หลังคลอดกี่เดือนถึงท้องได้ อยากมีลูกหัวปีท้ายปี แบบไหนปลอดภัย

หลังคลอดกี่เดือนถึงท้องได้ อยากมีลูกหัวปีท้ายปี แบบไหนปลอดภัย

08.04.2024

การตั้งครรภ์แต่ละครั้ง จำเป็นต้องดูแลร่างกายเป็นอย่างดี ตั้งแต่การเตรียมตัวตั้งครรภ์หรือวางแผนการมีบุตร จนกระทั่งหลังคลอด ที่ต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูสุขภาพ แต่คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจมีความคิดอยากเร่งสร้างครอบครัว อยากมีลูกหัวปีท้ายปี แต่ประจำเดือนหลังคลอดมา ๆ หาย ๆ ทำให้ไม่แน่ใจว่าตั้งครรภ์ได้แล้วหรือยัง อีกเรื่องที่สำคัญ คือ การดูระยะเวลาที่เหมาะสมว่า หลังคลอดกี่เดือนถึงท้องได้ เพื่อให้คุณแม่ได้เตรียมตัว ดูแลสุขภาพร่างกาย เตรียมความพร้อมด้านจิตใจ ก่อนการตั้งครรภ์อีกครั้ง

headphones

PLAYING: หลังคลอดกี่เดือนถึงท้องได้ อยากมีลูกหัวปีท้ายปี แบบไหนปลอดภัย

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • คุณแม่ไม่ควรตั้งครรภ์หัวปีท้ายปี เพราะสุขภาพร่างกายยังฟื้นฟูได้ไม่เต็มที่ ควรปรึกษาคุณหมอว่า หลังคลอดนานเท่าใดถึงควรตั้งครรภ์ใหม่ได้ เพื่อวางแผนการตั้งครรภ์ต่อไป
  • ประจำเดือนหลังคลอดมา ๆ หาย ๆ เกิดขึ้นได้ เพราะคุณแม่ต้องใช้เวลาในการฟื้นฟู ก่อนที่ร่างกายจะกลับมาเป็นปกติ
  • คุณแม่ให้นมลูก ประจำเดือนจะมาช้า หรืออาจไม่มาเลยในระหว่างที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่หากประจำเดือนไม่มาหลังคลอด 1 ปี ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อหาสาเหตุ

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

หลังคลอดกี่เดือนถึงท้องได้ ปัจจัยสำคัญของร่างกายคุณแม่

การตั้งครรภ์ในแต่ละครั้ง ต้องอาศัยความพร้อมของสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งคุณพ่อและคุณแม่ควรมีร่างกายที่แข็งแรง เพื่อให้การตั้งครรภ์เป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัย คุณแม่คงสงสัยว่า หลังคลอดกี่เดือนถึงท้องได้ ซึ่งต้องดูจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น

1. ความพร้อมของร่างกายคุณแม่

ร่างกายคุณแม่หลังคลอดจะเกิดการเปลี่ยนแปลง และต้องอาศัยเวลาในการฟื้นฟูสุขภาพ ให้ร่างกายกลับสู่ภาวะปกติ การดูแลสุขภาพหลังคลอด และการปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของคุณหมอจึงเป็นเรื่องสำคัญ

 

2. การดูแลมดลูกหลังคลอด

การตั้งครรภ์ ทำให้มดลูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มดลูกจึงเป็นอวัยวะที่รับบทหนักมาตลอด 9 เดือน จากเดิมที่ขนาดมดลูกคล้ายกับผลของชมพู่ ก็ต้องค่อย ๆ ขยายใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับทารกในครรภ์ ขณะที่คลอดเจ้าตัวน้อย มดลูกก็ต้องคอยบีบตัวเพื่อให้ทารกออกมา การบีบตัวของมดลูกตอนคลอดยังช่วยขับรก ขับของเสียต่าง ๆ ออกมา เมื่อผ่านการคลอดลูกแล้ว มดลูกยังต้องใช้เวลาในการบีบรัดให้กลับสู่สภาพเดิม ระหว่างนั้นคุณแม่ควรดูแลด้วยการประคบอุ่นบ้างจะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดหลังคลอดได้

 

3. การดูแลฝีเย็บ

ฝีเย็บจะอยู่ระหว่างอวัยวะเพศและทวารหนัก เมื่อคลอดธรรมชาติ คุณหมอจะกรีดให้คุณแม่คลอดได้ง่ายขึ้น และเย็บติดไว้ ทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บตึงหลังคลอดได้ การเตรียมตัวก่อนมีลูกคนต่อไป จึงควรดูแลแผลฝีเย็บให้หายดีก่อน

 

4. การเลือกรับประทานอาหาร

คุณแม่ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพราะคุณแม่ต้องเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จึงควรได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ ขณะเดียวกันร่างกายของคุณแม่เองก็ต้องได้รับการฟื้นฟู อาหารสำหรับคุณแม่ท้องจึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม เช่นเดียวกับการดื่มน้ำเปล่าให้ได้วันละ 6-8 แก้วต่อวัน

 

เมื่อคุณแม่ดูแลสุขภาพหลังคลอดได้อย่างดี และมีพร้อมแล้วสำหรับการมีลูกอีกคน ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อวางแผนการตั้งครรภ์ ขอคำแนะนำว่า หลังคลอดกี่เดือนถึงท้องได้ เพื่อให้การตั้งครรภ์ครั้งต่อไปราบรื่นและปลอดภัย

 

5. การตกไข่หลังคลอด

การตกไข่หลังคลอดของคุณแม่แต่ละคนแตกต่างกัน หากคุณแม่ไม่ได้ให้นมลูกอย่างสม่ำเสมอ อาจตกไข่ได้เร็วที่สุด 33 วันหลังคลอด ต่างจากคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นประจำ ที่การตกไข่ไม่บ่อยเท่า ประจำเดือนจะมาช้าหรืออาจไม่มีประจำเดือนเลยในช่วงที่ให้นมลูกอย่างต่อเนื่อง

 

สำหรับคุณแม่ที่วางแผนการมีบุตร และปรึกษาคุณหมอแล้วว่า หลังคลอดกี่เดือนถึงท้องได้ คุณแม่สามารถนับวันไข่ตก เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ ซึ่งในแต่ละเดือนจะมีการตกไข่เดือนละ 1 ครั้ง โดยรังไข่ทั้ง 2 ข้างจะสลับกันตกไข่ ตามปกติแล้วผู้หญิงจะมีประจำเดือนทุก 28-30 วัน ให้นับหลังจากวันที่ประจำเดือนมาเป็นวันที่ 1 เมื่อถึงวันที่ 14 จะเป็นวันที่ไข่ตกพอดี ให้มีเพศสัมพันธ์ 1-2 วันก่อนวันไข่ตก เพราะอสุจิจะสามารถรอปฏิสนธิที่รังไข่นาน 2 วัน ก็จะพอดีกับวันที่ไข่ตก

 

หลังคลอดกี่เดือนถึงท้องได้ อยากมีลูกหัวปีท้ายปี ทำได้หรือไม่

 

อยากมีลูกหัวปีท้ายปี ทำได้หรือไม่

การมีลูกหัวปีท้ายปี คือการที่คุณแม่ตั้งครรภ์ตั้งแต่ช่วง 2-6 เดือนหลังคลอด อาจเป็นช่วงที่ร่างกายยังไม่ได้รับการฟื้นฟูอย่างเต็มที่ ช่วงเวลาที่เหมาะสมควรตั้งครรภ์ให้ห่างกันอย่างน้อย 2 ปี ร่างกายคุณแม่จึงจะฟื้นตัวอย่างเต็มที่

 

มีลูกหัวปีท้ายปี มีผลเสียอย่างไร

การมีลูกหัวปีท้ายปี ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของคุณแม่มากกว่าที่คิด เพราะร่างกายยังฟื้นฟูได้ไม่เต็มที่ คุณแม่อาจรู้สึกเหน็ดเหนื่อยที่ต้องเลี้ยงดูลูกเล็กในระหว่างที่ตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงที่ลูกในท้องจะมีน้ำหนักน้อย หรือเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดได้ หากคุณแม่ตั้งครรภ์เร็ว มีลูกหัวปีท้ายปี จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้เพียงพอต่อการฟื้นฟูร่างกาย และให้ลูกในท้องได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่

 

ประจำเดือนหลังคลอด ต้องรอนานแค่ไหน

ประจำเดือนหลังคลอดของคุณแม่ อาจเริ่มมีได้ภายใน 6-8 สัปดาห์หลังคลอด กรณีที่คุณแม่ไม่ได้ให้นมลูกอย่างต่อเนื่อง แต่หากเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการให้นมลูกอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ประจำเดือนอาจมาช้า หรือไม่มีประจำเดือนเลยระหว่างที่ให้นมบุตรก็เป็นได้

 

ทำไมประจำเดือนหลังคลอดมา ๆ หาย ๆ

สาเหตุที่ประจำเดือนหลังคลอดมา ๆ หาย ๆ เพราะหลังคลอดร่างกายของคุณแม่กำลังฟื้นฟู และปรับตัวก่อนเข้าสู่สภาวะปกติ ทำให้รอบเดือนมาน้อยกะปริบกะปรอย หรือประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ อาจมา 1 เดือน แล้วเว้นไป 1-2 เดือนก็ได้ โดยช่วงเวลาการมีประจำเดือนและปริมาณของประจำเดือน อาจไม่เหมือนช่วงก่อนการตั้งครรภ์ แม้ว่าประจำเดือนจะไม่มา หรือมาไม่สม่ำเสมอ คุณแม่ก็เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ได้ จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการคุมกำเนิดที่เหมาะสม และไม่กระทบต่อการให้นมลูก

 

ประจำเดือนไม่มาหลังคลอด 1 ปี ควรปรึกษาแพทย์

ร่างกายของคุณแม่แต่ละคนแตกต่างกัน ประจำเดือนอาจมาช้า หรือไม่มาเพราะว่าให้นมลูก แต่หากประจำเดือนขาดนานเกินไป หรือประจำเดือนไม่มาหลังคลอด 1 ปี ควรปรึกษาคุณหมอ

 

สำหรับคุณแม่ที่อยากท้องลูกคนต่อไปเร็ว ๆ ควรพูดคุยกับคุณหมอ วางแผนการมีบุตรว่า หลังคลอดกี่เดือนถึงท้องได้ และคอยดูแลสุขภาพร่างกาย พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ในทุกมื้อ ดื่มน้ำเปล่าบ่อย ๆ รักษาสุขภาพกายและใจให้แข็งแรง เพื่อเตรียมความพร้อมกับการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพในครั้งต่อไป

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. คู่มือมารดาหลังคลอด และการดูแลทารกสำหรับคุณแม่, กรมอนามัย
  2. การดูแลสตรีระยะหลังคลอด (puerperium care), คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  3. นับวันไข่ตกอย่างไรไม่ให้พลาด, กรมอนามัย
  4. ลูกหัวปีท้ายปี… มีวิธีดูแลตัวเองอย่างไร, โรงพยาบาลเปาโล
  5. หลังคลอดประจำเดือนจะมาเมื่อไหร่ และคุณแม่ต้องดูแลตนเองอย่างไร?, โรงพยาบาลพญาไท

อ้างอิง ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2567

บทความแนะนำ

คุณแม่ปวดหน่วงท้องน้อยขณะตั้งครรภ์ อันตรายไหม เกิดจากอะไรได้บ้าง

อาการปวดท้องขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ ปวดหน่วงท้องน้อยตั้งครรภ์ อันตรายไหม

อาการปวดท้องขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ อันตรายไหม อาการปวดหน่วงท้องน้อยขณะตั้งครรภ์ เกิดจากอะไรได้บ้าง ปวดท้องขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ จะสังเกตได้อย่างไร

ท้องไตรมาส 3 คุณแม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้

ท้องไตรมาส 3 คุณแม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้

คุณแม่ท้องไตรมาส 3 ร่างกายของคุณแม่จะเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด คุณแม่ท้องไตรมาส 3 ควรรู้อะไรก่อนบ้าง ไปดูสัญญาณที่บอกว่าคุณแม่ใกล้คลอดแล้ว

ทำลูกแฝดยากไหม คุณแม่อยากมีลูกแฝด ทำอย่างไรได้บ้าง

อยากได้ลูกแฝดต้องอ่าน! วิธีทำลูกแฝด ทั้งทางการแพทย์และวิธีธรรมชาติ

คุณแม่อยากมีลูกแฝด การทำลูกแฝดยากไหมในปัจจุบัน หากอยากทำลูกแฝด มีวิธีไหนบ้าง ไปดูขั้นตอนการทำลูกแฝดทางการแพทย์และความแตกต่างของแฝดแท้และแฝดเทียม

คนท้องกินโซดาได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินโซดาได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินโซดาได้ไหม คนท้องกินน้ำอัดลมได้ไหม หากคุณแม่กินเยอะและบ่อยเกินไป จะเป็นอันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า ต้องกินปริมาณเท่าไหร่ถึงจะพอดี

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก