ประจำเดือนหลังคลอด จะกลับมาเมื่อไหร่ พร้อมวิธีดูแลตัวเอง

ประจำเดือนหลังคลอด จะกลับมาเมื่อไหร่ พร้อมวิธีดูแลตัวเอง

19.10.2024

ประจำเดือนหลังคลอดจะกลับมาตอนไหน ประจำเดือนหลังคลอดมา ๆ หาย ๆ ปกติไหม? แม้จะคลอดลูกแล้วการเกิดประจำเดือนของคุณแม่ก็ไม่ได้กลับมาเป็นปกติในทันที เพราะร่างกายหลังคลอดของคุณแม่นั้นต้องการเวลาในการปรับตัวสักระยะ คุณแม่หลังคลอดแต่ละคนนั้นจะมีประจำเดือนหลังคลอดช้าหรือเร็ว แตกต่างกันออกไป ตามเงื่อนไขของสุขภาพของแต่ละบุคคล

headphones

PLAYING: ประจำเดือนหลังคลอด จะกลับมาเมื่อไหร่ พร้อมวิธีดูแลตัวเอง

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • เมื่อมีการตั้งครรภ์ ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน และฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย จึงทำให้ไม่มีการตกไข่ คุณแม่ตั้งครรภ์จึงไม่มีประจำเดือน แต่เมื่อคลอดแล้วผลจากฮอร์โมนต่าง ๆ จะยังคงอยู่อีกระยะ จึงทำให้คุณแม่จะยังไม่มีประจำเดือนทันทีในหลังคลอด
  • ประจำเดือนหลังคลอดจะกลับมาตอนไหน จากสถิติพบว่าคุณแม่จำนวน 20 เปอร์เซ็นต์ จะเริ่มมีประจำเดือนในช่วง เดือนที่ 2 ถึงเดือนที่ 4 หลังการคลอด และ คุณแม่จำนวน 60 เปอร์เซ็นต์ จะเริ่มมีประจำเดือนในช่วงเดือนที่ 7 หลังการคลอด
  • คุณแม่หลังคลอด หากให้ลูกกินนมแม่เป็นประจำ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนโปรแลคติน ซึ่งฮอร์โมนนี้จะมีผลทำให้ไข่ไม่ตก ทำให้คุณแม่หลังคลอดไม่มีประจำเดือน หากคุณแม่ไม่ได้มีการให้นมแม่แล้ว ประจำเดือนจะค่อย ๆ กลับมาภายใน 6-8 สัปดาห์

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ประจำเดือนหลังคลอด ควรกลับมาเมื่อไหร่

ประจำเดือนของผู้หญิงเกี่ยวข้องกับฮอร์โมน โปรเจสเตอโรน และฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งฮอร์โมน 2 ชนิดนี้ ทำหน้าที่ควบคุมการสร้างและหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูกของผู้หญิง เมื่อมีการตั้งครรภ์ ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายจึงทำให้ไม่มีการตกไข่ ทำให้ไม่มีประจำเดือน แต่เมื่อคลอดแล้วผลจากฮอร์โมนต่าง ๆ จะยังคงอยู่อีกระยะ จึงทำให้คุณแม่ยังไม่มีประจำเดือน อีกทั้งหากคุณแม่หลังคลอดนั้น ให้ลูกกินนมแม่อย่างสม่ำเสมอ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนโปรแลคติน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีผลทำให้ไข่ไม่ตก เมื่อไข่ไม่ตกก็จะทำให้ไม่มีประจำเดือน หากคุณแม่ไม่ได้มีการให้นมแม่แล้ว ประจำเดือนจะค่อย ๆ กลับมาภายใน 6-8 สัปดาห์ 

 

จากสถิติพบว่า

  • คุณแม่จำนวน 20 เปอร์เซ็นต์ เริ่มมีประจำเดือนในช่วง เดือนที่ 2 ถึงเดือนที่ 4 หลังการคลอด
  • คุณแม่จำนวน 60 เปอร์เซ็นต์ เริ่มมีประจำเดือนในช่วงเดือนที่ 7 หลังการคลอด

 

สำหรับคุณแม่ที่ให้ลูกกินนมแม่เป็นหลักแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ คือ ให้ลูกกินนมแม่เพียงอย่างเดียว โดยไม่กินนมอื่นๆ ชนิดใดเลย ในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด อาจทำให้คุณแม่ไม่มีประจำเดือนนานถึง 6 เดือน หรือตลอดการให้ลูกกินนมแม่ เพราะโดยธรรมชาติของร่างกายจะเกิดการยับยั้งการตกไข่ได้ถึง 60-70 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ในกรณีที่คุณแม่อายุยังน้อย ร่างกายแข็งแรงมาก อาจมีการตกไข่ได้เร็วขึ้น มีประจำเดือนกลับมาได้เร็วมากกว่า ซึ่งการที่คุณแม่กลับมามีประจำเดือนเหมือนเดิมนั้น ไม่ได้ทำให้ปริมาณน้ำนมแม่ลดน้อยลง

 

ประจำเดือนหลังคลอดมาช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรบ้าง

คุณแม่ตั้งครรภ์จะพบการเปลี่ยนแปลงอย่างมากระหว่างตั้งครรภ์ เมื่อคลอดลูกแล้ว ร่างกายก็จะเริ่มปรับตัวใหม่อีกครั้ง รวมไปถึงการมีประจำเดือนหลังคลอดของคุณแม่ด้วย คุณแม่แต่ละคนจะมีประจำเดือนหลังคลอดนั้นมีระยะเวลาที่แตกต่างกันออกไปตามเงื่อนไขของสุขภาพ ได้แก่

1. ฮอร์โมน

เมื่อตั้งครรภ์ฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนโปรเจนเตอโรน จะเปลี่ยนไปทำให้ไม่มีการตกไข่ จึงทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่มีประจำเดือน หลังการคลอดแล้วอิทธิพลจากฮอร์โมนสองชนิดนี้จะคงอยู่ จึงทำให้คุณแม่หลังคลอดยังไม่มีประจำเดือนในทันที

 

2. การให้นมลูก

การให้ลูกกินนมแม่เป็นประจำ จะทำให้ประจำเดือนมาช้าลง เพราะร่างกายจะผลิตฮอร์โมนโปรแลคติน ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้จะทำให้ไข่ไม่ตก จึงส่งผลให้คุณแม่หลังคลอดที่ให้ลูกกินนมแม่ยังไม่มีประจำเดือนตามปกติ หากให้ลูกกินนมแม่น้อยลงแล้ว ระดับฮอร์โมนโปรแลคตินก็จะลดลง ประจำเดือนก็จะกลับมามีดังเดิม

 

3. ความสมบูรณ์ของร่างกาย

สุขภาพของคุณแม่แต่ละท่านย่อมมีความแตกต่างกัน ในบางคนอาจกลับมามีประจำเดือนได้ไว บางคนอาจมีประจำเดือนช้า มีระยะเวลาที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของร่างกาย และสุขภาพของแต่ละบุคคล

 

คลอดเอง ประจำเดือนหลังคลอดจะมาเร็วกว่าผ่าคลอดจริงไหม

ประจำเดือนหลังคลอดมาช้าหรือเร็วนั้น ไม่ได้อยู่ที่วิธีการของการคลอด ซึ่งโดยปกติแล้วคุณแม่แต่ละคนจะมีประจำเดือนหลังคลอดช้าเร็วแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขของภาวะความสมบูรณ์ของสุขภาพ ได้แก่ ฮอร์โมน การให้ลูกกินนมแม่ และความสมบูรณ์ ความแข็งแรง ภาวะสุขภาพร่างกายของคุณแม่แต่ละคน

 

ประจำเดือนหลังคลอดมา ๆ หาย ๆ จะเป็นอะไรไหม

หลังจากการตั้งครรภ์แล้ว ประจำเดือนของคุณแม่มักจะเปลี่ยนแปลง และจะมีประจำเดือนไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ประจำเดือนหลังคลอดมา ๆ หาย ๆ หรือประจำเดือนไม่มา 1 เดือน เป็นเพราะมีระยะเวลาของการเกิดประจำเดือนสั้นลง ยาวขึ้น หรือหนักขึ้น เบาลง หรือมากะปริบกะปรอย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของประจำเดือนหลังคลอดนี้เป็นเรื่องปกติ สาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนไม่ปกตินี้เนื่องมาจากฮอร์โมนของคุณแม่กำลังกลับสู่สภาวะปกติ รอบของประจำเดือนของคุณแม่อาจมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมได้ เช่น รอบเดือนจาก 24 วัน เป็น 35 วันในรอบถัดไป

 

ประจำเดือนหลังคลอดอาการเป็นยังไง ต่างกับประจำเดือนทั่วไปไหม

 

ประจำเดือนหลังคลอดอาการเป็นยังไง ต่างกับประจำเดือนทั่วไปไหม

หลังคลอดลูกแล้ว คุณแม่จะกลับมามีประจำเดือนตามปกติตามภาวะความสมบูรณ์ของสุขภาพ เมื่อมีประจำเดือนหลังคลอด คุณแม่อาจมีอาการที่แตกต่างจากประจำเดือนปกติ เนื่องจากร่างกายของคุณแม่หลังคลอดต้องใช้ระยะเวลาในการปรับระบบการทำงานของรอบเดือน ส่งผลให้มีอาการต่าง ๆ เกิดขึ้น ทำให้ประจำเดือนหลังคลอดมีอาการแตกต่างจากประจำเดือนที่เกิดขึ้นก่อนการตั้งครรภ์ คือ

  • ประจำเดือนมาไม่ปกติในบางครั้ง
  • ประจำเดือนมามากขึ้น
  • ประจำเดือนมาแบบกะปริบกะปรอย
  • ประจำเดือนมีลิ่มเลือดปน
  • ปวดบีบ ปวดประจำเดือนมากกว่าที่เคยเป็น
  • มีระยะเวลาของรอบเดือนไม่เหมือนเดิม เช่น ระยะเวลารอบเดือนจาก 24 วัน เป็น 35 วัน

 

ดูแลตัวเองยังไง ให้ประจำเดือนหลังคลอดกลับมาปกติ

คุณแม่ที่คลอดลูกด้วยวิธีธรรมชาติ หากมีประจำเดือนหลังคลอดในทันที ควรใช้ผ้าอนามัยในแบบปกติ ไม่ควรใช้ผ้าอนามัยแบบสอดในช่วงการมีประจำเดือนหลังคลอด การสอดผ้าอนามัยเข้าไปจะทำให้กระทบกระเทือนต่ออวัยวะส่วนนั้นได้ หากคุณแม่หลังคลอดยังไม่มีประจำเดือนหลังคลอดเพราะให้ลูกกินนมแม่ ควรคุมกำเนิดทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากการให้ลูกกินนมแม่สม่ำเสมอจะทำให้ประจำเดือนมาช้า เพราะร่างกายผลิตฮอร์โมนโปรแลคติน ซึ่งฮอร์โมนโปลแลคตินนี้จะทำให้ไข่ไม่ตก จึงทำให้คุณแม่ไม่มีประจำเดือน คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีคุมกำเนิดที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับตนเอง

 

ประจำเดือนหลังคลอดไม่มาสักที ควรไปปรึกษาแพทย์เมื่อไหร่

หากคุณแม่มีประจำเดือนหลังคลอด แล้วประจำเดือนนั้นขาดหายไป หรือมีเลือดออกกะปริบกะปรอยในระหว่างรอบเดือน ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาการเหล่านี้อาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพเช่น มีเนื้องอกในมดลูก การติดเชื้อ มีการตั้งครรภ์ในระยะแรก หรือ ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ เป็นต้น และหากคุณแม่มีประจำเดือนมาในปริมาณมาก ต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกชั่วโมง หรือ ประจำเดือนมานานเกิน 7 วัน มีลิ่มเลือดเยอะมากกว่า 1 ใน 4 ส่วน ไม่ควรชะล่าใจ ความผิดปกติเหล่านี้ควรได้รับการตรวจอย่างละเอียดจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี

 

หลังการคลอดลูกนั้น ร่างกายของคุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เช่น ทางด้านร่างกาย อารมณ์ และฮอร์โมน คุณแม่จึงต้องศึกษาข้อมูล หรือปรึกษาแพทย์ เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือ และหมั่นสังเกตตัวเองหลังคลอด ว่ามีความผิดปกติทางสุขภาพ หรือภาวะแทรกซ้อนใด ๆ เกิดขึ้นหลังคลอดหรือไม่ หากพบความผิดปกติเกิดขึ้น ไม่ควรชะล่าใจ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง และรับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 


อ้างอิง:

  1. ประเด็นหน้ารู้เกี่ยวกับ “ประจำเดือนหลังคลอด”, Premiere Home Health Care
  2. ประจำเดือนหลังคลอด เริ่มมาตอนไหน และต้องดูแลตัวเองอย่างไร, Pobpad
  3. Why Do I Have Irregular Periods After Birth?, Parents
  4. หลังคลอดประจำเดือนจะมาเมื่อไหร่ และคุณแม่ต้องดูแลตนเองอย่างไร?, โรงพยาบาลพญาไท

อ้างอิง ณ วันที่ 19 สิงหาคม 2567

บทความแนะนำ

อาการภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ คุณแม่ป้องกันได้แค่ไหน

อาการภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ คุณแม่ป้องกันได้แค่ไหน

ภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ เกิดจากหลายปัจจัยอะไรบ้าง คุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการภูมิแพ้ในเด็กของลูกน้อย พร้อมวิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงสารกระตุ้นภูมิแพ้

อาการภูมิแพ้ในเด็ก สาเหตุ อาการ พร้อมวิธีดูแลรักษาภูมิแพ้ในเด็ก

โรคภูมิแพ้ในเด็ก อาการ สาเหตุ พร้อมวิธีดูแลอาการภูมิแพ้ในเด็ก

ทำความรู้จักโรคภูมิแพ้ในเด็ก สาเหตุ อาการ และ 3 ข้อควรรู้เกี่ยวกับอาการภูมิแพ้ในเด็กที่เกิดขึ้นกับลูก ภูมิแพ้ในเด็กเกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลลูกน้อยเบื้องต้น

รู้ทันโรคภูมิแพ้ในเด็ก เด็กแพ้ฝุ่น ภูมิแพ้อาหาร ที่แม่ป้องกันได้

รู้ทันโรคภูมิแพ้ในเด็ก เด็กแพ้ฝุ่น ภูมิแพ้อาหาร ที่แม่ป้องกันได้

โรคภูมิแพ้ในเด็ก เกิดจากอะไร ลูกเป็นภูมิแพ้ฝุ่น ขนสัตว์หรือเด็กแพ้อาหาร คุณแม่ควรสังเกตสารก่อภูมิแพ้ในเด็ก พร้อมวิธีป้องกันอาการเด็กแพ้ฝุ่นและเด็กแพ้อาหาร

ลูกแพ้แลคโตส เกิดจากอะไร อาการแพ้แลคโตสทารกที่คุณแม่ต้องรู้

ลูกแพ้แลคโตส คืออะไร อาการแพ้แลคโตสทารกที่คุณแม่ต้องรู้

ลูกแพ้แลคโตส คืออะไร อาการแพ้แลคโตสทารก เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณแม่มีวิธีรับมือกับอาการแพ้แลคโตสทารกได้อย่างไร พร้อมวิธีรับมือเมื่อลูกแพ้แลคโตส

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก