คนท้องติดโควิด คนท้องเป็นโควิดอันตรายไหม พร้อมวิธีดูแลตัวเอง

คนท้องติดโควิด เป็นโควิดตอนท้อง อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

02.04.2024

ในช่วงที่โควิด-19 กำลังแพร่ระบาด คุณแม่ตั้งครรภ์ควรดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการรับเชื้อโควิด เนื่องจากคนท้องติดโควิดหรือคนท้องเป็นโควิด จะมีอาการรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป เสี่ยงต่อการเสียชีวิต และมีโอกาสส่งต่อเชื้อไปยังลูกในท้องอีกด้วยโดยเฉพาะคุณแม่ที่อายุครรภ์มาก คุณแม่จึงควรทราบวิธีดูแลตัวเองและลูกในท้องอย่างถูกต้อง

headphones

PLAYING: คนท้องติดโควิด เป็นโควิดตอนท้อง อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • คนท้องเป็นโควิดมีโอกาสจะมีอาการรุนแรงกว่าคนทั่วไป และมีโอกาสแพร่เชื้อไปสู่ลูกในท้องได้ รวมถึงเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดด้วย
  • คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถฉีดวัคซีนโควิดได้ เมื่ออายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป แต่ควรเว้นระยะห่างจากวัคซีนอื่นอย่างน้อย 2 สัปดาห์
  • คุณแม่เป็นโควิดสามารถให้นมลูกได้ตามปกติ เนื่องจากเชื้อโควิดไม่สามารถแพร่ผ่านทางน้ำนมแม่ไปสู่ลูกน้อยในครรภ์ได้

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

คุณแม่ท้องเป็น 1 ใน 6 กลุ่มเปราะบาง มีความเสี่ยงรุนแรงกว่าคนทั่วไปถึง 3 เท่า โดยเฉพาะคุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 3 ถือเป็นระยะอันตราย เนื่องจากมดลูกมีขนาดใหญ่ ทำให้ปอดคุณแม่ขยายตัวไม่ดี หากติดเชื้อ อาจพบอาการรุนแรง มีโอกาสเกิดภาวะปอดอักเสบได้สูง เมื่อคุณแม่มีภาวะปอดอักเสบ จะทำให้ลูกน้อยในครรภ์ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดสูงถึง 20 เปอร์เซ็นต์

 

ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า คนท้องติดเชื้อโควิด มีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าคนทั่วไปถึง 2.5 เท่า และคุณแม่ท้องที่ติดเชื้อโควิด มีโอกาสส่งต่อเชื้อไปยังลูกในท้อง 2-5 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้น ข้อมูลอื่นยังบ่งชี้ว่ามีโอกาสคลอดก่อนกำหนดสูงถึง 15.1 เปอร์เซ็นต์

 

คนท้องติดโควิด มีผลต่อสุขภาพและทารกในครรภ์อย่างไร

อันตรายเมื่อคุณแม่ท้องติดโควิด คนท้องติดโควิด เสี่ยงต่อสุขภาพและลูกน้อยในครรภ์ ดังนี้

 

1. เชื้อโควิดส่งต่อจากแม่สู่ลูก

เมื่อคนท้องเป็นโควิดมีโอกาสที่ลูกในท้องจะติดเชื้อโควิดจากแม่ 2-5 เปอร์เซ็นต์ โดยคุณแม่ใกล้คลอดมีโอกาสส่งต่อเชื้อไปยังลูกน้อยมากกว่าคุณแม่ที่มีอายุครรภ์น้อย

 

2. ทารกคลอดก่อนกำหนด

มีรายงานการคลอดก่อนกำหนดในคุณแม่ท้องที่ติดโควิด และทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ แต่ยังไม่มีงานวิจัยที่พบว่าคนท้องมีความเสี่ยงมากขึ้นกว่าคนทั่วไป

 

3. การแท้งลูก ทารกพิการในครรภ์ ทารกเสียชีวิตในครรภ์

งานวิจัยทั่วโลกยังไม่พบว่า คนท้องที่ติดโควิด มีความเสี่ยงมากกว่าคนท้องทั่วไป

 

คนท้องติดโควิด มีผลต่อสุขภาพและทารกในครรภ์อย่างไร

 

แนวทางการฉีดวัคซีนโควิด-19 ระหว่างตั้งครรภ์

คุณแม่ท้องสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ โดยต้องมีอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ (3 เดือน) ขึ้นไป และไม่ควรฉีดพร้อมกับวัคซีนอื่น ๆ ควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 สัปดาห์ นอกจากนี้ยังพบว่า ทารกบางรายมีภูมิต้านทานโควิดตั้งแต่เกิด หลังจากที่คุณแม่ได้รับการฉีดวัคซีนอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์ที่คุณแม่ฝากครรภ์ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด

 

คุณแม่ป่วยเป็น โควิด-19 ให้นมลูกได้ไหม

เนื่องจาก ยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่แน่ชัดว่า เชื้อไวรัสโควิดสามารถติดต่อผ่านทางน้ำนมได้ ดังนั้น คุณแม่ที่เป็นโควิด หรือสงสัยว่าเป็นโควิด สามารถให้นมลูกได้ โดยใส่หน้ากากอนามัยและรักษาความสะอาดของมือเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย ในกรณีคุณแม่มีความจำเป็นที่ต้องได้รับยาเพื่อการรักษา ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการให้นมบุตร

 

คนท้องติดโควิด คุณแม่ป่วยเป็น โควิด-19 ให้นมลูกได้ไหม

 

โควิด-19 ไม่สามารถติดต่อผ่านทางน้ำนมแม่ไปสู่ทารกได้

ยังไม่มีรายงานว่า เชื้อโควิดสามารถติดต่อผ่านทางน้ำนมแม่ไปสู่ทารกได้ คุณแม่สามารถให้นมลูกได้ตามปกติ ทั้งคุณแม่กลุ่มเสี่ยง หรือกลุ่มที่ติดเชื้อโควิด โดยให้ปฏิบัติตามคำนำแนะนำอย่างเคร่งครัด

 

ข้อปฏิบัติในการให้นมทารกจากเต้า

คุณแม่ควรใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ทั้งก่อนและหลังให้นมลูก ควรอาบน้ำและเช็ดทำความสะอาดเต้านมและหัวนมก่อนทุกครั้ง ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งก่อนและหลังสัมผัสลูก หลีกเลี่ยงการไอ จาม และการหอมลูก

 

ข้อปฏิบัติกรณีคุณแม่ปั๊มนม

คุณแม่ควรใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาขณะการปั๊มนม ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งก่อนและหลังปั๊มนม ทำความสะอาดขวดนมและเครื่องปั๊มนมทุกครั้งหลังใช้งาน เก็บขวดนมในถุง และฆ่าเชื้อภายนอกถุงด้วยแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ ก่อนเก็บรักษาทุกครั้ง

 

คุณแม่ตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์ ฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม

คุณแม่ตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์สามารถฉีดวัคซีนโควิดได้ ยกเว้นกรณีมีข้อห้าม เช่น มีอาการแพ้รุนแรงจากการฉีดครั้งแรก โดยอายุครรภ์ที่แนะนำคือช่วง 3 เดือนขึ้นไป หรือ 12 สัปดาห์ขึ้นไป และควรหลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนโควิดร่วมกับวัคซีนชนิดอื่น ควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 สัปดาห์ รวมถึง คุณแม่หลังคลอดที่กำลังให้นมลูก ก็สามารถฉีดวัคซีนโควิดได้เช่นเดียวกัน

 

คุณแม่ตั้งครรภ์ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดในการดูแลร่างกายตัวเองและลูกน้อยให้แข็งแรงปลอดภัย เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิดเมื่ออายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึงดูแลจิตใจให้ผ่อนคลาย ไม่ควรเครียดหรือวิตกกังวลจนเกินไป หากคุณแม่ตั้งครรภ์ติดโควิด คนท้องเป็นโควิด ควรเข้ารับการรักษา เพื่ออยู่ในการดูแลของแพทย์โดยเร็วที่สุด

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. โควิดในหญิงตั้งครรภ์ อันตรายต่อทารกหรือไม่? มีวิธีดูแลตัวเองอย่างไรในสถาการณ์โควิด-19, โรงพยาบาล พีเอ็มจี
  2. คุณแม่ตั้งครรภ์ ดูแลตัวเองยังไงช่วงโควิด-19, โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์แนชั่นแนล อ้อมน้อย
  3. อันตรายแค่ไหนเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ป่วย COVID-19, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  4. ข้อควรรู้! สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ควรดูแลตัวเองอย่างไร?, โรงพยาบาลศิครินทร์

อ้างอิง ณ วันที่ 27 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

มดลูกหย่อนอันตรายไหม คุณแม่ควรรับมือยังไง เมื่อมดลูกหย่อน

มดลูกหย่อนอันตรายไหม คุณแม่ควรรับมือยังไง เมื่อมดลูกหย่อน

มดลูกหย่อน คืออะไร อาการมดลูกหย่อนเป็นแบบไหน มีทั้งหมดกี่ระยะ เกิดขึ้นกับช่วงวัยไหนบ้าง รักษาให้หายขาดได้ไหม พร้อมวิธีป้องกันมดลูกหย่อนในผู้หญิง

ฝังยาคุมดีไหม ได้ผลกี่เปอร์เซ็นต์ ฝังยาคุมมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ฝังยาคุมดีไหม ได้ผลกี่เปอร์เซ็นต์ ฝังยาคุมมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ฝังยาคุมเพื่อคุมกำเนิดได้ผลดีแค่ไหน การฝังยาคุมกำเนิด เหมาะกับใคร มีข้อดีข้อเสียยังไง ฝังยาคุมอยู่ได้นานกี่ปี ปลอดภัยไหม มีผลข้างเคียงหรือเปล่า

คนท้องเท้าบวมหลังคลอด คุณแม่มือเท้าบวม รับมือยังไงดี

คนท้องเท้าบวมหลังคลอด คุณแม่มือเท้าบวม รับมือยังไงดี

คนท้องเท้าบวมหลังคลอด อาการมือเท้าบวมหลังคลอด เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง คุณแม่เท้าบวมหายเองได้ไหม หากหายช้าจะเป็นอันตรายหรือเปล่า พร้อมวิธีรับมือ

ตกเลือดหลังคลอด คืออะไร อาการตกเลือดหลังคลอดอันตรายมากไหม

ตกเลือดหลังคลอด คืออะไร อาการตกเลือดหลังคลอดอันตรายมากไหม

ตกเลือดหลังคลอด คืออะไร อาการตกเลือดหลังคลอดของคุณแม่ เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง หากเลือดออกเยอะและไม่หยุดไหล จะอันตรายกับคุณแม่แค่ไหน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก