เบาหวานขณะตั้งครรภ์ อันตรายไหม ส่งผลกระทบกับคุณแม่และลูกในท้องอย่างไร

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภาวะอันตราย ที่คุณแม่ท้องต้องรับมือ

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภาวะอันตราย ที่คุณแม่ท้องต้องรับมือ

คุณแม่ตั้งครรภ์
บทความ
ก.พ. 16, 2024
5นาที

คุณแม่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ถือเป็นปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเป็นอันตรายทั้งต่อตัวคุณแม่ และยังส่งผลกระทบถึงลูกน้อยในครรภ์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์คุณแม่ต้องดูแลตัวเองและระวังในเรื่องใดบ้าง เพื่อให้การตั้งครรภ์ปลอดภัยตลอด 40 สัปดาห์

 

สรุป

  • เบาหวานขณะตั้งครรภ์เกิดเพราะฮอร์โมนในร่างกายช่วงตั้งครรภ์สร้างขึ้นมาเพื่อต่อต้านการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อการทำงานของอินซูลินมีปัญหา จึงส่งผลให้ค่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
  • เมื่ออายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์ คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนจะต้องได้รับการตรวจเลือดเพื่อคัดกรองหาภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • อันตรายหากมีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ในคุณแม่อาจเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษและคลอดก่อนกำหนด ในทารกอาจมีการเสียชีวิตตั้งแต่ในครรภ์ หรือคลอดออกมาแล้วมีพัฒนาการล่าช้า
  • ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะหายเป็นปกติ หลังจากคุณแม่คลอดลูกแล้ว

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) เกิดขึ้นจากที่รกในครรภ์มีการสร้างฮอร์โมนขึ้นมาในการต่อต้านฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ในร่างกาย อินซูลินทำหน้าที่เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อระบบการทำงานของอินซูลินถูกรบกวนจึงส่งผลทำให้น้ำตาลในเลือดมีระดับที่สูงขึ้น นั่นจึงทำให้คุณแม่มีภาวะแทรกซ้อนเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

 

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ สัญญาณเตือนที่คุณแม่สังเกตได้

คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถสังเกตอาการเบื้องต้นที่บอกถึงว่าอาจมีภาวะแทรกซ้อนเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ได้แก่

  • ปัสสาวะบ่อยมากกว่าปกติ
  • มีอาการเหนื่อย อ่อนเพลียตลอดเวลา
  • การมองเห็นของดวงตาพร่ามัวทั้งสองข้าง
  • น้ำหนักไม่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์
  • ริมฝีปากแห้งมาก
  • รู้สึกกระหายน้ำมาก ดื่มน้ำบ่อย
  • แผลต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์จะหายช้า

 

ใครบ้างที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์ไม่ว่าจะในครรภ์แรก หรือครรภ์ที่สอง ที่สาม คุณแม่อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ขึ้นได้

  1. คุณแม่มีอายุมากขณะตั้งครรภ์ (30 ปีขึ้นไป)
  2. มีน้ำหนักเกินก่อนการตั้งครรภ์
  3. มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคเบาหวาน (เครือญาติฝั่งคุณแม่)
  4. ในครรภ์แรกคุณแม่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อน
  5. มีน้ำตาลในปัสสาวะสูง
  6. ครรภ์แรกคลอดลูกมีน้ำหนัก 4 กิโลกรัม
  7. มีประวัติทารกเสียชีวิตขณะอยู่ในครรภ์ หรือเสียชีวิตระหว่างคลอด

 

ควรตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์ตอนไหน

เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ครบระหว่าง 24 สัปดาห์  และ 28 สัปดาห์ แพทย์ที่ดูแลครรภ์คุณแม่จะนัดเพื่อตรวจหาเบาหวานขณะตั้งครรภ์ การตรวจหาเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีรายละเอียดการตรวจดังนี้

ไม่ต้องงดน้ำ งดอาหาร

การตรวจเพื่อหาค่าระดับน้ำตาลในเลือดของคุณแม่ตั้งครรภ์ สำหรับการตรวจครั้งแรก จะไม่มีการงดน้ำ งดอาหารก่อนมาตรวจ 8 ชั่วโมง โดยมีขั้นตอนการตรวจ คือ คุณแม่ดื่มน้ำตาล 50 กรัม หลังดื่มน้ำตาลครบ 1 ชั่วโมง จะมีการเจาะเลือดเพื่อนำไปตรวจหาค่าระดับน้ำตาลในเลือด ระดับน้ำในเลือดที่ปกติต้องไม่เกิน 140 มิลลิกรัมต่อเดชิลิตร

 

งดน้ำ งดอาหาร

การตรวจในครั้งที่สองจะมีขึ้นในกรณีที่ตรวจระดับน้ำตาลครั้งแรกเกิน 140 มิลลิกรัมต่อเดชิลิตร ในครั้งที่สองของการตรวจคุณแม่มีการงดน้ำ งดอาหารมาก่อน 8 ชั่วโมง การตรวจครั้งสองนี้คุณแม่ต้องดื่มน้ำตาล 100 กรัม โดยมีขั้นตอนการตรวจ คือ เจ้าหน้าที่พยาบาลทำการเจาะเลือดให้คุณแม่ 4 ครั้ง

  • เจาะเลือดครั้งที่ 1: ก่อนดื่มน้ำตาล
  • เจาะเลือดครั้งที่ 2: หลังดื่มน้ำตาล 1 ชั่วโมง
  • เจาะเลือดครั้งที่ 3: หลังดื่มน้ำตาล 2 ชั่วโมง
  • เจาะเลือดครั้งที่ 4: หลังดื่มน้ำตาล 3 ชั่วโมง

 

หากพบความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือดจำนวน 2 ค่าขึ้นไปเกิน 140 มิลลิกรัมต่อเดชิลิตร คุณแม่จะได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องจากแพทย์เฉพาะทางต่อมไร้ท่อพร้อมไปกับสูติแพทย์ที่ดูแลการตั้งครรภ์ไปตลอดการตั้งครรภ์ จนถึงคลอดลูก

 

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ส่งผลกับลูกในท้องยังไงบ้าง

ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ส่งผลกระทบอันตรายต่อตัวคุณแม่ตั้งครรภ์ ได้แก่

  • ความดันโลหิตสูง
  • ครรภ์เป็นพิษ
  • หลังคลอดคุณแม่มีโอกาสเสี่ยงเป็นเบาหวานชนิดที่ 2
  • ตกเลือดหลังคลอด

 

ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ส่งผลกระทบอันตรายต่อตัวทารก ได้แก่

  • มีน้ำหนักมาก ตัวใหญ่ขณะอยู่ในครรภ์
  • มีโอกาสคลอดก่อนกำหนด
  • หลังคลอดมีระดับน้ำตาลในเลือดไม่ปกติ เสี่ยงที่จะต่ำ หรือสูง
  • อาจมีพัฒนาการที่ช้า
  • มีโอกาสเสี่ยงเป็นเบาหวานชนิดที่ 2

 

คุณแม่ตั้งครรภ์เป็นเบาหวาน ควรรับประทานอาหารอย่างไร

เมื่อคุณแม่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จำเป็นต้องควบคุมการรับประทานอาหารไปจนตลอดอายุครรภ์

  1. เพื่อคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ตามเกณฑ์
  2. เพื่อลดการฉีดอินซูลิน
  3. เพื่อให้คุณแม่และทารกในครรภ์มีสุขภาพที่ดี

     

การคุมอาหารเมื่อมีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ที่ถูกต้อง

  1. รับประทานอาหาร 3-5 มื้อต่อวัน ในปริมาณที่เหมาะสม
  2. เปลี่ยนจากรับประทานข้าวขาวมาเป็นข้าวกล้อง หรือข้าวไรซ์เบอร์รี่
  3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้หลากหลายได้โภชนาการสารอาหารครบ 5 หมู่
  4. เน้นรับประทานอาหารกลุ่มโปรตีน และผักใบเขียวที่มีกากใยเพิ่มขึ้น และงดผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง
  5. อาหารจำพวกไขมันสูง หรือขนมหวาน น้ำอัดลม ควรงดอย่างเด็ดขาด
  6. เลือกนมจืดพร่องมันเนย แทนนมรสหวาน หรือนมเปรี้ยว

 

หากเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ออกกำลังกายแบบไหนได้บ้าง

หากคุณแม่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ก็สามารถออกกำลังกายให้มีสุขภาพที่ดีตลอดการตั้งครรภ์ได้ แต่เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ควรได้รับการยืนยันจากแพทย์ที่ดูแลครรภ์ของคุณแม่แต่ละท่านก่อนว่าสามารถออกกำลังกายได้ สำหรับการออกกำลังกายที่แนะนำ ได้แก่

  • การเดินเบาๆ เป็นประจำ
  • การว่ายน้ำ

 

เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ถ้าไม่รีบไปปรึกษาแพทย์จะเป็นอย่างไร

หากคุณแม่มีอาการเบาหวานขณะตั้งครรภ์แล้วไม่ปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา หรือไม่ทำตามคำแนะนำจากแพทย์หลังจากตรวจพบเบาหวาน อันตรายร้ายแรงที่เสี่ยงเกิดขึ้นได้ ดังนี้

  1. ทารกเสียชีวิตขณะอยู่ในครรภ์
  2. ทารกในครรภ์มีพัฒนาการการเจริญเติบโตไม่เป็นไปตามเกณฑ์
  3. ทารกมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
  4. ทารกมีแคลเซียม และแมกนีเซียมในเลือดต่ำ
  5. ทารกมีระบบทางเดินหายใจผิดปกติ
  6. ตัวเหลืองหลังคลอด
  7. คลอดออกมาพิการ

 

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ หายขาดได้หรือไม่

โดยปกติแล้วหลังคลอดลูก ภาวะเบาหวานที่แทรกซ้อนขึ้นขณะตั้งครรภ์จะหายเป็นปกติ หลังคลอด 6 สัปดาห์จะมีการนัดตรวจเลือดเพื่อวัดค่าระดับน้ำตาล หากค่าน้ำตาลปกติ แพทย์จะแนะนำให้คุณแม่ตรวจเลือดเพื่อดูค่าระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำทุกปี เบาหวานขณะตั้งครรภ์ถึงจะหายได้หลังคลอด ก็ยังแนะนำให้คุณแม่ดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ และใส่ใจดูแลเรื่องการรับประทานอาหารสำหรับคนท้อง เพื่อสุขภาพที่ดีและลดโอกาสการที่จะป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ขึ้นในอนาคต

 

เพื่อให้การตั้งครรภ์ของคุณแม่มีคุณภาพตลอดการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ แนะนำคุณแม่ฝากครรภ์ทันที และพบแพทย์ทุกครั้งที่มีการนัดตรวจติดตามพัฒนาการทารกในครรภ์ 1-40 สัปดาห์ ทั้งนี้ก็เพื่อลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างตั้งครรภ์ ทั้งกับคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โรคอันตรายของคุณแม่มือใหม่, โรงพยาบาลเพชรเวช
  2. เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ อันตรายอย่างไร, โรงพยาบาลนครธน
  3. คัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์, โรงพยาบาลเปาโล
  4. ขั้นตอนการตรวจคัดกรองเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์, คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  5. เบาหวานขณะตั้งครรภ์ คุณแม่ผอมก็เป็นได้, โรงพยาบาลพญาไท
  6. เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ อันตรายต่อแม่และลูกน้อย, โรงพยาบาลนครธน

อ้างอิง ณ วันที่ 27 ธันวาคม 2566

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details อาการคนแพ้ท้องเริ่มเมื่อไหร่ พร้อมวิธีรับมืออาการแพ้ท้อง
บทความ
อาการคนแพ้ท้องเริ่มเมื่อไหร่ พร้อมวิธีรับมืออาการแพ้ท้อง

อาการคนแพ้ท้องเริ่มเมื่อไหร่ พร้อมวิธีรับมืออาการแพ้ท้อง

อาการแพ้ท้องเริ่มเมื่อไหร่ คุณแม่มือใหม่แพ้ท้องพะอืดพะอมตลอดเวลา ต้องแก้ยังไง ไปดูสาเหตุและอาการที่คุณแม่ต้องเจอ พร้อมวิธีรับมืออาการคนแพ้ท้อง

5นาที อ่าน

View details เลือดล้างหน้าเด็กสีอะไร สัญญาณแรกของการตั้งครรภ์ที่ควรรู้
บทความ
เลือดล้างหน้าเด็กสีอะไร สัญญาณแรกของการตั้งครรภ์ที่ควรรู้

เลือดล้างหน้าเด็กสีอะไร สัญญาณแรกของการตั้งครรภ์ที่ควรรู้

เลือดล้างหน้าเด็กสีอะไร ทำไมเลือดล้างหน้าเด็กถึงออกมาจากช่องคลอดแบบกระปริบกระปรอย เลือดล้างหน้าเด็กต่างจากเลือดประจำเดือนอย่างไร ไปดูกัน

5นาที อ่าน

View details ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน พุงคนท้องแต่ละเดือน บอกอะไรได้บ้าง
บทความ
ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน พุงคนท้องแต่ละเดือน บอกอะไรได้บ้าง

ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน พุงคนท้องแต่ละเดือน บอกอะไรได้บ้าง

ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือนของคุณแม่บอกอะไรเกี่ยวกับลูกน้อยได้บ้าง ขนาดท้องแต่ละเดือนจะใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็วจริงไหม ไปดูขนาดท้องแต่ละเดือนของแม่กันภ์

8นาที อ่าน

View details ลาคลอดได้กี่วัน สวัสดิการและสิทธิลาคลอดประกันสังคมหลังคลอด
บทความ
ลาคลอดได้กี่วัน สวัสดิการและสิทธิลาคลอดประกันสังคมหลังคลอด

ลาคลอดได้กี่วัน สวัสดิการและสิทธิลาคลอดประกันสังคมหลังคลอด

คุณแม่ท้องลาคลอดได้กี่วัน สวัสดิการและสิทธิประกันสังคมที่คุณแม่ควรได้รับจากการลาคลอดและระหว่างตั้งครรภ์มีอะไรบ้าง คุณแม่ลาคลอดประกันสังคมได้ไหม ไปดูกัน

11นาที อ่าน

View details คนท้องนอนไม่หลับ ส่งผลต่อทารกอย่างไร พร้อมวิธีทำให้หลับง่าย
บทความ
คนท้องนอนไม่หลับ ส่งผลต่อทารกอย่างไร พร้อมวิธีทำให้หลับง่าย

คนท้องนอนไม่หลับ ส่งผลต่อทารกอย่างไร พร้อมวิธีทำให้หลับง่าย

คนท้องนอนไม่หลับ เกิดจากอะไร หากคนท้องนอนไม่หลับบ่อย ๆ จะเกิดอะไรกับร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์และลูกน้อยในครรภ์บ้าง พร้อมวิธีดูแลร่างกายตัวเอง

6นาที อ่าน

View details น้ำคาวปลา คืออะไร พร้อมวิธีขับน้ำคาวปลาหลังคลอด
บทความ
น้ำคาวปลา คืออะไร พร้อมวิธีขับน้ำคาวปลาหลังคลอด

น้ำคาวปลา คืออะไร พร้อมวิธีขับน้ำคาวปลาหลังคลอด

น้ำคาวปลา คืออะไร น้ำคาวปลาหลังคลอด จะหมดไปเมื่อไหร่ คุณแม่ต้องใช้เวลากี่สัปดาห์กว่าน้ำคาวปลาจะหมดไป สัญญาณแบบไหนที่บอกว่าเกิดการติดเชื้อ

7นาที อ่าน

View details คลอดธรรมชาติ ปลอดภัยไหม คลอดลูกแบบธรรมชาติ มีขั้นตอนยังไง
บทความ
คลอดธรรมชาติ ปลอดภัยไหม คลอดลูกแบบธรรมชาติ มีขั้นตอนยังไง

คลอดธรรมชาติ ปลอดภัยไหม คลอดลูกแบบธรรมชาติ มีขั้นตอนยังไง

คลอดลูกธรรมชาติ มีขั้นตอนอย่างไร คุณแม่มือใหม่ควรคลอดแบบธรรมชาติหรือผ่าคลอดดีกว่า แบบไหนเหมาะกับคุณแม่ที่สุด พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังแม่คลอด

7นาที อ่าน

View details ตรวจครรภ์ตอนไหนชัวร์สุด เช้าหรือเย็น ให้ผลแม่นยำกว่ากัน
บทความ
ตรวจครรภ์ตอนไหนชัวร์สุด เช้าหรือเย็น ให้ผลแม่นยำกว่ากัน

ตรวจครรภ์ตอนไหนชัวร์สุด เช้าหรือเย็น ให้ผลแม่นยำกว่ากัน

ตรวจครรภ์ตอนไหนชัวร์สุด เลือกตรวจตอนเช้าหรือตอนเย็นดี ควรตรวจซ้ำกี่ครั้งถึงจะมั่นใจว่าตั้งครรภ์แล้ว พร้อมวิธีสังเกตตัวเองว่ากำลังตั้งครรภ์อยู่หรือเปล่า

10นาที อ่าน

View details อาการเจ็บท้องคลอดของคุณแม่ แบบไหนเจ็บจริงหรือเจ็บหลอก
บทความ
อาการเจ็บท้องคลอดของคุณแม่ แบบไหนเจ็บจริงหรือเจ็บหลอก

อาการเจ็บท้องคลอดของคุณแม่ แบบไหนเจ็บจริงหรือเจ็บหลอก

เจ็บท้องเตือนกี่วันคลอด คุณแม่เจ็บท้องคลอดแบบไหนควรไปหาหมอ อาการเจ็บท้องเตือนอันตรายไหม คุณแม่เจ็บท้องคลอดแบบไหนที่ควรรีบไปโรงพยาบาล

7นาที อ่าน

View details วิธีกระตุ้นให้ลูกดิ้น เมื่อลูกดิ้นน้อยลงและลูกไม่ดิ้นแต่โก่งตัว
บทความ
วิธีกระตุ้นให้ลูกดิ้น เมื่อลูกดิ้นน้อยลงและลูกไม่ดิ้นแต่โก่งตัว

วิธีกระตุ้นให้ลูกดิ้น เมื่อลูกดิ้นน้อยลงและลูกไม่ดิ้นแต่โก่งตัว

ลูกไม่ดิ้นแต่โก่งตัว ลูกดิ้นน้อยลง อันตรายไหม คุณแม่สังเกตได้อย่างไร สัญญาณอะไรที่บอกว่าลูกไม่ดิ้นแต่โก่งตัว ลูกดิ้นน้อยลงอันตรายและอาการแบบไหนที่ควรรีบไปพบแพทย์

8นาที อ่าน

View details คนท้องกินน้ำมะพร้าวได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
คนท้องกินน้ำมะพร้าวได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินน้ำมะพร้าวได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินน้ำมะพร้าวได้ไหม หากคุณแม่ในปริมาณที่เยอะเกินไป จะส่งผลเสียอะไรกับคุณแม่และลูกบ้าง กินน้ำมะพร้าวมาก เสี่ยงแท้งลูกจริงไหม ไปหาคำตอบกัน

5นาที อ่าน

View details คนท้องกินชาเย็นได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
คนท้องกินชาเย็นได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินชาเย็นได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินชาเย็นได้ไหม หากกินมากเกินไป จะทำให้น้ำตาลเกินและอันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า ไปดูวิธีดื่มชาเย็นแบบปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายกับลูกกัน

6นาที อ่าน

View details คนท้องกินชาเขียวได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
คนท้องกินชาเขียวได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินชาเขียวได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินชาเขียวได้ไหม ชาเขียวมีคาเฟอีน อันตรายกับคนท้องหรือเปล่า คุณแม่ชอบกินชาเขียว ควรกินในปริมาณเท่าไหร่ถึงเหมาะสมและไม่เป็นอันตรายกับลูก

5นาที อ่าน

View details ผ่าคลอดประกันสังคมจ่ายเท่าไหร่ คุณพ่อคุณแม่มีสิทธิเบิกอะไรบ้าง
บทความ
ผ่าคลอดประกันสังคมจ่ายเท่าไหร่ คุณพ่อคุณแม่มีสิทธิเบิกอะไรบ้าง

ผ่าคลอดประกันสังคมจ่ายเท่าไหร่ คุณพ่อคุณแม่มีสิทธิเบิกอะไรบ้าง

ผ่าคลอดประกันสังคมจ่ายเท่าไหร่ ค่าคลอดบุตรประกันสังคมมาตรา 33 ปี 2567 ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ไปดูข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าคลอดประกันสังคมที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้กัน

10นาที อ่าน

View details ทําหมันเจ็บไหม ผู้หญิงผ่าคลอดทำหมันกี่วันหาย เตรียมตัวแบบไหนดี
บทความ
ทําหมันเจ็บไหม ผู้หญิงผ่าคลอดทำหมันกี่วันหาย เตรียมตัวแบบไหนดี

ทําหมันเจ็บไหม ผู้หญิงผ่าคลอดทำหมันกี่วันหาย เตรียมตัวแบบไหนดี

ทําหมันเจ็บไหม ผู้หญิงผ่าคลอดทําหมันกี่วันหาย คุณแม่ทำหมันทันทีเลยได้ไหม ต้องเตรียมตัวอย่างไร ให้คุณแม่เจ็บน้อยที่สุด พร้อมข้อดีและข้อเสียการทำหมัน

5นาที อ่าน

View details มดลูกหย่อน อันตรายไหม พร้อมวิธีดูแลตัวเองเมื่อมดลูกต่ำ
บทความ
มดลูกหย่อน อันตรายไหม พร้อมวิธีดูแลตัวเองเมื่อมดลูกต่ำ

มดลูกหย่อน อันตรายไหม พร้อมวิธีดูแลตัวเองเมื่อมดลูกต่ำ

มดลูกหย่อน คืออะไร อาการมดลูกหย่อนเป็นแบบไหน มีทั้งหมดกี่ระยะ เกิดขึ้นกับช่วงวัยไหนบ้าง รักษาให้หายขาดได้ไหม พร้อมวิธีป้องกันมดลูกหย่อนในผู้หญิง

6นาที อ่าน

View details น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรู้
บทความ
น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรับมือ

น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรู้

น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน คุณแม่ต้องระวังหรือไม่ ขณะตั้งครรภ์หากน้ำคร่ำน้อยจะมีผลต่อทารกในครรภ์อย่างไร ไปดูอาการน้ำคร่ำรั่วที่แม่ควรรู้กัน

5นาที อ่าน

View details คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ
บทความ
คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ

คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ

คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน มีอาการแบบไหน ลูกอยู่ตรงไหน พัฒนาการทารกในครรภ์ 2 เดือน เป็นอย่างไร พร้อมวิธีรับมือและวิธีดูแลทารกในครรภ์

9นาที อ่าน

View details อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่อายุครรภ์ 3 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

7นาที อ่าน