ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือนของคุณแม่ บอกอะไรเกี่ยวกับลูกน้อยได้บ้าง

ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน พุงคนท้องแต่ละเดือน บอกอะไรได้บ้าง

10.03.2024

ขนาดท้องแต่ละเดือน ของคุณแม่ท้องจะสัมพันธ์กับน้ำหนักที่ขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์จะช่วยให้ทารกในครรภ์มีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ และยังช่วยให้หลังคลอดลูก คุณแม่จะมีน้ำนมพร้อมสำหรับการเลี้ยงลูกด้วย

headphones

PLAYING: ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน พุงคนท้องแต่ละเดือน บอกอะไรได้บ้าง

อ่าน 8 นาที

สรุป

  • ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน สามารถบอกได้ถึงน้ำหนัก พัฒนาการต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ และความเสี่ยงสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ด้วย
  • ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน ในช่วงการตั้งครรภ์เดือนที่ 8 ขนาดครรภ์ของคุณแม่จะขยายใหญ่มากที่สุด
  • ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน ในช่วงอายุครรภ์ 8-9 เดือน ยอดมดลูกจะโตขยายมาจนถึงลิ้นปี่
  • ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน ในช่วงอายุครรภ์ 9 เดือน จะมีอาการท้องลด ขนาดหน้าท้องมีการลดต่ำลง คุณแม่จะหายใจได้สะดวกมากขึ้น

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ติดตามขนาดหน้าท้องแต่ละเดือนและพัฒนาการของลูกน้อย

แพทย์จะนัดตรวจติดตามครรภ์คุณแม่ตลอด 9 เดือน เพื่อให้ทราบถึงพัฒนาการการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ รวมถึงขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน และสุขภาพของคุณแม่ตลอดการตั้งครรภ์

 

1. ช่วยให้แพทย์คาดคะเนอายุครรภ์ได้

แพทย์จะคาดคะเนอายุครรภ์ให้กับคุณแม่ตั้งแต่ตอนที่ฝากครรภ์ ทางการแพทย์จะแนะนำให้มีการฝากครรภ์ในช่วงอายุครรภ์ไม่มากเกินไปกว่า 12 สัปดาห์ ซึ่งอายุครรภ์จะนับตั้งแต่วันแรกของประจำเดือนรอบสุดท้าย

 

2. บ่งบอกน้ำหนักของทารก

การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักและขนาดตัวของทารกในครรภ์ในแต่ละเดือน จะขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ กรรมพันธุ์ที่รับมาจากพ่อแม่ และโภชนาการสารอาหารที่คุณแม่รับประทานขณะตั้งครรภ์ คุณแม่จะทราบน้ำหนักของลูกในท้องทุกเดือนจากที่แพทย์นัดตรวจครรภ์

 

3. บ่งบอกพัฒนาการของทารก

ขนาดครรภ์ที่พัฒนาขึ้นตลอด 9 เดือน ยังบอกได้ถึงพัฒนาการการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ระหว่างการตั้งครรภ์แพทย์จะมีการทำอัลตราซาวด์ให้กับคุณแม่ สำหรับการอัลตราซาวด์เพื่อดูพัฒนาการทารกในครรภ์ เริ่มได้ตั้งแต่ช่วงอายุครรภ์ได้ 6-8 สัปดาห์ แพทย์จะดูการเต้นของหัวใจ และขนาดตัวทารก

 

4. บ่งบอกการขยายตัวของมดลูก

หลังจากการตั้งครรภ์ผ่านไตรมาสแรกขึ้นไป ขนาดมดลูกและหน้าท้องของคุณแม่จะเริ่มขยายใหญ่ขึ้น มดลูกจะโตจากตรงบริเวณอุ้งเชิงกรานไปจนถึงสะดือ และอายุครรภ์ได้ 8-9 เดือน ยอดมดลูกจะโตขยายมาจนถึงลิ้นปี่

 

5. บ่งบอกความเสี่ยงโรคต่าง ๆ ของคุณแม่ได้

การตั้งครรภ์ไตรมาสแรก เริ่มตั้งครรภ์ถึง 14 สัปดาห์ คุณแม่จะได้รับตรวจเลือดสำหรับฝากครรภ์ครั้งที่ 1 เพื่อดูเกี่ยวกับภาวะของโรคเอดส์ กามโรค ไวรัสตับอักเสบบีและซี โรคธาลัสซีเมีย และกรุ๊ปเลือด

  • การตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 ตั้งแต่อายุครรภ์ 15-28 สัปดาห์ คุณแม่จะได้รับการตรวจเลือดเพื่อนำไปตรวจหาภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • การตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 ตั้งแต่อายุครรภ์ 29-42 สัปดาห์ แพทย์จะนัดตรวจทุก 2 สัปดาห์ โดยมีการตรวจอัลตราซาวด์เพื่อคำนวณน้ำหนักตัวและตรวจสุขภาพทารกในครรภ์

 

ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน: เดือนที่ 1

ช่วง 4 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ เป็นช่วงปฏิสนธิ ไข่กับสเปิร์มที่ผสมกันแล้วจะย้ายจากท่อนำไข่ไปฝังตัวในมดลูก จากเซลล์ขนาดเล็กจะค่อย ๆ เจริญเติบโตขึ้นเป็นตัวอ่อน ซึ่งคุณแม่ท้องแต่ละคนอาจมีการเปลี่ยนแปลงขยายของหน้าท้องที่ไม่เหมือนกัน คุณแม่ท้องบางคนอาจมีขนาดหน้าท้องใหญ่ขึ้นมาเล็กน้อย หรือคุณแม่ท้องบางคนอาจยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงของขนาดหน้าท้องในเดือนที่ 1 ของการตั้งครรภ์ เพราะทารกในครรภ์ยังมีขนาดที่เล็กมาก

 

ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน: เดือนที่ 2

ช่วง 8 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ เป็นช่วงที่ตัวอ่อนฝังตัวที่มดลูกได้อย่างสมบูรณ์ ในเดือนที่ 2 นี้ทารกจะมีรูปร่างกลม และมีความยาว 2-3 เซนติเมตร ขนาดหน้าท้องของคุณแม่ขยายใหญ่ยื่นออกมาเพียงเล็กน้อย หากสังเกตที่สะดือของคุณแม่ท้องแต่ละคนสะดืออาจจะนูนออกมา หรืออาจจะแบนราบก็ได้เช่นกัน

 

ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน: เดือนที่ 3

ช่วง 12 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ มดลูกจะมีการขยายใหญ่ขึ้นจนโผล่พ้นอุ้งเชิงกรานออกมาอยู่ในบริเวณช่องท้องน้อย ทำให้ขนาดหน้าท้องของคุณแม่เริ่มป่องยื่นออกมาเล็กน้อย

 

ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน: เดือนที่ 4

เดือนนี้ทารกในครรภ์จะมีขนาดลำตัว 8-10 นิ้ว คุณแม่จะเริ่มมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ น้ำหนักขึ้นมาประมาณครึ่งกิโลกรัมต่อสัปดาห์ ขนาดหน้าท้องจะขยายใหญ่ขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอีกเล็กน้อย จนคุณแม่จะรู้สึกว่าชุดเสื้อผ้าที่ใส่เริ่มคับ

 

ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน: เดือนที่ 5

น้ำหนักตัวของคุณแม่จะเพิ่มขึ้นมา 5-7 กิโลกรัม ทารกในครรภ์จะมีการเจริญเติบโตมีขนาดตัวใหญ่ขึ้น ซึ่งน้ำหนักตัวของคุณแม่ที่เพิ่มขึ้นในเดือนนี้ ทำให้ขนาดครรภ์ของคุณแม่ขยายใหญ่ จนเริ่มสังเกตเห็นว่าผิวบริเวณหน้าท้องเริ่มมีการแตกลาย

 

ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน: เดือนที่ 6

ทารกในครรภ์จะมีขนาดลำตัวยาว 11-14 นิ้ว ขนาดครรภ์ของคุณแม่จะขยายใหญ่ขึ้นมามาก เนื่องจากยอดมดลูกขยับขึ้นมาอยู่เหนือสะดือ มดลูกมีขนาดโตเท่ากับลูกฟุตบอล

 

ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน: เดือนที่ 7

ทารกในครรภ์จะมีน้ำหนักขึ้นมาประมาณ 1 กิโลกรัม ขนาดท้องของคุณแม่จะขยายใหญ่จนโต คุณแม่จะรู้สึกว่าหายใจได้เป็นจังหวะสั้น ๆ เท่านั้น นั่นเป็นเพราะว่ามดลูกที่โตขึ้นจนไปเบียดดันกระบังลม การเดิน การเคลื่อนไหวร่างกายของคุณแม่จะมีความอุ้ยอ้ายมาก

 

ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน: เดือนที่ 8  

น้ำคร่ำที่เพิ่มปริมาณสูงขึ้นมา ส่งผลให้ขนาดท้องของคุณแม่ในเดือนนี้มีขนาดใหญ่มากที่สุด

 

ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน: เดือนที่ 9

ทารกในครรภ์มีการเคลื่อนร่างกายลงมาอยู่ตรงช่วงกระดูกเชิงกราน จะช่วยให้คุณแม่หายใจได้คล่องสบายมากขึ้น และขนาดหน้าท้องของคุณแม่ก็จะมีการลดต่ำลงมา ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่าอาการท้องลด

 

ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน สารอาหารสำคัญสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

สารอาหารสำคัญสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

การได้รับสารอาหารที่ดีมีประโยชน์ตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน จะช่วยให้คุณแม่มีสุขภาพที่ดี และทารกในครรภ์มีพัฒนาการการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์แข็งแรง

  • โปรตีน มีความสำคัญในการเพิ่มขนาดเซลล์ต่าง ๆ ภายในร่างกาย ช่วยสร้างน้ำย่อย เพิ่มปริมาณเลือด เสริมภูมิคุ้มกัน และสร้างน้ำนมแม่ แหล่งอาหารที่อุดมด้วยโปรตีน ได้แก่ เนื้อปลา ไข่ นม เต้าหู้ เป็นต้น
  • โฟเลต มีความสำคัญในการสร้างเซลล์สมอง ระบบประสาทและไขสันหลังให้กับทารกในครรภ์ แหล่งอาหารที่อุดมด้วยโฟเลต ได้แก่ บรอกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง ผักโขม และ แคนตาลูป เป็นต้น
  • ธาตุเหล็ก ในช่วงอายุครรภ์ 4-9 เดือน ร่างกายของคุณแม่เริ่มมีการสร้างน้ำนม และเพิ่มปริมาณเลือดขึ้นในร่างกาย ดังนั้นเพื่อช่วยให้น้ำนมแม่มีคุณภาพ จึงควรรับประทานอาหารสำหรับคนท้องที่มีธาตุเหล็กเพิ่มขึ้นในมื้ออาหาร แหล่งอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก ได้แก่ เนื้อแดง ตับไก่ ไข่แดง งา คะน้า ตำลึง ผักโขม เป็นต้น
  • โอเมก้า 3 ในช่วงอายุครรภ์ 4-9 เดือน คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 ในมื้ออาหารให้เพิ่มมากขึ้น โอเมก้า 3 มีส่วนสำคัญในการสร้างเซลล์สมอง รอยหยักในสมอง ความจำ และพัฒนาสายตาของทารกในครรภ์ แหล่งอาหารที่อุดมด้วยโอเมก้า 3 ได้แก่ ปลาทูน่า ปลาทู ปลาแซลมอน เป็นต้น
  • ไอโอดีน ในช่วงอายุครรภ์ 4-9 เดือน ทารกในครรภ์จะมีการพัฒนาระบบประสาทและสมอง ให้มีการเรียนรู้และความจำที่มีประสิทธิภาพ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรับประทานอาหารที่มีไอโอดีนอย่างสม่ำเสมอ แหล่งอาหารที่อุดมด้วยไอโอดีน ได้แก่ สาหร่าย อาหารทะเลทุกชนิด และเกลือเสริมไอโอดีน
  • คาร์โบไฮเดรต ช่วยให้พลังงานแก่ร่างกายของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ กระตุ้นให้ร่างกายสดชื่นขึ้นจากการแพ้ท้อง แหล่งอาหารที่อุดมด้วยคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ ข้าว ขนมปัง ธัญพืช
  • วิตามินบี 2,6,12 คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 2,6,12 ตลอดการตั้งครรภ์ เพราะจะช่วยให้ทารกในครรภ์มีพัฒนาการการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ และช่วยให้ระบบประสาทสมองการเรียนรู้พัฒนาขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยให้ระบบเลือดภายในร่างกายสามารถลำเลียงสารอาหารและออกซิเจนไปยังอวัยวะต่าง ๆ ให้กับคุณแม่ท้องและทารกในครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แหล่งอาหารที่อุดมด้วยวิตามิน 2,6,12 ได้แก่ นม ไข่แดง เนื้อสัตว์ ตับ โยเกิร์ต ถั่วเมล็ดแห้ง ข้าวโอ๊ต มันฝรั่ง กล้วย และหอยนางรม
  • แคลเซียม เป็นสารอาหารที่สำคัญและจำเป็นตลอดการตั้งครรภ์ เพราะส่วนสำคัญของการสร้างกระดูกของทารกในครรภ์ให้เจริญเติบโตขึ้นอย่างสมบูรณ์ แหล่งอาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม ได้แก่ นม เนย และปลาตัวเล็ก ๆ กินได้ทั้งกระดูก

 

ทำไมคุณแม่ตั้งครรภ์ต้องดื่มน้ำเยอะเป็นพิเศษ

คุณแม่ท้องจำเป็นต้องดื่มน้ำให้มากเพียงพอตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน น้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญของสมอง ช่วยหล่อเลี้ยงเซลล์ในสมองของทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณแม่ท้องควรดื่มน้ำต่อวันให้ได้ 8-10 แก้ว

 

การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ได้คุณค่าสารอาหารหลากหลายครบ 5 หมู่ จะช่วยให้คุณแม่มีสุขภาพดี และทารกในครรภ์มีพัฒนาการการเจริญเติบโตสมบูรณ์แข็งแรง ที่สำคัญการรับประทานอาหารของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ยังส่งผลต่อร่างกายในการสร้างน้ำนมแม่ที่มีคุณภาพอีกด้วย นมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด มีสารอาหารสำคัญอย่างสฟิงโกไมอีลิน ดีเอชเอ ที่เป็นสารอาหารเพื่อพัฒนาสมองของลูกให้มีการเรียนรู้ได้เร็ว และมีจุลินทรีย์สุขภาพหลายสายพันธุ์ เช่น B. lactis ที่ช่วยกระตุ้นสร้างภูมิคุ้มกันในลำไส้ให้แข็งแรง

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. คุณแม่ตั้งครรภ์ ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ในแต่ละไตรมาส, โรงพยาบาลนครธน
  2. ฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด เพื่อสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์, โรงพยาบาลพญาไท
  3. รับมือกับร่างกายที่เปลี่ยนแปลงของว่าที่คุณแม่, โรงพยาบาลเปาโล
  4. ฝากครรภ์ครั้งแรกต้องทำอย่างไร ตอบข้อสงสัยคุณแม่มือใหม่, โรงพยาบาลนครธน
  5. 9 เดือน กับพัฒนาการของทารกในครรภ์, โรงพยาบาลเปาโล
  6. พุงคนท้องระยะแรก มีลักษณะอย่างไร, helloคุณหมอ
  7. หน้าท้องของคนท้อง ถ้าใช้นิ้วกดไปแล้วจะรู้สึกแข็ง ไม่สามารถยุบลงได้ ที่กี่สัปดาห์, POBPAD
  8. การดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์และพัฒนาการทารกในครรภ์, โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
  9. ท้อง 5 เดือน สิ่งที่คุณแม่ต้องเผชิญกับวิธีการรับมือ, POBPAD
  10. การตั้งครรภ์เดือนที่ 6, Siamhealth
  11. พัฒนาการของทารก สุขภาพของคุณ และเรื่องน่ารู้ในช่วงท้อง 8 เดือน, POBPAD
  12. คุณแม่ท้อง 9 เดือน กับการเปลี่ยนแปลงช่วงใกล้คลอด, POBPAD
  13. สารอาหารสำคัญ คุณแม่ตั้งครรภ์ห้ามพลาด, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  14. คุณแม่ตั้งครรภ์ รับประทานอะไรดี, โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

อ้างอิง ณ วันที่ 21 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

คุณแม่ปวดท้องน้อยหลังคลอด อันตรายหรือไม่ ควรรับมืออย่างไรบ้าง

คุณแม่ปวดท้องน้อยหลังคลอด อันตรายไหม แม่มือใหม่รับมืออย่างไรดี

อาการปวดท้องขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ อันตรายไหม เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณแม่ปวดหน่วงท้องน้อยและมีอาการปวดท้องขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ จะสังเกตได้อย่างไรบ้าง

BPD คืออะไร ทำไมคุณแม่ท้องต้องให้ความสำคัญก่อนไปอัลตราซาวด์

BPD คืออะไร ทำไมคุณแม่ท้องต้องให้ความสำคัญก่อนไปอัลตราซาวด์

BPD คือ การวัดขนาดกะโหลกศีรษะของทารกในครรภ์ ช่วยให้แพทย์ประเมินพัฒนาการของทารกได้ BPD คืออะไร ทำไมคุณแม่ควรศึกษาก่อนไปอัลตราซาวด์ท้อง ไปดูกัน

ลูกไม่ดิ้นแต่โก่งตัว ลูกดิ้นน้อยลง อันตรายไหม สังเกตได้อย่างไร

ลูกไม่ดิ้นแต่โก่งตัว ลูกดิ้นน้อยลง อันตรายไหม สังเกตได้อย่างไร

ลูกไม่ดิ้นแต่โก่งตัว ลูกดิ้นน้อยลง อันตรายไหม คุณแม่สังเกตได้อย่างไร สัญญาณอะไรที่บอกว่าลูกไม่ดิ้นแต่โก่งตัว ลูกดิ้นน้อยลงอันตรายและอาการแบบไหนที่ควรรีบไปพบแพทย์

เริ่มฝากครรภ์เมื่อไหร่ดี มีขั้นตอนอะไรที่คุณแม่มือใหม่ต้องทำบ้าง

คุณแม่มือใหม่เริ่มฝากครรภ์เมื่อไหร่ดี มีขั้นตอนอะไรที่ต้องรู้บ้าง

ฝากครรภ์ตอนไหนดีที่สุด การฝากครรภ์มีประโยชน์อย่างไร ทำไมคุณแม่ต้องรีบไปฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด ไปดูข้อดีของการฝากครรภ์กับคุณหมอที่คุณแม่ควรรู้กัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก