มีสฟิงโกไมอีลิน เสริมภูมิคุ้มกันลูก
- อาหารบำรุงน้ำนม เมนูเพิ่มน้ำนม กระตุ้นน้ำนมแม่ให้มีคุณภาพ
- น้ำนมใส คืออะไร สีน้ำนมแม่ ประโยชน์ของน้ำนมส่วนหน้าที่แม่ควรรู้
- น้ำนมส่วนหน้าและน้ำนมส่วนหลังต่างกันอย่างไร เรื่องน้ำนมที่แม่ต้องรู้
- น้ำนมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง เก็บได้นานแค่ไหน พร้อมการเก็บนมแม่ให้ถูกวิธี
- อาการคัดเต้านม คัดเต้ากี่วันหาย พร้อมวิธีบรรเทาอาการเต้านมคัด
- หัวนมแตก อาการเจ็บหัวนมดูแลอย่างไร คุณแม่ให้นมลูกต่อได้ไหม
- ท่อน้ำนมอุดตัน ท่อน้ำนมตัน ปัญหาคุณแม่หลังคลอด ที่คุณแม่แก้ไขได้
- วิธีนวดเปิดท่อน้ำนม นวดเต้าหลังคลอด แก้ไขปัญหาคุณแม่น้ำนมน้อย
อ้างอิง:
- 8 เคล็ดลับดูแลแผลผ่าคลอดให้แผลสวย หายไว ฟื้นตัวเร็ว, โรงพยาบาลวิมุต
- คำถามยอดฮิตที่คุณแม่ผ่าคลอดอยากรู้, โรงพยาบาลศิครินทร์
- การดูแลตัวเองหลังคลอด (Postpartum Self-Care), โรงพยาบาลMedpark
- แผลผ่าคลอดปริ เกิดจากอะไร คุณแม่ควรดูแลแผลอย่างไร, HelloKhunmor
- แผลผ่าคลอด ควรดูแลอย่างไร, pobpad
- การดูแลหลังผ่าคลอด แบบผ่าตัดทางหน้าท้อง, โรงพยาบาลสมิติเวช
- “ปวดหลังหลังคลอด” สัญญาณร้าย...ที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม!, โรงพยาบาลเปาโล
อ้างอิง ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2567