น้ำคร่ำน้อย เกิดจากอะไร น้ำคร่ำน้อยตอนใกล้คลอด อันตรายไหม

น้ำคร่ำน้อย เกิดจากอะไร น้ำคร่ำน้อยตอนใกล้คลอด อันตรายไหม

21.10.2024

น้ำคร่ำ มีหน้าที่สำคัญหลายอย่างต่อการเจริญเติบโตของทารก ทั้งยังช่วยป้องกันการกระทบกระเทือนที่อาจเป็นอันตรายให้ทารกในครรภ์ แต่หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติ หรือที่เรียกว่า “ภาวะน้ำคร่ำน้อย” ก็อาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของทารกได้ ภาวะน้ำคร่ำน้อยคืออะไร มีสาเหตุ และอันตรายต่อทารกในครรภ์อย่างไรบ้าง มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะน้ำคร่ำน้อยอย่างละเอียด เพื่อเตรียมตัวรับมือกัน

headphones

PLAYING: น้ำคร่ำน้อย เกิดจากอะไร น้ำคร่ำน้อยตอนใกล้คลอด อันตรายไหม

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • ภาวะน้ำคร่ำน้อย (Oligohydramnios) คือการตั้งครรภ์ที่มีปริมาณน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติอยู่ที่ 100-300 ซีซี ส่วนน้ำคร่ำปกติจะต้องมีปริมาณไม่น้อยกว่า 500 ซีซี
  • ภาวะน้ำคร่ำน้อย ปริมาณน้ำคร่ำจะค่อย ๆ ลดลงจนครบกำหนดคลอด ทำให้โพรงมดลูกแคบลงกว่าปกติ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารก และอัตราการเต้นของหัวใจลดลง อาจต้องรีบผ่าคลอดในบางราย
  • ภาวะน้ำคร่ำน้อยเสี่ยงต่อการเกิดความพิการของทารกในครรภ์ ซึ่งอาจมีอวัยวะพิการ เช่น ใบหน้า แขน ขา มือ และเท้าผิดรูป และความพิการที่พบได้บ่อยในทารกหลังคลอด คือ ภาวะเท้าปุก

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ภาวะน้ำคร่ำน้อย คืออะไร

ภาวะน้ำคร่ำน้อย (Oligohydramnios) คือการตั้งครรภ์ที่มีปริมาณน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติ ซึ่งน้ำคร่ำปกติจะต้องมีปริมาณไม่น้อยกว่า 500 ซีซี ในคุณแม่ท้องที่มีภาวะน้ำคร่ำน้อยจะมีปริมาณน้ำคร่ำอยู่ที่ 100-300 ซีซี ในบางรายอาจลดลงจนเหลือเพียง 2-3 ซีซี ซึ่งน้อยกว่าค่าปกติมาก น้ำคร่ำ โดยทั่วไปมีการสร้างเพิ่มขึ้นประมาณ 30-40 ซีซี ต่อวันจนถึง 1000 ซีซี เมื่อครบกำหนดคลอด เมื่อปริมาณน้ำคร่ำลดลงเรื่อย ๆ จนครบกำหนดคลอด จะทำให้มดลูกจะแคบลง ส่งผลทำให้ทารกต้องเจริญเติบโตในมดลูกที่แคบกว่าปกติ อัตราการเต้นของหัวใจลดน้อยลง จึงมีผลต่อพัฒนาการของสมองของทารก

 

น้ำคร่ำน้อย เกิดได้จากหลายสาเหตุ

น้ำคร่ำ มีความสำคัญกับทารกในครรภ์เป็นอย่างมาก ทุกครั้งที่ทารกมีการกลืนน้ำคร่ำ จะช่วยพัฒนาระบบทางเดินอาหาร การหายใจของทารก และพัฒนาปอดให้แข็งแรง แต่ในคุณแม่ท้องบางรายที่มีปัญหาเรื่องน้ำคร่ำน้อย อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่

  • ถุงน้ำคร่ำเกิดการรั่วซึม
  • รกเสื่อมสภาพ
  • รกลอกตัวก่อนกำหนด
  • ภาวะครรภ์เป็นพิษ
  • ทารกมีความผิดปกติของโครโมโซม
  • ระบบทางเดินปัสสาวะเกิดการอุดตัน
  • มีภาวะโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และโรคความดันโลหิตสูง
  • อายุครรภ์เกินกำหนดคลอด

 

คุณแม่จะรู้ได้ยังไงว่ากำลังมีภาวะน้ำคร่ำน้อย

 

คุณแม่จะรู้ได้ยังไงว่ากำลังมีภาวะน้ำคร่ำน้อย

น้ำคร่ำน้อย เป็นภาวะที่อันตรายทั้งกับคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ ภาวะน้ำคร่ำน้อยเบื้องต้นจะทราบได้จากการมาตรวจติดตามพัฒนาการทารกในครรภ์ทุกเดือนตามที่แพทย์นัด หากตรวจพบว่าคุณแม่มีภาวะน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติ จะต้องได้รับการดูแลและเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อลดโอกาสทารกในครรภ์เสียชีวิต นอกจากนี้คุณแม่ยังสามารถสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตัวเอง หากคุณแม่มีอาการผิดปกติเหล่านี้ ควรไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ทันที

 

น้ำคร่ำน้อยตอนใกล้คลอด อันตรายแค่ไหน ส่งผลยังไงกับลูก

  1. ทารกเสียชีวิตในครรภ์ ภาวะน้ำคร่ำน้อยเสี่ยงทำให้ทารกในครรภ์เสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 90 ถ้าเกิดตอนอายุครรภ์น้อย ๆ
  2. เสี่ยงพิการ ภาวะน้ำคร่ำน้อยตอนใกล้คลอด เสี่ยงต่อการเกิดความพิการของอวัยวะต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ เช่น ใบหน้า แขน ขา มือ และเท้าผิดรูป
  3. พัฒนาการผิดปกติ ภาวะน้ำคร่ำน้อย ที่เกิดจากความผิดปกติของทารก เช่น โครโมโซมผิดปกติ อวัยวะผิดปกติ เช่นการไม่พัฒนาของไต หรือการขาดออกซิเจน ขาดเลือด และสารอาหารเรื้อรังมาเป็นเวลานานขณะที่อยู่ในครรภ์ อาจส่งผลต่อพัฒนาการการเจริญเติบโตที่ช้าของทารกในครรภ์ได้
  4. หัวใจและปอดหยุดทำงาน หรือทำงานผิดปกติ ภาวะน้ำคร่ำน้อยส่งผลทำให้มดลูกมีพื้นที่แคบลง ทำให้ปอดแฟบ และมีอัตราการเต้นของหัวใจลดลง มีผลต่อพัฒนาการสมองของทารก เนื่องจากได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ

 

น้ำคร่ำน้อย เสี่ยงคลอดก่อนกำหนดจริงไหม

น้ำคร่ำน้อย ถือเป็นภาวะครรภ์เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด ส่งผลกระทบต่อทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ ในคุณแม่ท้องที่มีปริมาณน้ำคร่ำน้อยกว่า 500 ซีซี ในอายุครรภ์ที่ 32-36 สัปดาห์ จะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของทารก ทำให้ปอดแฟบ และหัวใจเต้นน้อยลง แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดก่อนกำหนดคลอด

 

การดูแลภาวะน้ำคร่ำน้อย

ภาวะน้ำคร่ำน้อย ทางการแพทย์จะรักษาด้วยวิธีการเติมน้ำคร่ำทางหน้าท้องเข้าไปในมดลูก ซึ่งการเติมน้ำคร่ำแพทย์จะพิจารณาให้ในช่วงอายุครรภ์ 24-34 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ การเติมน้ำคร่ำจะช่วยลดการกดทับของสายสะดือ ที่ไปกดทับหัวใจของทารกจนทำให้มีอัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ และช่วยลดภาวการณ์ขาดออกซิเจนของทารกในช่วงแรกเกิด ทั้งนี้การรักษาจะต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

 

ภาวะน้ำคร่ำน้อย เป็นภาวะที่หญิงตั้งครรภ์ควรให้ความสำคัญ เนื่องจากส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ได้ หากคุณแม่ตั้งครรภ์สงสัยว่าตนเองมีภาวะน้ำคร่ำน้อย ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง การดูแลสุขภาพอย่างใกล้ชิดและการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ จะช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสให้ทารกเติบโตอย่างแข็งแรง

 

ทั้งนี้เมื่อคลอดลูกแล้วคุณแม่สามารถช่วยให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นด้วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะในนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ วิตามิน แคลเซียม และสฟิงโกไมอีลิน ซึ่งช่วยในพัฒนาการสมอง สติปัญญา และการเจริญเติบโตของลูก

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด

 


อ้างอิง:

  1. 6 ภาวะครรภ์เสี่ยง!! ที่คุณแม่ต้องระวัง, โรงพยาบาลพญาไท
  2. น้ำคร่ำ (Amniotic fluid), คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  3. ความผิดปกติของน้ำคร่ำ, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  4. Polyhydramnios ภาวะน้ำคร่ำมาก, โรงพยาบาลสมิติเวช
  5. รู้จักกับภาวะน้ำคร่ำน้อย อันตรายสูงในหญิงตั้งครรภ์, โรงพยาบาลบางปะกอก
  6. ข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับน้ำคร่ำ, POBPAD
  7. การเติมน้ำคร่ำทางหน้าท้อง, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

อ้างอิง ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2567

บทความแนะนำ

มูกเลือดออกทางช่องคลอด คืออะไร มีมูกออกทางช่องคลอดปกติไหม

มูกเลือดออกทางช่องคลอด คืออะไร มีมูกออกทางช่องคลอดปกติไหม

มูกเลือดออกทางช่องคลอด อาจเป็น สัญญาณเตือนว่าคุณแม่ใกล้คลอดแล้ว ซึ่งอาจเกิดจากภาวะน้ำเดิน ลักษณะมูกใสก่อนคลอด ยังบอกถึงปัญหาสุขภาพของคุณแม่ได้หลายอย่างอีกด้วย

แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ มักมีความกังวลว่า แม่เป็นโรคภูมิแพ้แล้วลูกจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือเปล่า ไปดูสาเหตุพร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้นกัน

รู้ทันโรคภูมิแพ้คนท้อง ลดความเสี่ยงคนท้องเป็นภูมิแพ้ตั้งแต่เริ่มท้อง

รู้ทันโรคภูมิแพ้คนท้อง ลดความเสี่ยงคนท้องเป็นภูมิแพ้ตั้งแต่เริ่มท้อง

คนท้องเป็นภูมิแพ้ กับ 2 สาเหตุหลักของโรคภูมิแพ้คนท้อง เพื่อให้คุณแม่หาวิธีป้องกันโรคภูมิแพ้ให้ลูกน้อยจากปัจจัยสิ่งแวดล้อม เพื่อลดความเสี่ยงลูกเป็นภูมิแพ้

โฟเลต คืออะไร อาหารที่มีโฟเลตสูงมีอะไรบ้างที่ดีต่อคุณแม่ตั้งครรภ์

โฟเลต คืออะไร อาหารที่มีโฟเลตสูงสำคัญกับคุณแม่ตั้งครรภ์แค่ไหน

โฟเลต คืออะไร อาหารที่มีโฟเลตสูงช่วยลดความเสี่ยงในการแท้งและทารกพิการตั้งแต่ในครรภ์ คุณแม่ควรทานอาหารที่มีโฟเลตสูงก่อนท้อง เพื่อสุขภาพครรภ์ที่ดี

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก