เสริมแคลเซียมคนท้องจำเป็นไหม แม่ท้องควรเริ่มกินเมื่อไหร่

เสริมแคลเซียมคนท้องจำเป็นไหม แม่ท้องควรเริ่มกินเมื่อไหร่

20.10.2024

โภชนาการสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เป็นสิ่งสำคัญที่ควรให้ความเอาใจใส่ คุณแม่จึงควรทานอาหารที่มีประโยชน์ และได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน โดยเฉพาะแคลเซียม แร่ธาตุที่มีความจำเป็นมากกับร่างกายของคุณแม่และทารกในครรภ์ เพื่อช่วยให้โครงสร้างร่างกายแข็งแรงทั้งกระดูกและฟัน ช่วยในการหดและคลายตัวของหลอดเลือด ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อหัวใจและเส้นประสาท

headphones

PLAYING: เสริมแคลเซียมคนท้องจำเป็นไหม แม่ท้องควรเริ่มกินเมื่อไหร่

อ่าน 7 นาที

 

สรุป

  • แคลเซียม คือแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมากกับร่างกาย ร่างกายจะดูดซึมแคลเซียมจากอาหารที่กิน เพื่อช่วยสร้างร่างกาย กระดูก และฟันของเรานั้นให้แข็งแรง แคลเซียมช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ การหดและคลายตัวของหลอดเลือด ส่งสัญญาณภายในเซลล์ ช่วยควบคุมความดันโลหิต ป้องกันการเป็นตะคริว และช่วยการแข็งตัวของเลือด
  • แคลเซียม 99 เปอร์เซ็นต์ จะอยู่ในกระดูกและฟัน ส่วนอีก 1 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียมจะอยู่ในเลือดเพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะ เนื้อเยื่อต่าง ๆ เช่น การทำงานของระบบประสาท การเต้นของหัวใจ
  • คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับแคลเซียมในปริมาณ 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน เท่ากับนม 6-7 แก้ว ปริมาณแคลเซียมสูงสุดไม่ควรเกิน 2,500 มิลลิกรัมต่อวัน

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

แคลเซียมคนท้อง มีประโยชน์อย่างไร

แคลเซียมคือแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมากกับร่างกายของมนุษย์ ซึ่งแคลเซียมมีความจำเป็นและควรได้รับอย่างเพียงพอ ร่างกายจะดูดซึมจากอาหารที่กิน เพื่อช่วยสร้างร่างกาย กระดูก และฟันของเรานั้นให้แข็งแรง นอกจากนั้นแล้วแคลเซียมมีส่วนช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ การหดและคลายตัวของหลอดเลือด ส่งสัญญาณภายในเซลล์ การหลั่งฮอร์โมน ช่วยควบคุมความดันโลหิต ป้องกันการเป็นตะคริว และช่วยการแข็งตัวของเลือด แคลเซียม 99 เปอร์เซ็นต์ จะอยู่ในกระดูกและฟัน ส่วนอีก 1 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียมจะอยู่ในเลือดเพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะ เนื้อเยื่อต่าง ๆ เช่น การเต้นของหัวใจ การทำงานของระบบประสาท หน้าที่หลักของแคลเซียมคือรักษาความแข็งแรงของกระดูกและฟัน ส่งสัญญาณไปยังเซลล์และเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย เพื่อให้กล้ามเนื้อและหลอดเลือดหดและคลายตัว

 

ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับแคลเซียมจากอาหารให้เพียงพอในแต่ละวัน ซึ่งแคลเซียมจะดูดซึมได้ดีขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ แคลเซียมนั้นมีประโยชน์สำหรับคนท้องและทารกในครรภ์ ดังนี้

  1. ประโยชน์ต่อคุณแม่ ช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ การหดและคลายตัวของหลอดเลือด ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง ป้องกันการเกิดตะคริว ป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ควบคุมความดันโลหิต
  2. ประโยชน์ต่อลูก ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันของทารกในครรภ์ ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อหัวใจและเส้นประสาททารก

 

คนท้องควรได้รับแคลเซียมเท่าไหร่ต่อวัน

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับแคลเซียมในปริมาณ 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน เท่ากับนม 6-7 แก้ว ปริมาณแคลเซียมสูงสุดไม่ควรเกิน 2,500 มิลลิกรัมต่อวัน การรับแคลเซียมมากเกินไป จะรบกวนการดูดซึมแร่ธาตุเหล็กและสังกะสี อาจส่งผลให้ปริมาณแคลเซียมสูงขึ้นในปัสสาวะคนท้อง เสี่ยงทำให้เกิดนิ่วในไต

 

แคลเซียมคนท้อง ควรเริ่มกินตอนไหน

แคลเซียม มีความจำเป็นและสำคัญมากกับร่างกายของคนท้อง คนท้องควรได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอเมื่อมีการตั้งครรภ์ และขณะตั้งครรภ์ ดังนั้น การทานอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมที่มากพอ ก็จะช่วยทำให้คนท้องได้รับแคลเซียมในปริมาณที่เพียงพอแล้วในแต่ละวัน

 

เสริมแคลเซียมคนท้อง ควรกินอาหารชนิดไหน

คุณแม่ตั้งครรภ์ ควรรับแคลเซียมจากอาหารให้เพียงพอในแต่ละวัน เพื่อช่วยในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ลดความเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกพรุน ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อหัวใจและเส้นประสาทของทารก ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันของทารกในครรภ์ให้แข็งแรง อาหารที่เป็นแหล่งแคลเซียม มีดังนี้

  1. นม เป็นแหล่งแคลเซียมที่ดีที่สุด เนื่องจากมีปริมาณแคลเซียมที่สูง และยังมีฟอสฟอรัสในปริมาณที่เหมาะสม
  2. ถั่วเหลือง เป็นอาหารที่ไม่ควรมองข้าม นอกจากมีแคลเซียมแล้ว ยังมีโฟเลต ซึ่งจำเป็นสำหรับคนท้อง
  3. งา เช่น งาขาว หรือ งาดำ เป็นเมล็ดพืชที่อุดมไปด้วยน้ำมัน เป็นแหล่งโปรตีนสารต้านอนุมูลอิสระ
  4. ไข่ เป็นแหล่งแคลเซียมที่หาง่าย มีประโยชน์มาก อุดมไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ
  5. ปลาตัวเล็ก สัตว์น้ำที่กินได้ทั้งกระดูกและเปลือก เช่น กุ้งฝอย ปลาซิว ปลากะตัก ปลาไส้ตัน
  6. ชีส เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมสัตว์ มีอัตราส่วนของฟอสฟอรัสและแคลเซียมที่เหมาะสม ช่วยส่งเสริมให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดี
  7. เต้าหู้ เช่น เต้าหู้ขาว เต้าหู้เหลือง ช่วยลดไขมัน ส่งเสริมการทำงานของระบบประสาทเกี่ยวกับความทรงจำ

 

คนท้องจำเป็นต้องกินวิตามินเสริมแคลเซียมไหม

วิตามินเสริมแคลเซียมนั้นปลอดภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ แต่ควรคำนึงให้ดีว่าในแต่ละวันนั้นทานแคลเซียมมากเกินไปหรือไม่ เพราะการทานแคลเซียมมากเกินไป อาจส่งผลข้างเคียงได้ เช่น ท้องผูก ท้องอืด หากคุณแม่พิจารณาแล้วว่า ทานอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอ แพ้แลคโตส แพ้นม หรือทานมังสวิรัติ ร่างกายรับแคลเซียมไม่เพียงพอ ก็สามารถรับวิตามินเสริมแคลเซียมได้ ทั้งนี้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทานวิตามินเสริมแคลเซียม ไม่ควรซื้อวิตามินเสริมแคลเซียมมาทานเอง

 

คนท้องกินวิตามินเสริมแคลเซียมตามแพทย์สั่ง ต้องระวังเรื่องอะไรบ้าง

คนท้องกินวิตามินเสริมแคลเซียม ควรระมัดระวังในการกินวิตามินเสริมแคลเซียมร่วมกับยาบางชนิด เพราะยาจะทำให้เกิดการดูดซึมได้น้อยลง จึงไม่ควรซื้อวิตามินเสริมแคลเซียมทานเอง ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนกินวิตามินเสริมแคลเซียม ยาบางชนิดไม่ควรกินร่วมกับวิตามินเสริมแคลเซียม เช่น

  1. ยาลดความดันโลหิต เช่น Calcium Channel Blockers
  2. ยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียกลุ่มฟลูออโรควิโนโลน เตตราไซคลีน เพราะยาจะทำให้ถูกดูดซึมน้อยลง ควรกินวิตามินเสริมแคลเซียมให้ห่างจากยาอื่น ๆ อย่างน้อย 2 ชั่วโมง
  3. ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนต
  4. ฮอร์โมนไทรอยด์สังเคราะห์

 

คุณแม่อยากกินแคลเซียมคนท้อง ควรปรึกษาแพทย์ก่อน

คนท้องที่มีโรคประจำตัวที่ต้องกินยาเป็นประจำ หรือมีอาการเจ็บป่วยที่ต้องทานยา ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนกินวิตามินเสริมแคลเซียม ไม่ควรซื้อวิตามินเสริมแคลเซียมทานเอง เพราะการกินวิตามินเสริมแคลเซียมมักมีผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย คือ อาการคนท้องท้องผูก อึดอัดแน่นท้อง หรือแม้แต่การกินวิตามินเสริมแคลเซียมในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลเสียกับร่างกายได้ เช่น รบกวนการดูดซึม สังกะสีและธาตุเหล็ก มีปริมาณแคลเซียมสูงในปัสสาวะ เสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในไต

 

 ท้องกินวิตามินเสริมแคลเซียม ต้องระวังเรื่องอะไรบ้าง

 

นมเสริมแคลเซียมคนท้อง กินได้บ่อยแค่ไหน

นมสำหรับคนท้อง ” สามารถทานได้ทุกวัน เพราะนมเป็นแหล่งแคลเซียมที่ดีที่สุด นอกจากมีจำนวนแคลเซียมที่สูงแล้ว ยังมีแคลเซียมและฟอสฟอรัสในปริมาณที่เหมาะสม ช่วยส่งเสริมให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดี นมแต่ละชนิดจะมีคุณค่าโภชนาการและแคลเซียมที่แตกต่างกัน เช่น นมวัว 200 มิลลิลิตร จะมีแคลเซียม 204.67 มิลลิกรัม, นมถั่วเหลืองหวานน้อย 250 มิลลิลิตร มีแคลเซียม 187.31 มิลลิกรัม, นมถั่วเหลืองผสมงาดำ 250 มิลลิลิตร มีแคลเซียม 220.27 มิลลิกรัม ควรเลือกดื่มนมจืดมากกว่านมปรุงแต่ง เลือกชนิดหวานน้อย หรือไม่ใส่น้ำตาล

 

หากต้องการดื่มนมจากพืช ควรเลือกสูตรที่เสริมแคลเซียม และควรอ่านฉลากโภชนาการก่อนเลือกดื่มทุกครั้ง ว่าได้รับปริมาณแคลเซียมเท่าไหร่ แม้ว่าแคลเซียมจะดีสำหรับคนท้อง แต่หากทานแคลเซียมมากเกินไป อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ ได้ เช่น ท้องผูก คุณแม่ท้องควรดื่มนมจืดวันละ 2 แก้ว และนอกจากดื่มนมแล้ว คุณแม่ท้องควรได้รับอาหารหลากหลายให้ครบตามหลักคุณค่าโภชนาการ

 

แคลเซียม เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นและสำคัญมากกับร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์ แคลเซียมไม่ได้มีแต่เพียงแค่ในนมเท่านั้น ยังมีอาหารหลากหลายชนิดที่อุดมไปด้วยแคลเซียม ที่มีปริมาณเพียงพอต่อร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์ ฉะนั้น ควรคำนึงถึงปริมาณแคลเซียมในแต่ละวันที่ได้รับ ให้อยู่ในระดับที่พอดีไม่มากจนเกินไป เพราะการทานแคลเซียมมาก ๆ อาจส่งผลข้างเคียงได้

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 


อ้างอิง:

  1. แคลเซียม กินอย่างไรให้ดีต่อร่างกาย?, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  2. แคลเซียมในเลือดผิดปกติ อันตรายกว่าที่คิด, โรงพยาบาลเปาโล
  3. โภชนาการแม่ท้องที่ต้องรู้, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  4. How Much Calcium Do Pregnant Woman Need?, what to expect
  5. แคลเซียม กินอย่างไร…ให้ได้ประโยชน์ ทำไมต้องทานแคลเซียม, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  6. อาหารบำรุงครรภ์ ที่คนท้องควรรับประทานมีอะไรบ้าง, HelloKhunmor
  7. งาดำ งาขาว กับประโยชน์ทางสุขภาพ, Pobpad
  8. "เต้าหู้...มากประโยชน์", โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์
  9. ดื่มนมถูกวิธีมีประโยชน์ต่อร่างกาย, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
  10. ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย ดื่มเท่าไรจึงเพียงพอ, Pobpad

อ้างอิง ณ วันที่ 19 สิงหาคม 2567

บทความแนะนำ

ตั้งครรภ์ มีเลือดออก ไม่ปวดท้อง คืออะไร อันตรายไหม สำหรับแม่ตั้งครรภ์

ตั้งครรภ์มีเลือดออกไม่ปวดท้อง อันตรายไหม สำหรับแม่ตั้งครรภ์

คุณแม่ตั้งครรภ์มีเลือดออกไม่ปวดท้อง มีมูกเลือดออกทางช่องคลอดแต่ไม่ปวดท้อง เกิดจากสาเหตุอะไร มีเลือดออกสีน้ำตาลและสีแดงสด อันตรายกับแม่แค่ไหน

ที่ตรวจครรภ์ แบบไหนดีกับการตรวจครรภ์ ใช้งานง่าย แม่นยำ รู้ผลเร็ว

ที่ตรวจครรภ์แบบไหนดีกับการตรวจครรภ์ ใช้งานง่าย แม่นยำ รู้ผลเร็ว

ที่ตรวจครรภ์ คืออะไร ที่ตรวจครรภ์ เหมาะสำหรับคุณแม่มือใหม่ที่ต้องการเช็กว่าท้องหรือยัง ที่ตรวจครรภ์แบบไหนดี ใช้งานง่าย พร้อมวิธีใช้ที่ตรวจครรภ์ด้วยตัวเอง

คุณแม่ท้อง 9 เดือน อาการตั้งครรภ์ 9 เดือน เวียนหัวคลื่นไส้

คุณแม่ท้อง 9 เดือน อาการตั้งครรภ์ 9 เดือน เวียนหัวคลื่นไส้

คุณแม่ท้อง 9 เดือน เวียนหัวคลื่นไส้ ลูกน้อยในครรภ์ 9 เดือน มีพัฒนาการอย่างไร เมื่อคุณแม่ท้อง 9 เดือน พร้อมวิธีรับมือและวิธีดูแลทารกในครรภ์

คุณแม่ท้อง 6 เดือน หัวลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 6 เดือน ที่แม่ต้องรู้

คุณแม่ท้อง 6 เดือน หัวลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 6 เดือน ที่แม่ต้องรู้

คุณแม่ท้อง 6 เดือน อายุครรภ์ 6 เดือน มีอาการแบบไหน ลูกน้อยมีพัฒนาการอย่างไร เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ 6 เดือน พร้อมวิธีรับมือและวิธีดูแลทารกในครรภ์

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก