คนท้องนอนไม่หลับ ส่งผลต่อทารกอย่างไร พร้อมวิธีทำให้หลับง่ายขึ้น

คนท้องนอนไม่หลับ ส่งผลต่อทารกอย่างไร พร้อมวิธีทำให้หลับง่าย

31.03.2024

การนอนหลับของแม่ตั้งครรภ์คงนอนหลับไม่สะดวกสบายเหมือนช่วงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะขนาดท้องที่ใหญ่ขึ้น ท่าทางการนอน การปรับสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้เหมาะสม อุณหภูมิห้องนอนไม่ให้ร้อนหรือหนาวจนเกินไป สวมใส่เสื้อผ้าที่สบาย รวมถึงการรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย ช่วยให้แม่ท้องนอนหลับง่ายขึ้น อย่างไรก็ตามการนอนไม่หลับบ่อย ๆ หรือนอนหลับไม่เพียงพอยังส่งผลต่อตัวแม่ท้องและทารกในครรภ์ 
 

headphones

PLAYING: คนท้องนอนไม่หลับ ส่งผลต่อทารกอย่างไร พร้อมวิธีทำให้หลับง่าย

อ่าน 6 นาที

สรุป

  • คนท้องนอนไม่หลับ คนท้องนอนหลับไม่สนิทเกิดขึ้นได้ทุกไตรมาสของการตั้งครรภ์แต่มักจะมีอาการนอนไม่หลับหรือนอนไม่สบายในช่วงไตรมาสแรกและไตรมาสที่ 3 เกิดจากช่วงแรกยังมีอาการแพ้ท้อง เวียนหัว อาเจียน สำหรับไตรมาสที่ 3 ท้องของคุณแม่ขยายใหญ่ขึ้นมาก ทำให้ท่านอนไม่สะดวกสบายและมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เจ็บครรภ์หลอก เจ็บท้องเตือน อาการเหน็บชา ปวดหลัง ปวดขา ยิ่งทำให้การนอนหลับยากขึ้น
  • คนท้องที่เล่นโทรศัพท์มือถือก่อนนอน ทำให้นอนไม่หลับ ในช่วงกลางคืนสมองหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินเพื่อให้ร่างกายนอนหลับพักผ่อน แต่แสงสีฟ้าในโทรศัพท์มือถือหลอกสมองว่าเป็นเวลากลางวัน ทำให้แม่ท้องที่เล่นโทรศัพท์มือถือก่อนนอนยิ่งนอนหลับยาก
  • คนท้องจะนอนหลับสบายขึ้น หากมีอุปกรณ์ช่วยอย่างหมอนหนุนบริเวณลำตัว บริเวณขา เพื่อพยุงครรภ์ทำให้คุณแม่ผ่อนคลายและช่วยลดอาการกรดไหลย้อนได้อีกด้วย

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

คนท้องนอนไม่หลับ เกิดขึ้นจากอะไรได้บ้าง

ปกติแล้วคนท้องจะนอนหลับยากกว่าปกติ สภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละเดือน ร่วมกับอาการต่าง ๆ ที่พบในแม่ตั้งครรภ์ มาดูกันว่าสาเหตุที่ทำให้แม่ท้องนอนไม่หลับมีอะไรบ้าง

  • ระดับฮอร์โมน ฮอร์โมนในร่างกายคนท้องที่ผันผวนเปลี่ยนแปลง
  • อาการแพ้ท้อง อาการคลื่นไส้อาเจียนในช่วงไตรมาสแรกทำให้คนท้องนอนหลับยาก
  • ทารกในครรภ์เจริญเติบโตมากขึ้น ส่งผลทำให้มดลูกขยายใหญ่ขึ้น ท่าทางการนอนไม่สะดวกสบาย ทำให้แม่ตั้งครรภ์หลับยากขึ้น
  • ปัสสาวะบ่อย เนื่องจากมดลูกขยายใหญ่กดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ต้องลุกเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ
  • อาการต่าง ๆ ช่วงตั้งครรภ์ เช่น ตะคริว ปวดหลัง ปวดขา
  • กรดไหลย้อน (GERD) เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้บ่อยสำหรับแม่ท้อง การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนและระบบภายในร่างกาย มดลูกที่ขยายใหญ่ทำให้กดเบียดกระเพาะอาหารส่งผลให้เกิดอาการกรดไหลย้อนได้ง่าย
  • อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น แม่ตั้งครรภ์จะมีอุณหภูมิในร่างกายสูงกว่าปกติ บางคนจะมีอาการตัวรุม ๆ คล้ายจะเป็นไข้ สาเหตุเกิดจากภายในร่างกายมีการสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพิ่มขึ้น

 

คนท้องนอนไม่หลับ เกิดขึ้นช่วงไหนของการตั้งครรภ์

ปัญหาการนอนหลับยาก ปัญหาการนอนไม่หลับสำหรับแม่ท้องเป็นปัญหาที่พบได้ทุกคน การนอนไม่หลับในช่วงกลางคืนส่งผลให้แม่ตั้งครรภ์รู้สึกเหนื่อยล้าในช่วงกลางวัน และอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น ความเครียด วิตกกังวลง่าย คนท้องนอนไม่หลับเกิดขึ้นได้ในทุกไตรมาสของการตั้งครรภ์ ซึ่งแนวโน้มที่พบได้บ่อยจะเป็นช่วงไตรมาสแรก ที่มักจะมีอาการแพ้ท้อง อาเจียน และช่วงไตรมาสที่ 3 ทารกในครรภ์เจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ขนาดของมดลูกขยายใหญ่ขึ้นไปกดเบียดอวัยวะต่าง ๆ กระเพาะอาหาร กระเพาะปัสสาวะ ทำให้มีอาการปวดหลัง ปวดขา คัดเต้านม ตะคริว ปัสสาวะบ่อย กรดไหลย้อน ทำให้หายใจไม่อิ่ม มีอาการแสบร้อนทรวงอก เจ็บครรภ์เตือน อาการเหล่านี้ล้วนส่งผลให้แม่ท้องนอนหลับยากทั้งสิ้น

 

แสงสีฟ้าจากมือถือ ก็ทำให้คนท้องนอนไม่หลับได้เหมือนกัน

คนท้องมักจะนอนหลับยาก เนื่องจากสภาพร่างกายและอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ อาการนอนหลับยากมักจะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรกและไตรมาสสุดท้าย นอกจากนี้มีอีกสาเหตุหนึ่งที่แม่ท้องบางคนนอนหลับยาก ก็คือแสงสีฟ้าจากโทรศัพท์มือถือ สาเหตุที่แสงสีฟ้าจากโทรศัพท์มือถือทำให้นอนหลับยาก มีดังนี้

  • แสงสีฟ้าจากโทรศัพท์มือถือกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัว
  • แสงสีฟ้าทำให้ความสมดุลของฮอร์โมนเมลาโทนิน (melatonin) ลดลง 70 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เสียสมดุลในการนอนหลับ
  • แสงสีฟ้าเพิ่มการสร้างคอร์ติซอล (cortisol) ส่งผลกระทบต่อแม่ท้องทำให้นอนไม่หลับ หรือหลับไม่สนิท

 

แสงสีฟ้าส่งผลให้คนท้องนอนไม่หลับ

 

แม่ตั้งครรภ์นอนไม่หลับส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์อย่างไร

แม่ท้องนอนไม่หลับ แม่ท้องนอนหลับยาก นอกจากจะส่งผลต่อตัวแม่ท้องเอง ยังส่งผลต่อทารกน้อยในครรภ์ได้ เพราะการนอนไม่หลับในตอนกลางคืน ส่งผลให้ในช่วงเวลากลางวันแม่ท้องจะรู้สึกอ่อนเพลียง่าย รวมถึงเกิดภาวะเครียด วิตกกังวลได้ง่าย ความเครียดส่งผลต่อสุขภาพของแม่ท้อง เช่น ทำให้อ่อนเพลีย หลอดเลือดตีบ ปวดหัวเฉียบพลัน ไม่อยากอาหาร ความดันในเลือดสูง น้ำตาลในเลือดต่ำ มือสั่น ชา ภูมิต้านทานลดลง ซึ่งแม่ท้องที่มีความเครียดระหว่างตั้งครรภ์ จะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์โดยตรง นอกจากนี้ ความเครียดยังส่งผลต่อทารกในครรภ์ ดังนี้

  • เสี่ยงคลอดก่อนกำหนดทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายของทารกยังทำงานไม่เต็มที่
  • ทารกน้ำหนักตัวน้อย
  • เสี่ยงเป็นออทิสติกหรือมีความบกพร่องทางภาษา
  • เสี่ยงพัฒนาการทารกล่าช้ากว่าปกติ

 

รวมเคล็ดลับช่วยให้คนท้องนอนหลับง่ายขึ้น

แม่ท้องนอนหลับยากเกิดจากหลายสาเหตุทั้งด้านร่างกาย อาการของแม่ตั้งครรภ์ ด้านจิตใจ จากความเครียด ความวิตกกังวล การนอนหลับสำคัญต่อสุขภาพแม่ท้องและทารกในครรภ์ วิธีการที่ช่วยให้แม่ท้องผ่อนคลายและนอนหลับได้ง่ายขึ้น ทำได้ดังนี้

  • ควรนอนก่อนเวลา 22.00 น. ระยะเวลานอน 7-9 ชั่วโมงต่อคืน เพื่อให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone) เพื่อซ่อมแซมกล้ามเนื้อ และร่างกายสึกหรอจากการใช้งานระหว่างวัน
  • ท่านอนหงาย เป็นท่านอนที่ทำให้แม่ตั้งครรภ์ที่มีขนาดครรภ์ใหญ่นอนหลับยาก เพราะช่วงตั้งครรภ์กล้ามเนื้อหูรูดกระเพาะอาหารจะหย่อนตัว เกิดภาวะกรดไหลย้อนได้ง่าย มดลูกที่โตขึ้นจะกดทับเส้นเลือดใหญ่ทำให้เลือดไหลกลับไปยังหัวใจไม่ดี ทำให้เกิดอาการขาบวม
  • ท่านอนตะแคง คือ ท่านอนที่เหมาะสมกับแม่ท้อง โดยเฉพาะการนอนตะแคงซ้ายจะช่วยลดการกดทับหลอดเลือดใหญ่ ทำให้เลือดสูบฉีดและนำสารอาหารไปสู่รกและทารกได้สะดวก
  • หากแม่ท้องมีอาการขาบวม ให้นอนหงายแล้วยกเท้าพาดเก้าอี้ หมอน หรือผนัง โดยให้เท้าอยู่สูงกว่าศีรษะ ประมาณ 10 นาที เพื่อให้เลือดไหลเวียนกลับไปยังหัวใจได้สะดวกขึ้น
  • ปรับอุณหภูมิในห้องนอนให้สบาย ไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป เงียบสงบ มีความมืด เพื่อให้นอนหลับสนิทและหลับสบาย
  • ใช้หมอนรองครรภ์ในท่านอนตะแคง โดยสอดหมอนไว้ใต้ท้องและระหว่างเข่าทั้ง 2 ข้าง ช่วยรองรับหลังและท้อง ทำให้แม่ตั้งครรภ์นอนหลับได้ง่ายขึ้น
  • ใส่ชุดนอนที่เนื้อผ้าเบาสบาย หากคุณแม่อึดอัดเต้านมที่เริ่มคัดตึง แม่ตั้งครรภ์สามารถใส่เสื้อชั้นในสำหรับคนท้องเพื่อช่วยพยุงทรงทำให้สวมใส่สบายและเหมาะสมกับแม่ตั้งครรภ์

 

อาหารที่ช่วยให้คนท้องนอนหลับง่ายขึ้น

คนท้องนอนหลับยาก การรับประทานอาหารมีส่วนช่วยให้คนท้องหลับสบายขึ้น การรับประทานอาหารที่ช่วยให้แม่ตั้งครรภ์นอนหลับง่ายขึ้น มีดังนี้

  • แม่ท้องควรรับประทานอาหารมื้อเย็นให้เร็วกว่าเดิม ค่อย ๆ รับประทาน และไม่ควรนอนทันทีหลังจากรับประทานอาหารเสร็จใหม่ ๆ ควรรอให้อาหารย่อย เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดกรดไหลย้อน อาการแสบร้อนกลางทรวงอก
  • รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อปลา อกไก่ ไข่ ช่วยให้ลดระดับน้ำตาลในเลือดให้คงตัวตลอดคืน และป้องกันอาการปวดหัว ร้อนวูบวาบ
  • งดดื่มน้ำก่อนเข้านอนสัก 2-3 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้ปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน
  • งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ชาและกาแฟ ทำให้แม่ตั้งครรภ์นอนไม่หลับ เพิ่มความเสี่ยงให้ทารกในครรภ์น้ำหนักตัวน้อยอีกด้วย

 

แม่ท้องนอนหลับยากส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่และส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ มีวิธีการต่าง ๆ ที่ช่วยให้คุณแม่นอนหลับง่ายขึ้น เช่น ใช้หมอนรองครรภ์ ปรับท่านอนให้เหมาะสม โดยเฉพาะแม่ท้องนอนตะแคงจะทำให้นอนหลับสบายขึ้น ปรับสภาพแวดล้อมในห้องนอน สวมเสื้อผ้าที่สบายตัว รับประทานอาหารมีส่วนช่วยให้แม่ท้องหลับสบายขึ้น หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ ทำให้นอนหลับยาก

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. ปัญหาการนอนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ แก้ไขอย่างไรได้บ้าง, hellokhunmor
  2. ไม่ดีแน่… ถ้าปล่อยให้คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องสู้กับ “กรดไหลย้อน”, โรงพยาบาลเปาโล
  3. อาการคนท้องเดือนแรก สัญญาณว่าเริ่มต้นว่ากำลังตั้งครรภ์, โรงพยาบาลศิครินทร์
  4. คนท้องนอนไม่หลับกับวิธีการรับมือง่าย ๆ, pobpad
  5. อันตรายของแสงสีฟ้าต่อดวงตา, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  6. Work form home ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวัน อาจเสี่ยงจอประสาทตาเสื่อม, โรงพยาบาลสมิติเวช
  7. เทคนิคการดูแลตนเองระหว่างตั้งครรภ์อย่างมีสุขภาพดีทั้งแม่และเด็กในครรภ์, โรงพยาบาลนครธน
  8. การนอนหลับสำหรับหญิงตั้งครรภ์, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

อ้างอิง ณ วันที่ 31 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ อันตรายไหม ส่งผลกระทบกับคุณแม่และลูกในท้องอย่างไร

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ อันตรายกับคุณแม่ท้องและลูกในครรภ์อย่างไร

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ อาการเป็นอย่างไร หากคุณแม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะเป็นอันตรายกับลูกในครรภ์ไหม ไปดูวิธีรับมืออาการเบาหวานขณะตั้งครรภ์กัน

เวียนหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม อาการแบบนี้ใช่อาการแพ้ท้องหรือเปล่า

เวียนหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม ปวดหัวคลื่นไส้ แบบนี้แพ้ท้องหรือเปล่า

อาการเวียนหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม ปวดหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม เบื่ออาหาร เกิดจากอะไร แบบนี้คืออาการแพ้ท้องหรือเปล่า ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อมีอาการเวียนหัว

ข้อห้ามหลังผ่าคลอด พร้อมวิธีลุกจากเตียงหลังผ่าตัดคลอด

ข้อห้ามหลังผ่าคลอด พร้อมวิธีลุกจากเตียงหลังผ่าตัดคลอด

ข้อห้ามหลังผ่าคลอดสำหรับคุณแม่หลังผ่าตัดคลอดมีอะไรบ้าง อาการหลังผ่าตัดคลอดที่คุณแม่ต้องเจอมีอะไรบ้าง พร้อมวิธีลุกจากเตียงหลังผ่าคลอดที่คุณแม่ควรรู้

ออกกําลังกายหลังคลอด ตัวช่วยกระชับหุ่นสุขภาพดี สำหรับคุณแม่หลังผ่าคลอด

ออกกําลังกายหลังคลอด ตัวช่วยกระชับหุ่นสุขภาพดี สำหรับคุณแม่หลังผ่าคลอด

คุณแม่ควรออกกำลังกายหลังคลอด อย่างน้อย 6 สัปดาห์หลังผ่าคลอด ออกกำลังกายหลังผ่าตัดคลอด ตัวช่วยกระชับหุ่นให้ฟิตเฟิร์ม ท่าออกกำลังกายหลังคลอดท่าไหนดีกับคุณแม่ ไปดูกัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก