รู้ทันโรคภูมิแพ้คนท้อง ลดความเสี่ยงคนท้องเป็นภูมิแพ้ตั้งแต่เริ่มท้อง

ภูมิแพ้คนท้อง ลดความเสี่ยงคนท้องเป็นภูมิแพ้ได้ตั้งแต่ตั้งครรภ์

09.05.2024

เพียงรู้จัก 2 สาเหตุหลักของโรคภูมิแพ้ เพื่อให้คุณแม่หาวิธีป้องกันโรคภูมิแพ้ให้ลูกน้อยจากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งด้านอาหาร นม และสิ่งแวดล้อมทุกวันนี้โรคภูมิแพ้เป็นสิ่งที่หลายคนให้ความสนใจ สำหรับประเทศไทยในช่วงที่อากาศนิ่ง ไม่มีฝน ลม หรือความชื้น จะพบว่ามีฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ที่สูงกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนด ซึ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงให้ลูกน้อยในครรภ์เป็นโรคภูมิแพ้ในอนาคตได้ จากรายงานสถานการณ์ปัจจุบันของไทยพบว่าโรคภูมิแพ้มีอัตราความชุกเพิ่มมากขึ้น โดยพบว่าเด็กไทยร้อยละ 38 หรือ 1 ใน 3 คนเป็นโรคภูมิแพ้

headphones

PLAYING: ภูมิแพ้คนท้อง ลดความเสี่ยงคนท้องเป็นภูมิแพ้ได้ตั้งแต่ตั้งครรภ์

อ่าน 7 นาที

 

สรุป

  • โรคภูมิแพ้จะมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้และพัฒนาการของลูกน้อยในอนาคต และอาจมีความสัมพันธ์กับโรคสมาธิสั้น รวมถึงการนอนหลับของลูก นอกจากนี้ยังมีผลต่อค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นด้วย
  • ภูมิแพ้เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาทิ ยีนส์ภูมิแพ้ที่ส่งต่อจากคุณพ่อหรือคุณแม่สู่ลูกน้อย หรือจากปัจจัยภายนอกทั้งที่สามารถควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ โดยพบว่าหากคุณแม่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงขณะตั้งครรภ์ จะเพิ่มความเสี่ยงที่ลูกจะเกิดภูมิแพ้ได้ รวมไปถึงวิธีการคลอดที่พบว่าเด็กที่คลอดด้วยวิธีผ่าคลอดจะมีความเสี่ยงการเกิดอาการภูมิแพ้มากกว่าเด็กที่คลอดวิธีธรรมชาติ
  • คุณพ่อคุณแม่หรือคนท้องเป็นภูมิแพ้ ควรสังเกตอาการที่สื่อถึงโรคภูมิแพ้ของตัวเองเช่นกัน เพื่อเตรียมตัวสำหรับการดูแลลูกน้อยอย่างถูกต้อง และเตรียมพร้อมร่างกายเพื่อที่จะลดความเสี่ยงการเกิดโรคภูมิแพ้จากปัจจัยที่ควบคุมได้

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ลูกเป็นภูมิแพ้ที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม

 

โรคภูมิแพ้ร้ายกว่าที่คุณแม่คิด

เนื่องจากโรคภูมิแพ้จะมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้และพัฒนาการของลูกน้อยในอนาคต ยังอาจมีความสัมพันธ์กับโรคสมาธิสั้น และการนอนหลับของลูก นอกจากนี้ยังมีผลต่อค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นด้วย

 

โดยพบว่าค่าใช้จ่ายรายหัวที่สูงที่สุดคือ โรคแพ้นมวัว ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 64,383 บาทต่อปี, โรคหวัดเรื้อรัง 12,669 บาทต่อปี, โรคหอบหืด 9,633 บาทต่อปี และโรคผื่นแพ้ผิวหนัง 5,432 บาทต่อปี ทำให้คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจมีความกังวลใจว่าการตั้งครรภ์มีความเสี่ยงที่ลูกน้อยจะเป็นภูมิแพ้หรือไม่? ควรดูแลตัวเองอย่างไร? ลดความเสี่ยงและจะป้องกันลูกน้อยจากโรคภูมิแพ้ได้อย่างไรบ้าง?
 

โรคภูมิแพ้ คนท้องเป็นภูมิแพ้ร้ายกว่าที่คุณแม่คิด

 

ภูมิแพ้ร้ายกว่าที่คุณแม่คิด

1. ภูมิแพ้ที่เกิดจากกรรมพันธุ์

ซึ่งเป็นสาเหตุที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จากการศึกษาพบว่า ยีนส์ภูมิแพ้สามารถส่งต่อจากคุณพ่อหรือคุณแม่สู่ลูกน้อย เช่น โรคหืด, ผื่นผิวหนังทารก ผื่นขึ้นหน้าทารก , อักเสบจากภูมิแพ้, จมูกอักเสบจากภูมิแพ้นมวัว, ผื่นลมพิษ หรือแพ้อาหารอื่น ๆ

  • หากคุณพ่อหรือคุณแม่คนใดคนหนึ่งเป็นโรคภูมิแพ้หรือคนท้องเป็นภูมิแพ้ จะส่งผลให้ลูกมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้ ร้อยละ 30 – 50
  • หากทั้งคุณพ่อและคุณแม่เป็นโรคภูมิแพ้ทั้งคู่ ลูกจะยิ่งมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้สูงขึ้น ร้อยละ 60-80 โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นโรคภูมิแพ้ประเภทเดียวกัน
  • หากคุณแม่เป็นโรคภูมิแพ้จะเพิ่มความเสี่ยงให้ลูกน้อยมากกว่าคุณพ่อ
  • ในขณะที่พ่อและแม่ไม่มีประวัติภูมิแพ้เลย ลูกมีโอกาสเกิดภูมิแพ้ได้ร้อยละ 14

 

2. ภูมิแพ้ที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม

เป็นปัจจัยภายนอกทั้งที่สามารถควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ ได้แก่ ฝุ่นควัน, มลพิษ, ควันบุหรี่, สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ, อาหารที่คุณแม่รับประทาน เป็นต้น โดยพบว่าหากคุณแม่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงขณะตั้งครรภ์ จะเพิ่มความเสี่ยงที่ลูกจะเกิดภูมิแพ้ได้ รวมไปถึงวิธีการคลอดที่พบว่าเด็กที่คลอดด้วยวิธีผ่าคลอดจะมีความเสี่ยงการเกิดอาการภูมิแพ้มากกว่าเด็กที่คลอดวิธีธรรมชาติ

 

ทุกวันนี้มีมลภาวะและปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เช่น ฝุ่น, ควัน หรือมลพิษ แม้คนในครอบครัวไม่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ พบว่าลูกน้อยมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้ ร้อยละ 20 ซึ่งอาจมาจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งคุณพ่อคุณแม่บางคนอาจละเลยการสังเกตอาการตัวเอง จึงอาจไม่ทราบว่าตัวเองเป็นภูมิแพ้แล้ว ขอแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่หรือคนท้องเป็นภูมิแพ้ ควรสังเกตอาการที่สื่อถึงโรคภูมิแพ้ของตัวเองเช่นกัน เพื่อเตรียมตัวสำหรับการดูแลลูกน้อยอย่างถูกต้อง โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถตรวจเช็กความเสี่ยงการเกิดอาการภูมิแพ้ของลูกน้อยได้อย่างมั่นใจมากขึ้น

 

วิธีรับมือและการป้องกันโรคภูมิแพ้

อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าสิ่งแวดล้อมใดมีผลต่อการเกิดโรคภูมิแพ้ ในคนมากที่สุด คุณพ่อคุณแม่หรือคนท้องเป็นภูมิแพ้ จึงต้องเตรียมพร้อมร่างกายเพื่อที่จะลดความเสี่ยงการเกิดโรคภูมิแพ้จากปัจจัยที่ควบคุมได้ เช่น

1. เลิกสูบบุหรี่

เนื่องจากควันบุหรี่มีผลกระทบโดยตรงต่อลูกในครรภ์ เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคภูมิแพ้, หอบหืด, การเจริญเติบโตของอวัยวะ และอาจส่งผลต่อชีวิตของลูกน้อยในครรภ์ได้

 

2. หลีกเลี่ยงการสูดดมฝุ่นหรือควันพิษ

ควรสวมหน้ากากอนามัย N95 ในวันที่ค่าฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐาน หากอากาศภายนอกมีค่าฝุ่นควันเกินมาตรฐาน ควรปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด ควบคุมอุณหภูมิห้องไม่ให้ร้อนจนเกินไป ไม่ควรอนุญาตให้สูบบุหรี่หรือจุดธูปในอาคาร และควรทำความสะอาดสิ่งต่าง ๆ ด้วยผ้าเปียกเพื่อลดการกระจายตัวของฝุ่นละออง หากภายในอาคารมีมลพิษสูง ควรใช้เครื่องปรับอากาศและเครื่องฟอกอากาศที่มีแผ่นกรองอากาศคุณภาพสูง ชนิด HEPA (High Efficiency Particulate Air Filter) ที่สามารถดักจับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ได้

 

3. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ อย่างสมดุล

ในขณะตั้งครรภ์คุณแม่ควรเลือกอาหารให้หลากหลายเพื่อได้รับสารอาหารครบถ้วน หากไม่มีอาการแพ้อาหารก็ไม่ควรงดอาหารกลุ่มเสี่ยง เช่น นม, ไข่, อาหารทะเล แต่ควรจำกัดปริมาณการรับประทานปกติเท่ากับช่วงก่อนตั้งครรภ์ แต่ที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษคือจากสถิติพบว่า คุณแม่ที่ดื่มนมวัว, นมถั่วเหลือง หรือนมที่ทำจากถั่วเปลือกแข็ง (เช่น อัลมอนด์, วอลนัท, พิสตาชิโอ) ไข่ และแป้งสาลีมากกว่าปกติ อาจส่งผลให้ลูกเกิดอาการภูมิแพ้อาหารเหล่านี้ระยะยาวในอนาคตได้

 

4. เลือกอาหารที่มีจุลินทรีย์สุขภาพ

ปัจจุบันมีหลักฐานว่าคุณแม่ที่เป็นโรคภูมิแพ้รับประทานอาหารที่มีจุลินทรีย์สุขภาพ ขณะที่ตั้งครรภ์หรือช่วงให้นมลูกน้อย อาจช่วยลดความเสี่ยงที่ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ได้ โดยเฉพาะโรคภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบ ตัวอย่างอาหารที่มีจุลินทรีย์สุขภาพ เช่น โยเกิร์ต, นมเปรี้ยว (แต่ควรเลือกรับประทานสูตรหวานน้อย หรือน้ำตาลต่ำ), กิมจิ, มิโซะ, เทมเป้, กะหล่ำปลีดอง เป็นต้น

 

5. เสริมภูมิลูกน้อยด้วยนมแม่

ในช่วง 6 เดือนแรกของลูกน้อย คุณแม่ควรให้ลูกกินนมแม่ ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการลดความเสี่ยงภูมิแพ้ของลูกตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิต คือให้ทานนมแม่เพราะนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด และยังมีคุณสมบัติเป็น Hypo-Allergenic หรือ H.A. ที่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคภูมิแพ้ได้ มากกว่านั้นแล้วโปรตีนในนมแม่บางส่วน ได้ถูกย่อยให้มีขนาดเล็กลง หรือที่เรียกว่า PHP (Partially Hydrolyzed Proteins ) ซึ่งง่ายต่อการดูดซึมเข้าร่างกายของลูกน้อย และยังมีพรีไบโอติกโอลิโกแซคคาไรด์ใยอาหารหลักที่สำคัญ ที่ช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อต่าง ๆ ซึ่งโอลิโกแซคคาไรด์ ประกอบด้วยใยอาหารหลากหลายชนิด ซึ่ง 5 ใยอาหารหลัก (5 Oligosaccharide หรือ 5 HMO เช่น 2’FL, DFL, LNT, 6’SL และ 3’SL) มีช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันในเด็กเล็ก รวมไปถึงนมแม่จะมีโพรไบโอติกหลายชนิด เช่น B.lactis (บีแล็กทิส) ซึ่งเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการเกิดภูมิแพ้ แต่หากคุณแม่ไม่สามารถให้นมลูกน้อยได้ด้วยตนเอง เนื่องจากปัญหาสุขภาพหรือมีน้ำนมน้อย คุณแม่อาจปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับนมสูตร HA ที่มีโปรตีนถูกย่อยเป็นสายสั้น ๆ ซึ่งมีผลงานวิจัยรองรับว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดผื่นผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ และการแพ้โปรตีนนมวัว ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการป้องกันโรคภูมิแพ้ของไทย และอาจมองหานมที่มีส่วนผสมของจุลินทรีย์สุขภาพ หรือที่เรียกกันว่าโพรไบโอติกส์ เช่น บิฟิดัสหรือแลคโตบาซิลลัส, แรมโนซัส จีจี ก็สามารถช่วยเสริมภูมิต้านทานให้กับลูกน้อยได้ดียิ่งขึ้น

 

วิธีรับมือและการป้องกันโรคภูมิแพ้ในคนท้อง


ภูมิแพ้เป็นโรคที่อาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของลูกน้อยในระยะยาว สิ่งสำคัญคือหากคุณพ่อคุณแม่เข้าใจถึงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด จะทำให้คุณพ่อคุณแม่สามารถวางแผนการป้องกันโรคภูมิแพ้และจัดการปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้ ทั้งด้านอาหาร และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงไม่ให้ลูกน้อยต้องเผชิญปัญหาจากโรคภูมิแพ้ได้นั่นเอง


บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 


อ้างอิง:

  1. แนวทางปฏิบัติในการป้องกันโรคภูมิแพ้ของประเทศไทย, สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
  2. มลพิษ PM2.5 ต่อสุขภาพเด็กและทารกในครรภ์, แถลงข่าวจากราชวิทยาลัยกุมารแห่งประเทศไทย
  3. โรคภูมิแพ้, คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  4. นมแม่กับอาการโรคภูมิแพ้, สมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย
  5. Probiotics. The World Allergy Organization journal, World Allergy Organization-McMaster University Guidelines for Allergic Disease Prevention
  6. Maternal smoking in pregnancy and its influence on childhood asthma, European Respiratory Society
  7. Gestational diabetes, atopic dermatitis, and allergen sensitization in early childhood, The Journal of allergy and clinical immunology
     

บทความแนะนำ

หยุดกินยาคุม 1 เดือน จะท้องไหม ว่าที่คุณแม่เลิกกินยาคุมกี่เดือนท้องได้

หยุดกินยาคุม 1 เดือน จะท้องไหม ว่าที่คุณแม่เลิกกินยาคุมกี่เดือนท้องได้

หยุดกินยาคุม 1 เดือน จะท้องไหม เลิกกินยาคุมกี่เดือนท้อง กินยาคุมมานาน เสี่ยงมีลูกยากจริงไหม ว่าที่คุณแม่ควรทำอย่างไร ถ้าอยากมีลูกเร็วหลังหยุดยาคุม

อาการท้องลด หนึ่งในสัญญาณเตือนคุณแม่ใกล้คลอด

อาการท้องลด หนึ่งในสัญญาณเตือนคุณแม่ใกล้คลอด

ท้องลด คืออะไร อาการท้องลดขณะตั้งครรภ์จะเกิดขึ้นตอนไหน อาการท้องลดของคุณแม่ คือสัญญาณใกล้คลอดจริงไหม หลังเกิดอาการท้องลด นานแค่ไหนถึงจะคลอด ไปดูกัน

คนท้องปวดก้นกบ อันตรายไหม ปวดก้นบ่อย ทำยังไงให้หายปวด

คนท้องปวดก้นกบ อันตรายไหม ปวดก้นบ่อย ทำยังไงให้หายปวด

คนท้องปวดก้นกบ เกิดจากอะไร คุณแม่ปวดก้นกบบ่อย อันตรายไหม ส่งผลอะไรกับลูกหรือเปล่า ถ้าไม่กินยา คนท้องปวดก้นหายเองได้ไหม ต้องทำยังไงให้อาการปวดหายไป

เจ็บสะดือจี๊ด ๆ ตั้งครรภ์ คนท้องเจ็บสะดือ ลูกในครรภ์จะเป็นอะไรไหม

เจ็บสะดือจี๊ด ๆ ตั้งครรภ์ คนท้องเจ็บสะดือ ลูกในครรภ์จะเป็นอะไรไหม

เจ็บสะดือจี๊ด ๆ ตั้งครรภ์ อันตรายไหม อาการคนท้องเจ็บสะดือ เกิดจากสาเหตุอะไร อาการที่ชัดเจนต้องเจ็บลักษณะไหน คนท้องเจ็บสะดือแบบไหนอันตรายกับลูกในครรภ์

อาหารว่างสำหรับคนท้อง คนท้องหิวบ่อย กินขนมคนท้องอะไรได้บ้าง

อาหารว่างสำหรับคนท้อง คนท้องหิวบ่อย กินขนมคนท้องอะไรได้บ้าง

เมนูอาหารว่างสำหรับคนท้อง ขนมที่คนท้องกินได้ระหว่างวัน ช่วยบำรุงครรภ์และดีต่อสุขภาพ มีอะไรบ้าง อาหารว่างสำหรับคนท้องแบบไหนดีกับคุณแม่ท้องและลูกในครรภ์ ไปดูกัน

ท้องกลมท้องแหลมดูยังไง คุณแม่ท้องกลมท้องแหลม บอกอะไรได้บ้าง

ท้องกลมท้องแหลมดูยังไง คุณแม่ท้องกลมท้องแหลม บอกอะไรได้บ้าง

ท้องกลมท้องแหลมดูยังไง ลักษณะหน้าท้องของคุณแม่แต่ละคนแตกต่างกัน เพราะอะไร จะได้ลูกสาวหรือลูกชายดูจากท้องกลมท้องแหลมได้จริงไหม เป็นไปได้กี่เปอร์เซ็นต์

ท้องแตกลายช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่ดูแลผิวหน้าท้องยังไงได้บ้าง

ท้องแตกลายช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่ดูแลผิวหน้าท้องยังไงได้บ้าง

ท้องแตกลายลายตั้งครรภ์ เกิดจากอะไร หน้าท้องแตกลาย ผิวไม่เรียบเนียนช่วงตั้งท้อง ผิวที่หน้าท้องคุณแม่จะเป็นอย่างไร พร้อมวิธีลดอาการท้องแตกลายจากการตั้งครรภ์

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก