คลอดลูกในน้ำ ทางเลือกการคลอดลูก ด้วยวิธีธรรมชาติ สำหรับคุณแม่มือใหม่

คลอดลูกในน้ำ ทางเลือกการคลอดลูก ด้วยวิธีธรรมชาติ

17.02.2024

หลังจากอุ้มท้องมาร่วม 9 เดือนแล้ว ก็เดินทางมาถึงช่วงเวลาสำคัญ ที่คุณแม่และลูกน้อยจะได้เจอหน้ากันครั้งแรก ผ่าน ‘การคลอด’ นั่นเอง โดยการคลอดนั้นสามารถทำได้ทั้งการผ่าคลอด และการคลอดธรรมชาติ โดยพิจารณาตามการวินิจฉัยของแพทย์ วันนี้เราจะมาพูดถึงการคลอดธรรมชาติอีกวิธีหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน นั่นก็คือ ‘การคลอดในน้ำ’ 

headphones

PLAYING: คลอดลูกในน้ำ ทางเลือกการคลอดลูก ด้วยวิธีธรรมชาติ

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • การคลอดในน้ำ เป็นวิธีการคลอดธรรมชาติที่กำลังได้รับความนิยมแพร่หลายในต่างประเทศ การคลอดด้วยวิธีนี้จะช่วยให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย ลดความเจ็บปวดขณะคลอด และสามารถฟื้นตัวได้เร็ว
  • การคลอดในน้ำ ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิดในทุกขั้นตอน และเลือกโรงพยาบาลที่มีมาตรฐานเพื่อความปลอดภัย

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

คลอดลูกในน้ำ เป็นการคลอดแบบธรรมชาติที่ได้รับความสนใจและความนิยมอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ ที่มีการนำเอาหลักธาราบำบัด หรือเป็นการรักษาโดยใช้คุณสมบัติของน้ำ เช่น ความดันน้ำ แรงลอยตัว เข้ามาช่วยในเรื่องของการคลอด ด้วยการคลอดในน้ำนั้นจะใช้การเบ่งคลอดคล้ายคลึงกับการคลอดธรรมชาติแบบปกติ การคลอดด้วยวิธีนี้จะช่วยลดความเจ็บปวดขณะคลอดเนื่องจากน้ำช่วยให้ออกซิเจนสามารถไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดี ระบบเลือดไหลเวียนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้คุณแม่สามารถคลอดลูกได้ง่าย รู้สึกผ่อนคลายขึ้น

 

ข้อดีของการคลอดลูกในน้ำ สำหรับคุณแม่

การคลอดในน้ำ มีข้อดีสำหรับคุณแม่ดังนี้

  • การคลอดลูกด้วยวิธีการคลอดในน้ำ คุณแม่จะรู้สึกเจ็บปวดน้อยกว่าการคลอดธรรมชาติแบบทั่วไป รู้สึกเบาสบาย และเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระเมื่ออยู่ในอ่างน้ำอุ่น
  • การคลอดในน้ำอุ่น คุณแม่จะอยู่ในภาวะผ่อนคลาย ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟินส์เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยบรรเทาอาการปวด ลดความเครียด สามารถลดอาการเจ็บปวดได้
  • หลังคลอดร่างกายของคุณแม่จะฟื้นตัวได้เร็ว

 

ข้อดีของการคลอดลูกในน้ำ สำหรับลูกน้อย

นอกจากจะมีข้อดีสำหรับคุณแม่แล้ว การคลอดในน้ำยังมีข้อดีสำหรับทารกน้อยที่กำลังจะลืมตาดูโลกอีกด้วย ดังนี้

  • เมื่อศีรษะของทารกพ้นจากช่องคลอดแล้ว แรงดันในน้ำจะช่วยรองรับแรงกระแทกให้ทารกลอยตัวอยู่ในน้ำ และป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายจากการกระแทก
  • น้ำอุ่นมีอุณหภูมิคล้ายคลึงในน้ำคร่ำ ช่วยให้ทารกรู้สึกปลอดภัย

 

ขั้นตอนการคลอดลูกในน้ำ ที่คุณแม่ควรรู้

 

ขั้นตอนการคลอดลูกในน้ำ เป็นอย่างไร

ขั้นตอนการคลอดลูกในน้ำ แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนหลัก ๆ ได้แก่ ขั้นเตรียมการ (ก่อนคลอด) และขั้นตอนการคลอด

 

ขั้นเตรียมการ

  • คุณแม่รวมถึงคนในครอบครัวควรศึกษาข้อมูลอย่างถี่ถ้วน และขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการคลอดในน้ำ เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และเป็นประโยชน์ที่สุด
  • ควรให้แพทย์ตรวจร่างกายวินิจฉัยว่าคุณแม่สามารถคลอดด้วยวิธีการคลอดในน้ำได้หรือไม่ และควรมีแผนสำรองไว้เสมอหากวินิจฉัยแล้วว่าคลอดในน้ำไม่ได้
  • เลือกโรงพยาบาลที่มีความน่าเชื่อถือ ได้มาตรฐานสากล ทีมแพทย์และพยาบาลมีความเชี่ยวชาญ

 

ขั้นตอนการคลอด

  • คุณแม่ลงไปแช่ในอ่างน้ำอุ่นที่มีอุณหภูมิประมาณ 33-37 องศาเซลเซียส
  • เมื่อแช่น้ำจนปากมดลูกเริ่มขยายเปิดอย่างเต็มที่ คุณแม่จึงเริ่มเบ่งตามขั้นตอนการคลอดปกติ
  • ทุกขั้นตอนของการคลอดในน้ำต้องอยู่ในการดูแลของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด

 

ทำไมการคลอดลูกในน้ำ ต้องใช้น้ำอุณหภูมิ 33-37 องศาเซลเซียส

การคลอดลูกในน้ำ จำเป็นต้องให้คุณแม่ลงไปแช่ในน้ำอุ่นที่มีอุณหภูมิ 33-37 องศาเซลเซียส เพราะเป็นอุณหภูมิที่ใกล้เคียงกับถุงน้ำคร่ำมากที่สุด เพื่อให้ทารกรู้สึกปลอดภัย และสามารถปรับตัวได้ดี

 

คลอดลูกในน้ำ ต้องเลือกโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานสากล

 

คลอดลูกในน้ำ ต้องเลือกโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานสากล

การคลอดในน้ำ นอกจากการเตรียมสุขภาพร่างกายและจิตใจของคุณแม่ให้พร้อมสำหรับการคลอดแล้ว การเลือกโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานสากลก็เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนของการเตรียมความพร้อม เพื่อให้การคลอดเป็นไปอย่างราบรื่นที่สุดและปลอดภัยที่สุด สำหรับคุณแม่และทารกน้อย

 

โดยเหตุผลประการต่าง ๆ ที่ต้องเลือกโรงพยาบาลได้มาตรฐานสากลในการคลอดลูก มีดังต่อไปนี้

  1. การเลือกโรงพยาบาลที่มีความน่าเชื่อถือ ได้มาตรฐานสากล คุณแม่มั่นใจได้เลยว่าจะได้ทีมแพทย์ พยาบาลผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำแนะนำ และวางแผนการคลอดให้เป็นไปอย่างราบรื่น
  2. เพื่อจะได้รับการบริการที่ดี ดูแลทั่วถึงและครอบคลุมทุกด้าน ทำให้คุณแม่สามารถเข้าสู่กระบวนการคลอดได้อย่างสบายใจ ไร้ความกังวล
  3. มีการเตรียมน้ำ อ่างน้ำสำหรับคลอด และอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ที่ฆ่าเชื้อตามมาตรฐาน ไม่ต้องกังวลเรื่องการติดเชื้อ
  4. เมื่อผ่านกระบวนการคลอดมาแล้ว คุณแม่จะได้รับการดูแลหลังการคลอดที่ดี ทั้งการพักฟื้น การขอรับคำปรึกษา ไปจนถึงการดูแลพัฒนาการของลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิดจนโต

 

การคลอดลูกในน้ำ การคลอดลูกแบบปกติ หรือการผ่าคลอด นับเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของคุณแม่และคนในครอบครัว ดังนั้นคุณแม่จึงต้องดูแลตัวเองให้พร้อมในทุก ๆ ด้าน ศึกษาข้อมูล เตรียมการอย่างถูกต้องเหมาะสมในทุกขั้นตอนของการคลอด เพื่อให้ลูกน้อยออกมาแข็งแรงที่สุด สมกับการรอคอยมาร่วม 9 เดือน หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการคลอดหรือพบปัญหาควรขอเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที

 

นอกจากนี้ คุณแม่คนไหนที่กำลังจะคลอดเจ้าตัวเล็ก และต้องการดูฤกษ์คลอดสำหรับลูกน้อย สามารถดูฤกษ์ผ่าคลอด วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกน้อย เสริมความเป็นสิริมงคลให้ลูกน้อยได้เช่นกัน

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. คลอดธรรมชาติหรือผ่าตัดคลอดแตกต่างกันอย่างไร, โรงพยาบาลเพชรเวช
  2. สารเอ็นดอร์ฟินส์ สารสุข สร้างประโยชน์ให้ร่างกาย, MedPark Hospital
  3. “การคลอดลูกในน้ำ” ทางเลือกการคลอดวิถีธรรมชาติ ควรดูแลโดยสูติแพทย์, Hfocus
  4. Water Births, American Pregnancy Association
  5. Planning a water birth, babycentre
  6. Birth, Bath, and Beyond: The Science and Safety of Water Immersion During Labor and Birth, National Library of Medicine

อ้างอิง ณ วันที่ 2 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

เจาะน้ำคร่ำ คืออะไร เจาะน้ำคร่ำเจ็บไหม จำเป็นไหม มีความเสี่ยงอะไรบ้าง

เจาะน้ำคร่ำ คืออะไร เจาะน้ำคร่ำเจ็บไหม จำเป็นไหม มีความเสี่ยงอะไรบ้าง

เจาะน้ำคร่ำเจ็บไหม ทำไมคุณแม่ควรเจาะน้ำคร่ำในระหว่างตั้งครรภ์ การเจาะน้ำคร่ำควรเจาะตอนไหนถึงไม่เป็นอันตรายกับลูกในครรภ์ เจาะน้ำคร่ำ คืออะไร ไปทำความรู้จักกัน

คนท้องแน่นอกหายใจไม่สะดวก เกิดจากออะไร อันตรายกับลูกในท้องไหม

คนท้องแน่นอกหายใจไม่สะดวก เกิดจากออะไร อันตรายกับลูกในท้องไหม

คนท้องแน่นอกหายใจไม่สะดวก เกิดจากอะไรได้บ้าง คนท้องหายใจไม่อิ่ม จะเป็นอันตรายกับลูกในท้องไหม พร้อมวิธีดูแลตัวเอง เมื่อคนท้องแน่นอกหายใจไม่สะดวก

รกเกาะต่ำเกิดจากอะไร อันตรายแค่ไหน สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

รกเกาะต่ำเกิดจากอะไร อันตรายแค่ไหน สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

รกเกาะต่ำเกิดจากอะไร คุณแม่มีภาวะรกเกาะต่ำ อันตรายไหม แม่ท้องจะรู้ได้ยังไงว่าตัวเองมีภาวะรกเกาะต่ำ พร้อมวิธีสังเกตอาการและวิธีป้องกันรกเกาะต่ำในคนท้อง

คนท้องเป็นริดสีดวงอันตรายไหม แม่ท้องเป็นริดสีดวงสังเกตยังไง

คนท้องเป็นริดสีดวงอันตรายไหม แม่ท้องเป็นริดสีดวงสังเกตยังไง

แม่ท้องเป็นริดสีดวง เกิดจากอะไร คุณแม่ท้องจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองเป็นริดสีดวง พร้อมวิธีสังเกตริดสีดวงคนท้อง พร้อมวิธีป้องกันริดสีดวงคนท้องระหว่างตั้งครรภ์

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก