พัฒนาการ เด็ก 1 ขวบ 2 เดือน มีอะไรบ้าง พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการ เด็ก 1 ขวบ 2 เดือน มีอะไรบ้าง พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

29.08.2024

ในช่วง 3 ปีแรกของลูก เป็นช่วงเวลาทองที่คุณพ่อคุณแม่จะได้ส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ ให้ลูกอย่างใกล้ชิด พัฒนาการนั้นมีความสำคัญอย่างมากสำหรับเด็ก เพราะเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทักษะต่าง ๆ ในด้านวุฒิภาวะ และการทำหน้าที่ของอวัยวะร่างกาย ที่สอดคล้องกับการเจริญเติบโตในแต่ละช่วงวัย คุณพ่อคุณแม่จึงต้องเรียนรู้ข้อมูลและสังเกตพัฒนาการของลูก หมั่นเสริมสร้างทักษะรอบด้านต่าง ๆ ให้กับลูก เพื่อเป็นการรับมือในการเลี้ยงดูในแต่ละวัยอย่างเข้าใจ และช่วยให้ลูกเติบโตไปอย่างมีประสิทธิภาพ

headphones

PLAYING: พัฒนาการ เด็ก 1 ขวบ 2 เดือน มีอะไรบ้าง พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

อ่าน 10 นาที

 

สรุป

  • การสังเกตพัฒนาการของลูกในแต่ละช่วงวัยอย่างสม่ำเสมอ เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้คุณพ่อคุณแม่ช่วยให้ลูกน้อยได้เติบโตอย่างมีคุณภาพ มีพัฒนาการที่ดี หากพบว่าพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยของลูกไม่เป็นไปตามวัย ควรรีบพาลูกไปพบกุมารแพทย์ เพื่อปรึกษาหาแนวทางส่งเสริมพัฒนาการ หรือเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด หากมีปัญหาทางสุขภาพใด ๆ จะได้รักษาได้อย่างรวดเร็ว
  • พัฒนาการของเด็กวัย 1 ขวบ 2 เดือน ส่วนใหญ่จะสามารถยืนด้วยตัวเองได้แล้ว และสามารถเริ่มเดินก้าวเท้าได้ 2-3 ก้าว ลุก และนั่งได้เองโดยไม่ต้องช่วย สามารถหยิบจับสิ่งของขึ้นมา หรือปล่อยสิ่งของออกจากมือเองได้ เรียกพ่อแม่ได้ พูดคำที่มีความหมายพยางค์เดียวได้ ใช้ช้อนตักอาหาร ดื่มน้ำเอง ตอบสนองต่อคำขอร้องง่าย ๆ ของพ่อแม่ ทำท่าชี้บอกความต้องการตัวเอง ใช้ภาษากายขั้นพื้นฐานได้
  • คุณพ่อคุณแม่ หรือผู้เลี้ยง สามารถช่วยกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการของลูก ช่วยให้ลูกเรียนรู้ได้ดีขึ้น ผ่านการเล่น หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
  • พัฒนาการของเด็กในแต่ละคนอาจมีความช้าหรือเร็วแตกต่างกัน พ่อแม่ ผู้เลี้ยง ผู้ช่วยสามารถฝึกพัฒนาการทักษะต่าง ๆ ให้กับลูก ควรชวนลูกทำกิจกรรม ฝึกทักษะ ฝึกพัฒนาการด้วยความสนุก ไม่ควรกดดัน หรือบังคับลูก หมั่นชื่นชม ให้กำลังใจลูก เมื่อลูกทำกิจกรรมนั้นด้วยตัวเองได้สำเร็จ

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ทำไมคุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจพัฒนาการของลูก

พัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัย เป็นขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงทักษะต่าง ๆ ในด้านวุฒิภาวะ และการทำหน้าที่ของอวัยวะร่างกายของตัวบุคคล ที่สอดคล้องกับการเจริญเติบโตในแต่ละช่วงวัย ทำให้ทำสิ่งที่ซับซ้อนได้มากขึ้น ทั้งทางด้านร่างกาย ด้านสติปัญญา ด้านการสื่อสาร ด้านอารมณ์ เพื่อที่เด็กจะสามารถปรับตัวนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้

 

คุณพ่อคุณแม่ควรเอาใจใส่ สังเกตพัฒนาการเด็ก 1 ขวบ 2 เดือน และดูแลสุขภาพลูกในแต่ละช่วงวัยอย่างสม่ำเสมอ คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยกระตุ้น ส่งเสริมพัฒนาการของลูก ช่วยให้ลูกมีพัฒนาการการเรียนรู้ในทุกด้านได้ดีขึ้น และเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ หากพบว่าพัฒนาการของลูกนั้นไม่เป็นไปตามวัย หรือมีปัญหาสุขภาพเกิดขึ้น ควรรีบพาลูกไปพบกุมารแพทย์เพื่อรับการตรวจอย่างละเอียด จะได้หาแนวทางในการกระตุ้น ส่งเสริมพัฒนาการของลูกได้อย่างถูกวิธี

 

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ 2 เดือน ในแต่ละด้าน

พัฒนาการทางด้านร่างกาย

เด็กวัย 1 ขวบ 2 เดือน มีทักษะทางด้านร่างกายที่ดีขึ้น มีการเคลื่อนไหวมากขึ้น เดินเองได้ จูงมือเดินได้ สามารถยืนได้ด้วยตัวเองนาน 10 วินาที ยันตัวให้ลุกขึ้น หรือนั่งเองได้โดยไม่ต้องช่วย ดื่มน้ำจากถ้วยได้ ใช้ช้อนตักอาหารเอง แม้จะหกเลอะบ้างก็ตาม และสามารถใช้มือจับของลงในช่อง วางของซ้อนกันได้ 2 ชิ้น

 

พัฒนาการทางด้านสติปัญญา

รู้จักชื่ออวัยวะต่าง ๆ ของใบหน้า และสามารถบอกได้ 1-3 ชื่อ ทำท่าเลียนแบบท่าทาง การเคลื่อนไหวของพ่อแม่ หรือคนเลี้ยง หยิบเอาวัตถุมาชนกัน ฟัง ทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ สามารถแยกแยะ ใช้แก้วน้ำ สิ่งของได้ถูกต้อง หาของที่ซ่อนไว้เจอ มองไปที่สิ่งของหรือวัตถุที่คนเลี้ยงบอกชื่อได้อย่างถูกต้อง

 

พัฒนาการทางด้านการสื่อสาร

พูดคำที่มีความหมายพยางค์เดียวได้ ใช้ท่าทางเพื่อชี้บอกความต้องการได้ ใช้ภาษากายขั้นพื้นฐานได้ พูดทวนคำพูดที่พ่อแม่พูด ตอบสนองต่อคำขอร้องง่าย ๆ ของพ่อแม่ได้

 

พัฒนาการทางด้านอารมณ์

เด็กจะติดพ่อแม่ คนเลี้ยง ร้องไห้เมื่อพ่อแม่ คนเลี้ยงออกห่างจากตัว หรือเมื่อออกจากบ้าน รู้สึกอายคนแปลกหน้า เมื่อต้องการอยากให้พ่อแม่อ่านหนังสือให้ฟังจะยื่นหนังสือให้ เมื่อแต่งตัวให้ก็จะรู้จักกางแขน ยกขา มีของเล่นชิ้นโปรดของตัวเอง ส่งเสียงซ้ำ ๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่หรือคนเลี้ยง เด็กจะมีความรู้สึกไวต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัวมากขึ้น ความกังวลและความกลัวชัดเจนขึ้น ตกใจกับเสียงเครื่องปั่นอาหาร เครื่องซักผ้า หรือเสียงแปลก ๆ

 

เด็ก 1 ขวบ 2 เดือน ควรหนักเท่าไหร่

รายงานขององค์กรอนามัยโลก (WHO) เด็กวัย 1 ขวบ 2 เดือน เด็กผู้ชายจะมีน้ำหนักเฉลี่ย 10 กิโลกรัม ความสูงเฉลี่ย 78 เซนติเมตร และเด็กผู้หญิงจะมีน้ำหนักเฉลี่ย 9 กิโลกรัม ความสูงเฉลี่ย 76 เซนติเมตร

 

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ 2 เดือน ลูกควรเริ่มทำอะไรเองได้บ้าง

 

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ 2 เดือน ลูกทำอะไรเองได้บ้าง

พัฒนาการของเด็ก 1 ขวบ วัยนี้ส่วนใหญ่จะสามารถยืนด้วยตัวเองได้แล้ว เริ่มเดินก้าวเท้าได้ 2-3 ก้าว และในเด็กบางคนอาจจะยังต้องจูงมือเดิน เด็กบางคนเริ่มคลานขึ้นบันได จับปีนป่าย หรือเริ่มวิ่งเองได้แล้ว ขยับตัว ลุกขึ้นเอง นั่งเองโดยไม่ต้องช่วย เรียกคำพยางค์เดียวที่มีความหมาย เรียกพ่อแม่ได้ รู้จักชื่ออวัยวะต่าง ๆ ของใบหน้า และสามารถบอกได้ 1-3 ชื่อ ใช้ช้อนตักอาหาร ดื่มน้ำเอง ชี้ และแสดงท่าทางเพื่อบอกความต้องการได้ ใช้ภาษากายขั้นพื้นฐานได้ ตอบสนองต่อคำขอร้องง่าย ๆ ของพ่อแม่ได้ สามารถหยิบจับสิ่งของขึ้นมา หรือปล่อยสิ่งของออกจากมือเองได้

 

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ 2 เดือน แบบไหนที่เรียกว่าพัฒนาการช้าเกินไป

คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตพัฒนาการเด็ก 1 ขวบ 2 เดือนของลูกให้ดี หากมีลักษณะหรืออาการต่อไปนี้ ควรรีบพาลูกไปปรึกษากุมารแพทย์ เพื่อตรวจติดตามอาการในด้านพัฒนาการต่อไป

  • ลูกเคยทำบางอย่างได้ แล้วทำไม่ได้
  • ลูกคลานเองหรือยืนเองไม่ได้
  • ลูกไม่ชี้มือ
  • ลูกไม่หาสิ่งของที่พ่อแม่หรือคนเลี้ยงเอาไปซ่อน
  • ลูกไม่พูดคำง่าย ๆ พยางค์ง่าย ๆ
  • ลูกไม่ใช้ภาษา ท่าทาง เช่น การโบกมือบ๊ายบาย หรือส่ายหน้าเพื่อปฏิเสธ

 

ลูกมีพัฒนาการช้า ควรปรึกษาแพทย์ไหม

คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกในทุกช่วงวัยอย่างใกล้ชิด และหมั่นสังเกต ตรวจเช็กพัฒนาการลูกให้ดี หากพบว่าพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยของลูกไม่เป็นไปตามวัย อย่าชะล่าใจ ควรรีบพาลูกไปพบกุมารแพทย์ เพื่อปรึกษาหาแนวทางส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด หากมีปัญหาทางสุขภาพใด ๆ จะได้รับการรักษาได้อย่างทันท่วงที

 

กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 1 ขวบ 2 เดือน

1. กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย

กระตุ้นให้ลูกได้เล่นของเล่นแบบลากดึง จนลูกสามารถลากของเล่นไปเล่นได้ด้วยตัวเอง ลองให้ลูกได้ตักอาหารรับประทานเอง ถามลูก เพื่อให้ลูกชี้ตอบส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และปล่อยให้ลูกได้เดิน ยืน ขยับตัวด้วยตัวเอง

 

2. กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา

คุณพ่อคุณแม่ใช้ดินสอสี สีเมจิก หรือสีเทียนแท่งใหญ่ ขีดเขียนเป็นเส้นลงบนกระดาษให้ลูกดู แล้วค่อย ๆ จับมือลูกให้ลองจับสีแล้วขีด ๆ เขียน ๆ เริ่มจากลากเป็นเส้นไปมา จนลูกลากเส้นด้วยตัวเองได้

 

3. กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสื่อสาร

ใช้ของเล่นหรือสิ่งของที่ลูกคุ้นเคย รู้จัก เช่น ผ้าห่ม ตุ๊กตา หยิบให้ลูกดู แล้วถามว่า “นี่อะไรเอ่ย” แล้วรอให้ลูกตอบด้วยตัวเอง หรือฝึกให้ลูกทำตามคำของ่าย ๆ ให้มองไปที่หน้าลูก แล้วถามลูกว่า “ช่วยหยิบตุ๊กตาพี่หมีให้แม่ได้ไหมคะ” เมื่อลูกทำได้ และหยิบของมาถูกต้อง ให้ชื่นชม ให้กำลังใจลูก หากลูกทำไม่ได้ ให้จับมือลูกแล้วไปหยิบของสิ่งนั้นมา

 

4. กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์

ฝึกให้ลูกช่วยเหลือตัวเองได้โดยการเล่นสมมุติ เช่น การแปรงฟัน เริ่มด้วยการจับมือลูกให้แปรงฟันก่อน แล้วปล่อยให้ลูกฝึกหยิบจับแปรง แล้วแปรงฟันด้วยตัวเอง ช่วยเหลือตัวเองได้

 

กิจกรรมต่าง ๆ ที่กระตุ้นพัฒนาการเด็ก 1 ขวบ 2 เดือน คุณพ่อคุณแม่ควรชวนลูกทำด้วยความสนุก ผ่อนคลาย ไม่ควรกดดัน ทำน้ำเสียงเข้มดุ หรือบังคับเจ้าตัวเล็ก และสิ่งสำคัญที่ต้องไม่ลืมคือ คอยชื่นชม ให้กำลังใจลูก เมื่อลูกทำกิจกรรมนั้นได้ด้วยตัวเอง คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกต ดูแล เอาใจใส่พัฒนาการของลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยตรวจเช็กพัฒนาการเด็ก 1 ขวบ 2 เดือนของลูกว่าลูกมีพัฒนาการล่าช้า ไปหรือเปล่า ลูกจะได้เติบโตอย่างมีคุณภาพ หากพบว่าพัฒนาการของลูกผิดปกติ ไม่เป็นไปตามวัย หรือมีปัญหาทางด้านสุขภาพร่างกายนั้นเกิดขึ้น ควรพาลูกไปพบกุมารแพทย์ เพื่อรับการตรวจรักษา และหาแนวทางการส่งเสริมพัฒนาการของลูกอย่างถูกวิธี

 

บทความแนะนำสำหรับพัฒนาการลูกน้อย

 

 

อ้างอิง:

  1. พัฒนาการเด็ก แต่ละช่วงวัย (เด็กแรกเกิด - 6 ปี), โรงพยาบาลสมิติเวช
  2. พัฒนาการของเด็กตามช่วงวัย, โรงพยาบาลเปาโล
  3. ตารางพัฒนาการเด็กปฐมวัย, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
  4. 3 ปีแรก จังหวะทองของการพัฒนาการ, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  5. ลูกพูดช้า แก้ได้, โรงพยาบาลบางปะกอก 9
  6. CHECKLIST ลูกคุณมีพัฒนาการสมวัยหรือเปล่า, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  7. พัฒนาการของลูกน้อยเมื่ออายุ 1 ปี, UNICEF Thailand
  8. พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ 2 เดือน, Hellokhunmor
  9. คู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด – 5 ปี สำหรับผู้ปกครอง, สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

อ้างอิง ณ วันที่ 18 กรกฎาคม 2567
 

บทความแนะนำ

สังเกตอาการลูกน้อย ภูมิแพ้ในเด็ก ลูกคัดจมูกหรืออาการโควิด 19

สังเกตอาการลูกน้อย ภูมิแพ้ในเด็ก ลูกคัดจมูกหรืออาการโควิด 19

อาการลูกคัดจมูก ลูกเป็นหวัดง่าย ไม่สบายบ่อย พบได้บ่อยในเด็กเป็นภูมิแพ้และอาจเกิดจากการติดเชื้อ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการลูกน้อย พร้อมวิธีป้องกันภูมิแพ้ในเด็ก

สังเกตภูมิแพ้ในเด็ก อาการภูมิแพ้อากาศ พร้อมวิธีให้ลูกห่างจากอาการแพ้

สังเกตภูมิแพ้ในเด็ก อาการภูมิแพ้อากาศ พร้อมวิธีให้ลูกห่างจากอาการแพ้

ภูมิแพ้ในเด็กหรือเด็กแก้อากาศในวัยบอบบางเสี่ยงต่อโรคภูมิแพ้ได้ง่าย พ่อแม่สามารถรับมือและคัดกรองความเสี่ยงให้ลูกห่างจากอาการแพ้อากาศ พร้อมเสริมสร้างเกราะคุ้มกัน

อาการภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ คุณแม่ป้องกันได้แค่ไหน

อาการภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ คุณแม่ป้องกันได้แค่ไหน

ภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ เกิดจากหลายปัจจัยอะไรบ้าง คุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการภูมิแพ้ในเด็กของลูกน้อย พร้อมวิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงสารกระตุ้นภูมิแพ้

รู้ทันโรคภูมิแพ้ในเด็ก เด็กแพ้ฝุ่น ภูมิแพ้อาหาร ที่แม่ป้องกันได้

รู้ทันโรคภูมิแพ้ในเด็ก เด็กแพ้ฝุ่น ภูมิแพ้อาหาร ที่แม่ป้องกันได้

โรคภูมิแพ้ในเด็ก เกิดจากอะไร ลูกเป็นภูมิแพ้ฝุ่น ขนสัตว์หรือเด็กแพ้อาหาร คุณแม่ควรสังเกตสารก่อภูมิแพ้ในเด็ก พร้อมวิธีป้องกันอาการเด็กแพ้ฝุ่นและเด็กแพ้อาหาร

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก