อายุครรภ์ 40 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 40 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 40 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 40 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

05.03.2020

พัฒนาการการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์  พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 40 

headphones

PLAYING: อายุครรภ์ 40 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 40 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อ่าน 3 นาที

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 40 

 

สัปดาห์ที่ 40 คือกำหนดคลอดที่คุณหมอจะบอกคุณแม่ในวันที่มาฝากครรภ์ ซึ่งอันที่จริง อายุครรภ์ที่ครบกำหนดและรอคลอดได้ ตั้งแต่ 37 สัปดาห์แล้ว แต่เนื่องจากคุณแม่แต่ละท่าน มีการทำงานของรังไข่และฮอร์โมนไม่เหมือนกัน บางท่านแม้จะจำวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายก่อนที่จะขาดประจำเดือนได้ดี แต่กลับพบว่าเมื่อคำนวณอายุครรภ์แล้วไม่ถูกต้อง เป็นเพราะเดิมมีภาวะรังไข่ทำงานไม่ปกติ ทำให้มีการตกไข่ล่าช้า  ดังนั้น การตรวจอัลตร้าซาวด์ประเมินอายุครรภ์ควบคู่ไปด้วยเมื่อเริ่มฝากครรภ์ในไตรมาสแรกจะมีประโยชน์มาก เพื่อคำนวณกำหนดคลอดที่แม่นยำ ยิ่งในคุณแม่ที่มีประวัติผ่าตัดคลอด คุณหมอจะต้องกำหนดวันผ่าตัดคลอด การกำหนดผ่าตัดที่อายุครรภ์ 39 สัปดาห์ จึงสร้างความมั่นใจได้ว่าจะเป็นอายุครรภ์ที่ปอดลูกมีการทำงานสมบูรณ์แล้ว


พัฒนาการลูก

ลูกมีความยาวประมาณ 50 ซม. ส่วนนำของลูกจะเคลื่อนลงสู่อุ้งเชิงกราน และในกรณีที่ศีรษะเคลื่อนลงเชิงกรานได้ดี จะเริ่มกดบริเวณปากมดลูก ซึ่งจะกระตุ้นให้มีการหลั่งสารเคมีในร่างกาย ซึ่งมีฤทธิ์ในการกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัว และเมื่อมดลูกหดรัดตัวได้สม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพดี จะกระตุ้นให้ปากมดลูกเปิด ในกรณีที่ศีรษะลูกหันในทิศทางที่ผ่านลงเชิงกรานได้ดี ก็จะดันให้ปากมดลูกเปิดได้ดี และคลอดธรรมชาติได้ในที่สุด

 

 พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 40


Tips
             

  • ไม่ว่าคุณแม่จะคลอดธรรมชาติหรือผ่าตัดคลอด คุณแม่ก็สามารถให้นมลูกได้ หลังคลอด คุณหมอจะให้ลูกได้สัมผัสไออุ่นและอยู่ในอ้อมกอด สัมผัสหัวนมและเต้านมคุณแม่ให้เร็วที่สุด คุณแม่ควรดื่มน้ำสะอาดวันละ 2 ลิตร การดื่มน้ำขิง รับประทานอาหาร เช่น หัวปลี มะละกอ เต้าหู้ ใบกระเพรา มีส่วนในการกระตุ้นน้ำนมได้ดี
  • หลังคลอด คุณแม่จะมีน้ำคาวปลา เป็นสีแดงสดในช่วงแรก จากนั้นจะเป็นสีแดงจาง และเป็นลักษณะใสในที่สุด ช่วง 2 เดือนหลังคลอดเป็นช่วงที่จะยังมีน้ำคาวปลา แต่หากพบว่าผ่านไป 2สัปดาห์แล้วน้ำคาวปลายังเป็นสีแดงสด ปวดท้อง มีไข้ หรือน้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็นควรมาพบคุณหมอ
  • หลังคลอดสิ่งที่ทำให้คุณแม่รู้สึกกังวลอยู่เสมอคือรอยหมองคล้ำ เช่น ฝ้า รอยคล้ำตามขาหนีบ รักแร้ ซึ่งคุณแม่สามารถดูแลฟื้นฟูสภาพผิวได้ ด้วยการดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ลิตร ทานอาหาร ผัก ผลไม้ ที่ให้วิตามิน หรือรับประทานวิตามิน E, Zinc ( สังกะสี ) ซึ่งช่วยบำรุงผิว เส้นผม และลดรอยหมองคล้ำของผิวและแผลได้ดี 

 


บทความอื่นๆ ที่สนใจ 

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 38 

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 39 

 

อ้างอิง


บทความโดยแพทย์หญิง ธิศรา  วีรสมัย
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน สูตินรีเวช เวชศาสตร์ครอบครัว 
และเวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลพญาไท 1

 

บทความแนะนำ

รกเกาะต่ำเกิดจากอะไร อันตรายแค่ไหน สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

รกเกาะต่ำเกิดจากอะไร อันตรายแค่ไหน สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

รกเกาะต่ำเกิดจากอะไร คุณแม่มีภาวะรกเกาะต่ำ อันตรายไหม แม่ท้องจะรู้ได้ยังไงว่าตัวเองมีภาวะรกเกาะต่ำ พร้อมวิธีสังเกตอาการและวิธีป้องกันรกเกาะต่ำในคนท้อง

คนท้องเป็นริดสีดวงอันตรายไหม แม่ท้องเป็นริดสีดวงสังเกตยังไง

คนท้องเป็นริดสีดวงอันตรายไหม แม่ท้องเป็นริดสีดวงสังเกตยังไง

แม่ท้องเป็นริดสีดวง เกิดจากอะไร คุณแม่ท้องจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองเป็นริดสีดวง พร้อมวิธีสังเกตริดสีดวงคนท้อง พร้อมวิธีป้องกันริดสีดวงคนท้องระหว่างตั้งครรภ์

เข็มขัดพยุงครรภ์ควรใช้ตอนไหน ใช้เข็มขัดพยุงครรภ์อันตรายไหม

เข็มขัดพยุงครรภ์ควรใช้ตอนไหน ใช้เข็มขัดพยุงครรภ์อันตรายไหม

เข็มขัดพยุงครรภ์คืออะไร เข็มขัดพยุงครรภ์ดีไหม จำเป็นกับคุณแม่ตั้งครรภ์จริงหรือเปล่า คุณแม่ท้องควรเริ่มใส่เข็มขัดพยุงครรภ์ตอนอายุครรภ์กี่เดือน

ท้องแฝดเกิดจากอะไร คุณแม่ตั้งท้องแฝดอันตรายจริงไหม

ท้องแฝดเกิดจากอะไร คุณแม่ตั้งท้องแฝดอันตรายจริงไหม

คุณแม่ตั้งครรภ์ท้องแฝดยากไหม เกิดจากอะไร ตั้งครรภ์ท้องแฝดสี่ยงอันตรายจริงหรือเปล่า ลูกแฝดเกิดจากอะไรได้บ้าง พร้อมวิธีเตรียมตัวมีลูกแฝดสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์