คนท้องปวดก้นกบ อันตรายไหม ปวดก้นบ่อย ทำยังไงให้หายปวด

คนท้องปวดก้นกบ อันตรายไหม ปวดก้นบ่อย ทำยังไงให้หายปวด

25.10.2024

การตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาที่มีความสุข แต่ก็อาจมาพร้อมกับอาการไม่สบายตัว ซึ่งหนึ่งในอาการที่พบได้บ่อยคือ อาการปวดก้นกบ ซึ่งสร้างความรำคาญและส่งผลกระทบต่อคุณแม่ได้ไม่น้อย บทความนี้จะมาไขข้อข้องใจให้คุณแม่ทุกคนเข้าใจสาเหตุของอาการปวดก้นกบ และแนะนำวิธีบรรเทาอาการปวดแบบง่าย ๆ ที่สามารถทำได้เองที่บ้าน หากอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์ เพื่อให้คุณแม่ได้ใช้ชีวิตในช่วงตั้งครรภ์อย่างมีความสุขและปลอดภัย

headphones

PLAYING: คนท้องปวดก้นกบ อันตรายไหม ปวดก้นบ่อย ทำยังไงให้หายปวด

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • อาการปวดก้นกบสามารถเกิดขึ้นได้ขณะตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นผลมาจากฮอร์โมนรีแลกซิน (relaxin) ที่ผลิตเพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้เนื้อเยื่อ เส้นเอ็น และข้อต่อของอุ้งเชิงกรานเกิดการหย่อนตัวขยายออก รวมถึงมดลูกที่มีการขยายใหญ่ขึ้นตามพัฒนาการของทารกในครรภ์
  • คนท้องปวดก้นกบ กระดูกก้นกบจะอยู่ตรงช่วงบริเวณเหนือร่องก้น มีลักษณะเป็นทรงสามเหลี่ยมคว่ำ เวลาที่นั่งกับพื้นจะทำให้กระดูกก้นกบสัมผัสกับพื้นได้โดยตรง หากพื้นที่นั่งเป็นลักษณะของพื้นแข็งมาก ๆ จะทำให้รู้สึกปวดก้นกบ
  • หากคุณแม่รู้สึกปวดท้อง ปวดหลังร้าวไปจนถึงตรงกระดูกก้นกบ มีเลือดออกทางช่องคลอด และมีอาการน้ำเดิน ก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ซึ่งเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด ควรไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ทันที

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

คนท้องปวดก้นกบ เกิดจากอะไร

คนท้องปวดก้นกบ เกิดจากการหลั่งฮอร์โมนรีแลกซิน (relaxin) ที่ผลิตจากรังไข่เพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้เนื้อเยื่อ เส้นเอ็น และข้อต่อของอุ้งเชิงกรานเกิดการหย่อนตัวขยายออก โดยเฉพาะข้อต่อตรงบริเวณอุ้งเชิงกรานของคุณแม่ ซึ่งเป็นที่อยู่ของทารกในครรภ์เตรียมสำหรับการคลอด การขยายของเส้นเอ็นและข้อต่อทำให้ความแข็งแรงของข้อต่อลดน้อยลง ยิ่งเวลาที่ทารกมีการเคลื่อนตัวมาอยู่ตรงบริเวณกระดูกสันหลังส่วนล่างและกระดูกก้นกบ ก็จะยิ่งทำให้คุณแม่รู้สึกปวดก้นกบมาก

 

ซึ่งเป็นผลมาจากฮอร์โมน รวมถึงมดลูกที่มีการขยายใหญ่ขึ้นตามพัฒนาการของทารกในครรภ์ น้ำหนักครรภ์ที่เพิ่มขึ้นจะไปกดทับให้อุ้งเชิงกรานขยายออกจากกระดูกก้นกบ และกระดูกสันหลังส่วนล่างเกิดการแอ่นมากขึ้น ส่งผลให้คนท้องปวดก้นกบนั่นเอง

 

เช็กตำแหน่งให้ชัดเจน ก้นกบอยู่ตรงไหน

คุณแม่ท้องอาจสงสัยว่าก้นกบอยู่ตรงส่วนไหนของร่างกาย สำหรับกระดูกก้นกบจะอยู่ตรงช่วงบริเวณเหนือร่องก้น กระดูกก้นกบจะมีลักษณะเป็นทรงสามเหลี่ยมคว่ำ เวลานั่งกับพื้นจะทำให้กระดูกก้นกบของเราสัมผัสกับพื้นได้โดยตรง หากพื้นที่นั่งเป็นลักษณะของพื้นแข็งมาก ๆ จะทำให้รู้สึกปวดก้นกบ เพราะกระดูกก้นกบที่สัมผัสกับพื้นแข็งเกิดแรงกดทับที่มากเกินไปนั่นเอง

 

อาการที่บ่งบอกว่า คุณแม่ปวดก้นกบ

คนท้องปวดก้นกบ มาทำความเข้าใจอาการที่บ่งบอกว่าคุณแม่อาจกำลังเผชิญกับปัญหาปวดก้นกบระหว่างการตั้งครรภ์ ที่ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว รำคาญใจในการใช้ชีวิตประจำวัน ได้แก่

  1. เวลานั่งแล้วรู้สึกปวดตรงกลางบั้นท้าย
  2. เวลาเปลี่ยนจากท่านั่งลุกขึ้นยืน แล้วรู้สึกปวดก้นกบทุกครั้ง
  3. ทุกครั้งที่นั่งขับถ่ายจะรู้สึกปวดตรงกระดูกก้นกบ
  4. รู้สึกปวดตรงช่วงบริเวณหลัง และเอว
  5. เวลาสัมผัสหรือกดตรงกระดูกก้นกบแล้วรู้สึกเจ็บ

 

คนท้องปวดก้นกบอันตรายไหม ส่งผลกระทบกับลูกหรือเปล่า

 

คนท้องปวดก้นกบอันตรายไหม ส่งผลกระทบกับลูกหรือเปล่า

อาการปวดก้นกบ สามารถเกิดขึ้นได้ขณะตั้งครรภ์ คุณแม่ท้องมีอาการปวดก้นกบ หรือบางครั้งมีอาการคนท้องปวดหลัง อาการปวดอาจไปรบกวนการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของคุณแม่ และอาจส่งผลกระทบในระยะยาวทำให้ความสามารถในการดูแลลูกน้อยหลังคลอดลดลง

 

หากคุณแม่มีอายุครรภ์ก่อน 37 สัปดาห์ แล้วรู้สึกปวดท้อง ปวดหลังร้าวไปจนถึงตรงกระดูกก้นกบ มีเลือดออกทางช่องคลอด และมีอาการน้ำเดิน อาจเป็นสัญญาณคลอดก่อนกำหนด แนะนำให้ไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ทันที เพราะหากคุณแม่คลอดก่อนกำหนดทารกอาจไม่แข็งแรงสมบูรณ์ จำเป็นต้องได้รับการดูแลนานเป็นพิเศษเพราะทารกอาจต้องอยู่ตู้อบ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์

 

คนท้องปวดก้นกบจะ ใช้ยาแก้ปวดเองได้ไหม

คนท้องปวดก้นกบ ไม่แนะนำให้คุณแม่ซื้อยามากิน หรือยามาทาเองเพื่อบรรเทาอาการปวดก้นกบ หรือปวดหลังเองเด็ดขาด เพราะยาบางประเภทมีผลต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ หากคุณแม่มีอาการปวดก้นกบ ปวดหลังมาก ปวดจนทนไม่ไหว ควรไปโรงพยาบาลเพื่อปรึกษาแพทย์ที่ดูแลครรภ์ ซึ่งการใช้ยาต้องขึ้นอยู่ที่ดุลพินิจจากแพทย์ก่อนเท่านั้น

 

คนท้องปวดก้นกบ อาการจะหายไปเองตอนไหน

คนท้องปวดก้นกบ หรือปวดตรงบริเวณหลังส่วนล่าง โดยมากอาการจะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ แต่ในคุณแม่บางท่านอาจส่งผลกระทบระยะยาวไปถึงช่วงหลังคลอด ซึ่งอาการปวดก้นกบสามารถหายเองได้ภายในไม่กี่สัปดาห์ โดยไม่ต้องรับการรักษา หากมีอาการปวดมากขึ้น ปวดเรื้อรังนาน แนะนำให้คุณแม่พบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษาอาการปวดให้หายขาดได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับคุณแม่แต่ละท่าน

 

คนท้องปวดก้นกบ บรรเทาอาการปวดก้นกบยังไงดี

หากคุณแม่รู้สึกปวดก้น ปวดหลังส่วนล่างระหว่างตั้งครรภ์ สามารถดูแลตัวเองเพื่อบรรเทาอาการปวดเบื้องต้นได้ดังนี้

เปลี่ยนท่านั่ง

การนั่งของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์เพื่อลดแรงกดทับกระดูกก้นกบ ไม่ควรนั่งเอนตัวไปข้างหลังมาก แนะนำให้นั่งหลังตรงและโน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย คุณแม่อาจใช้เป็นหมอนรูปโดนัท หรือหมอนหลุมรองก่อนนั่ง จะช่วยให้กระดูกก้นกบถูกกดทับลดลง

 

นอนตะแคง

การนอนตะแคง จะช่วยป้องกันการแบะออกของก้นกบ เวลานอนให้คุณแม่นอนตะแคงซ้ายแทนการนอนตะแคงขวา และไม่นอนหงาย

 

งดยกของหนัก

ช่วงตั้งครรภ์หากไม่มีความจำเป็นใด ๆ คุณแม่ไม่ควรยกของหนัก หรือก้มหยิบเมื่อหิว หรือก้มอุ้มสิ่งของที่มีน้ำหนักมากขึ้นจากพื้น

 

ประคบร้อน

หากคุณแม่รู้สึกปวดหลังส่วนล่าง หรือปวดก้นกบมาก สามารถประคบร้อนเพื่อบรรเทาอาการตึงตัว ตรงบริเวณกล้ามเนื้อหลัง

 

ใส่รองเท้าที่เดินสบาย

เพื่อลดการแบกรับน้ำหนักให้กับหลังส่วนล่าง ระหว่างตั้งครรภ์ไม่แนะนำให้คุณแม่สวมใส่รองเท้าส้นสูง ควรเปลี่ยนเป็นรองเท้าที่ช่วยให้เดินได้อย่างสบาย

 

นวดผ่อนคลาย

การนวดผ่อนคลายเบา ๆ จะช่วยให้กล้ามเนื้อที่ตึงปวดคลายตัวลงได้ และช่วยลดอาการบวม การอักเสบของกล้ามเนื้อ ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี การนวดผ่อนคลายในคุณแม่ตั้งครรภ์อาจขอคำแนะนำจากแพทย์ที่ดูแลครรภ์ก่อนว่าสามารถนวดช่วงบริเวณไหนได้บ้าง เพื่อความปลอดภัยกับคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์

 

ท่าบริหารกล้ามเนื้อสะโพก ช่วยลดอาการปวดก้นกบ

คนท้องปวดก้นกบ เพื่อความปลอดภัยต่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ ท่าบริหารกล้ามเนื้อสะโพก ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำจากแพทย์ที่ดูแลครรภ์ก่อนว่าคุณแม่สามารถทำได้มากน้อยแค่ไหน และนี่คือ 2 ท่าบริหารกล้ามเนื้อสะโพก เพื่อช่วยลดอาการปวดก้นกบ และหลัง

1. ท่านอนหงาย ยกก้น

คุณแม่นอนหงาย แล้วชันเข่าทั้ง 2 ข้างขึ้น จากนั้นวางแขนไว้ข้างลำตัว แล้วค่อย ๆ ยกสะโพกให้ลอยสูงขึ้นเล็กน้อย เกร็งกล้ามเนื้อสะโพก นับ 1-5 แล้วค่อย ๆ วางสะโพกลงกับพื้นเบา ๆ ทำเซ็ตละ 5 ครั้ง ทำวันละ 30 ครั้ง

 

2. ท่าเกร็งสะโพก ยกขา

คุณแม่คุกเข่าบนเบาะรอง แล้วโน้มตัวไปข้างหน้า (อาจเป็นข้างเตียง หรือเก้าอี้ ) จากนั้นเกร็งสะโพกยกขาเหยียดตรง ทีละข้าง (ข้างซ้าย หรือข้างขวาก่อนก็ได้) แล้วค้างไว้ นับ 1-5 แล้วค่อย ๆ วางขาลงช้า ๆ เบา ๆ ให้ทำสลับข้างกัน

 

คนท้องปวดก้นกบ เป็นอาการที่พบได้บ่อย และมักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ แม้จะเป็นอาการที่สร้างความรำคาญ แต่ก็สามารถบรรเทาได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การปรับเปลี่ยนท่านั่ง การประคบอุ่น และการออกกำลังกายบริหารเบา ๆ

 

อย่างไรก็ตาม หากอาการปวดก้นกบรุนแรงมากขึ้น หรือมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสม สิ่งสำคัญคือ คุณแม่ไม่ควรทานยาใด ๆ โดยพลการ โดยเฉพาะยาแก้ปวด แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ เพื่อความปลอดภัยของทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 


อ้างอิง:

  1. อาการปวดก้นกบเกิดจากอะไร? เจ็บก้นกบรีบรักษาก่อนเรื้อรัง!, โรงพยาบาลสมิติเวช
  2. กายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวดหลังส่วนล่างขณะตั้งครรภ์, ศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
  3. ท้องแก่ ปวดก้นกบมาก, อาจารย์สุมนา ตัณฑเศรษฐี นักกายภาพบำบัด โรงพยาบาลราชวิถี มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  4. 5 สัญญาณผิดปกติที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรมาพบแพทย์, โรงพยาบาลเปาโล
  5. คุณแม่ตั้งครรภ์กับอาการปวดหลัง, โรงพยาบาลสมิติเวช

อ้างอิง ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2567
 

บทความแนะนำ

ฝังยาคุมดีไหม ได้ผลกี่เปอร์เซ็นต์ ฝังยาคุมมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ฝังยาคุมดีไหม ได้ผลกี่เปอร์เซ็นต์ ฝังยาคุมมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ฝังยาคุมเพื่อคุมกำเนิดได้ผลดีแค่ไหน การฝังยาคุมกำเนิด เหมาะกับใคร มีข้อดีข้อเสียยังไง ฝังยาคุมอยู่ได้นานกี่ปี ปลอดภัยไหม มีผลข้างเคียงหรือเปล่า

คนท้องเท้าบวมหลังคลอด คุณแม่มือเท้าบวม รับมือยังไงดี

คนท้องเท้าบวมหลังคลอด คุณแม่มือเท้าบวม รับมือยังไงดี

คนท้องเท้าบวมหลังคลอด อาการมือเท้าบวมหลังคลอด เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง คุณแม่เท้าบวมหายเองได้ไหม หากหายช้าจะเป็นอันตรายหรือเปล่า พร้อมวิธีรับมือ

ตกเลือดหลังคลอด คืออะไร อาการตกเลือดหลังคลอดอันตรายมากไหม

ตกเลือดหลังคลอด คืออะไร อาการตกเลือดหลังคลอดอันตรายมากไหม

ตกเลือดหลังคลอด คืออะไร อาการตกเลือดหลังคลอดของคุณแม่ เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง หากเลือดออกเยอะและไม่หยุดไหล จะอันตรายกับคุณแม่แค่ไหน

น้ำคาวปลายังไม่หมดกินน้ำเย็นได้มั้ย คุณแม่ผ่าคลอดกินน้ำเย็นได้ไหม

น้ำคาวปลายังไม่หมดกินน้ำเย็นได้มั้ย คุณแม่ผ่าคลอดกินน้ำเย็นได้ไหม

น้ำคาวปลายังไม่หมดกินน้ำเย็นได้มั้ย ผ่าคลอดกินน้ำเย็นได้ไหม คุณแม่กินน้ำเย็นแล้วน้ำนมจะหดจริงหรือเปล่า พร้อมเคล็ดลับดูแลตัวเองหลังคุณแม่ผ่าคลอด

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก