6 สัญญาณอาการใกล้คลอด เมื่อคุณแม่เริ่มเจ็บท้องคลอด

อาการเจ็บท้องคลอด สัญญาณอาการใกล้คลอดที่สังเกตได้

04.03.2020

สัญญาณเตือนอาการใกล้คลอด โค้งสุดท้ายหลังจากอุ้มท้องผ่านมา 9 เดือน คุณแม่ก็เข้าสู่ช่วงนับถอยหลังเพื่อเตรียมตัวรอคลอด ต้อนรับสมาชิกตัวน้อยที่กำลังจะลืมตาดูโลก คุณแม่มือใหม่อาจสงสัยว่า อาการใกล้คลอดและเจ็บท้องคลอดมีสัญญาณอะไร และมีสิ่งไหนที่คุณแม่ต้องระวัง เพื่อถึงเวลานั้นคุณแม่จะได้เก็บกระเป๋าไปโรงพยาบาลได้อย่างท่วงที

headphones

PLAYING: อาการเจ็บท้องคลอด สัญญาณอาการใกล้คลอดที่สังเกตได้

อ่าน 5 นาที

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

อาการก่อนคลอดของคุณแม่ใกล้คลอด

เมื่อเข้าช่วงสุดท้ายของการตั้งครรภ์ อาจมีอาการสำคัญ 2-3 อย่างที่คุณแม่ต้องเฝ้าสังเกต เพื่อให้มีเวลาเตรียมความพร้อมก่อนเจ็บท้องคลอด

  1. เจ็บท้องเตือน อาการใกล้คลอดนี้มักเริ่มเกิดช่วงตั้งครรภ์เดือนที่ 8 เนื่องจากมดลูกขยายตัวเต็มที่และเคลื่อนต่ำลง คุณแม่สามารถคลำสัมผัสที่หน้าท้องและรู้สึกได้ว่ามีก้อนแข็ง ๆ นอกจากนี้มดลูกจะมีการบีบตัวให้ปวดตึงบริเวณท้องน้อย แต่เป็นระยะเวลาสั้น ๆ ไม่สม่ำเสมอ และมีจังหวะไม่แน่นอน อาการเจ็บจะหายไปเองได้เมื่อมีการเปลี่ยนท่าทาง
  2. อาการท้องลด เป็นภาวะที่ศีรษะของทารกในครรภ์เคลื่อนลงมาในอุ้งเชิงกรานเตรียมพร้อมที่จะคลอด อาการนี้อาจเกิดขึ้น 2-3 สัปดาห์ก่อนคลอด คุณแม่สังเกตได้จากที่ความสูงของยอดมดลูกลดลงเล็กน้อย คุณแม่จะรู้สึกว่าหายใจคล่องขึ้น รับประทานอาหารไม่ค่อยแน่นท้อง  แต่จะปวดหน่วงที่บริเวณช่องคลอด รวมถึงปัสสาวะบ่อยขึ้น เพราะศีรษะของลูกเบียดกระเพาะปัสสาวะให้มีพื้นที่น้อยลง
  3. มีมูกขาวข้นออกทางช่องคลอด ในระหว่างตั้งครรภ์ร่างกายจะสร้างเมือกหนาบริเวณปากมดลูก เพื่อช่วยป้องกันเชื้อโรคและแบคทีเรียไม่ให้เข้าสู่มดลูก ดังนั้นหนึ่งในสัญญาณเตือนอาการใกล้คลอด คือ มูกสีขาวข้นเหนียวที่อุดอยู่ปากมดลูกจะหลุดและไหลออกมาทางช่องคลอด เนื่องมาจากมดลูกเริ่มมีการขยายตัว โดยมักจะหลุดออกมาในช่วยก่อนคลอดประมาณ 1-2 สัปดาห์


อาการใกล้คลอด

เมื่อถึงเวลาใกล้คลอดร่างกายจะส่งสัญญาณเตือนให้รู้ ซึ่งแต่ละคนก็มีอาการเจ็บท้องคลอดหรืออาการใกล้คลอดที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ต้องสังเกตให้ดีว่าเป็นอาการเจ็บท้องเตือนหรือเจ็บท้องคลอดจริง โดยคุณแม่อาจลองสังเกตได้จากสัญญาณเตือนสำคัญเหล่านี้

  1. มูกเลือดออกทางช่องคลอด ปกติปากมดลูกของคุณแม่ตั้งครรภ์จะมีมูกเลือดป้องกันสิ่งแปลกปลอม เมื่อใกล้คลอดปากมดลูกเริ่มเปิดและขยาย ทำให้เส้นเลือดที่บริเวณปากมดลูกมีการแตก จึงมีมูกเลือดไหลออกมา ซึ่งควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์
  2. ถุงน้ำคร่ำแตก หรือที่เรียกกันว่า น้ำเดิน แสดงถึงการที่มดลูกเริ่มบีบตัวหดเล็กลง เพื่อบีบให้ศีรษะของเด็กเคลื่อนลงสู่อุ้งเชิงกราน น้ำที่ออกมาจะเป็นลักษณะใส ๆ คล้ายน้ำปัสสาวะ ไม่มีกลิ่น ซึ่งอาจจะไหลพรวดออกมาหรือค่อย ๆ ไหลออกมาก็ได้ อาการน้ำเดินมีโอกาสมากถึง 80% ที่จะคลอดภายใน 12 ชั่วโมง หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการถุงน้ำคร่ำแตก ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะเมื่อน้ำเดินหรือถุงน้ำคร่ำแตกจะมีโอกาสทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ช่องคลอดและโพรงมดลูกได้ง่าย ส่งผลให้เกิดการอักเสบติดเชื้อในโพรงมดลูก ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อคุณแม่และลูกในครรภ์
  3. เจ็บท้องคลอด จะเป็นอาการเจ็บท้องรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ในลักษณะที่เจ็บสม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง นานขึ้นและถี่ขึ้นจนกว่ากระบวนการคลอดจะสิ้นสุดลง โดยอาการเจ็บท้องคลอดนี้จะรู้สึกว่าเริ่มเจ็บที่ส่วนบนของมดลูกก่อน แล้วเจ็บร้าวลงไปข้างล่าง ท้องแข็งตึง ถ้าเดินหรือเคลื่อนไหวก็จะเจ็บมากขึ้น ส่วนใหญ่มักจะมีมูกปนเลือดออกมาทางช่องคลอดมากขึ้น อาการก่อนคลอดหรืออาการเจ็บท้องคลอดนี้จะไม่หายไปเมื่อครบ 1 ชั่วโมง คุณแม่ต้องไปโรงพยาบาลทันที

 

วิธีสังเกตอาการ “เจ็บท้องเตือน” และ “เจ็บท้องคลอด”

 

วิธีสังเกตอาการ “เจ็บท้องเตือน” และ “เจ็บท้องคลอด”

อาการใกล้คลอด เจ็บท้องคลอดของคุณแม่ในช่วงใกล้คลอด มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือเจ็บท้องเตือน กับ เจ็บท้องคลอด

 

1. เจ็บทางเตือน

อาการเจ็บท้องเตือน คือ อาการปวดท้องคล้ายกับว่าจะมีการคลอดเกิดขึ้น แต่จะไม่มีการคลอดเกิดขึ้นจริง ๆ สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่สอง ไปจนถึงไตรมาสที่สาม แต่อาการจะเริ่มรุนแรงและเห็นชัดขึ้นในช่วงก่อนคลอดไม่นาน จึงมักทำให้เกิดความสับสนว่านี่เป็นอาการเจ็บท้องคลอดจริงหรือเจ็บท้องหลอก ซึ่งมีลักษณะ ดังนี้

  • เกิดไม่สม่ำเสมอ เป็น ๆ หาย ๆ
  • เจ็บห่าง ๆ เช่น ชั่วโมงละครั้ง
  • ความรุนแรงในการปวดไม่มาก
  • ปวดท้องน้อย
  • ปากมดลูกไม่เปิดขยาย

 

2. เจ็บท้องคลอด 

อาการเจ็บท้องคลอดหรืออาการใกล้คลอด คุณแม่จะรู้สึกได้เมื่อตอนอายุครรภ์ได้ประมาณ สัปดาห์ที่ 37 ขึ้นไป เป็นอาการเจ็บท้องที่กำลังจะมีการคลอดขึ้นตามมาในไม่ช้า โดยอาการเจ็บท้องคลอดนี้ เกิดจากการหดรัดตัวของมดลูก เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่กระบวนการคลอดในเร็ว ๆ นี้ สังเกตได้ดังนี้

  • สม่ำเสมอ เช่น ปวดทุก 10 นาที
  • เจ็บถี่ขึ้น จากปวดทุก 10 นาที เป็น 5 นาที
  • ปวดแรงขึ้นเรื่อย ๆ
  • ปวดส่วนบนของมดลูกหรือยอดมดลูกและแผ่นหลัง
  • อาการปวดไม่ลดลง ถ้าเคลื่อนไหวก็จะเจ็บมาก
  • ปากมดลูกเปิดขยาย


โดยทั่วไปการเจ็บท้องคลอดจริงใช้เวลา 8-12 ชั่วโมง กว่าปากมดลูกจะเปิดขยาย คุณแม่ควรทำใจให้สบายเพื่อที่จะทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่นและรับมือกับความเจ็บปวดได้ดีขึ้น

 

อาการแบบไหนที่คุณแม่ควรรีบไปโรงพยาบาล

นอกจากอาการเจ็บท้องเตือน อาการใกล้คลอดหรือเจ็บท้องคลอดแล้ว หากมีอาการและสัญญาณเตือนอื่น ๆ เพิ่มเติมในช่วงไตรมาสสุดท้าย คุณแม่ควรรีบไปโรงพยาบาลทันที ได้แก่ 

  • มีเลือดออกทางช่องคลอด 
  • ตัวบวม หรือน้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • ลูกไม่ดิ้นหรือดิ้นน้อยลง 
  • มีไข้หรือหนาวสั่น 
  • อาการปวดท้องน้อยมากผิดปกติ
  • น้ำคร่ำเป็นสีน้ำตาล เขียว เหลือง หรือสีอื่น ๆ นอกเหนือจากสีใสหรือสีชมพู 
  • อาเจียนไม่หยุด 
  • หมดสติ
     
ป้องกันน้ำเดินหรือถุงน้ำคร่ำแตก ก่อนปวดท้องคลอดได้อย่างไร

 

ป้องกันน้ำเดินหรือถุงน้ำคร่ำแตก ก่อนปวดท้องคลอดได้อย่างไร

ปกติแล้วอาการน้ำเดินจะเกิดในช่วงอายุครรภ์ 37-40 สัปดาห์ แต่ถ้าอาการน้ำเดินเกิดขึ้นก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ถือว่าเป็นภาวะน้ำคร่ำเดินก่อนกำหนด (Premature rupture of membranes หรือ PROM) โดยภาวะน้ำเดินก่อนกำหนดพบในช่วงอายุครรภ์ครบกำหนดประมาณ 10% และก่อนอายุครรภ์ครบกำหนดประมาณ 3% ของการคลอดบุตรทั้งหมด


ภาวะน้ำเดินก่อนกำหนด ถือว่าเป็นสัญญาณเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อขึ้นที่โพรงมดลูก และเสี่ยงที่จะทำให้ทารกในครรภ์มีการติดเชื้อที่รุนแรงตามไปด้วย หรืออาจก่อให้เกิดภาวะทุพพลภาพในทารก หรือทารกเสี่ยงที่จะมีปัญหาต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ ในระยะยาว เช่น ปอดไม่สมบูรณ์ หัวใจทำงานผิดปกติ เป็นต้น

 

ถ้าแพทย์ตรวจพบว่ามีภาวะน้ำเดินก่อนกำหนดที่เป็นภาวะครรภ์เสี่ยง ส่วนใหญ่จะให้เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในจนกว่าจะคลอด ส่วนแนวทางการรักษาขึ้นอยู่กับการพิจารณาในหลายปัจจัย ซึ่งต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

 

การดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์ของคุณแม่มือใหม่เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมาก คุณแม่ตั้งครรภ์ควรฝากครรภ์แต่เนิ่น ๆ เพื่อความมั่นใจและความปลอดภัยทั้งคุณแม่และลูกน้อยและเมื่อคุณแม่มีอาการเจ็บท้องคลอด หรือมีอาการใกล้คลอด คุณแม่ควรทำใจให้สบาย เพื่อที่จะทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่นและรับมือกับความเจ็บปวดได้ดีขึ้น และเมื่อคุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย ลูกน้อยก็จะรู้สึกผ่อนคลายตามไปด้วย ที่สำคัญ คุณแม่ควรเตรียมของไปคลอดด้วย และเรื่องการเดินทางไปโรงพยาบาลให้พร้อมเพื่อจะได้ไม่ฉุกละหุก
 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 

 

บทความแนะนำ

คนท้องกินหอยนางรมได้ไหม อันตรายหรือไม่ จะส่งผลอะไรกับลูกในท้องบ้าง

คนท้องกินหอยนางรมได้ไหม อันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า

คนท้องกินหอยนางรมได้ไหม หากคุณแม่ท้องกินหอยนางรมเยอะเกินไป จะเป็นอันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและไม่เป็นอันตรายกับลูกน้อย

คุณแม่ตั้งครรภ์เบิกค่าฝากครรภ์ได้กี่บาท มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

คุณแม่ตั้งครรภ์เบิกค่าฝากครรภ์ได้กี่บาท มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีสิทธิประกันสังคมต้องรู้ เบิกค่าฝากครรภ์ได้เท่าไหร่ มีขั้นตอนอะไรบ้าง เบิกค่าฝากครรภ์ออนไลน์ได้ไหม และรายละเอียดที่ช่วยให้คุณแม่สะดวกขึ้น

คนท้องเท้าบวมเพราะอะไร ปกติหรือไม่ มีวิธีลดบวมให้คุณแม่ยังไงบ้าง

คนท้องเท้าบวมเพราะอะไร ปกติหรือไม่ มีวิธีลดบวมยังไงบ้าง

คนท้องเท้าบวม เกิดจากอะไร อาการคนท้องเท้าบวม หากปล่อยไว้จะเป็นอันตรายกับคุณแม่หรือเปล่า ไปดูสัญญาณเตือนของอาการคนท้องเท้าบวมที่คุณแม่ควรรู้

ท้องผูกตั้งครรภ์อ่อน ๆ เกิดจากอะไร ทำยังไงให้คุณแม่ถ่ายง่ายขึ้น

ท้องผูกตั้งครรภ์อ่อน ๆ เกิดจากอะไร ทำยังไงให้คุณแม่ถ่ายง่ายขึ้น

ท้องผูกตั้งครรภ์อ่อน ๆ เกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ คุณแม่สามารถรับมือได้อย่างถูกวิธี โดยการรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง ดื่มน้ำมากๆ และทำตามตามคำแนะนำของแพทย์