BPD คืออะไร ทำไมคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรรู้
เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์จะได้รับการตรวจอัลตราซาวด์ ซึ่งแพทย์จะทำการอัลตราซาวด์ให้คุณแม่หลังจากที่คุณแม่ไปฝากครรภ์ เพื่อดูพัฒนาการของทารกในครรภ์ ความสมบูรณ์แข็งแรง การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ รวมถึงดูว่าตั้งครรภ์ในมดลูกหรือนอกมดลูก และคำนวณอายุครรภ์ให้กับคุณแม่ทราบในเบื้องต้น
สรุป
- Biparietal Diameter หรือ BPD คือการวัดความกว้างของขนาดศีรษะทารกในครรภ์ เป็นการวัดสัดส่วนของทารกในครรภ์ที่แพทย์ใช้ในการคำนวณอายุครรภ์ให้กับคุณแม่ทราบ
- BPD คือการวัดความกว้างของขนาดศีรษะทารกในครรภ์ ในทางการแพทย์จะวัด BPD ได้อย่างชัดเจนตั้งแต่การตั้งครรภ์ของคุณแม่เข้าสู่อายุครรภ์ในไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป
- BPD คือการวัดความกว้างของขนาดศีรษะทารกในครรภ์ เป็นการวัดเส้นผ่าศูนย์กลางกะโหลกศีรษะของทารกในครรภ์ที่กำลังพัฒนา โดยจะวัดจากกระดูกด้านข้างของกระหม่อมข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง ซึ่งแพทย์จะใช้ประกอบเพื่อประเมินน้ำหนักของทารกในครรภ์ และคำนวณอายุครรภ์
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- BPD คืออะไร คุณพ่อคุณแม่ควรรู้
- ประโยชน์ของการวัดขนาดกะโหลกศีรษะของทารกในครรภ์
- Biparietal Diameter ทำได้โดยวิธีการอัลตราซาวด์วิธีเดียวไหม?
- BPD เริ่มทำได้ตอนอายุครรภ์เท่าไหร่
- ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนถึงคลอด แพทย์จะทำ BPD กี่ครั้ง
- BPD ให้ผลแม่นยำมากแค่ไหน
- ตาราง BPD ขนาดศีรษะของทารกตามอายุครรภ์
- ศัพท์ทางการแพทย์อื่น ๆ ที่ควรรู้ก่อนไปอัลตราซาวด์
Biparietal Diameter หรือ BPD คือการวัดความกว้างของขนาดศีรษะทารกในครรภ์ เป็นการวัดสัดส่วนของทารกในครรภ์ที่แพทย์ใช้ในการคำนวณอายุครรภ์ให้กับคุณแม่ทราบ สำหรับการวัดขนาดศีรษะทารกจะบอกได้ถึงขนาดความยาวของตัวทารกในครรภ์ ซึ่งความยาวของทารก แพทย์จะวัดความยาวจากยอดศีรษะ (crown) ไปจนถึงส่วนล่างสุดของสะโพก (rump) เท่านั้น จะไม่ได้วัดรวมในส่วนของแขนขา (limbs) และถุงไข่แดง (yolk sac) สำหรับการวัดความยาวของทารกในครรภ์มีประโยชน์ต่อการคำนวณอายุครรภ์ได้ตั้งแต่ไตรมาสแรก
BPD คืออะไร คุณพ่อคุณแม่ควรรู้
Biparietal Diameter หรือ BPD คือการวัดความกว้างของขนาดศีรษะทารกในครรภ์ เป็นการวัดเส้นผ่าศูนย์กลางกะโหลกศีรษะของทารกในครรภ์ที่กำลังพัฒนา โดยจะวัดจากกระดูกด้านข้างของกระหม่อมข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง การวัดความกว้างของขนาดศีรษะทารก แพทย์จะใช้ประกอบเพื่อประเมินน้ำหนักของทารกในครรภ์ และคำนวณอายุครรภ์
ประโยชน์ของการวัดขนาดกะโหลกศีรษะของทารกในครรภ์
- ช่วยในการคำนวณอายุครรภ์
- ช่วยให้ทราบสัดส่วนของทารกในครรภ์
- ช่วยในการประเมินน้ำหนักของทารกในครรภ์
- ช่วยให้ทราบว่าสมองของทารกในครรภ์ที่กำลังพัฒนามีการเจริญเติบโตอย่างไร
Biparietal Diameter ทำได้โดยวิธีการอัลตราซาวด์วิธีเดียวไหม?
การวัด BPD ความกว้างของขนาดศีรษะทารกในครรภ์ ทำการวัดได้โดยการอัลตราซาวด์ เพื่อช่วยในการตรวจจับภาพด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง แพทย์จะทำการปรับภาพจนเห็นภาพศีรษะ และลักษณะทางกายวิภาคของทารกในครรภ์
BPD เริ่มทำได้ตอนอายุครรภ์เท่าไหร่
BPD คือการวัดความกว้างของขนาดศีรษะทารกในครรภ์ ในทางการแพทย์จะวัด BPD ได้อย่างชัดเจนตั้งแต่การตั้งครรภ์ของคุณแม่เข้าสู่อายุครรภ์ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป โดยแพทย์จะนำผล BPD ที่วัดได้จากการอัลตราซาวด์มาใช้ประกอบในการประเมินอายุครรภ์ ได้อย่างแม่นยำโดยเฉพาะในช่วงอายุครรภ์ 14-28 สัปดาห์
ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนถึงคลอด แพทย์จะทำ BPD กี่ครั้ง
- การตรวจ BPD แพทย์จะทำระหว่างการตรวจอัลตราซาวด์ปกติในคนท้อง ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการอัลตราซาวด์ 1-3 ครั้ง (การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง) โดยปกติจะมีการตรวจตั้งแต่ช่วงแรกของการตั้งครรภ์ไปจนถึงอายุครรภ์ประมาณสัปดาห์ที่ 20 แต่ในคุณแม่ท้องที่มีความเสี่ยงต่าง ๆ ขณะตั้งครรภ์อาจต้องทำการตรวจอัลตราซาวด์เพิ่มตามที่แพทย์แนะนำค่ะ
- การตรวจครรภ์ตลอดการตั้งครรภ์เฉลี่ยอยู่ที่ 10-12 ครั้ง แพทย์จะตรวจครรภ์คุณแม่ครั้งแรกตอนฝากครรภ์ จากนั้นจะนัดคุณแม่มาเพื่อตรวจครรภ์
- คุณแม่มีอายุครรภ์ น้อยกว่า 28 สัปดาห์ แพทย์นัดตรวจครรภ์ทุก 4 สัปดาห์
- คุณแม่มีอายุครรภ์ ระหว่าง 28-36 สัปดาห์ แพทย์นัดตรวจครรภ์ทุก 2 สัปดาห์
- คุณแม่มีอายุครรภ์ มากกว่า 36 สัปดาห์ แพทย์นัดตรวจครรภ์ทุก 1 สัปดาห์ จนคลอดลูก
BPD ให้ผลแม่นยำมากแค่ไหน
BPD คือการวัดความกว้างของขนาดศีรษะทารกในครรภ์ ซึ่งความถูกต้องแม่นยำของความกว้างศีรษะทารกที่แพทย์จะใช้ในการคำนวณอายุครรภ์ จะขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ของคุณแม่ และรูปร่างของศีรษะทารก
- การวัด BPD ก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ความคลาดเคลื่อนในการคำนวณอายุครรภ์เท่ากับ 7 วัน
- การวัด BPD ช่วงอายุครรภ์หลัง 20 สัปดาห์ ความคลาดเคลื่อนในการคำนวณอายุครรภ์เท่ากับ 7-11 วัน หรือ 1-2 สัปดาห์
- การวัด BPD ในไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ความคลาดเคลื่อนมีได้สูงถึง 2-4 สัปดาห์
สำหรับการวัด BPD ถ้ากรณีที่รูปร่างของศีรษะทารกผิดไปจากปกติ เช่น ทารกอยู่ในท่าก้น น้ำคร่ำน้อย หรือมีก้อนเนื้องอกมดลูกกดเบียดศีรษะทารก ก็อาจมีผลต่อค่าความกว้างของศีรษะทารกในครรภ์
ตาราง BPD ขนาดศีรษะของทารกตามอายุครรภ์
Biparietal Diameter (BPD) ขนาดความกว้างของศีรษะทารกในครรภ์ จะมีขนาดดังต่อไปนี้ค่ะ
อายุครรภ์ (สัปดาห์) | ขนาดศีรษะของทารกในครรภ์ (mm) |
16 | 32.3 |
16.5 | 34.2 |
17 | 36.0 |
17.5 | 37.7 |
18 | 39.5 |
18.5 | 41.3 |
19 | 43.0 |
19.5 | 44.7 |
20 | 46.4 |
20.5 | 48.1 |
21 | 49.7 |
21.5 | 51.4 |
22 | 53.0 |
22.5 | 54.6 |
23 | 56.2 |
23.5 | 57.8 |
24 | 59.3 |
24.5 | 60.8 |
25 | 62.3 |
25.5 | 63.8 |
26 | 65.3 |
26.5 | 66.7 |
27 | 68.1 |
27.5 | 69.5 |
28 | 70.8 |
28.5 | 72.2 |
29 | 73.5 |
29.5 | 74.7 |
30 | 76.0 |
30.5 | 77.2 |
31 | 78.4 |
31.5 | 79.6 |
32 | 80.7 |
32.5 | 81.9 |
33 | 82.9 |
33.5 | 84.0 |
34 | 85.0 |
34.5 | 86.0 |
35 | 87.0 |
35.5 | 87.9 |
36 | 88.8 |
36.5 | 89.7 |
37 | 90.5 |
37.5 | 91.3 |
38 | 92.1 |
38.5 | 92.8 |
39 | 93.5 |
39.5 | 94.2 |
40 | 94.8 |
40.5 | 95.4 |
41 | 95.9 |
41.5 | 96.5 |
42 | 96.9 |
ศัพท์ทางการแพทย์อื่น ๆ ที่ควรรู้ก่อนไปอัลตราซาวด์
- การวัดความยาวของทารก (Crown-Rump Length; CRL)
- การวัดความกว้างของศีรษะทารก (Biparietal Diameter; BPD)
- การวัดเส้นรอบวงศีรษะ (Head Circumference; HC)
- การวัดเส้นรอบท้อง (Abdominal Circumference; AC)
- การวัดความยาวกระดูกต้นขา (Femur Length; FL)
- การวัดน้ำคร่ำ (Amniotic Fluid Index; AFI)
- การคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ (Estimated Fetal Weight; EFW)
การวัดความกว้างของขนาดศีรษะทารกในครรภ์ (Biparietal Diameter หรือ BPD) รวมถึงการตรวจต่าง ๆ ระหว่างตั้งครรภ์ไปจนถึงช่วงคลอด คุณแม่สามารถสอบถามจากแพทย์ที่ดูแลครรภ์คุณแม่อย่างละเอียดอีกครั้ง เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนมากขึ้น รวมถึงคำแนะนำการดูแลสุขภาพครรภ์ให้แข็งแรงปลอดภัยทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ค่ะ
การดูแลพัฒนาการสมองของทารกตั้งแต่ในครรภ์เป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก นอกจากยาบำรุงและวิตามินที่แพทย์จัดให้รับประทานขณะตั้งครรภ์ คุณแม่ควรรับประทานอาหารบำรุงครรภ์ ที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ได้โภชนาการสารอาหารที่หลากหลาย ทารกในครรภ์จะได้มีพัฒนาการที่สมบูรณ์แข็งแรง และหลังคลอดให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด เพราะนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ วิตามิน แคลเซียม และสฟิงโกไมอีลิน ซึ่งช่วยในการพัฒนาสมอง สติปัญญา และการเจริญเติบโตของลูก
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
- พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-40 สัปดาห์ ที่แม่มือใหม่ห้ามพลาด
- อาการแพ้ท้องของคุณแม่ แพ้ท้องพะอืดพะอม แก้ยังไง พร้อมวิธีรับมือ
- น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรับมือ
- อาการท้องแข็งบ่อย ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายหรือไม่ ทำไมคุณแม่ต้องรู้
- เลือดล้างหน้าเด็กสีอะไร เลือดล้างหน้าเด็กสัญญาณแรกของการตั้งครรภ์
- ตั้งครรภ์ มีเลือดออก ไม่ปวดท้อง คืออะไร อันตรายไหม สำหรับแม่ตั้งครรภ์
- อาการคนท้องระยะแรก สัญญาณการตั้งครรภ์เป็นแบบนี้
- เมนูคนท้อง อาหารคนท้องบำรุงคุณแม่ท้อง ดีต่อลูกในครรภ์
- คนท้องห้ามกินอะไร อาหารที่ส่งผลเสียต่อคุณแม่ตั้งครรภ์
- อาหารคนท้องไตรมาสแรก โภชนาการที่สำคัญสำหรับคุณแม่และทารกในครรภ์
- วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด
- สัญญาณอาการใกล้คลอด เจ็บท้องคลอด อาการก่อนคลอดของคุณแม่
- ของใช้เตรียมคลอด ที่คุณแม่มือใหม่ควรเตรียมของไปคลอด
- การผ่าคลอดและคลอดธรรมชาติ ต่างกันยังไง พร้อมขั้นตอนเตรียมผ่าคลอด
- ผ่าคลอดใช้เวลากี่นาที พร้อมข้อดี-ข้อเสีย คลอดเองกับผ่าคลอด
- แผลผ่าคลอดกี่วันหาย พร้อมวิธีดูแลรอยแผลผ่าคลอดให้ฟื้นตัวไว
- แผลฝีเย็บหลังคลอด แผลคลอดธรรมชาติ ดูแลยังไงให้ปลอดภัย
- หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง คนผ่าคลอดห้ามกินอะไรบ้างช่วยให้แผลหายเร็ว
- ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมืออาการซึมเศร้าหลังคลอด
- ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก
อ้างอิง:
- ตอบข้อสงสัยคุณแม่...เรื่องอัลตร้าซาวด์, โรงพยาบาลพญาไท
- การวัดสัดส่วนทารกสำหรับสูติแพทย์และแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป(Fetal Biometry for Obstetrician and General Practitioners), คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- Biparietal Diameter and Your Pregnancy Ultrasound, verywell family
- ฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด เพื่อสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์, โรงพยาบาลพญาไท
- Hadlock Ultrasound Measurements Based on Gestational Age, babyMed
- OB Ultrasound for Extern, คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อ้างอิง ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567