ผ่าคลอดประกันสังคมจ่ายเท่าไหร่ คุณพ่อคุณแม่มีสิทธิเบิกอะไรบ้าง
คุณพ่อ คุณแม่ผู้ประกันตนมาตรา 33 นั้น มีสิทธิประโยชน์ทดแทนมากมาย โดยเฉพาะการเบิกค่าคลอดบุตร ซึ่งสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมมีทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ผู้ประกันตนไม่ควรพลาดที่จะใช้สิทธิของตนเอง และเป็นการเตรียมความพร้อมในเรื่องค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในการคลอดลูก และเพื่อเป็นการรักษาสิทธิประโยชน์ที่ตนเองได้เป็นผู้ประกันตนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
PLAYING: ผ่าคลอดประกันสังคมจ่ายเท่าไหร่ คุณพ่อคุณแม่มีสิทธิเบิกอะไรบ้าง
สรุป
- คุณแม่ผู้ประกันตน มาตรา 33 ที่จ่ายเงินสมทบประกันสังคม มามากกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนคลอดบุตร สามารถใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรได้ แบบเหมาจ่ายวงเงิน 15,000 บาท ต่อครั้ง
- คุณแม่ผู้ประกันตนจะได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร ผู้ประกันตนฝ่ายหญิง หรือคุณแม่มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอด เหมาจ่ายในอัตรา 50 เปอร์เซ็นต์ ของค่าจ้าง เป็นเวลา 90 วัน หากเป็นบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธินี้
- หากคุณแม่และพ่อ เป็นผู้ประกันตนประกันสังคม มีสิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรทั้งคู่ สามารถใช้สิทธิการเบิกคลอดของคนใดคนหนึ่ง โดยไม่จำกัดจำนวนบุตรและครั้ง
- หลังคลอดบุตรแล้ว สามารถยื่นเรื่องรับผลประโยชน์ทดแทนในการคลอดบุตร ได้ที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา หรือสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร หรือสามารถ ยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนด้วยตนเองผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Self Service) โดยเข้าสู่ระบบเว็บไซต์หลักของสำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th กดเข้าสู่ระบบผู้ประกันตน เลือกเมนู “ยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนด้วยตัวเอง (e-Self Service)”
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- คุณแม่ต้องรู้ ผ่าคลอดประกันสังคมจ่ายเท่าไหร่
- ค่าคลอดบุตรประกันสังคมมาตรา 33 ปี 2567 เบิกอะไรได้บ้าง
- ผ่าคลอดใช้สิทธิประกันสังคม ต้องสำรองจ่ายก่อนไหม
- ชวนคุณแม่มาเตรียมเอกสารเพื่อเบิกค่าผ่าคลอดประกันสังคม
- เบิกค่าผ่าคลอดประกันสังคม แจ้งได้ที่ไหน
- ค่าคลอดบุตรประกันสังคมมาตรา 33 ปี 2567 กี่วันถึงจะได้เงิน
- คุณแม่มีสิทธิเบิกอะไรได้บ้าง ผ่าคลอดประกันสังคมจ่ายให้เท่าไหร่
- คุณพ่อป้ายแดง มีสิทธิเบิกประกันสังคมได้ด้วยนะ
คุณแม่ต้องรู้ ผ่าคลอดประกันสังคมจ่ายเท่าไหร่
คุณแม่ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบมามากกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนคลอดบุตร หรือกรณีที่สามีหรือภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ สามารถใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตร ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่จำกัดจำนวนบุตรต่อครั้ง คุณพ่อคุณแม่ผู้ประกันตนสามารถเบิกค่าคลอดบุตร เหมาจ่ายวงเงิน 15,000 บาท ต่อครั้ง
ค่าคลอดบุตรประกันสังคมมาตรา 33 ปี 2567 เบิกอะไรได้บ้าง
ผู้มีสิทธิประกันตนมาตรา 33 จะมีสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองมากมาย เช่น ประสบอุบัติเหตุ ทุพพลภาพ คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร สำหรับค่าคลอดบุตรของผู้ประกันตนมาตรา 33 หญิง จะได้รับเงินค่าคลอดแบบเหมาจ่าย 15,000 บาท ต่อการคลอดบุตร 1 ครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการคลอดเองหรือ การผ่าคลอด ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ผู้ประกันตนมาตรา 33 ต้องจ่ายเงินสมทบครบ 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนเดือนที่คลอด และเงินสงเคราะห์การหยุดงาน 50 เปอร์เซ็นต์ ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นเวลาทั้งหมด 90 วัน เบิกได้ไม่เกิน 2 ครั้ง และได้ค่าตรวจครรภ์ ค่าฝากครรภ์ตามอายุครรภ์ สำหรับผู้ประกันตนชาย (คุณพ่อ) จะได้รับเฉพาะเงินค่าคลอดบุตรแบบเหมาจ่าย 15,000 บาท เท่านั้น
นอกจากนี้ยังมีสิทธิประโยชน์ กรณีสงเคราะห์บุตรตั้งแต่คลอดจนถึงอายุ 6 ปี สามารถเบิกได้จำนวนบุตรไม่เกิน 3 คน เดือนละ 800 บาท สิทธิประโยชน์นี้ต้องมีการจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือนก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทน
ผ่าคลอดใช้สิทธิประกันสังคม ต้องสำรองจ่ายก่อนไหม
ค่าใช้จ่ายในการผ่าคลอด คุณพ่อคุณแม่ควรต้องใช้เงินสำรองจ่ายก่อน หลังจากการคลอดสามารถยื่นเรื่องเบิกเงินกับทางประกันสังคมได้ โดยเตรียมเอกสารให้ครบ เมื่อยื่นเอกสารแล้ว ทางประกันสังคมจะสั่งจ่ายโดยโอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีตามที่ยื่นเรื่องแจ้งไว้ของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน
ชวนคุณแม่มาเตรียมเอกสารเพื่อเบิกค่าผ่าคลอดประกันสังคม
- สำเนาสูติบัตรของลูก 1 ชุด หากคุณแม่คลอดลูกฝาแฝด ให้แนบสำเนาสูติบัตรของฝาแฝดให้ครบทุกคน
- สำหรับผู้ประกันตนชาย (คุณพ่อ) ให้แนบสำเนาทะเบียนสมรสมาด้วย หากไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีที่ไม่มีทะเบียนสมรส
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ต้องไม่ลืมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ และกรอกข้อความครบถ้วนทุกข้อ
- สำเนาสมุดบัญชีเงินธนาคารออมทรัพย์หน้าแรก มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ ดังมีรายชื่อธนาคารต่อไปนี้
- พร้อมเพย์ที่ลงทะเบียนด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชน
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
เบิกค่าผ่าคลอดประกันสังคม แจ้งได้ที่ไหน
หลังคลอดบุตรแล้ว ผู้ประกันตนสามารถยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา หรือสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข เพื่อขอรับผลประโยชน์ทดแทน หากไม่เห็นด้วยกับการสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน ผู้ประกันตนนั้นสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง หรือสามารถ ยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนด้วยตนเองผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Self Service) โดยเข้าสู่ระบบเว็บไซต์หลักของสำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th กด เข้าสู่ระบบผู้ประกันตน เลือกเมนู ยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนด้วยตัวเอง (e-Self Service)
ค่าคลอดบุตรประกันสังคมมาตรา 33 ปี 2567 กี่วันถึงจะได้เงิน
ผ่าคลอดประกันสังคมจ่ายเท่าไหร่ หากยื่นเรื่องขอรับประโยชน์ แนบเอกสารครบถ้วน และต้องไม่ติดสถานะเงินเกินสิทธิใด ๆ เรื่องจะได้รับการอนุมัติประมาณ 5-7 วันทำการ ทางประกันสังคมจะโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร และจะแจ้งข้อมูลให้ทราบต่อไป หากมีปัญหาหรือต้องการเช็กผลอนุมัติเงินค่าคลอดบุตร สามาเช็กได้ที่เว็บไซต์หรือโทรออนไลน์สายด่วนได้ที่ 1506 กด 1 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
คุณแม่มีสิทธิเบิกอะไรได้บ้าง ผ่าคลอดประกันสังคมจ่ายให้เท่าไหร่
1. ค่าฝากครรภ์
วงเงินรวมทั้งหมด 1,500 บาท 5 ครั้ง ตามช่วงอายุครรภ์ ดังนี้
- อายุครรภ์ ไม่เกิน 12 สัปดาห์ จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 500 บาท
- อายุครรภ์ 12-20 สัปดาห์ จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 300 บาท
- อายุครรภ์ 20-28 สัปดาห์ จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 300 บาท
- อายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์ จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 200 บาท
- อายุครรภ์ 32-40 สัปดาห์ จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 200 บาท
- ค่าฝากครรภ์ผู้ประกันตนจะสามารถยื่นเบิกได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
2. ค่าคลอดบุตร
ผ่าคลอดประกันสังคมจ่ายให้เท่าไหร่ ผู้ประกันตน สามารถเบิกสิทธิประกันสังคมได้ ในราคาเหมาจ่าย 15,000 บาท โดยผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน และภายใน 15 เดือน ก่อนการคลอด
หากคุณแม่และคุณพ่อ เป็นผู้ประกันตนประกันสังคม มีสิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรทั้งคู่ สามารถใช้สิทธิการเบิกคลอดของคนใดคนหนึ่ง โดยไม่จำกัดจำนวนบุตรและครั้ง
- เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร ผู้ประกันตนฝ่ายหญิง หรือคุณแม่มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอด เหมาจ่ายในอัตรา 50 เปอร์เซ็นต์ ของค่าจ้าง เป็นเวลา 90 วัน หากเป็นบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธินี้
- เงินชดเชย กรณีแท้งบุตร ผู้ประกันตนจะต้องมีอายุครรภ์ที่ไม่น้อยกว่า 28 สัปดาห์
- เงินสงเคราะห์สำหรับการดูแลบุตร เบิกได้ตั้งแต่ลูกในวัยแรกเกิดไปจนถึงวัย 6 ปี จำนวนครั้งละไม่เกิน 3 คน เบิกได้ 800 บาทต่อเดือน ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น หรือ บุตรบุญธรรม โดยผู้ประกันตนนั้นต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน
คุณพ่อป้ายแดง มีสิทธิเบิกประกันสังคมได้ด้วยนะ
ผู้ประกันตนชายมาตรา 33 และ 39 หรือคุณพ่อสามารถเบิกเงินประกันสังคมได้ แบ่งเป็น 3 กรณี คือ
ค่าฝากครรภ์ วงเงินรวม 1,500 บาท 5 ครั้ง ตามช่วงอายุครรภ์ ดังนี้
- อายุครรภ์ ที่ไม่เกิน 12 สัปดาห์ จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 500 บาท
- อายุครรภ์ 12-20 สัปดาห์ จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 300 บาท
- อายุครรภ์ 20-28 สัปดาห์ จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 300 บาท
- อายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์ จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 200 บาท
- อายุครรภ์ 32-40 สัปดาห์ จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 200 บาท
ค่าคลอดบุตร สามารถเบิกสิทธิประกันสังคมได้ ในราคาเหมาจ่าย 15,000 บาท โดยผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน และภายใน 15 เดือน ก่อนการคลอด
เงินสงเคราะห์สำหรับการดูแลบุตร ผู้ประกันตนชาย ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน เบิกได้ตั้งแต่ลูกในวัยแรกเกิดไปจนถึงวัย 6 ปี จำนวนครั้งละไม่เกิน 3 คน เบิกได้ 800 บาทต่อเดือน ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น หรือ บุตรบุญธรรม
ณ ปัจจุบัน สำนักงานประกันสังคม ได้มีบริการให้ผู้ประกันตนยื่นรับประโยชน์ทดแทน แบบสะดวกปลอดภัยกับ e-Self Service แล้ว คุณพ่อคุณแม่ผู้ประกันตน สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ www.sso.go.th หรือหากมีข้อสงสัยในการใช้งานหรือข้อมูลด้านอื่น ข้อมูลด้านสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ สามารถสอบถามได้ที่ โทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง หรือ สอบถามโดยตรงได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัด หรือสาขาที่สะดวก
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่
- 11 วิธีการเลี้ยงทารกแรกเกิด - 1 เดือน ที่พ่อแม่มือใหม่ต้องรู้
- ตารางการนอนของทารก 0-1 ปี ทารกควรนอนวันละกี่ชั่วโมง
- วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอเมื่อลูกไม่เรอ ช่วยให้ลูกสบายท้องหลังอิ่มนม
- ทารกไม่ยอมนอน ลูกร้องไห้งอแง นอนหลับยาก พร้อมวิธีรับมือ
- เด็กทารกสะอึก เกิดจากอะไร วิธีไหนที่ช่วยบรรเทาอาการลูกสะอึก
- ทารกตัวเหลือง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลทารกตัวเหลือง
- วิธีห่อตัวทารกที่ถูกต้อง ให้ลูกน้อยสบายตัว เหมือนอยู่ในท้องแม่
- สายสะดือทารก สะดือใกล้หลุดเป็นแบบไหน พร้อมวิธีทำความสะอาด
- ทารกเป็นหวัดหายใจครืดคราด ลูกเป็นหวัดหายใจไม่สะดวกทําไงดี
- ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เกิดจากอะไร อันตรายกับลูกน้อยไหม
อ้างอิง:
- กรณีคลอดบุตร, สำนักงานประกันสังคม
- ประกันสังคม ม.33 คืออะไร? ให้สิทธิอะไรคนทำงานบ้าง, สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.)
- ผู้ประกันตนสามารถยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนด้วยตนเองผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Self Service), สำนักงานประกันสังคม
- คุณแม่ตั้งครรภ์ มีสิทธิเบิกประกันสังคม อะไรได้บ้าง ? , โรงพยาบาลบางปะกอก 3
- สิทธิกรณีสงเคราะห์บุตร, สำนักงานประกันสังคม
- ยื่นรับประโยชน์ทดแทน, สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน - Social Security Office
อ้างอิง ณ วันที่ 8 กรกฎาคม 2567