คนท้องกินหมูกระทะได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินหมูกระทะได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

13.11.2024

การตั้งครรภ์คือช่วงเวลาที่มีความสุข แต่มีคำถามมากมาย โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกิน หนึ่งในอาหารที่หลายคนนึกถึงคงหนีไม่พ้นหมูกระทะ คนท้องกินหมูกระทะได้ไหม? เสี่ยงกับลูกในท้องหรือเปล่า บทความนี้มีคำตอบ! เราจะพาคุณแม่ไปไขข้อข้องใจเกี่ยวกับการกินหมูกระทะในช่วงตั้งครรภ์ พร้อมทั้งแนะนำวิธีการกินที่ถูกวิธี เพื่อให้คุณแม่ได้อร่อยแบบไม่ต้องกังวล

headphones

PLAYING: คนท้องกินหมูกระทะได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

อ่าน 7 นาที

สรุป

  • คนท้องกินหมูกระทะได้ไหม ไม่มีข้อห้ามไม่ให้คนท้องกินหมูกระทะ แต่การกินหมูกระทะต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษโดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในวัตถุดิบที่นำมาทำหมูกระทะ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ต้องสะอาด ก่อนรับประทานเนื้อสัตว์ต้องปรุงจนสุก ถ้าเนื้อสัตว์กึ่งสุก กึ่งดิบ เสี่ยงที่จะติดเชื้อโรคสเตรปโตคอคคัส ซูอิส หรือเรียกว่าโรคไข้หูดับ
  • คนท้องกินหมูกระทะได้ไหม ข้อควรระวังในการกินหมูกระทะ คือ ควรใช้ตะเกียบแยกกันระหว่างตะเกียบคีบเนื้อที่สุก กับตะเกียบคีบเนื้อสัตว์ที่ยังดิบ การใช้ตะเกียบปนกันเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคที่อยู่ในเนื้อดิบมาปนเปื้อนในเนื้อที่สุก
  • คนท้องกินหมูกระทะได้ไหม เพื่อสุขภาพที่ดี คนท้องไม่ควรกินหมูกระทะบ่อยเกิน 1-2 ครั้งต่อเดือน

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

คนท้องกินหมูกระทะได้ไหม เมนูปิ้งย่างหมูกระทะ แค่พูดถึงก็อยากกินแล้ว คุณแม่ท้องที่ชอบกินเมนูเหล่านี้ถึงจะอร่อยถูกปาก แต่มักซ่อนไว้ด้วยอันตรายเพราะเสี่ยงที่จะได้รับสารไนโตรซามีน สารพัยโรลัยเซต และกลุ่มสารพีเอเอช ที่เมื่อสะสมในร่างกายมาก ๆ อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้

 

คนท้องกินหมูกระทะได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินหมูกระทะได้ไหม ไม่ได้มีข้อห้ามไม่ให้คนท้องกินหมูกระทะ แต่การกินหมูกระทะต้องมีความระมัดระวังมากเป็นพิเศษโดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในวัตถุดิบที่นำมาปิ้งย่าง เนื้อสัตว์ต่าง ๆ คือนอกจากจะต้องสะอาดแล้ว ก่อนรับประทานต้องปิ้งย่างจนสุก ถ้ากึ่งสุก กึ่งดิบ เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วเสี่ยงที่จะติดเชื้อโรคสเตรปโตคอคคัส ซูอิส หรือเรียกว่าโรคไข้หูดับ ซึ่งความอันตรายของโรคไข้หูดับ ถ้าเชื้อเข้าสู่เยื่อหุ้มสมอง และกระแสเลือด จะทําให้เยื่อหุ้มสมองเกิดการอักเสบ ข้อต่อและม่านตาอักเสบ หรือถ้าเกิดเชื้อลุกลามต่อไปยังบริเวณปลายประสาทรับเสียง และปลายประสาททรงตัว ก็จะทำให้หูตึง หรือถึงขั้นหูหนวกได้ ซ้ำร้ายคือไม่สามารถทรงตัวได้ตามปกติ

 

คนท้องกินหมูกระทะบ่อย เสี่ยงติดเชื้อได้ยังไง

คนท้องกินหมูกระทะ หากไม่ระวังอาจเสี่ยงติดเชื้อได้ง่าย สำหรับการติดเชื้อจากการกินหมูกระทะเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่

1. เนื้อสัตว์ไม่สุก

การกินเนื้อสัตว์ไม่สุก เช่น หมู เนื้อวัว รวมถึงการใช้ตะเกียบคีบอาหารสุกกับอาหารดิบร่วมกัน อาจทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัส ซูอิส (Streptococcus suis) ซึ่งเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดโรคไข้หูดับ

 

2. อาหารทะเลดิบ

การกินอาหารทะเลที่ปรุงไม่สุก เช่น เนื้อกุ้ง หอย ปู เป็นต้น อาจเสี่ยงเชื้อวิบริโอ พาราฮีโมไลติคัส ซึ่งจะทำให้เกิดอาการท้องเสีย หรือโรคลำไส้อักเสบขึ้นได้

 

3. ผักสดล้างไม่สะอาด

หมูกระทะมักมีเครื่องเคียงเป็นผักสดต่าง ๆ มีทั้งกินดิบ กับต้มใส่ลงไปในน้ำซุป เช่น ต้นหอม ผักกาดขาว กะหล่ำปลี เป็นต้น ถ้าผักล้างไม่สะอาดอาจมีการปนเปื้อนของไข่พยาธิ ตัวอ่อนของไข่พยาธิเป็นเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคอุจจาระร่วงรุนแรง และ โรคบิดไทฟอยด์ เป็นต้น

 

คนท้องกินหมูกระทะบ่อย เสี่ยงโรคอะไรบ้าง

 

คนท้องกินหมูกระทะบ่อย เสี่ยงโรคอะไรบ้าง

หมูกระทะอาจเป็นหนึ่งในเมนูโปรดของคุณแม่และของใครหลาย ๆ คน ที่มาพร้อมความอร่อย แต่รู้หรือไม่ว่า การกินหมูกระทะบ่อย ๆ นั้น อาจนำมาซึ่งความเสี่ยงต่อสุขภาพที่คาดไม่ถึงเลยทีเดียว

1. ไวรัสตับอักเสบ อี

การกินหมูกระทะ หมูบาร์บีคิว เสี่ยงทำให้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ อี เนื่องมาจากการใช้ตะเกียบแท่งเดียวกันคีบทั้งอาหารสดและอาหารสุก ทำให้มีโอกาสสัมผัสกับเชื้อไวรัสตับอักเสบ อี ที่อยู่ในเนื้อหมูดิบ

 

2. โรคไข้หูดับ

การกินหมูกระทะ หรืออาหารปิ้งย่างที่เนื้อหมูไม่สุก เสี่ยงเป็นโรคหูดับ หรือ ไข้หูดับ (Streptococcus suis) ที่เกิดจากการสัมผัสกับเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในเนื้อหมูดิบ

 

3. โรคอ้วน

หมูกระทะ ชาบู ปิ้งย่าง กินบ่อย ๆ เสี่ยงเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ และโรคไขมันในเลือดสูง ฯลฯ เนื่องจากในเมนูเหล่านี้ประกอบไปด้วยเนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง

 

4. โรคไต

การกินหมูกระทะ ในเซ็ทจะมีทั้งน้ำจิ้ม และน้ำซุป รวมทั้งมีเนื้อสัตว์แปรรูป ซึ่งทั้งหมดนี้มีส่วนประกอบของโซเดียม หากกินบ่อยหรือกินมากเกินไป ร่างกายจะได้รับปริมาณโซเดียมที่เกินความต้องการของร่างกาย เสี่ยงเกิดโรคไต และส่งผลต่อการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด

 

5. โรคมะเร็ง

การกินหมูกระทะ และอาหารปิ้งย่าง เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งทางเดินอาหาร สาเหตุมาจากการกินเนื้อสัตว์ที่ปิ้งย่างที่สัมผัสกับความร้อนโดยตรง ซึ่งจะมีสารก่อมะเร็งนั่นก็คือ PAH ที่เกิดขึ้นขณะที่ไขมันในเนื้อสัตว์หยดลงไปโดนถ่านร้อน ๆ ที่อยู่ใต้เตาหมูกระทะ เตาปิ้งย่าง ควันที่เกิดขึ้นจะมีสารก่อมะเร็งลอยขึ้นมาเกาะกับเนื้อสัตว์ เมื่อกินเมนูหมูกระทะ อาหารปิ้งย่างบ่อย ๆ จึงเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้

 

คนท้องกินหมูกระทะบ่อยได้ไหม

เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่ท้อง คุณแม่ท้องควรกินอาหารสำหรับคนท้องที่มีประโยชน์ หากจะกินหมูกระทะ แนะนำว่าไม่ควรกินบ่อย หนึ่งเดือนอย่าให้เกิน 1-2 ครั้ง การกินหมูกระทะในขณะตั้งครรภ์ คุณแม่ควรระมัดระวังในการเลือกวัตถุดิบ คือสด ใหม่ สะอาด และวิธีการปรุงต้องให้สุกอย่างทั่วถึง และหลีกเลี่ยงการกินเนื้อที่ไหม้จนเกรียม ลดการกินน้ำจิ้มและการซดน้ำซุป ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้ประโยชน์ที่สุดและปลอดภัยต่อสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์

 

แม่ท้องอยากกินหมูกระทะ กินอย่างไรให้ปลอดภัย

เพื่อความปลอดภัยกับสุขภาพของคุณแม่ท้อง หากจะกินหมูกระทะ อาหารปิ้งย่างให้ปลอดภัย สามารถทำตามได้ ดังต่อไปนี้

1. กินแต่ของสุกเท่านั้น

เนื้อสัตว์ต้องทำให้สุกทั้งชิ้น และไม่กินส่วนที่ไหม้เกรียม การปิ้งย่างลงบนกระทะควรใช้ความร้อนที่ 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป และปิ้งย่างอย่างน้อยต้องให้ได้ 5 นาที

 

2. เลือกวัตถุดิบสดใหม่ มีประโยชน์

เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู ไก่ ปลา ควรเลือกซื้อจากแหล่งที่น่าเชื่อถือได้ หรือมีการรับรองความปลอดภัยจากหน่วยงานราชการ และต้องมีประโยชน์ดีต่อสุขภาพร่างกาย คือ มีไขมันน้อย หรือไม่ติดมัน และต้องไม่เป็นเนื้อสัตว์แปรรูป

 

3. อย่ากินน้ำจิ้มเยอะ

ความเค็มของน้ำจิ้มและน้ำซุป หากกินมากไปไม่ดีต่อสุขภาพ แนะนำให้กินน้ำจิ้มหมูกระทะให้น้อย และไม่ซดน้ำซุป

 

4. แยกตะเกียบ

ควรใช้ตะเกียบแยกกันระหว่างตะเกียบคีบเนื้อที่สุก กับตะเกียบคีบเนื้อสัตว์ที่ยังดิบ การใช้ตะเกียบปนกันเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคที่อยู่ในเนื้อดิบมาปนเปื้อนในเนื้อที่สุก

 

5. ดื่มน้ำเปล่าแทนน้ำอัดลม

เพื่อลดความหวานและดีต่อสุขภาพ แนะนำให้ดื่มน้ำเปล่าแทนการดื่มน้ำอัดลม รวมถึงตบท้ายมื้อหมูกระทะด้วยการเปลี่ยนจากกินขนมหวานมาเป็นกินผลไม้แทน

 

การกินหมูกระทะในช่วงตั้งครรภ์ไม่ได้เป็นสิ่งต้องห้าม แต่คุณแม่ต้องให้ความระมัดระวังเรื่องความสะอาดของวัตถุดิบ อุปกรณ์ที่ใช้ในการกินหมูกระทะ รวมถึงการปรุงอาหารให้สุกทั่วถึง ไม่ควรกินเนื้อสัตว์ที่ยังไม่สุก หรือปิ้งย่างจนไหม้เกรียม ที่สำคัญเพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ ควรรับประทานอาหารหลากหลายเพื่อให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากสารอาหารที่ครบถ้วน 5 หมู่ นอกจากนี้เพื่อไม่ให้คุณแม่พลาดทุกช่วงเวลาสำคัญของพัฒนาการลูกน้อยในครรภ์ตลอด 9 เดือน สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.s-momclub.com/member-privilege

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 

 

อ้างอิง:

  1. กรมอนามัย เตือนปิ้งย่าง หมูกระทะ กินสะสมมากเสี่ยงมะเร็ง ย้ำ ดับถ่านไฟให้สนิท ป้องกันไฟไหม้, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  2. กรมอนามัย แนะ 5 วิธี กินหมูกะทะ-ปิ้ง-ย่าง ให้ปลอดภัย จาก “ไข้หูดับ” และ “มะเร็ง”, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  3. กินหมูดิบ เสี่ยง ! โรคหูดับ จริงหรือ ?, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  4. เมนูดิบ . . กินอย่างไรไม่ให้เสี่ยง, โรงพยาบาลบางปะกอก 3
  5. ผักสดปลอดพิษ ชีวิตปลอดภัย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)
  6. กินหมูกระทะ เสี่ยงติด “เชื้อไวรัสตับอักเสบ อี” ได้จริงหรือ, โรงพยาบาลจุฬา สภากาชาดไทย
  7. อากาศหนาว ๆ ต้อง “ปิ้งย่าง ชาบู หมูกระทะ” แต่ระวังนะ! กินไม่ดีอาจมาพร้อมโรค, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  8. พฤติกรรมการทานอาหารที่ส่งต่อโรคไต, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  9. ทำไม "กินหมูกระทะ" เสี่ยงมะเร็งทางเดินอาหาร, โรงพยาบาลเชียงใหม่ ฮอสพิทอล
  10. อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน ในช่วงการแพร่ระบาด COVID-19, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  11. หลักการกินอาหารให้มีสุขภาพดี, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  12. 5 กลุ่มอาหารสำคัญช่วยป้องกันกระดูกพรุน และเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง, โรงพยาบาลพญาไท
  13. ประโยชน์ของกะหล่ำปลี ผักยอดนิยมที่อุดมด้วยสารอาหารหลากหลาย, POBPAD
  14. ประโยชน์ยิ่งใหญ่ของเบต้าแคโรทีนในผักผลไม้, คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  15. ผลไม้บำรุงผิว 11 ชนิด เพื่อผิวที่เปล่งปลั่ง และสุขภาพดี มีอะไรบ้างไปดูกัน.. (บํารุงผิวพรรณ), สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล
  16. กินหมูกระทะอย่างไร ให้สุขภาพดี, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

อ้างอิง ณ วันที่ 1 กันยายน 2567
 

บทความแนะนำ

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ อันตรายไหม ส่งผลกระทบกับคุณแม่และลูกในท้องอย่างไร

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ อันตรายกับคุณแม่ท้องและลูกในครรภ์อย่างไร

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ อาการเป็นอย่างไร หากคุณแม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะเป็นอันตรายกับลูกในครรภ์ไหม ไปดูวิธีรับมืออาการเบาหวานขณะตั้งครรภ์กัน

เวียนหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม อาการแบบนี้ใช่อาการแพ้ท้องหรือเปล่า

เวียนหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม ปวดหัวคลื่นไส้ แบบนี้แพ้ท้องหรือเปล่า

อาการเวียนหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม ปวดหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม เบื่ออาหาร เกิดจากอะไร แบบนี้คืออาการแพ้ท้องหรือเปล่า ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อมีอาการเวียนหัว

ข้อห้ามหลังผ่าคลอด พร้อมวิธีลุกจากเตียงหลังผ่าตัดคลอด

ข้อห้ามหลังผ่าคลอด พร้อมวิธีลุกจากเตียงหลังผ่าตัดคลอด

ข้อห้ามหลังผ่าคลอดสำหรับคุณแม่หลังผ่าตัดคลอดมีอะไรบ้าง อาการหลังผ่าตัดคลอดที่คุณแม่ต้องเจอมีอะไรบ้าง พร้อมวิธีลุกจากเตียงหลังผ่าคลอดที่คุณแม่ควรรู้

ออกกําลังกายหลังคลอด ตัวช่วยกระชับหุ่นสุขภาพดี สำหรับคุณแม่หลังผ่าคลอด

ออกกําลังกายหลังคลอด ตัวช่วยกระชับหุ่นสุขภาพดี สำหรับคุณแม่หลังผ่าคลอด

คุณแม่ควรออกกำลังกายหลังคลอด อย่างน้อย 6 สัปดาห์หลังผ่าคลอด ออกกำลังกายหลังผ่าตัดคลอด ตัวช่วยกระชับหุ่นให้ฟิตเฟิร์ม ท่าออกกำลังกายหลังคลอดท่าไหนดีกับคุณแม่ ไปดูกัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก