คนท้องปวดหลัง เกิดจากอะไร วิธีดูแลคนท้องปวดหลังพร้อมวิธีแก้ปวด

คนท้องปวดหลัง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือคนท้องปวดหลัง

02.04.2024

ปัญหาการปวดหลังเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในการตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทางร่างกาย คนท้องปวดหลังเกิดจากหลากหลายสาเหตุ ดังนั้นจึงควรดูแล ปรับพฤติกรรมในการปรับเปลี่ยนอิริยาบถต่าง ๆ เพื่อรับมือบรรเทาอาการปวดหลัง และป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดหลังซ้ำได้อีก หากดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยวิธีง่าย ๆ ที่บ้านแล้วอาการปวดหลังไม่ดีขึ้น มีอาการปวดเรื้อรัง หรืออาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ควรปรึกษาแพทย์

headphones

PLAYING: คนท้องปวดหลัง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือคนท้องปวดหลัง

อ่าน 7 นาที

 

สรุป

  • คนท้องปวดหลัง เกิดขึ้นจากที่ร่างกายที่ปรับเปลี่ยนไปเพื่อแบกรับน้ำหนักของมดลูก และทารกที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ
  • คนท้องปวดหลัง เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น น้ำหนักที่มากขึ้น ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง พฤติกรรมการเดิน ยืน นั่ง นอน ที่ผิดท่า ไม่ถูกวิธี จึงส่งผลให้มีอาการปวดหลังตามมา
  • เมื่อคนท้องปวดหลัง ควรปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เดิน นอน นั่ง ยืน หยิบของ ในท่าที่เหมาะสมถูกวิธี หมั่นออกกำลังกาย หรือกายบริหาร เพื่อลดการหดเกร็ง ลดการแอ่นหลัง เพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อที่เคลื่อนไหว เกิดความสมดุลในการทำงานของกล้ามเนื้อ ช่วยให้ลดการปวดหลังได้
  • หากคนท้องปวดหลัง ดูแลตัวเองเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น มีอาการปวดหลังเรื้อรัง ควรปรึกษาคุณหมอ นักกายภาพบำบัด หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

อาการคนท้องปวดหลังขณะตั้งครรภ์

เมื่อการตั้งครรภ์ ทำให้ร่างกายนั้นเปลี่ยนไป คุณแม่ที่ต้องแบกรับน้ำหนักทารกที่ใหญ่ขึ้น การเดิน นั่งนาน ๆ อิริยาบถต่าง ๆ สวมรองเท้ามีส้นที่สูง ทำให้คนท้องปวดหลังได้ อาการปวดหลังมักเป็นเรื่องที่พบเจอได้ในทุกช่วงไตรมาสของการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะ เมื่อถึงไตรมาสที่ 3 พบเจออาการปวดหลังได้มากสุดที่อายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์ขึ้นไป

 

อาการคนท้องปวดหลังขณะตั้งครรภ์ เกิดจากสาเหตุใด

คนท้องปวดหลังเกิดขึ้นได้หลากหลายสาเหตุ ได้แก่

  • เมื่อมีการตั้งครรภ์ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะมดลูกจะมีขนาดที่ขยายใหญ่ขึ้นกว่าเดิม และต้องแบกรับน้ำหนักของทารกในครรภ์ที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ การแบกรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ปวดหลังได้
  • เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงร่างกาย น้ำหนักของคุณแม่ก็จะค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้น ท้องที่ใหญ่ขึ้นจะทำให้แรงถ่วงอยู่ทางด้านหน้า ทำให้กระดูกสันหลังแอ่น หลังของคุณแม่ต้องแบกรับน้ำหนักไว้เป็นเวลานาน ๆ ทำให้มีอาการปวดหลัง
  • เมื่อครรภ์ใหญ่ขึ้น จะมีการทรงตัว และอิริยาบถในท่าที่เปลี่ยนไปจากเดิม ครรภ์ที่ใหญ่จะทำให้เดินตัวแอ่นไปทางด้านหลัง คุณแม่มีการเดิน นั่ง การเปลี่ยนอิริยาบถต่าง ๆ ในท่าแบบเดิมที่เคยชิน ไม่ถูกวิธี ทำให้ปวดหลังได้ ยิ่งเมื่อต้องทำงานที่นั่ง หรือยืน เป็นเวลานาน ๆ โดยไม่ได้พัก จะส่งผลทำให้ปวดหลังได้มากขึ้น
  • เมื่ออายุครรภ์เริ่มมากขึ้น ทารกน้อยในครรภ์ก็เติบโตขึ้นด้วย ทำให้มดลูกนั้นขยายใหญ่ไปด้วย ทำให้กล้ามเนื้อส่วนกลางลำตัวของคุณแม่นั้นแยกตัว จึงส่งผลให้มีอาการปวดหลัง
  • ความเครียด ความวิตกกังวล ความเครียดที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์โดยไม่รู้ตัว จะส่งผลให้กล้ามเนื้อต่าง ๆ ตึงตัว ทำให้คุณแม่ปวดหลังได้
  • ทารกในครรภ์ดึงแคลเซียมของคุณแม่ไปใช้ในการสร้างฟัน สร้างกระดูก ทำให้มีอาการปวดหลังตามมา
  • เมื่อเกิดการตั้งครรภ์ ฮอร์โมนต่าง ๆ ของคุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ผลการเพิ่มฮอร์โมนรีแลกซิน ที่สร้างออกมาจากรังไข่ ทำให้กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ หย่อนตัว ยืดออก ทำให้อุ้งเชิงกรานขยายตัว เอ็นยึดข้อต่อกระดูกหลังส่วนล่างหย่อน เพื่อพร้อมรับมดลูกที่ขยายตัวใหญ่ขึ้น กระดูกส่วนล่างแอ่นมากขึ้น มีผลทำให้คุณแม่ปวดหลังจากการตั้งครรภ์
  • การไหลเวียนของเลือดลดลงจากเดิม เกิดจากการไปกดทับหลอดเลือดเวนาคาวาที่ตัวมดลูก ทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน กล้ามเนื้อได้รับออกซิเจนน้อยมีการเผาผลาญมาก จึงเกิดกรดแลกติกกระตุ้นประสาทความรับรู้สึกปวดกล้ามเนื้อ ทำให้คุณแม่ปวดหลังได้ในเวลากลางคืน

 

เมื่อมีอาการคนท้องปวดหลัง ทำอย่างไรให้หายปวด

  • นอนพักส่วนหลัง เมื่อมีอาการปวดหลัง คุณแม่อาจพักและลดแรงกดของกระดูกสันหลังด้วยการนอนพัก
  • อยู่ในท่าที่เหมาะสม คุณแม่ควรปรับอิริยาบถ ท่าทางต่าง ๆ ในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ยืน เดิน นอน หยิบของให้ถูกท่า เพื่อบรรเทาความล้าของกล้ามเนื้อส่วนหลัง
  • เมื่อมีอาการปวดหลัง ควรงดในการยกของหนัก หากมีความจำเป็นต้องอุ้มลูกน้อยด้วย ควรอุ้มในท่าที่เหมาะสม
  • ออกกำลังกาย คุณแม่อาจช่วยเสริมความแข็งแรงให้กระดูกสันหลัง กล้ามเนื้อหลังด้วยการออกกำลังกายอย่างถูกวิธีตามที่แพทย์แนะนำ การออกกำลังกายจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อได้
  • กายบริหาร ท่าบริหารเป็นวิธีที่ง่าย และเพิ่มความยืดหยุ่น ความทนทานของกล้ามเนื้อที่เคลื่อนไหว ลดการหดเกร็ง ลดการแอ่นหลัง ช่วยให้การทำงานของกล้ามเนื้อเกิดความสมดุล บรรเทาอาการปวดหลัง คุณแม่ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทำกายบริหาร เพื่อทำกายบริหารสำหรับคนท้องให้ถูกท่าถูกวิธี
  • รับประทานอาหารที่เหมาะสม ทานอาหารคนท้อง ที่มีประโยชน์ ไม่ควรให้ครรภ์ใหญ่จนทำให้กระดูกสันหลังแอ่น ควบคุมให้น้ำหนักเป็นไปตามเกณฑ์ที่แพทย์แนะนำ
  • ค่อยนวดคลึงบริเวณที่ปวดเพื่อผ่อนคลาย เพื่อกระตุ้นปลายประสาท ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว เพิ่มการไหลเวียนของเลือด
  • ประคบเย็นหากมีการอักเสบปวดบวมที่หลัง หรือประคบร้อนบริเวณที่ปวดตึงกล้ามเนื้อด้านหลัง
  • หากคนท้องปวดหลังเรื้อรัง อาการปวดหลังไม่บรรเทา ควรปรึกษาคุณหมอ หรือนักกายภาพบำบัด ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

 

การป้องกันอาการคนท้องปวดหลังในหญิงตั้งครรภ์ ทำได้อย่างไร

 

การป้องกันการปวดหลังในหญิงตั้งครรภ์ ทำได้อย่างไร

ท่านอนคนท้อง ท่านั่ง ท่ายืน ท่าเดิน ท่าหยิบ เก็บสิ่งของ หรืออิริยาบถต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันนั้น มีส่วนสำคัญที่จะช่วยป้องกันอาการปวดหลังได้

  • ท่านอนที่ถูกวิธี ก่อนที่จะเอนตัวลงนอน ควรเริ่มจากท่านั่ง ค่อย ๆ เอนตัวลงนอนในท่าตะแคงใช้ศอกพยุงน้ำหนักร่างกาย ใช้มือช่วยเคลื่อนตัวสู่ท่านอน นอนในท่าตะแคง อาจใช้หมอนสอดรองระหว่างขาขณะนอน ไม่ควรใช้หมอนรองบริเวณหัวไหล่ ไม่ควรนอนที่นอนที่ยุบตามน้ำหนักตัว ควรเลือกที่นอนที่ไม่อ่อนนุ่มจนเกินไป
  • ท่านั่งที่ถูกวิธี ไม่ควรนั่งไขว้ห้าง นั่งเก้าอี้ที่มีที่วางแขน มีพนักพิง นั่งหลังตรงไม่ห่อตัว หรือจะใช้หมอนหนุนขณะนั่งเก้าอี้ก็ได้
  • ท่ายืนที่ถูกวิธี เมื่อยืนควรยืนตัวตรง ผายหน้าอก ปล่อยหัวไหล่ให้ผ่อนคลาย หลังตรง ยกศีรษะยืดคอ ไม่เอาศีรษะไปด้านหลัง ไม่เกร็งหัวเข่า กระจายน้ำหนักของร่างกายในการยืนให้สม่ำเสมอ
  • ท่าเดินที่ถูกวิธี ก้าวเดินไปข้างหน้า ด้วยศีรษะ หลัง ไหล่ตรง หลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าที่มีส้นสูงเกินไป สวมใส่รองเท้าที่สบายเท้าไม่บีบรัดเกินไป
  • ท่าก้มหยิบของที่ถูกวิธี ยืนแยกเท้า ความกว้างเท่าช่วงของสะโพก ปลายเท้าเฉียงเล็กน้อย ให้น้ำหนักตัวอยู่ตรงกลาง ค่อย ๆ หย่อนตัวลง งอเข่า ใช้แขนและไหล่ยกของ หยิบของ ให้ลำตัวชิดกับของมากที่สุด แล้วใช้ขาพยุงตัวขึ้น ไม่ใช้แรงที่หลัง คุณแม่ไม่ควรยกของหนัก แต่หากมีความจำเป็นต้องยกของหนัก หรือต้องอุ้มลูก ควรก้มหยิบ ยกของ เก็บของ ด้วยวิธีที่ถูกต้อง ไม่ควรหยิบของที่อยู่สูงมาก ๆ อาจทำให้หลังเกิดอันตรายได้

 

คนท้องปวดหลัง เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในระหว่างการตั้งครรภ์ นอกจากคุณแม่จะต้องพบเจอกับอาการปวดหลัง ไม่สบายตัว การดูแลตัวเอง รับมือกับอาการปวดหลังอย่างถูกวิธี จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้อาการปวดนั้นบรรเทาลง หากมีอาการแทรกซ้อน หรือปวดหลังเรื้อรัง กระทบการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ควรชะล่าใจ ควรรีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ไม่ควรซื้อยาทานเองโดยเด็ดขาด

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. อาการปวดหลังขณะตั้งครรภ์ของหญิงที่มาฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. อาการระหว่างตั้งครรภ์ เรื่องสำคัญที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้, โรงพยาบาลพญาไท
  3. คุณแม่ตั้งครรภ์กับอาการปวดหลัง, โรงพยาบาลสมิติเวช
  4. อาการคนท้องเดือนแรก สัญญาณเริ่มต้นว่ากำลังตั้งครรภ์, โรงพยาบาลศิครินทร์
  5. กายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวดหลังส่วนล่างขณะตั้งครรภ์, คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
  6. คนท้องปวดหลัง กับวิธีรับมือง่าย ๆ ทำได้ที่บ้าน, Pobpad
  7. ปวดหลังขณะตั้งครรภ์: การดูแลตนเองและการป้องกัน, สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  8. การบริหารร่างกายของหญิงตั้งครรภ์เพื่อบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่าง, มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

อ้างอิง ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567

บทความแนะนำ

คุณแม่ปวดท้องน้อยหลังคลอด อันตรายหรือไม่ ควรรับมืออย่างไรบ้าง

คุณแม่ปวดท้องน้อยหลังคลอด อันตรายไหม แม่มือใหม่รับมืออย่างไรดี

อาการปวดท้องขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ อันตรายไหม เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณแม่ปวดหน่วงท้องน้อยและมีอาการปวดท้องขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ จะสังเกตได้อย่างไรบ้าง

BPD คืออะไร ทำไมคุณแม่ท้องต้องให้ความสำคัญก่อนไปอัลตราซาวด์

BPD คืออะไร ทำไมคุณแม่ท้องต้องให้ความสำคัญก่อนไปอัลตราซาวด์

BPD คือ การวัดขนาดกะโหลกศีรษะของทารกในครรภ์ ช่วยให้แพทย์ประเมินพัฒนาการของทารกได้ BPD คืออะไร ทำไมคุณแม่ควรศึกษาก่อนไปอัลตราซาวด์ท้อง ไปดูกัน

ลูกไม่ดิ้นแต่โก่งตัว ลูกดิ้นน้อยลง อันตรายไหม สังเกตได้อย่างไร

ลูกไม่ดิ้นแต่โก่งตัว ลูกดิ้นน้อยลง อันตรายไหม สังเกตได้อย่างไร

ลูกไม่ดิ้นแต่โก่งตัว ลูกดิ้นน้อยลง อันตรายไหม คุณแม่สังเกตได้อย่างไร สัญญาณอะไรที่บอกว่าลูกไม่ดิ้นแต่โก่งตัว ลูกดิ้นน้อยลงอันตรายและอาการแบบไหนที่ควรรีบไปพบแพทย์

เริ่มฝากครรภ์เมื่อไหร่ดี มีขั้นตอนอะไรที่คุณแม่มือใหม่ต้องทำบ้าง

คุณแม่มือใหม่เริ่มฝากครรภ์เมื่อไหร่ดี มีขั้นตอนอะไรที่ต้องรู้บ้าง

ฝากครรภ์ตอนไหนดีที่สุด การฝากครรภ์มีประโยชน์อย่างไร ทำไมคุณแม่ต้องรีบไปฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด ไปดูข้อดีของการฝากครรภ์กับคุณหมอที่คุณแม่ควรรู้กัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก