ฝังยาคุมดีไหม ได้ผลกี่เปอร์เซ็นต์ ฝังยาคุมมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ฝังยาคุมดีไหม ได้ผลกี่เปอร์เซ็นต์ ฝังยาคุมมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

29.08.2024

การฝังยาคุมกำเนิดเป็นวิธีคุมกำเนิดที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพสูง และใช้ได้อย่างยาวนาน การฝังยาคุมจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีคุมกำเนิดที่ได้รับความสนใจในหมู่คุณแม่ แต่ถ้าคุณแม่คนไหนที่ยังมีความลังเลและอยากหาข้อมูลเพิ่มเติม สามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการฝังยาคุมเบื้องต้นได้เลย และควรขอคำแนะนำจากคุณหมอเพื่อหาวิธีการฝังยาคุมที่เหมาะสมกับคุณแม่มากที่สุด

headphones

PLAYING: ฝังยาคุมดีไหม ได้ผลกี่เปอร์เซ็นต์ ฝังยาคุมมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • การฝังยาคุม (Contraceptive Implant) เป็นการฝังหลอดยาเล็ก ๆ ฝังไว้ใต้ท้องแขนด้านในให้ตัวยาค่อย ๆ ซึมเข้าไปสู่ร่างกายไปยับยั้งการตกไข่ การฝังยาคุมจึงสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้สูงสุดที่ 99.9 เปอร์เซ็นต์
  • การฝังยาคุมมีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ การฝังยาคุมแบบ 1 แท่ง และการฝังยาคุมแบบ 2 แท่ง ขึ้นอยู่กับชนิดของยา โดยที่มีระยะเวลาในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้นานถึง 3-5 ปี
  • การฝังยาคุมอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง คือ ประจำเดือนมาไม่ปกติ มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ปวดศีรษะ เจ็บเต้านม บางคนอาจมีอารมณ์แปรปรวน ส่วนบริเวณผิวหนังที่ฝังยาคุมอาจเกิดอาการบวม แดง ระคายเคืองขึ้นมาได้

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

การฝังยาคุม มีทั้งหมดกี่แบบ

การฝังยาคุม (Contraceptive Implant) เป็นวิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราว มีอยู่ 2 แบบด้วยกันที่แบ่งตามชนิดของยา คือ การฝังยาคุมแบบ 1 แท่ง และการฝังยาคุมแบบ 2 แท่ง โดยการฝังยาคุมทั้ง 2 แบบนี้ เป็นการฝังหลอดยาเล็ก ๆ ที่มีการบรรจุฮอร์โมนไว้ยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร ขนาดใกล้เคียงกับไม้จิ้มฟัน แล้วนำไปฝังไว้ใต้ท้องแขนด้านในภายในระยะเวลา 7 วันแรกของการมีรอบเดือน เมื่อฝังยาเสร็จเรียบร้อยแล้วตัวยาจะค่อย ๆ ซึมเข้าสู่ร่างกาย เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของฟองไข่ ทำให้ไม่เกิดการตกไข่ ส่วนบริเวณปากมดลูกจะเกิดเป็นมูกเหนียวข้นขึ้นมา เพื่อป้องกันให้อสุจิเข้าไปยังโพรงมดลูกได้ยากขึ้น อีกทั้งฤทธิ์ยายังทำให้โพรงมดลูกมีสภาพที่ไม่เหมาะสำหรับการฝังตัวอ่อน ทำให้ในช่วงการฝังยาคุมสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้นั่นเอง

 

ฝังยาคุมให้ผลชัวร์กี่เปอร์เซ็นต์

การฝังยาคุม เป็นหนึ่งในวิธีของการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ที่สูงสุดที่ 99.9 เปอร์เซ็นต์ โดยมีโอกาสที่ล้มเหลวอยู่ที่ 0.05-0.1 เปอร์เซ็นต์ หรือ 1 ใน 2,000 คนเท่านั้นเอง

 

การฝังยาคุม เหมาะกับใครบ้าง

  • การฝังยาคุม เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเว้นการมีลูก 3 ปีขึ้นไป เนื่องจากการฝังยาคุม สามารถทำได้เลยตั้งแต่คลอดลูก
  • การฝังยาคุม เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูงในระยะยาว
  • การฝังยาคุม เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนได้

 

อย่างไรก็ตาม การฝังยาคุมควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ เนื่องจากการฝังยาคุมอาจไม่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านม โรคตับรุนแรง และโรคหลอดเลือดดำอุดตัน รวมถึงผู้ที่ใช้ยาบางประเภทค่ะ

 

ฝังเข็มยาคุมอยู่ได้นานกี่ปี

การฝังยาคุมกำเนิดทั้งแบบ 1 แท่ง และแบบ 2 แท่ง จะมีระยะเวลาในการออกฤทธิ์ได้นานถึง 3-5 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดของยา เมื่อยาหมดฤทธิ์แล้วจะต้องนำหลอดยาที่ฝังอยู่ออกและเปลี่ยนหลอดใหม่ เนื่องจากหลอดยาไม่สามารถสลายไปได้เอง

 

หลังฝังยาคุม จะมีอาการอย่างไร

หลังจากที่มีการฝังยาคุมจะทำให้คุณผู้หญิงมีประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือมาแบบกะปริบกะปรอย มีน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น มีอาการปวดศีรษะ เจ็บเต้านม บางคนอาจมีอารมณ์แปรปรวน ส่วนบริเวณผิวหนังที่ฝังยาคุมอาจเกิดอาการบวม แดง ระคายเคืองขึ้นมาได้

 

ข้อดี-ข้อเสีย ของการฝังยาคุม มีอะไรบ้าง

ข้อดีของการฝังยาคุม

  • เป็นวิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูง
  • มีผลข้างเคียงน้อย
  • ไม่มีผลต่อการให้นมของคุณแม่
  • คุมกำเนิดได้นาน 3-5 ปี
  • ไม่ต้องทานยาทุกวัน ไม่ต้องฉีดยา และไม่ต้องเช็กสายห่วงคุมกำเนิด
  • หลังถอดแล้วสามารถกลับมาตั้งครรภ์ได้เร็ว โดย 90 เปอร์เซ็นต์ จะมีไข่ตกภายใน 1 เดือน
  • สามารถถอดแล้วเปลี่ยนเป็นวิธีการคุมกำเนิดแบบอื่นได้
  • สามารถลดอาการปวดประจำเดือน และประจำเดือนมามากได้

 

ข้อเสียของการฝังยาคุม

  • ไม่สามารถหยุดยาหรือถอดยาได้เอง
  • อาจมีผลข้างเคียงบริเวณที่ฝังยา เช่น บวม แดง ระคายเคือง เป็นต้น
  • ยาออกฤทธิ์ได้นาน เมื่อต้องการถอดหลอดยาออกต้องรอให้ระดับยาลดลงก่อน
  • ในช่วงแรกของการฝังยาคุมอาจทำให้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือมากะปริบกะปรอย หลังจากนั้นอาจจะมาบ้าง หรือไม่มาเลยก็ได้
  • มีผลข้างเคียง เช่น ปวดหัว เป็นสิว น้ำหนักตัวขึ้น อารมณ์แปรปรวน เป็นต้น
  • ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันเอย่างถุงยางอนามัย

 

ผลข้างเคียงของการฝังยาคุมที่คุณควรรู้

 

ผลข้างเคียงของการฝังยาคุม

  1. มีสิว ฝ้า: เป็นอาการของผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้หลังจากฝังยาคุม
  2. น้ำหนักตัวเพิ่ม: ผู้ที่ฝังยาคุมกำเนิดบางราย อาจมีการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวทำให้มีน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้นได้
  3. ประจำเดือนมาผิดปกติ: ในช่วง 3-6 เดือนแรกของการฝังยาคุม ประจำเดือนจะมาไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนมาผิดปกติ หลังจากนั้นจะมาน้อยลงและประจำเดือนอาจหายไปเลยตลอดที่มีการฝังยาคุม
  4. ประจำเดือนมาบ่อยกว่าปกติ: ในบางรายที่มีการฝังยาคุม อาจมีประจำเดือนมาบ่อย มาทุกวัน หรือมาแต่ละครั้งมานานมากแต่พบได้น้อยมาก
  5. อารมณ์แปรปรวน: ผู้ที่ฝังยาคุมอาจมีอาการอารมณ์แปรปรวนได้
  6. เจ็บเต้านม: อาการเจ็บเต้านม หรือปวดเต้านม เป็นอาการที่ไม่พึงประสงค์ของการฝังยาคุม
  7. เวียนหัว: การฝังยาคุมอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะได้
  8. ช่องคลอดแห้ง: การฝังยาคุมกำเนิดอาจทำให้ช่องคลอดของคุณแม่มีอาการอักเสบหรือแห้งได้

 

การฝังเข็มยาคุม ทำให้อ้วนจริงไหม

คำตอบคือ จริง เนื่องจากการฝังยาคุมทำให้เกิดผลข้างเคียงตามมาในช่วงระยะแรก ในแต่ละรายอาจแสดงอาการที่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่พบว่าการฝังยาคุมจะทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือมีประจำเดือนกะปริบกะปรอย และมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น หมายความว่า การฝังยาคุมอาจทำให้คุณแม่อ้วนขึ้นได้

 

คุณแม่อยู่ในช่วงให้นมลูก ฝังยาคุมได้ไหม

คุณแม่ให้นมลูกน้อย สามารถฝังยาคุมได้ เนื่องจากการฝังยาคุมเป็นการฝังฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่จะเข้าไปยับยั้งการตกไข่ ทำให้ช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ โดยที่ตัวยาหรือฮอร์โมนไม่ส่งผลต่อปริมาณหรือคุณภาพของน้ำนมคุณแม่ ได้ คุณแม่ที่กำลังให้นมและควรขอคำแนะนำจากคุณหมอเพื่อหาวิธีการฝังยาคุมที่เหมาะสมกับคุณแม่มากที่สุด

 

ว่าที่คุณแม่วางแผนจะมีลูก ควรเอาเข็มฝังยาคุมออกตอนไหน

หากคุณแม่กำลังวางแผนที่จะมีลูกและต้องการมีลูกในเร็ว ๆ นี้ คุณแม่สามารถปรึกษาคุณหมอเพื่อให้คุณหมอถอดยาคุมที่ฝังออกให้ได้เลยค่ะ เพราะหลังจากที่คุณแม่เอาเข็มยาคุมออกแล้ว ไข่จะกลับมาตกภายใน 1 เดือน คุณแม่จึงมีโอกาสตั้งครรภ์ได้อีกครั้ง

 

ฝังยาคุมแพงไหม มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

ค่าใช้จ่ายในการฝังยาคุม อาจมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันไปตามสถานพยาบาลที่คุณแม่เข้ารับบริการ ดังนั้น ถ้าหากคุณแม่สนใจหรือวางแผนที่จะฝังยาคุม ควรศึกษาหรือขอคำแนะนำจากแพทย์

 

นอกจากนี้ คุณแม่ยังสามารถฝังยาคุมกำเนิดได้ “ฟรี” ตามสิทธิประโยชน์บริการคุมกำเนิดถาวร ภายใต้กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” โดยต้องมีเกณฑ์ ดังนี้

  • เป็นผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปี และมีความต้องการคุมกำเนิด หรืออยู่ภาวะหลังคลอด หรือหลังแท้ง
  • เป็นผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ใช้สิทธิได้เฉพาะ “กรณีหลังยุติการตั้งครรภ์”

 

ตอนนี้คุณแม่คงเข้าใจเกี่ยวกับการฝังยาคุมกันบ้างแล้ว การฝังยาคุมในช่วงแรกอาจทำให้คุณแม่รู้สึกถึงความผิดปกติของร่างกายไม่มากก็น้อย และอาจจะรู้สึกระคายเคืองบริเวณแผลที่ฝังยาคุม หากในระหว่างที่ฝังยาคุมอยู่คุณแม่รู้สึกไม่สบายตัว หรืออยากกลับมาตั้งครรภ์อีกครั้ง สามารถปรึกษาคุณหมอเพื่อนำยาที่ฝังอยู่ออกเมื่อใดก็ได้เลย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการฝังยาคุมจะมีประสิทธิภาพสูง แต่ปัญหาสุขภาพบางอย่างอาจทำให้ประสิทธิภาพของการฝังยาลดน้อยลงได้เช่นกัน ดังนั้น คุณแม่ที่มีความสนใจเกี่ยวกับการฝังยาคุม ควรปรึกษาคุณหมอก่อนตัดสินใจเสมอ

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. “ยาฝังคุมกำเนิด” เรื่องควรรู้และผลข้างเคียงที่ต้องระวัง!, โรงพยาบาลศิครินทร์
  2. รู้จัก..ยาฝังคุมกำเนิด อีกหนึ่งวิธีคุมกำเนิดที่มีความปลอดภัย, โรงพยาบาลนครธน
  3. ยาฝังคุมกำเนิดทางเลือกใหม่ของวัยรุ่น, กรมอนามัย
  4. คุมกำเนิดแบบไหนดี?, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชหารุณย์
  5. ยาคุมกำเนิดชนิดฝัง, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  6. สปสช. ชี้แจง “ฝังยาคุมกำเนิด” สิทธิประโยชน์ฟรี สำหรับหญิงไทยตามกลุ่มเป้าหมายทุกสิทธิการรักษา, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

อ้างอิง ณ วันที่ 18 กรกฎาคม 2567
 

บทความแนะนำ

นอนท่าไหนมดลูกเข้าอู่เร็ว อยากให้มดลูกเข้าอู่เร็วคุณแม่ต้องทำยังไง

นอนท่าไหนมดลูกเข้าอู่เร็ว อยากให้มดลูกเข้าอู่เร็วคุณแม่ต้องทำยังไง

คุณแม่หลังคลอดนอนท่าไหนมดลูกเข้าอู่เร็ว อยากให้มดลูกเข้าอู่เร็วต้องทำยังไงบ้าง ไปดูวิธีที่ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังคลอด

การทำหมันหญิงอันตรายไหม ทำหมันหลังคลอดทันทีได้หรือเปล่า

การทำหมันหญิงอันตรายไหม ทำหมันหลังคลอดทันทีได้หรือเปล่า

การทำหมันหญิงอันตรายไหม คุณแม่ทำหมันหลังคลอดทันที พักฟื้นนานหรือเปล่า มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรบ้าง พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังการทำหมันหญิงหลังคลอด

ท้องกระตุกเหมือนลูกดิ้น อาการท้องกระตุก บอกอะไรคุณแม่ได้บ้าง

ท้องกระตุกเหมือนลูกดิ้น อาการท้องกระตุก บอกอะไรคุณแม่ได้บ้าง

ท้องกระตุกเหมือนลูกดิ้น อาการแบบนี้เกิดจากอะไร ท้องกระตุกบ่อย อันตรายไหม บอกอะไรคุณแม่ได้บ้าง อาการท้องกระตุกเหมือนลูกดิ้นแบบไหนที่คุณแม่ควรสังเกต

ผ่าคลอดประกันสังคมจ่ายเท่าไหร่ คุณพ่อคุณแม่มีสิทธิเบิกอะไรบ้าง

ผ่าคลอดประกันสังคมจ่ายเท่าไหร่ คุณพ่อคุณแม่มีสิทธิเบิกอะไรบ้าง

ผ่าคลอดประกันสังคมจ่ายเท่าไหร่ ค่าคลอดบุตรประกันสังคมมาตรา 33 ปี 2567 ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ไปดูข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าคลอดประกันสังคมที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้กัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก