น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรับมือ

น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรู้

17.02.2024

น้ำคร่ำ คืออะไร มีหน้าที่ มีประโยชน์กับทารกในครรภ์หรือเปล่า และระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่จะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองกำลังมีอาการของน้ำคร่ำรั่ว หรือน้ำคร่ำแตก ต้องเช็กอย่างไรหรือมีสัญญานเตือนแบบไหน ไปทำความรู้จักน้ำคร่ำ และภาวะต่าง ๆ ของน้ำคร่ำที่สามารถเกิดขึ้นได้ระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อให้คุณแม่รู้เท่าทัน และรับมือได้อย่างถูกต้องค่ะ

headphones

PLAYING: น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรู้

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • “น้ำคร่ำ” มีความสำคัญในการตั้งครรภ์ เนื่องจากน้ำคร่ำจะทำหน้าที่ป้องกันทารกและสายสะดือไม่ให้ถูกกดทับ
  • เมื่อเข้าสู่การตั้งครรภ์ไตรมาส 2 น้ำคร่ำมาจากปัสสาวะของทารกในครรภ์ ส่วนประกอบในน้ำคร่ำจะมีทั้งสารโซเดียม คลอไรด์ และเหล็ก
  • ถุงน้ำคร่ำรั่วหรือแตก PROM คือภาวะน้ำเดินก่อนกำหนด สามารถเกิดขึ้นได้ตอนอายุครรภ์ครบกำหนด 37 สัปดาห์ หรืออาจเกิดขึ้นก่อนที่อายุครรภ์ 37 สัปดาห์
  • คุณแม่สามารถทดสอบภาวะถุงน้ำคร่ำรั่วได้ด้วยการสวมผ้าอนามัย หากผ้าอนามัยเปียกชุ่มทั้งแผ่นแสดงว่ามีน้ำคร่ำรั่ว ลักษณะของน้ำคร่ำคือสีใส ไม่มีกลิ่น

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

อาการน้ำคร่ำรั่ว สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องเตรียมตัวรับมือ

  1. น้ำคร่ำ (Amniotic fluid) ถูกสร้างขึ้นมาจากถุงแอมเนี่ยน หรือถุงการตั้งครรภ์ น้ำคร่ำมีส่วนประกอบของสารโซเดียม คลอไรด์ และเหล็ก
  2. อาการน้ำคร่ำรั่ว จะเป็นลักษณะที่มีน้ำไหลซึมออกมาจากช่องคลอดของคุณแม่ทีละเล็กละน้อย สาเหตุที่ทำให้น้ำคร่ำรั่วออกมา เป็นเพราะถุงน้ำคร่ำมีรอยรั่ว ภาวะน้ำคร่ำรั่วสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดการตั้งครรภ์ทั้ง 3 ไตรมาส น้ำคร่ำรั่วไม่ใช่สัญญาณใกล้คลอด แต่เป็นสัญญาณอันตรายที่อาจทำให้ทารกในครรภ์ติดเชื้อ

 

น้ำคร่ำ คืออะไร

น้ำคร่ำ (Amniotic fluid) เริ่มมีขึ้นมาพร้อม ๆ กับการตั้งครรภ์ของคุณแม่ น้ำคร่ำในช่วงอายุครรภ์ไตรมาสแรกจะถูกสร้างขึ้นมาจากถุงแอมเนี่ยนหรือถุงการตั้งครรภ์ และเมื่อเข้าสู่การตั้งครรภ์ไตรมาส 2 เป็นต้นไป น้ำคร่ำจะมาจากปัสสาวะของทารกในครรภ์ ส่วนประกอบในน้ำคร่ำจะมีทั้งสารโซเดียม คลอไรด์ และเหล็ก น้ำคร่ำที่ถูกสร้างขึ้นในแต่ละวันจะมีปริมาณอยู่ที่ 700-900 ซีซี

 

หน้าที่ของน้ำคร่ำ:

  1. ช่วยควบคุมให้น้ำและเกลือแร่ในตัวทารกมีความสมดุล
  2. ช่วยควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกายของทารก
  3. ช่วยพัฒนาข้อเข่า ระบบกล้ามเนื้อและอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ของทารกให้มีการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์
  4. ช่วยพัฒนาปอดของทารกให้มีการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์
  5. ช่วยกระตุ้นให้ระบบทางเดินอาหารของทารกแข็งแรงและทำงานได้มีประสิทธิภาพ
  6. ช่วยกระตุ้นให้ระบบกล้ามเนื้อและเส้นประสาทของทารกเจริญเติบโตอย่างแข็งแรง
  7. ช่วยป้องกันไม่ให้ทารกในครรภ์ได้รับอันตรายจากการถูกกระทบกระเทือนจากภายในนอกครรภ์
  8. ช่วยป้องกันไม่ให้ตัวทารกไปกดทับสายสะดือของตัวเอง
  9. ช่วยให้ทารกมีพื้นที่ในการเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างอิสระ
  10. ช่วยยับยั้งแบคทีเรียต่าง ๆ

 

น้ำคร่ำรั่ว น้ำคร่ำแตก เกิดจากอะไร

1. น้ำคร่ำรั่ว

ความหมายทางการแพทย์ คือ ภาวะที่น้ำเดินก่อนกำหนด ถุงน้ำคร่ำรั่วหรือแตก PROM (Premature rupture of membranes) สามารถเกิดขึ้นได้ตอนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ หรืออาจเกิดขึ้นก่อนที่อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ก็ได้เช่นกัน

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดถุงน้ำคร่ำรั่ว

  1. เคยมีประวัติภาวะน้ำเดินก่อนอายุครรภ์ครบกำหนดมาก่อนเมื่อตอนตั้งครรภ์แรก
  2. เคยมีประวัติผ่าตัดปากมดลูก
  3. เคยมีประวัติเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  4. การตั้งครรภ์แฝด
  5. มีภาวะน้ำคร่ำมาก
  6. ขณะตั้งครรภ์เกิดมีการติดเชื้อขึ้นที่ ปากมดลูก ช่องคลอด และปากช่องคลอด
  7. ระหว่างตั้งครรภ์ไตรมาสแรก มีเลือดซึมออกจากช่องคลอด
  8. มีการสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์

 

2. ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด:

ภาวะถุงน้ำคร่ำแตก คือการมีน้ำคร่ำรั่วออกมาทางช่องคลอดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์

 

ภาวะแทรกซ้อนของการมีภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด:

  1. เกิดการลอกตัวขึ้นของรกก่อนกำหนด
  2. ขณะตั้งครรภ์เกิดการติดเชื้อขึ้นที่โพรงมดลูก
  3. ทารกเสียชีวิตขณะอยู่ในครรภ์
  4. ทารกมีสายสะดือไหลออกมา

 

น้ำคร่ำแตก อาการเป็นอย่างไร

น้ำคร่ำแตกจะมีน้ำคล้ายปัสสาวะแต่สีจะใสกว่า และไม่มีกลิ่นออกมาทางช่องคลอดของคุณแม่ ลักษณะการไหลของน้ำคร่ำที่แตก คือจะไหลเหมือนมีของหล่นโพละออกมาในทีเดียว หรือบางครั้งน้ำคร่ำแตกจะไหลออกมาช้า ๆ ก็ได้เช่นกัน

 

น้ำคร่ำแตก ช่วงใกล้คลอด จะมีอาการให้เห็นช่วงไหนได้บ้าง

น้ำคร่ำแตกคือหนึ่งในสัญญาณเตือนว่าคุณแม่กำลังอยู่ในช่วงอาการใกล้คลอด คืออายุครรภ์ใน 4 สัปดาห์สุดท้าย (37-40 สัปดาห์) อาการถุงน้ำคร่ำแตกช่วงใกล้คลอด หรือเรียกว่าน้ำเดินจะมีน้ำใสไหลออกมาจากช่องคลอด พร้อมกับมดลูกเริ่มมีการหดรัดตัวเพื่อดันให้ศีรษะของทารกลงไปอยู่ตรงบริเวณอุ้งเชิงกราน น้ำคร่ำแตกมีความเป็นไปได้ 80% ว่าคุณแม่อาจต้องได้คลอดลูกใน 12 ชั่วโมง

 

วิธีทดสอบภาวะน้ำคร่ำรั่วด้วยตนเอง

คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถทดสอบการรั่วของถุงน้ำคร่ำได้ด้วยตัวเองง่าย ๆ ดังนี้

  1. สวมผ้าอนามัย เพื่อสังเกตว่าผ้าอนามัยเปียกชุ่มหรือไม่
  2. น้ำที่เปียกชุ่มผ้าอนามัย หากเป็นน้ำคร่ำจะไม่มีสี ไม่มีกลิ่น

 

หากการทดสอบพบว่าน้ำที่เปียกผ้าอนามัยเป็นลักษณะของน้ำคร่ำ แนะนำให้คุณแม่รีบไปพบแพทย์ทันที ไม่ควรปล่อยให้น้ำคร่ำรั่ว เนื่องจากน้ำคร่ำที่มีปริมาณลดลงเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์

 

น้ำคร่ำรั่วแบบไหน ควรพบแพทย์

น้ำคร่ำรั่วสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกไตรมาสของการตั้งครรภ์ ดังนั้นหากคุณแม่สังเกตว่าตัวเองมีน้ำใส ๆ ไม่มีกลิ่น ค่อย ๆ ซึมไหลออกจากช่องคลอดตลอดเวลา หรือหากใส่ผ้าอนามัยแล้วแผ่นผ้าอนามัยเปียกชุ่มทั้งแผ่น นั่นแสดงถึงปริมาณน้ำคร่ำที่ไหลออกมามาก แนะนำให้คุณแม่รีบไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ทันที น้ำคร่ำที่รั่วออกส่งผลให้ทารกในครรภ์ติดเชื้อได้

 

ภาวะน้ำคร่ำรั่ว ที่เป็นสัญญาณเตือนสุขภาพของคุณแม่ได้

ถุงน้ำคร่ำรั่ว หรือภาวะน้ำเดินก่อนกำหนดจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ ที่อันตรายต่อตัวคุณแม่ก็คือโพรงมดลูกเกิดการอักเสบติดเชื้อขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณแม่จะมีการคลอดก่อนกำหนด ทารกที่คลอดก่อนกำหนดปอดจะยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ทารกมีการหายใจได้ยากลำบาก ทางการแพทย์จะเรียกภาวะนี้ว่า RDS (Respiratory distress syndrome)

 

นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจที่เป็นอวัยวะสำคัญของทารกอีกด้วย และยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่เป็นผลมาจากสุขภาพของคุณแม่ที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะถุงน้ำคร่ำรั่ว

  1. คุณแม่น้ำหนักตัวน้อยเกินไป หรือได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
  2. การสูบบุหรี่ หรือใช้สารเสพติดขณะตั้งครรภ์
  3. ภาวะติดเชื้อที่มดลูก

 

ตลอดการพัฒนาการทารกในครรภ์ 1-40 สัปดาห์ คุณแม่จำเป็นต้องสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะการเกิดน้ำคร่ำรั่ว น้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด แนะนำให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพราะเป็นอันตรายทั้งต่อตัวคุณแม่และทารกในครรภ์

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. รู้จักกับภาวะน้ำคร่ำน้อย อันตรายสูงในหญิงตั้งครรภ์, โรงพยาบาลบางปะกอก สมุทรปราการ
  2. การสังเกตอาการน้ำคร่ำรั่ว, โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
  3. น้ำคร่ำ (Amniotic fluid), สูติศาสตร์ล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  4. ภาวะน้ำเดินก่อนกำหนด อีกหนึ่งภาวะครรภ์เสี่ยงที่คุณควรรู้, โรงพยาบาลสมิติเวช
  5. ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  6. สัญญาณเตือนคุณแม่ใกล้คลอด เตรียมพร้อมได้ทันเวลา, โรงพยาบาลนครธน
  7. “6 สัญญาณอันตรายที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องรีบไปพบแพทย์”, โรงพยาบาลเปาโล
  8. Polyhydramnios ภาวะน้ำคร่ำมาก, โรงพยาบาลสมิติเวช

อัพเดท ณ วันที่ 6 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

รกเกาะต่ำเกิดจากอะไร อันตรายแค่ไหน สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

รกเกาะต่ำเกิดจากอะไร อันตรายแค่ไหน สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

รกเกาะต่ำเกิดจากอะไร คุณแม่มีภาวะรกเกาะต่ำ อันตรายไหม แม่ท้องจะรู้ได้ยังไงว่าตัวเองมีภาวะรกเกาะต่ำ พร้อมวิธีสังเกตอาการและวิธีป้องกันรกเกาะต่ำในคนท้อง

คนท้องเป็นริดสีดวงอันตรายไหม แม่ท้องเป็นริดสีดวงสังเกตยังไง

คนท้องเป็นริดสีดวงอันตรายไหม แม่ท้องเป็นริดสีดวงสังเกตยังไง

แม่ท้องเป็นริดสีดวง เกิดจากอะไร คุณแม่ท้องจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองเป็นริดสีดวง พร้อมวิธีสังเกตริดสีดวงคนท้อง พร้อมวิธีป้องกันริดสีดวงคนท้องระหว่างตั้งครรภ์

เข็มขัดพยุงครรภ์ควรใช้ตอนไหน ใช้เข็มขัดพยุงครรภ์อันตรายไหม

เข็มขัดพยุงครรภ์ควรใช้ตอนไหน ใช้เข็มขัดพยุงครรภ์อันตรายไหม

เข็มขัดพยุงครรภ์คืออะไร เข็มขัดพยุงครรภ์ดีไหม จำเป็นกับคุณแม่ตั้งครรภ์จริงหรือเปล่า คุณแม่ท้องควรเริ่มใส่เข็มขัดพยุงครรภ์ตอนอายุครรภ์กี่เดือน

ท้องแฝดเกิดจากอะไร คุณแม่ตั้งท้องแฝดอันตรายจริงไหม

ท้องแฝดเกิดจากอะไร คุณแม่ตั้งท้องแฝดอันตรายจริงไหม

คุณแม่ตั้งครรภ์ท้องแฝดยากไหม เกิดจากอะไร ตั้งครรภ์ท้องแฝดสี่ยงอันตรายจริงหรือเปล่า ลูกแฝดเกิดจากอะไรได้บ้าง พร้อมวิธีเตรียมตัวมีลูกแฝดสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก