ข้อห้ามคนท้อง 1-3 เดือน คนท้องอ่อนๆ ห้ามกินอะไรบ้าง

ข้อห้ามคนท้อง 1-3 เดือน คนท้องอ่อน ๆ ไม่ควรกินอะไรบ้าง

01.04.2024

การตั้งครรภ์ 1-3 เดือนแรก เป็นช่วงเวลาที่สำคัญ โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการตั้งครรภ์มาก่อน เพราะช่วงเวลาที่ท้องอ่อน ๆ หรือ 1-3 เดือนแรก ซึ่งเท่ากับอายุครรภ์ประมาณ 13 สัปดาห์ เป็นช่วงที่ทารกในครรภ์จะเริ่มพัฒนาอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น หัวใจ สมอง ตา และปาก ซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญ ดังนั้นคุณแม่ตั้งครรภ์อ่อน ควรศึกษาและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง เพื่อเป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนหรือความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้นกับลูกในครรภ์ได้

headphones

PLAYING: ข้อห้ามคนท้อง 1-3 เดือน คนท้องอ่อน ๆ ไม่ควรกินอะไรบ้าง

อ่าน 8 นาที

 

สรุป

  • คุณแม่ตั้งครรภ์ 1-3 เดือน หรือไตรมาสแรก อาจมีอาการแพ้ท้อง อ่อนเพลียได้ง่าย และรับประทานอาหารได้น้อยลง จึงควรรับประทานอาหารอ่อน ๆ หรือย่อยง่ายเพื่อช่วยให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่เพียงพอ
  • การเจริญเติบโตของลูกในท้อง ช่วง 1-3 เดือนแรกนี้ จะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เริ่มสร้างอวัยวะ แขน ขา ตา และนิ้วมือ เมื่ออัลตราซาวด์จะเริ่มได้ยินเสียงหัวใจ แต่คุณแม่อาจจะยังไม่รู้สึกว่าลูกเคลื่อนไหวเพราะลูกยังมีขนาดที่เล็กมาก
  • คุณแม่ควรเน้นสารอาหารให้ครบ 5 หมู่อย่างเพียงพอ ในปริมาณที่เหมาะสม รวมถึงกรดโฟลิก ซึ่งมีส่วนช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยลดความเสี่ยงความพิการทางสมองได้

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ช่วงท้องไตรมาสแรก สำคัญแค่ไหน

การตั้งครรภ์ในช่วง 1-3 เดือน หรือไตรมาสแรก เรียกว่าเป็นช่วงแห่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ โดยคุณแม่จะมีอาการ เหนื่อยเพลีย อยากนอนพักตลอดเวลา รวมถึงอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ อาเจียน  เพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ส่งผลให้คุณแม่รับประทานได้น้อยลง ทำให้ลูกอาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ จึงควรรับประทานอาหารอ่อน ๆ หรือย่อยง่ายขึ้น ดังนั้นในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรกนี้ เนื่องจากลูกในครรภ์จะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว คุณแม่จึงต้องระมัดระวังการรับประทานยา หรือสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เพราะอาจส่งผลต่อพัฒนาการของลูกได้

 

การเจริญเติบโตของลูกในท้อง ช่วง 1-3 เดือนแรก

 

ข้อห้ามคนท้อง 1-3 เดือน อะไรบ้างไม่ควรทำอย่างยิ่ง !

ช่วงเวลาที่ตั้งครรภ์เป็นการพัฒนาอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ของลูกน้อย คุณแม่จึงจำเป็นต้องระมัดระวังพฤติกรรมและอาหารการกินต่าง ๆ เป็นพิเศษ ซึ่งอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกในครรภ์ได้ ซึ่งได้รวบรวมข้อควรระวัง ต่าง ๆ ไว้แล้ว ดังนี้

  • งด สูบบุหรี่ ถือเป็นข้อห้ามโดยเด็ดขาด เพราะสารเสพติดในบุหรี่อาจส่งผลกระทบเสี่ยงต่อการแท้ง การคลอดก่อนกำหนด และความผิดปกติของลูกในครรภ์ได้
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พอคุณแม่ทราบว่าตั้งครรภ์ต้องงดดื่มแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด เพราะมีอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์เป็นอย่างมาก อาจส่งผลให้มีโอกาสพิการได้มากขึ้น อาทิ ปัญญาอ่อน หัวใจผิดปกติ หรืออาจรุนแรงให้เสียชีวิตขณะคลอดได้ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าหากคุณแม่ตั้งครรภ์ยิ่งดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากขึ้นเท่าไร จะยิ่งส่งผลเสียต่อลูกในครรภ์มากขึ้นเท่านั้น ทางที่ดีที่สุด คุณแม่จึงไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์ตลอดการตั้งครรภ์ รวมถึงช่วงให้นมลูกด้วยนะคะ
  • เลี่ยงยกของหนัก อาจทำให้เกิดภาวะเสี่ยงแท้ง หรือภาวะแท้งคุกคาม ได้ โดยเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์ 1-3 เดือนแรก คุณแม่จึงควรหลีกเลี่ยงยกของหนัก หรือทำกิจกรรมที่ใช้ร่างกายมากเกินไป
  • เลี่ยงความเครียด เมื่อคุณแม่มีความเครียด ร่างกายจะหลั่งสารเคมีและฮอร์โมนความเครียด หรือที่เรียกว่า ฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งอาจส่งผลต่อลูกในครรภ์ทำให้มีพัฒนาการเจริญเติบโตช้า เสี่ยงต่อการแท้ง หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงมดลูกและรกเกิดการหดตัวได้ ซึ่งมีผลต่อปริมาณออกซิเจนที่ส่งไปถึงลูก
  • ไม่ควรทำกิจกรรมผาดโผน รวมถึงการออกกำลังกายที่หักโหมมากเกินไป รวมถึงไม่ควรทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายนานมากเกิน 30 นาทีต่อครั้ง แต่คุณแม่สามารถทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายแบบเบา ๆ ได้ เช่น การเดิน โยคะสำหรับคนท้อง ว่ายน้ำ และการทำงานบ้านแบบเบา ๆ โดยระหว่างทำกิจกรรมเหล่านั้น ควรดื่มน้ำบ่อย ๆ ให้เพียงพอ  เพื่อป้องกันอุณหภูมิในร่างกายสูงเกินไป
  • ห้ามเสพสารเสพติด คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เสพสารเสพติด ถือว่ามีความอันตรายสูงมากต่อลูกน้อยในครรภ์ เช่น การสูบบุหรี่ ส่งผลต่อการพัฒนาเซลล์ประสาทของลูก และเกิดการหดตัวของหลอดเลือดดำที่มดลูก ส่งผลให้ลูกได้รับอาหารและออกซิเจนไม่เพียงพอเป็นต้น ดังนั้น คุณแม่ควรงดเสพสารเสพติดทุกชนิด เพราะผลกระทบที่เกิดมีแต่ผลเสียทั้งต่อคุณแม่และลูกในครรภ์
  • ห้ามเก็บอึแมว เนื่องจากอึแมวมีส่วนประกอบของทอกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis) หรือเชื้อปรสิตในแมวที่เป็นพาหะนำโรค ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อและส่งผลต่อลูกในครรภ์เกิดความผิดปกติได้ จึงควรมอบหมายหน้าที่นี้ให้แก่คุณพ่อหรือคนอื่นในครอบครัวไปก่อน

 

ข้อห้ามคนท้อง 1-3 เดือน คนท้องอ่อน ๆ ทำอะไรไม่ดีต่อลูกในครรภ์

 

คนท้องอ่อน ๆ ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต

  • การนอน การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่จะรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย จึงควรนอนในช่วงเวลากลางคืนให้ได้ 8-10 ชั่วโมง และอาจหาเวลางีบหลับช่วงบ่ายประมาณ 1 ชั่วโมง
  • การกิน คุณแม่ควรรับประทานอาหารสำหรับคนท้อง ให้ครบ 5 หมู่ และเป็นอาหารที่สดสะอาด ปลอดภัย ไม่เน้นอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล หรือไขมันสูง และควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ รวมถึงของหมักดอง และลดชา กาแฟด้วย
  • การออกกำลังกาย สามารถออกกำลังกายแบบเบา ๆ ได้ เพื่อช่วยให้ระบบย่อยทำงานได้ดียิ่งขึ้น และสุขภาพที่แข็งแรง เช่น การเดิน ทำงานบ้านเบา ๆ เป็นต้น
  • การทำงาน คุณแม่สามารถทำงานได้ตามปกติ แต่ระมัดระวังเรื่องความเครียดขณะตั้งครรภ์ เพราะอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตช้าของลูก ภาวะแท้ง และอาจส่งผลต่อลูกในเรื่องสมาธิสั้น หรือสภาพจิตใจและการปรับตัวกับสังคมในอนาคต

 

คนท้องอ่อน ๆ ไม่ควรกินอะไร เลี่ยงได้ควรเลี่ยง

  • อาหารหมักดอง เนื่องจากมีส่วนประกอบของเกลือสูง เสี่ยงต่อครรภ์เป็นพิษ
  • ชาสมุนไพร เพราะอาจทำให้เกิดอาการท้องผูก หรือได้รับสารคาเฟอีนทำให้นอนไม่หลับ
  • นมที่ไม่ได้ผ่านการพาสเจอร์ไรส์
  • อาหารกระป๋อง ส่วนใหญ่อาหารเหล่านี้จะมีส่วนประกอบของผงชูรสสูง ส่งผลให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการวิงเวียนศีรษะ หรือคลื่นไส้อาเจียนได้
  • ขนมเค้ก เนื่องจากมีแป้งและน้ำตาลสูงเป็นส่วนประกอบ
  • ครีมเทียม เป็นอาหารเพิ่มน้ำหนักแต่ไม่มีคุณค่า
  • อาหารรสจัด อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อได้
  • ไข่ดิบ อาจทำให้ปวดท้องได้
  • เนื้อสัตว์ดิบ อาจมีเชื้อโรคเจือปนได้
  • อาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำจิ้มต่าง ๆ หรือน้ำสลัด เป็นต้น

 

อาหารบำรุงคนท้อง 1-3 เดือน ให้แข็งแรงทั้งแม่และลูก

เนื่องจากอายุครรภ์ 1-3 เดือนนี้ เป็นช่วงที่สร้างอวัยวะต่าง ๆ ของลูก ดังนั้นคุณแม่ควรเน้นสารอาหารประเภทโปรตีน แป้ง และวิตามินในปริมาณที่เหมาะสมเพียงพอ โดยเฉพาะกรดโฟลิก ซึ่งมีส่วนช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยลดความพิการทางสมองได้ เมื่อได้รับในปริมาณที่เหมาะสม และไม่มากเกินไป (ไม่ควรเกิน 1 มิลลิกรัมต่อวัน หรือตามคำแนะนำของแพทย์) พบมากในผักใบเขียว บรอกโคลี และผลไม้รสเปรี้ยว

 

ท้องไตรมาสแรก มีอาการผิดปกติแบบนี้ ต้องไปพบแพทย์

ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์หากคุณแม่พบสิ่งผิดปกติควรรีบหาข้อมูลหรือปรึกษาแพทย์ และหากมีสัญญาณความผิดปกติที่รุนแรง เช่น แพ้ท้องรุนแรง เลือดออกทางช่องคลอด ปวดท้องมาก ควรรีบพบแพทย์โดยทันที เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยและตัวคุณแม่เอง

 

การเป็นคุณแม่ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่น่าจะยากมากจนเกินไป หากคุณแม่หมั่นศึกษาหาข้อมูล และปรึกษาแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ในช่วงการตั้งครรภ์ 1-3 เดือนแรก ร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย รวมถึงลูกน้อยในครรภ์ก็มีการสร้างอวัยวะต่าง ๆ ที่สำคัญ และเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งคุณแม่ควรคัดสรรสารอาหารต่าง ๆ ที่จะนำเข้าสู่ร่างกาย รวมถึงการพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงความเครียด และการทำกิจกรรมที่หนักจนเกินไป เพื่อการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์และแข็งแรงสำหรับลูกและคุณแม่เอง

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. 8 ข้อห้ามคนท้อง 1-3 เดือน สิ่งที่คุณแม่ควรระวังเพื่อลูกน้อยในครรภ์, PobPad
  2. 10 ข้อห้ามที่ “คนท้อง” ต้องรู้, โรงพยาบาลสมิติเวช
  3. ผลกระทบของการเสพสารเสพติดระหว่างตั้งครรภ์, คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  4. ช่วงตั้งครรภ์ ปัญหาสุขภาพที่คุณแม่พบบ่อย, โรงพยาบาลเปาโล
  5. คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 1-3, โรงพยาบาลบางปะกอก
  6. 9 เดือน มหัศจรรย์พัฒนาการทารกในครรภ์, โรงพยาบาลสมิติเวช
  7. การปฏิบัติตัวระหว่างตั้งครรภ์, โรงพยาบาลนวมินทร์ 9
  8. คนท้องห้ามกินอะไรบ้าง ?, โรงพยาบาลเพชรเวช
  9. Do and Don’t – อาหารสำหรับเบาหวานขณะตั้งครรภ์, โรงพยาบาลเทพธารินทร์
  10. เทคนิคการกินของคุณแม่ตั้งครรภ์...ที่จะได้สารอาหารให้ลูกน้อยเต็มๆ, โรงพยาบาลพญาไท
  11. ความเชื่อกับการดื่มเหล้าขณะตั้งครรภ์, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  12. กรดโฟลิก…ทำไมจึงจำเป็นกับคุณแม่ตั้งครรภ์, โรงพยาบาลพญาไท

อ้างอิง ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567

บทความแนะนำ

คุณแม่ท้อง 1 เดือน อาการตั้งครรภ์ 1 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ

คุณแม่ท้อง 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ

คุณแม่ท้อง 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน มีอาการแบบไหน ลูกอยู่ตรงไหน มีพัฒนาการอย่างไร เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ 1 เดือน พร้อมวิธีรับมือและวิธีดูแลทารกในครรภ์

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ อันตรายไหม ส่งผลกระทบกับคุณแม่และลูกในท้องอย่างไร

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ อันตรายกับคุณแม่ท้องและลูกในครรภ์อย่างไร

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ อาการเป็นอย่างไร หากคุณแม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะเป็นอันตรายกับลูกในครรภ์ไหม ไปดูวิธีรับมืออาการเบาหวานขณะตั้งครรภ์กัน

เวียนหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม อาการแบบนี้ใช่อาการแพ้ท้องหรือเปล่า

เวียนหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม ปวดหัวคลื่นไส้ แบบนี้แพ้ท้องหรือเปล่า

อาการเวียนหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม ปวดหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม เบื่ออาหาร เกิดจากอะไร แบบนี้คืออาการแพ้ท้องหรือเปล่า ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อมีอาการเวียนหัว

ข้อห้ามหลังผ่าคลอดมีอะไรบ้าง พร้อมวิธีลุกจากเตียง หลังผ่าคลอด

ข้อห้ามหลังผ่าคลอดมีอะไรบ้าง พร้อมวิธีลุกจากเตียงหลังผ่าตัดคลอด

ข้อห้ามหลังผ่าคลอดสำหรับคุณแม่หลังผ่าตัดคลอด มีอะไรที่ควรรู้บ้าง คุณแม่ควรดูแลตัวเองหลังผ่าตัดคลอดอย่างไร พร้อมวิธีลุกจากเตียงและวิธีลุกนั่งหลังคลอด

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก