พัฒนาการทารก 2-3 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

พัฒนาการทารก 2-3 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

04.03.2020

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 2-3 เดือน อาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัย คุณพ่อ คุณแม่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการอะไรลูกได้บ้าง 

headphones

PLAYING: พัฒนาการทารก 2-3 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

อ่าน 2 นาที

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 2-3 เดือน 

 

  •  ลูกเป็นอย่างไรในวัยนี้ 

เด็กวัยนี้สามารถจดจำคุณพ่อคุณแม่ได้ และยิ้มตอบเมื่อคุณพ่อคุณแม่เข้ามาเล่นกับเขา โดยไม่ได้แค่เพียงยิ้มอยู่คนเดียวเหมือนช่วงก่อนหน้านี้

  •  กระตุ้นพัฒนาการลูกได้อย่างไร  

 แม้ว่าในช่วงนี้ลูกจะยังส่งเสียงได้ไม่มากและเล่นของเล่นยังไม่เป็น กิจกรรมหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่สามารถเล่นกับเขาได้แก่ การนำของเล่นสีสดมาให้เขาจ้องมอง และเคลื่อนของเล่นไปข้างซ้ายและขวาของเขา เพื่อให้เขาฝึกมองตาม รวมทั้งการส่งเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ พูดคุยกับเขาขณะทำกิจวัตรประจำวัน เช่น ขณะป้อนนม อาบน้ำ เปลี่ยนผ้าอ้อม ร่วมกับหยุดฟัง เพื่อรอจังหวะให้เด็กเลียนแบบและส่งเสียงตาม กิจกรรมดังกล่าวนอกจากช่วยให้ลูกได้สนุกแล้ว ยังสามารถกระตุ้นพัฒนาการด้านภาษา ด้านสังคม ฝึกการกลอกตามองตาม และยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้กับคุณพ่อคุณแม่และลูกได้ 

 

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 2-3 เดือน

 

  • อาหารอะไรเหมาะกับลูก


อาหารหลักของเด็กวัยนี้คือนมแม่ คุณแม่จึงควรกินอาหาร 3 มื้อ อย่างถูกต้องตามหลักโภชนาการจนกระทั่งลูกหย่านม ทั้งนี้เพื่อให้น้ำนมแม่มีสารอาหารครบถ้วน สำหรับการขับถ่ายของลูก  เด็กวัยนี้มักไม่ถ่ายอุจจาระทุกวัน ซึ่งเป็นนิสัยการขับถ่ายปกติตามวัย แต่อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวลว่าลูกจะเกิดอาการท้องผูก การจะดูว่าลูกท้องผูกหรือไม่ ให้สังเกตจากลักษณะอุจจาระเป็นหลัก เช่น ถ้าอุจจาระนิ่ม เบ่งไม่ยาก ให้คุณพ่อคุณแม่สบายใจได้ว่าไม่ใช่อาการท้องผูก อย่างไรก็ตาม ถ้าลักษณะอุจจาระแข็ง หรือรูปร่างเหมือนเม็ดกระสุน ลูกแสดงอาการเบ่งอย่างยากลำบาก หรือมีเลือดติดมากับอุจจาระ ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อประเมินหาสาเหตุของภาวะท้องผูก 

 

เคล็ดลับคุณแม่


นอกจากนี้ในช่วงเวลาที่เขาตื่น คุณพ่อคุณแม่ควรจับให้เขาคว่ำและนำของเล่นมาล่อให้เขายกตัวให้สูงขึ้นเพื่อกระตุ้นความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณลำคอและหลัง

 


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 1-2 เดือน

พัฒนาการลูกน้อยวัย 0 - 1 เดือน 

อ้างอิง

บทความโดย แพทย์หญิงพัฎ  โรจน์มหามงคล 
กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม  โรงพยาบาลศิริราช

บทความแนะนำ

เด็กทารกนอนอ้าปาก ลูกนอนหายใจทางปาก อันตรายไหม

เด็กทารกนอนอ้าปาก ลูกนอนหายใจทางปาก อันตรายไหม

เด็กทารกนอนอ้าปากปกติไหม ลูกนอนหายใจทางปาก เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง คุณแม่ควรสังเกตอาการลูกน้อยอย่างไร เมื่อเด็กทารกนอนอ้าปากบ่อย พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

ลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว คุณแม่ดูแลลูกลิ้นขาวอย่างไรให้ถูกวิธี

ลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว คุณแม่ดูแลลูกลิ้นขาวอย่างไรให้ถูกวิธี

ลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว เกิดจากอะไร ลูกลิ้นขาวผิดปกติไหม อาการลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว คือเชื้อราในปากเด็กหรือเปล่า พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย เมื่อลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว

เด็กกัดเล็บตัวเองปกติไหม เสี่ยงติดเชื้อหรือเปล่า

เด็กกัดเล็บตัวเองปกติไหม เสี่ยงติดเชื้อหรือเปล่า

เด็กกัดเล็บตัวเอง เกิดจากอะไร ลูกน้อยกัดเล็บตัวเองบ่อย จะเสี่ยงติดเชื้อในปากหรือเปล่า คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร เมื่อรู้ว่าเด็กชอบกัดเล็บตัวเอง

สิวทารกแรกเกิด เป็นแบบไหน พร้อมวิธีดูแลทารกเป็นสิวที่หน้า

สิวทารกแรกเกิด เป็นแบบไหน พร้อมวิธีดูแลทารกเป็นสิวที่หน้า

สิวทารกเป็นยังไง เกิดจากอะไร สิวทารกแรกเกิดอันตรายไหม จะหายเองได้หรือเปล่า หรือว่าต้องทายาอะไรให้หายเร็ว คุณแม่ต้องดูแลลูกน้อยอย่างไร มีอะไรต้องระวังเป็นพิเศษไหม

ทารกจามบ่อยผิดปกติไหม ลูกจามบ่อย เป็นภูมิแพ้หรือเปล่า

ทารกจามบ่อยผิดปกติไหม ลูกจามบ่อย เป็นภูมิแพ้หรือเปล่า

เด็กทารกจามบ่อย เกิดจากอะไร ลูกจามบ่อยปกติไหม อาการแบบนี้ คือสัญญาณของภูมิแพ้ในเด็กหรือเปล่า คุณแม่ควรสังเกตอาการลูกน้อยอย่างไร เมื่อทารกจามบ่อยขึ้น

วิธีฝึกลูกนอนยาว ฝึกลูกนอนเอง ช่วยให้หลับสบายตลอดคืน

วิธีฝึกลูกนอนยาว ฝึกลูกนอนเอง ช่วยให้หลับสบายตลอดคืน

รวมวิธีฝึกลูกนอนยาว สอนลูกน้อยให้นอนหลับเองได้ ช่วยให้ลูกหลับสนิทตลอดคืน พร้อมเสริมพัฒนาการทางร่างกายและสมอง ช่วยเพิ่มเวลาพักผ่อนให้คุณพ่อคุณแม่

ขี้เทาทารก คืออะไร ภาวะอุจจาระแรกของทารก ที่พ่อแม่ควรรู้

ขี้เทาทารก คืออะไร ภาวะอุจจาระแรกของทารก ที่พ่อแม่ควรรู้

ขี้เทาทารก คืออะไร อุจจาระแรกของทารกหลังคลอดสำคัญไหม หากลูกกินขี้เทาทารกเข้าไปจะเป็นอันตรายกับลูกหรือเปล่า พร้อมวิธีสังเกตขี้เทาทารก ที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้