ที่ตรวจไข่ตก ใช้ตรวจการตกไข่ ได้จริงไหม แม่นยำแค่ไหน พร้อมวิธีใช้งาน

ที่ตรวจไข่ตกแม่นยำแค่ไหน ตรวจไข่ตกได้จริงไหม พร้อมวิธีใช้งาน

ที่ตรวจไข่ตกแม่นยำแค่ไหน ตรวจไข่ตกได้จริงไหม พร้อมวิธีใช้งาน

คุณแม่ตั้งครรภ์
บทความ
พ.ค. 17, 2024
7นาที

หากคุณกำลังอยากมีลูก การใช้ที่ตรวจไข่ตก เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยเตรียมความพร้อมของคู่รักทั้งสามีและภรรยา เตรียมตัววางแผนหาวันที่เหมาะสมในการมีเพศสัมพันธ์ เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ เพราะช่วงวันไข่ตกเป็นวันที่อสุจิของเพศชายมีโอกาสปฏิสนธิกับไข่ของเพศหญิง ทำให้เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้มากยิ่งขึ้น

 

สรุป

  • ที่ตรวจไข่ตกโดยใช้ปัสสาวะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ระบุหาระดับฮอร์โมนลูทิไนซิง (LH) ซึ่งมีค่าสัมพันธ์กับโอกาสในการตั้งครรภ์ได้สำเร็จ ถ้าพบค่าฮอร์โมนนี้สูง โอกาสที่อสุจิจะได้ปฏิสนธิกับไข่ก็จะเพิ่มขึ้น
  • การตรวจหาไข่ตกด้วยปัสสาวะเป็นวิธีที่แม่นยำถึง 99 เปอร์เซ็นต์ โดยคุณผู้หญิงเพียงปัสสาวะใส่ที่ตรวจไข่ตก หรือปัสสาวะใส่ถ้วยและใช้ที่ตรวจไข่ตกจุ่มลงไป รอสักครู่ก็จะทราบผล
  • ถ้ามีรอบเดือนสม่ำเสมอ ไข่จะตกที่วันครบครึ่งรอบของการมาของรอบเดือน เช่น รอบเดือน 28 วัน ไข่ตกประมาณวันที่ 14 เมื่อนับ 1 ในวันที่ประจำเดือนวันแรก ดังนั้นควรทดสอบไข่ตกตั้งแต่วันที่ 10 หรือ 11
  • หากรอบเดือนมาสม่ำเสมอทุกเดือน จะตรวจทดสอบไข่ตกแค่เพียงครั้งเดียวต่อเดือนก็ได้ ในกรณีที่รอบเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติ การนับวันไข่ตกอาจคลาดเคลื่อน ใช้ไม่ได้ผลมากเท่าที่ควร ควรพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับการปรึกษา

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ทำไม “ที่ตรวจไข่ตก” ถึงสำคัญสำหรับคนอยากมีลูก

ชุดตรวจไข่ตก ถือเป็นอุปกรณ์ตัวช่วยสำหรับผู้ที่ต้องการมีลูก

  • ช่วยให้ระบุช่วงเวลาไข่ตกที่แม่นยำมากขึ้นในระหว่างรอบเดือนของผู้หญิง ซึ่งช่วงเวลาที่ว่าจะเพิ่มโอกาสให้อสุจิและไข่ปฏิสนธิสำเร็จ
  • ตรวจจับการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของฮอร์โมนลูทิไนซิง (LH) ในปัสสาวะ และบอกให้รู้ว่าช่วงตกไข่กำลังใกล้เข้ามา สามารถกะคร่าว ๆ สมมติว่ารอบเดือนสม่ำเสมอ อาจจะเป็น 28 วัน เป็นไปได้ที่ไข่จะตกวันที่ 14 เมื่อนับ 1 วันแรกที่มีประจำเดือน ก็ควรทดสอบประมาณวันที่ 10 หรือ 11 ช่วงนี้เป็นช่วงที่จะถือว่าเป็นโอกาสที่ผู้หญิงจะตั้งครรภ์ได้มากที่สุด
  • การตรวจไข่ตก ด้วยที่ตรวจไข่ตกเช่นนี้จะช่วยลดความคลาดเคลื่อนจากการคาดคะเน และผลลัพธ์ที่ไม่แน่นอน เมื่อคู่รักสามารถหาเวลามีเพศสัมพันธ์ที่เหมาะสมและเป็นช่วงเวลาตกไข่ได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในการปฏิสนธิและตั้งครรภ์ได้มากขึ้น

 

ลักษณะของที่ตรวจไข่ตก เป็นแบบไหน

  • เหมือนกับนักสืบที่ตรวจจับหาฮอร์โมนลูทิไนซิง (LH): ทำงานโดยการตรวจสอบระดับฮอร์โมนลูทิไนซิง (LH) ในปัสสาวะของคุณผู้หญิง
  • ช่วยกำหนดเวลาเพื่อทำกิจกรรมทางเพศได้เหมาะสม: ชุดตรวจตกไข่ เพื่อให้ทราบว่าฮอร์โมนลูทิไนซิง (LH) เพิ่มขึ้นหรือไม่ การตกไข่ปกติจะเกิดขึ้นภายในประมาณ 36 ชั่วโมงหลังจากตรวจพบว่าฮอร์โมนลูทิไนซิง (LH) เพิ่มขึ้นสูง ดังนั้นนี่เป็นเวลาที่เหมาะสำหรับคู่รักที่อยากตั้งครรภ์
  • การใช้งานง่ายต่อผู้ใช้: จะปัสสาวะใส่เลย หรือว่าปัสสาวะไว้ในถ้วยแล้วค่อยเอาไปจุ่มก็ได้ และใช้เวลารอผลไม่นาน

 

ที่ตรวจไข่ตก ให้ผลแม่นยำมากแค่ไหน

  • การทดสอบการตกไข่เมื่อใช้อย่างถูกต้องจะมีอัตราความแม่นยำโดยประมาณที่ 99 เปอร์เช็นต์ ซึ่งบ่งชี้ถึงการตกไข่ ที่กำลังจะเกิดขึ้นภายใน 36 ชั่วโมงข้างหน้าโดยประมาณ
  • อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ต้องทราบก็คือ แม้ว่าจะสามารถตรวจจับฮอร์โมนลูทิไนซิง (LH) เพิ่มขึ้น ได้อย่างแม่นยำ แต่อย่างไรก็ตาม ผลที่เกิดขึ้นอาจเป็นผลบวกลวงได้ (False positive) และไม่มีอะไร 100 เปอร์เซ็นต์ในทางการแพทย์

 

ชุดตรวจไข่ตก มีกี่แบบ วิธีใช้งานต่างกันไหม?

ชุดตรวจไข่ตกแบ่งได้ 2 แบบ แบ่งตามสิ่งที่นำไปตรวจสอบ

1. ชุดอุปกรณ์ที่ใช้ปัสสาวะ

  • การตรวจหาช่วงไข่ตกโดยใช้ปัสสาวะ ชุดตรวจนี้ระบุหาฮอร์โมนลูทิไนซิง (LH) ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ก่อนช่วงที่ไข่จะตก
  • ถ้าคุณผู้หญิงฉี่ใส่บนแท่งทดสอบ (หรือจุ่มแถบทดสอบลงในถ้วยปัสสาวะ) และพบว่ามีค่าฮอร์โมนลูทิไนซิง (LH) เป็นบวก ก็มีแนวโน้มว่าจะตกไข่ใน 24 ถึง 36 ชั่วโมงต่อมา
  • ชุดอุปกรณ์บางตัวยังมีขั้นตอนเพิ่มเติมเพื่อวัดฮอร์โมนเอสโทรน 3-กลูคูโรไนด์ (E3G) ซึ่งอาจปรากฏในปัสสาวะช่วงเวลาที่มีการตกไข่อีกด้วย ฮอร์โมนตัวหลังนี้เกี่ยวกับการตกขาวซึ่งร่างกายผลิตขึ้นเพื่อให้สนับสนุนการทำงานของอสุจิ ทำให้อสุจิแหวกว่ายเข้าไปหาและผสมกับไข่ได้ง่าย

 

2. ชุดอุปกรณ์ที่ใช้น้ำลาย

  • ชุดทดสอบรูปแบบนี้จะใช้ร่วมกับกล้องจุลทรรศน์ขนาดเล็ก และกระจกสไลด์ ให้คุณผู้หญิงใส่น้ำลายลงบนสไลด์ จากนั้นปล่อยให้แห้ง แล้วก็ใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูเพื่อวิเคราะห์รูปแบบของผลึกในน้ำลาย
  • อาจเห็นจุด ๆ เป็นรูปวงกลม รูปแบบคล้ายเฟิร์น หรือเห็นสามจุดรวมกัน ขึ้นอยู่กับว่าอยู่ในช่วงใดของรอบเดือน ลายเฟิร์นบ่งบอกถึงการเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มาพร้อมกับการตกไข่
  • แต่การทดสอบด้วยน้ำลายมีผลลัพธ์น่าเชื่อถือน้อยกว่าการตรวจสอบด้วยปัสสาวะ กิจกรรมหลายอย่างในชีวิตประจำวัน เช่น การดื่ม กิน หรือสูบบุหรี่ รวมถึงความชำนาญในการตรวจของผู้ตรวจ อาจทำให้ผลเพี้ยนได้

 

วิธีอ่านผลตรวจไข่ตก เหมือนกับการตรวจครรภ์ไหม

การอ่านผลการทดสอบการตกไข่จะค่อนข้างคล้ายกับการอ่านผลการทดสอบการตั้งครรภ์ แต่ก็มีข้อแตกต่างกัน เมื่อเริ่มต้นการตรวจหาไข่ตก ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

  1. จุ่มแท่งทดสอบด้านที่มีลูกศรลงในปัสสาวะตามคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์ ประมาณ 5 วินาที
  2. นำแท่งทดสอบวางไว้แนวราบ
  3. รอประมาณ 5 นาที จึงค่อยอ่านผลทดสอบ


เส้นควบคุม: เส้นนี้จะปรากฏขึ้นเสมอ เป็นการยืนยันว่าการทดสอบทำงานอย่างถูกต้อง

เส้นทดสอบ: ความเข้มของเส้นนี้จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับระดับของฮอร์โมนลูทิไนซิง (LH) ที่ตรวจพบในปัสสาวะ

  • ถ้าเส้นทดสอบมีสีเข้มกว่าหรือมองเห็นได้ชัดมากเมื่อเทียบกับเส้นควบคุม แสดงว่าใกล้ถึงช่วงไข่ตกฮอร์โมนลูทิไนซิง (LH) ของคุณผู้หญิงกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีแนวโน้มที่จะตกไข่ภายใน 12-48 ชั่วโมงข้างหน้า
  • เส้นที่จะขึ้นมาและตรวจสอบดู คล้ายกับที่ทดสอบการตั้งครรภ์ แต่การทดสอบ 2 แบบนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบฮอร์โมนที่แตกต่างกัน การทดสอบการตกไข่จะตรวจหาฮอร์โมนลูทิไนซิง (LH) ในขณะที่การทดสอบการตั้งครรภ์จะตรวจหา chorionic gonadotropin (hCG) ตัวหลังเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายคุณผู้หญิงผลิตขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์เท่านั้น
  •  

ในหนึ่งเดือน ควรตรวจไข่ตกบ่อยแค่ไหน

ความถี่ของการทดสอบการตกไข่ในหนึ่งเดือนจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอของรอบประจำเดือนของผู้หญิง

  • สำหรับผู้หญิงที่มีรอบเดือนสม่ำเสมอ การตรวจเดือนละครั้งก็เพียงพอแล้ว
  • สำหรับผู้หญิงที่มีรอบเดือนสั้น การทดสอบควรเริ่ม 4 ถึง 6 วันก่อนถึงจุดกึ่งกลางของรอบเดือน ซึ่งเป็นช่วงที่มีแนวโน้มที่จะเกิดการตกไข่
  • สำหรับผู้หญิงที่มีรอบเดือนไม่ปกติ จำเป็นต้องมีการตรวจบ่อยกว่าปกติ ควรเริ่มการทดสอบหลังจากมีประจำเดือนไม่กี่วัน และทำการทดสอบสัปดาห์ละครั้งหลังจากนั้นด้วย

 

ที่ตรวจไข่ตก ให้ผลแม่นยำมากแค่ไหน

 

ควรตรวจไข่ตก เวลาไหนดีที่สุด

  • เวลาที่ดีที่สุดในการตรวจหาช่วงไข่ตกจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรอบประจำเดือนของแต่ละบุคคล
  • สำหรับผู้หญิงที่มีรอบเดือนปกติ ไข่ตกมักเกิดขึ้นในช่วงกลางของรอบเดือน ดังนั้นจึงแนะนำให้เริ่มการทดสอบ 4-5 วันก่อนวันที่เชื่อว่าไข่ตก
  • อย่างไรก็ตาม เพื่อให้มั่นใจขึ้น ควรตรวจปัสสาวะในตอนเช้าต่อไปด้วย เนื่องจากฮอร์โมนลูทิไนซิง (LH) ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นระหว่างเที่ยงคืนถึง 8.00 น. ซึ่งคือตรวจพบได้ในปัสสาวะที่ออกมาใน 3-6 ชั่วโมงต่อมา

 

แม้ว่าการตรวจนับวันไข่ตกจะเป็นตัวช่วยในการวางแผน ทำให้เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้มากขึ้น แต่ก็ไม่ได้ทำให้ทุกท่านตั้งครรภ์ได้เสมอไป หากมีการเตรียมความพร้อมและวางแผนมีเพศสัมพันธ์ด้วยการตรวจสอบวันไข่ตกแล้ว ยังไม่ตั้งครรภ์ ควรไปพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจอย่างละเอียดเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงต่อไป ขอให้ทุกท่านโชคดี ประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์ค่ะ

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. Trying to Conceive? Here’s When to Take an Ovulation Test, Healthline
  2. Ovulation tests: How they work and when to take them, Flo Health
  3. Best ovulation tests, BabyCenter
  4. How to Read Ovulation Test Results, WebMD
  5. Can an Ovulation Test Detect Pregnancy?, What to Expect
  6. When is the Best Time to Take an Ovulation Test?, Proov Test
  7. มาฝึกดูวันไข่ตกกันเถอะ, โรงพยาบาลวิภาวดี

อ้างอิง ณ วันที่ 27 มีนาคม 2567
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรู้
บทความ
น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรับมือ

น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรู้

น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน คุณแม่ต้องระวังหรือไม่ ขณะตั้งครรภ์หากน้ำคร่ำน้อยจะมีผลต่อทารกในครรภ์อย่างไร ไปดูอาการน้ำคร่ำรั่วที่แม่ควรรู้กัน

5นาที อ่าน

View details คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ
บทความ
คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ

คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ

คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน มีอาการแบบไหน ลูกอยู่ตรงไหน พัฒนาการทารกในครรภ์ 2 เดือน เป็นอย่างไร พร้อมวิธีรับมือและวิธีดูแลทารกในครรภ์

9นาที อ่าน

View details อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่อายุครรภ์ 3 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

7นาที อ่าน

View details ท่านอนคนท้อง ท่าที่คนท้องไม่ควรทำ ท่าไหนที่แม่ท้องควรเลี่ยง
บทความ
ท่านอนคนท้อง ท่าที่คนท้องไม่ควรทำ ท่าไหนที่แม่ท้องควรเลี่ยง

ท่านอนคนท้อง ท่าที่คนท้องไม่ควรทำ ท่าไหนที่แม่ท้องควรเลี่ยง

ท่าที่คนท้องไม่ควรทำ ท่านอนคนท้อง-ท่านั่งคนท้องแบบไหนดีกับคุณแม่ ท่าไหนที่คุณแม่ท้องควรหลีกเลี่ยง เพื่อสุขภาพที่ดีและป้องกันการปวดเมื่อยไม่สบายตัว

5นาที อ่าน

View details วิธีดูลักษณะท้องของคนท้อง ดูยังไงว่าท้องหรือพุง มองออกเลยไหม
บทความ
วิธีดูลักษณะท้องของคนท้อง ดูยังไงว่าท้องหรือพุง มองออกเลยไหม

วิธีดูลักษณะท้องของคนท้อง ดูยังไงว่าท้องหรือพุง มองออกเลยไหม

ไขข้อข้องใจ พุงคนท้องระยะแรกเป็นแบบไหน ลักษณะท้องของคนท้องกับคนทั่วไปต่างกันยังไง มีวิธีสังเกตยังไง ไปดูลักษณะท้องของคนท้องและพุงคนท้องกัน

5นาที อ่าน

View details คนท้องมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม แบบไหนไม่อันตราย
บทความ
คนท้องมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม แบบไหนไม่อันตราย

คนท้องมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม แบบไหนไม่อันตราย

มีเพศสัมพันธ์ตอนท้อง คนท้องมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม หลั่งในตอนท้องอันตรายไหมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ตอนท้องบ้าง

7นาที อ่าน

View details ภาวะครรภ์เป็นพิษ อาการครรภ์เป็นพิษเริ่มแรก อันตรายไหม
บทความ
ภาวะครรภ์เป็นพิษ อาการครรภ์เป็นพิษเริ่มแรก อันตรายไหม

ภาวะครรภ์เป็นพิษ อาการครรภ์เป็นพิษเริ่มแรก อันตรายไหม

รู้จักกับอาการครรภ์เป็นพิษ อาการครรภ์เป็นพิษเริ่มแรกเป็นอย่างไร ภาวะอันตรายที่คุณแม่ท้องต้องระวัง พร้อมวิธีดูแลครรภ์ให้ปลอดภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

4นาที อ่าน

View details ที่ตรวจครรภ์ 2 ขีดแบบจุ่ม ที่ตรวจครรภ์ขึ้น 2 ขีดจาง ท้องไหม
บทความ
ที่ตรวจครรภ์ 2 ขีดแบบจุ่ม ที่ตรวจครรภ์ขึ้น 2 ขีดจาง ท้องไหม

ที่ตรวจครรภ์ 2 ขีดแบบจุ่ม ที่ตรวจครรภ์ขึ้น 2 ขีดจาง ท้องไหม

ที่ตรวจครรภ์ขึ้น 2 ขีด คุณแม่ตรวจครรภ์ 2 ขีดจางมาก ๆ บ่งบอกว่าคุณแม่กำลังตั้งครรภ์เจ้าตัวเล็กหรือเปล่านะ ไปดูวิธีตรวจครรภ์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์กัน

6นาที อ่าน

View details BPD คืออะไร ทำไมคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรรู้
บทความ
BPD คืออะไร ทำไมคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรรู้

BPD คืออะไร ทำไมคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรรู้

BPD คือ การวัดขนาดกะโหลกศีรษะของทารกในครรภ์ ช่วยให้แพทย์ประเมินพัฒนาการของทารกได้ BPD คืออะไร ทำไมคุณแม่ควรศึกษาก่อนไปอัลตราซาวด์ท้อง ไปดูกัน

7นาที อ่าน

View details คนท้องกินทุเรียนได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
คนท้องกินทุเรียนได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินทุเรียนได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินทุเรียนได้ไหม คนท้องกินขนุนได้ไหม หากกินเยอะเกินไปจะอันตรายกับคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์หรือเปล่า ปริมาณเท่าไหร่ถึงเหมาะสมสำหรับแม่ท้อง

6นาที อ่าน

View details คนท้องเป็นกรดไหลย้อน อันตรายไหม พร้อมวิธีรับมือ
บทความ
คนท้องเป็นกรดไหลย้อน อันตรายไหม พร้อมวิธีรับมือ

คนท้องเป็นกรดไหลย้อน อันตรายไหม พร้อมวิธีรับมือ

คนท้องเป็นกรดไหลย้อนอันตรายไหม คุณแม่ตั้งครรภ์รับมืออย่างไรดี หากมีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย กรดไหลย้อน ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

5นาที อ่าน

View details มูกเลือดออกทางช่องคลอด คืออะไร มีมูกออกทางช่องคลอดปกติไหม
บทความ
มูกเลือดออกทางช่องคลอด คืออะไร มีมูกออกทางช่องคลอดปกติไหม

มูกเลือดออกทางช่องคลอด คืออะไร มีมูกออกทางช่องคลอดปกติไหม

มูกเลือดออกทางช่องคลอด อาจเป็น สัญญาณเตือนว่าคุณแม่ใกล้คลอดแล้ว ซึ่งอาจเกิดจากภาวะน้ำเดิน ลักษณะมูกใสก่อนคลอด ยังบอกถึงปัญหาสุขภาพของคุณแม่ได้หลายอย่างอีกด้วย

7นาที อ่าน

View details ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ พร้อมวิธีดูน้ำหนักลูกในครรภ์
บทความ
ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ พร้อมวิธีดูน้ำหนักลูกในครรภ์

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ พร้อมวิธีดูน้ำหนักลูกในครรภ์

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ น้ำหนักลูกในครรภ์ เรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ เพราะน้ำหนักทารกในครรภ์ ช่วยบอกถึงพัฒนาการตามวัยของลูกน้อยในท้องได้

7นาที อ่าน

View details ทำหมันหญิงอันตรายไหม ทำหมันหลังคลอดทันทีได้หรือเปล่า
บทความ
ทำหมันหญิงอันตรายไหม ทำหมันหลังคลอดทันทีได้หรือเปล่า

ทำหมันหญิงอันตรายไหม ทำหมันหลังคลอดทันทีได้หรือเปล่า

การทำหมันหญิงอันตรายไหม คุณแม่ทำหมันหลังคลอดทันที พักฟื้นนานหรือเปล่า มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรบ้าง พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังการทำหมันหญิงหลังคลอด

5นาที อ่าน

View details อารมณ์คนท้องขึ้น ๆ ลงๆ รับมืออารมณ์คนท้องระยะแรกยังไงดี
บทความ
อารมณ์คนท้องขึ้น ๆ ลงๆ รับมืออารมณ์คนท้องระยะแรกยังไงดี

อารมณ์คนท้องขึ้น ๆ ลงๆ รับมืออารมณ์คนท้องระยะแรกยังไงดี

อารมณ์คนท้องระยะแรกเป็นแบบไหน คุณแม่ท้องอารมณ์ขึ้นๆ ลง เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณพ่อมือใหม่มีวิธีรับมือกับอารมณ์คนท้องระยะแรกของคุณแม่ได้อย่างไร ไปดูกัน

6นาที อ่าน

View details หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม มีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน
บทความ
หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม มีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม มีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม คุณแม่หลังคลอดมีเพศสัมพันธ์เลยทันทีจะเป็นอันตรายหรือเปล่า มีเพศสัมพันธ์ตอนไหนปลอดภัยกับคุณแม่ที่สุด ไปดูกัน

6นาที อ่าน

View details ท้องแข็งบ่อยขณะตั้งครรภ์ ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายไหม
บทความ
ท้องแข็งบ่อยขณะตั้งครรภ์ ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายไหม

ท้องแข็งบ่อยขณะตั้งครรภ์ ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายไหม

ท้องแข็งบ่อย ลูกโก่งตัวบ่อย อาการที่พบได้ทั่วไปในช่วงไตรมาส 3 ของการตั้งครรภ์ อาการท้องแข็งบ่อยเป็นอย่างไร ไปดูวิธีป้องกันอาการท้องแข็งบ่อยกัน

5นาที อ่าน

View details คุณแม่ท้อง 7 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 7 เดือน ที่แม่ต้องรู้
บทความ
คุณแม่ท้อง 7 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 7 เดือน ที่แม่ต้องรู้

คุณแม่ท้อง 7 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 7 เดือน ที่แม่ต้องรู้

คุณแม่ท้อง 7 เดือน อายุครรภ์ 7 เดือน มีอาการแบบไหน ทารกในครรภ์ 7 เดือน หัวลูกอยู่ตรงไหน อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 7 เดือน พร้อมวิธีดูแลทารกในครรภ์

7นาที อ่าน

View details อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่อายุครรภ์ 2 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

6นาที อ่าน