อายุครรภ์ 25 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 25 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 25 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 25 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

05.03.2020

ช่วงเวลาความสุขของคุณแม่ในการอุ้มท้องเดินทางมาถึงอายุครรภ์ 25 สัปดาห์ เป็นการตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาส 2 ในสัปดาห์นี้คุณแม่จะรู้สึกได้ถึงการดิ้นขยับตัวของลูกน้อยในครรภ์ที่เพิ่มมากขึ้น สำหรับสุขภาพของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ แพทย์จะนัดตรวจคัดกรองเบาหวานให้กับคุณแม่ เพื่อเช็กว่ามีภาวะเบาหวานแทรกซ้อนด้วยหรือไม่

headphones

PLAYING: อายุครรภ์ 25 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 25 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อ่าน 7 นาที

 

สรุป

  • อายุครรภ์ 25 สัปดาห์ ทารกในครรภ์จะดิ้นมากขึ้น และช่วงที่ทารกดิ้นได้เยอะจะเป็นช่วงที่ทารกในครรภ์ตื่น
  • อายุครรภ์ 25 สัปดาห์ ทารกในครรภ์จะมีน้ำหนักตัวอยู่ที่ประมาณ 600 กรัม และขนาดตัวทารกประมาณ  30-35 เซนติเมตร  เปรียบเทียบเท่ากับฟักทองหนึ่งลูกเล็ก
  • อายุครรภ์ 25 สัปดาห์ ทารกในครรภ์เริ่มที่จะได้ยินเสียงจากภายนอกครรภ์บ้างแล้ว
  • อายุครรภ์ 25 สัปดาห์ บริเวณหน้าท้องจะเริ่มมีรอยแตกลาย ที่เป็นผลมาจากน้ำหนักตัวคุณแม่ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผิวบริเวณหน้าท้องมีการยืดขยายขึ้นอย่างรวดเร็ว

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

อายุครรภ์ 25 สัปดาห์ ทารกจะดิ้นมากขึ้นเพราะอะไร

พัฒนาการของทารกในครรภ์ที่ทำให้คุณแม่รู้สึกตื่นเต้นและก็ดีใจไปพร้อมกัน คือการรับรู้ได้ถึงการดิ้นของลูกในครรภ์  แม่จะเริ่มรู้สึกว่าลูกมีการขยับ ตัวเบา ๆ มาตั้งแต่ช่วงอายุครรภ์ได้ 16-20 สัปดาห์แล้ว ซึ่งพอเข้าสู่ช่วงอายุครรภ์ 25 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ไตรมาส 2 ทารกในครรภ์จะเคลื่อนไหวร่างกายพลิกขยับตัวไปมาจนคุณแม่รู้สึกได้ถึงการดิ้นที่มากและบ่อยขึ้น การดิ้นเป็นการบอกถึงสุขภาพของทารกในครรภ์ และช่วงเวลาที่คุณแม่รู้สึกว่าลูกดิ้นมาก จะเป็นช่วงเวลาที่ลูกในท้องตื่น

 

วิธีนับลูกดิ้น คุณแม่นับยังไงได้บ้าง มีกี่วิธี

  • วิธีที่ 1 จะนับลูกดิ้นหลังคุณแม่รับประทานอาหารอิ่ม 3 มื้อ โดยให้นับการดิ้นของลูก นับครั้งละ 1 ชั่วโมง ลูกต้องมีการดิ้นให้ได้ไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง
  • วิธีที่ 2 จะนับลูกดิ้นในช่วงเวลา 8 โมงเช้า ถึง 12.00 น.(เที่ยง) ในระหว่าง 4 ชั่วโมงนี้ลูกต้องดิ้นให้ได้ 10 ครั้งเป็นอย่างน้อย

 

ตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์ ทารกจะมีน้ำหนักเท่าไหร่

ทารกในครรภ์ที่อายุครรภ์ 25 สัปดาห์ จะอยู่ในช่วงการตั้งครรภ์เดือนที่ 6 ทารกจะมีการพัฒนาสร้างอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การเริ่มพัฒนาขึ้นของลายนิ้วมือ ลายนิ้วเท้า ทารกเริ่มเปิด ปิดเปลือกตา ปอดมีการทำงาน และหูเริ่มที่จะได้ยินเสียงจากภายนอกครรภ์บ้างแล้ว สัปดาห์นี้ทารกในครรภ์จะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 600 กรัม

 

อาการคนท้อง 25 สัปดาห์ ที่พบได้ทั่วไป

1. ท้องแตกลาย

ผิวท้องแตกลายเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคน เมื่อเข้าสู่อายุครรภ์ 6 เดือนน้ำหนักตัวคุณแม่จะเพิ่มขึ้นส่งผลให้ผิวหนังบริเวณหน้าท้องมีการยืดขยายมาก สำหรับรอยแตกลายจะมีขนาดกว้างประมาณ 1-10 เซนติเมตร

 

2. ปวดหลัง

อายุครรภ์ที่มากขึ้นส่งผลให้กระดูกสันหลังของคุณแม่แอ่นจากการรับน้ำหนักครรภ์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนกว่าจะคลอด จึงส่งผลให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการปวดหลัง

 

3. ปัสสาวะบ่อย

คุณแม่ปัสสาวะบ่อยขณะตั้งครรภ์ถือเป็นอาการปกติ สาเหตุที่ทำให้ปัสสาวะบ่อยเป็นเพราะขนาดตัวของทารกในครรภ์ที่เจริญเติบโตขึ้นจนไปเบียดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้คุณแม่รู้สึกปวดปัสสาวะและเข้าห้องน้ำบ่อย

 

4. น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ตลอด 9 เดือนของการตั้งครรภ์ น้ำหนักของคุณแม่จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นมา โดยรวมแล้วอยู่ที่ประมาณ 10-15 กิโลกรัม

 

แต่หากในระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่สังเกตเห็นอาการผิดปกติเหล่านี้  คุณแม่อาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ แนะนำให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที ได้แก่

  • ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะออกมาได้
  • มีเลือดซึมออกจากช่องคลอด
  • สายตาทั้งสองข้างมีอาการพร่ามัว
  • ปวดศีรษะที่ตรงขมับซีกขวา
  • เปลือกตาบวมปิดลงมา
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้นมากผิดปกติ

 

ท้อง 25 สัปดาห์ ท้องจะใหญ่ขึ้นแค่ไหน

 

ท้อง 25 สัปดาห์ ท้องจะใหญ่ขึ้นแค่ไหน

คุณแม่อยู่ในช่วงอายุครรภ์ไตรมาส 2 เริ่มกลับมารับประทานอาหารได้มาก หลังจากอาการแพ้ท้อง ดีขึ้น ซึ่งน้ำหนักต่อเดือนจะขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม ครรภ์ของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นจนสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน และเพื่อความคล่องสบายตัวในการทำกิจวัตรประจำวัน แนะนำให้คุณแม่สวมใส่ชุดเสื้อผ้าสำหรับคนท้อง

 

ท้อง 25 สัปดาห์ ลูกในครรภ์จะตัวใหญ่แค่ไหน

ทารกในครรภ์อายุ 25 สัปดาห์มีขนาดใหญ่ขึ้น เปรียบเสมือนฟักทองลูกเล็ก หรือประมาณ 30-35 เซนติเมตร  และมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 600 กรัม ในช่วงนี้ทารกในครรภ์อาจจะมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นมาอย่างรวดเร็ว การเต้นของจังหวะหัวใจจะอยู่ที่ประมาณ 140 ครั้งต่อนาที

 

พัฒนาการของทารกในครรภ์อายุ 25 สัปดาห์

  • ในช่วงนี้ทารกในครรภ์เริ่มได้ยินเสียง
  • อวัยวะสำคัญอย่างปอดเริ่มมีการทำงาน
  • เริ่มเปิดเปลือกตาได้แล้ว
  • ลายนิ้วมือนิ้วเท้าเริ่มปรากฏขึ้นมา
  • ระบบย่อยอาหารของทารกเริ่มพัฒนาขึ้นมา

 

การดูแลตัวเอง สำหรับคุณแม่ท้อง 25 สัปดาห์

คุณแม่จะมีอาการท้องผูกที่หนักมาก เนื่องจากขนาดตัวของทารกใหญ่ขึ้นจนเคลื่อนไปเบียดลำไส้ ส่งผลให้ลำไส้ทำงานได้น้อยลง ดังนั้นเพื่อช่วยให้อาการท้องผูกดีขึ้น คุณแม่สามารถขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายได้ สามารถปฏิบัติตามได้ง่าย ๆ ดังนี้

  1. แบ่งมื้ออาหารออกเป็นมื้อย่อย ๆ และรับประทานในปริมาณที่น้อยลงต่อ 1 มื้ออาหาร
  2. เน้นการรับประทานอาหารที่มีกากใยเพิ่มมากขึ้น เช่น ผักใบเขียวต่าง ๆ ผักคะน้า ผลไม้ เช่น มะละกอ แก้วมังกร ส้ม และเปลี่ยนจากข้าวขาวมารับประทานเป็นข้าวกล้อง เป็นต้น
  3. ดื่มน้ำเปล่า 8-12 แก้วต่อวัน ประโยชน์ของการดื่มน้ำขณะตั้งครรภ์
     
    • ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น
    • ช่วยให้ทารกได้รับสารอาหารจากแม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    • ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีมากขึ้น ป้องกันไม่ให้ท้องผูก
    • ช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื้น ป้องกันการเกิดผิวหน้าท้องแตกลาย

 

เคล็ดลับสำหรับคุณพ่อคุณแม่ในช่วงอายุครรภ์ 25 สัปดาห์นี้ แนะนำให้ลูบตรงหน้าท้องคุณแม่บ่อย ๆ พูดคุยกับลูก ร้องเพลง อ่านนิทานให้ลูกฟัง หรือให้ลูกฟังเพลง เพื่อช่วยกระตุ้นพัฒนาการการได้ยินให้กับลูกน้อย หรือหาไฟฉายเล็ก ๆ มาส่องที่หน้าท้องคุณแม่ เพื่อช่วยกระตุ้นพัฒนาการการมองเห็นให้กับลูกน้อย นอกจากนี้การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หรือการดมกลิ่นหอมต่าง ๆ ยังช่วยกระตุ้นการรับรส และการรับกลิ่นของทารกได้อีกด้วยค่ะ ที่สำคัญเพื่อให้ทารกตั้งแต่แรกคลอดมีความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกาย และมีสมองการเรียนรู้ที่ดี อยากให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ค่ะ เพราะนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ วิตามิน แคลเซียม และสฟิงโกไมอีลิน ซึ่งช่วยในพัฒนาการสมอง สติปัญญา และการเจริญเติบโตของลูก รวมทั้งยังมีจุลินทรีย์สุขภาพ บีแล็กทิส (B. lactis) หนึ่งในจุลินทรีย์สุขภาพในกลุ่มบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) และยังเป็นโพรไบโอติกส์ ที่สามารถส่งต่อเพื่อสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยได้อีกด้วย

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. การดิ้นของทารกในครรภ์ สัญญาณที่คุณแม่ควรรู้, โรงพยาบาลบางปะกอก
  2. ฝากครรภ์แต่ละครั้ง ตรวจอะไรบ้าง?, โรงพยาบาลเปาโล
  3. หญิงตั้งครรภ์กับการนับลูกดิ้น, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  4. พัฒนาการของทารกในครรภ์ตลอด 9 เดือน เป็นอย่างไรบ้างนะ, โรงพยาบาลพญาไท
  5. หน้าท้องลาย..ปัญหาหนักใจของคุณแม่ตั้งครรภ์, โรงพยาบาลเปาโล
  6. คุณแม่ตั้งครรภ์กับอาการปวดหลัง, โรงพยาบาลสมิติเวช
  7. ภาวะปัสสาวะบ่อย, MedPark Hospital
  8. คุณแม่ตั้งครรภ์ ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ในแต่ละไตรมาส, โรงพยาบาลนครธน
  9. เทคนิคคุณแม่ดูแลครรภ์ 9 เดือนอย่างมีคุณภาพ, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  10. คุณแม่ตั้งครรภ์ คุมน้ำหนักอย่างไรให้พอดี, โรงพยาบาลบางปะกอก
  11. ขนาดทารกในครรภ์ ในช่วงสัปดาห์ต่าง ๆ เปรียบเทียบกับขนาดผักและผลไม้, helloคุณหมอ
  12. การดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์และพัฒนาการทารกในครรภ์, โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
  13. คุณแม่ตั้งครรภ์ รับประทานอะไรดี, โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ
  14. เรียนรู้การเคลื่อนไหว ของทารกที่อยู่ในครรภ์, โรงพยาบาลบางปะกอก
  15. พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 25 ของการตั้งครรภ์, helloคุณหมอ

อ้างอิง ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567

บทความแนะนำ

คนท้องกินหอยนางรมได้ไหม อันตรายหรือไม่ จะส่งผลอะไรกับลูกในท้องบ้าง

คนท้องกินหอยนางรมได้ไหม อันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า

คนท้องกินหอยนางรมได้ไหม หากคุณแม่ท้องกินหอยนางรมเยอะเกินไป จะเป็นอันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและไม่เป็นอันตรายกับลูกน้อย

คุณแม่ตั้งครรภ์เบิกค่าฝากครรภ์ได้กี่บาท มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

คุณแม่ตั้งครรภ์เบิกค่าฝากครรภ์ได้กี่บาท มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีสิทธิประกันสังคมต้องรู้ เบิกค่าฝากครรภ์ได้เท่าไหร่ มีขั้นตอนอะไรบ้าง เบิกค่าฝากครรภ์ออนไลน์ได้ไหม และรายละเอียดที่ช่วยให้คุณแม่สะดวกขึ้น

คนท้องเท้าบวมเพราะอะไร ปกติหรือไม่ มีวิธีลดบวมให้คุณแม่ยังไงบ้าง

คนท้องเท้าบวมเพราะอะไร ปกติหรือไม่ มีวิธีลดบวมยังไงบ้าง

คนท้องเท้าบวม เกิดจากอะไร อาการคนท้องเท้าบวม หากปล่อยไว้จะเป็นอันตรายกับคุณแม่หรือเปล่า ไปดูสัญญาณเตือนของอาการคนท้องเท้าบวมที่คุณแม่ควรรู้

ท้องผูกตั้งครรภ์อ่อน ๆ เกิดจากอะไร ทำยังไงให้คุณแม่ถ่ายง่ายขึ้น

ท้องผูกตั้งครรภ์อ่อน ๆ เกิดจากอะไร ทำยังไงให้คุณแม่ถ่ายง่ายขึ้น

ท้องผูกตั้งครรภ์อ่อน ๆ เกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ คุณแม่สามารถรับมือได้อย่างถูกวิธี โดยการรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง ดื่มน้ำมากๆ และทำตามตามคำแนะนำของแพทย์