พัฒนาการเด็กสมองไว สร้างได้
ด้วยสฟิงโกไมอีลิน ในขวบปีแรก


เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็วจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในอนาคตของลูกเราอย่างแน่นอน สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในวันนี้ อาจคือสิ่งที่เป็นไปได้เหนือความคาดหมายในอีก 20 ปีข้างหน้า

เมื่อเทคโนโลยีสร้างความเปลี่ยนแปลงแบบวันต่อวัน ก็ทำให้ลูกของเรามีศักยภาพมากกว่าเดิม มันอยู่ที่ว่าลูกจะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงไปได้ถึงไหน หากลูกมีพื้นฐานที่ดีตั้งแต่เริ่มต้น สมองทำงานได้เร็ว มันคืออาวุธสำคัญ ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อยอดความสำเร็จไปในโลกอนาคต ที่เต็มไปด้วยความเป็นไปไม่ได้ ให้กลายเป็นสิ่งที่เป็นไปได้


เพราะ สมอง คือจุดเริ่มต้นของทุกพัฒนาการของทารก1 ไม่ว่าจะเป็นการมองเห็น การได้ยิน หรือการเรียนรู้ภาษา การโต้ตอบกับพ่อแม่ สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจาก พัฒนาการสมองของทารก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงขวบปีแรก ของชีวิต1 ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาสมองเกี่ยวข้องโดยตรงกับ “โภชนาการที่ดี” เพื่อให้สมองของทารกมีวัตถุดิบเพียงพอที่จะนำไปใช้สร้างเซลล์สมองและสารสื่อประสาทต่างๆ และ ”การเลี้ยงดู” อย่างเหมาะสม2 ทั้ง 2 สิ่ง จะช่วยให้สมองของทารกพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพ นอกจากนี้งานวิจัยยังค้นพบว่า จุดเริ่มต้นที่แตกต่างในวัยทารก อาจส่งผลต่อโอกาสความสำเร็จที่แตกต่างในอนาคต

เพราะอนาคตเต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลง พัฒนาสมองลูกน้อยและการเรียนรู้ที่ดีตั้งแต่ต้นในวัยเด็ก ส่งผลต่อสติปัญญา ความฉลาด และการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่แตกต่างอย่างมากในวัยเรียนและวัยผู้ใหญ่ อาจกล่าว ได้ว่า ‘ไม่มีใครเก่งมาตั้งแต่เกิด’ แต่วันนี้พ่อแม่ ก็สามารถเตรียมสมองลูกน้อยให้พร้อมได้ ตั้งแต่เกิด


ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์พบว่า สฟิงโกไมอีลิน คือ ไขมันกลุ่มฟอสโฟไลปิด พบที่เยื่อหุ้มเซลล์ประสาทในสมอง และพบมากใน’นมแม่’ ซึ่ง อุดมด้วยสารอาหารกว่า 200 ชนิด รวมทั้ง สฟิงโกไมอีลิน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างปลอกไมอิลีน ที่มีส่วนช่วยให้สมองสามารถเชื่อมโยงติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด สมองจึงสามารถประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ2 ทำให้ลูกน้อยเกิดการจดจำและการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ไว
สฟิงโกไมอีลิน จึงเป็นสารอาหารสมองที่สำคัญที่ลูกน้อยควรได้รับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขวบ ปีแรก ซึ่งเป็นช่วงเวลาทองของการพัฒนาสมองลูก
นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์สามารถคาดการณ์ถึงศักยภาพในการเรียนรู้ของทารก ได้ด้วยการสร้างภาพสมองด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า magnetic resonance imaging (MRI)3 ด้วยการทำงานของ MRI พบว่า สมองเนื้อสีขาว (white matter) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ด้านในของสมองจะมีการพัฒนาและเจริญเติบโตขึ้น ซึ่งกระบวนการดังกล่าว เรียกว่ากระบวน การสร้างไมอีลิน

โดยพบว่า ทารกที่ได้รับนมแม่ ซึ่งอุดมด้วย สฟิงโกไมอีลิน และดีเอชเอ มีปริมาณไมอีลิน ที่สูงกว่าเด็กที่ไม่ได้กินนมแม่อย่างมีนัยสำคัญ4 ดังนั้นไมอีลินมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสมองลูกน้อยและการเรียนรู้ ทำให้การส่งผ่านข้อมูลภายในสมองเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วขึ้น ซึ่งการทำงานของสมองในด้านกระบวนการทางสติปัญญาและความเฉลียวฉลาด จำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมโยงและส่งผ่านข้อมูลระหว่าง สมองหลายๆ ส่วน จึงจะช่วยให้ลูกน้อยสามารถคิด วิเคราะห์ จดจำได้5

นมแม่มีสารอาหารกว่า 200 ชนิด


นอกจากการได้รับสารอาหารสำคัญอย่าง
‘สฟิงโกไมอีลิน’ เพื่อให้การเชื่อมต่อของสมองส่วนหน้า
ให้พัฒนาได้อย่างดีแล้ว สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ
การกระตุ้น‘พัฒนาการสมองเด็กและการเรียนรู้ของลูก’
ผ่านกิจกรรมที่มีเป้าหมาย
คุณแม่ควรสร้างเวลา ‘กิจกรรมแห่งสายใย’ ไปพร้อมกับการฝึกกระตุ้นสมองของลูกน้อย เพื่อสร้างทักษะสมองขั้นสูง ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญต่อความสำเร็จในอนาคต


ความจำเพื่อใช้งาน (Working Memory)
เป็นความจำที่เก็บข้อมูลเพื่อประมวลผลและ ดึงข้อมูลนั้นมาใช้ในสถานการณ์ที่ต้องการ โดยสามารถกระตุ้นความสามารถในการจดจำของสมองส่วนหน้าผ่านกิจกรรม เช่น การเล่น Flash card การอ่านเสริมสติปัญญาและ ความเข้าใจ ให้ลูกได้อ่านหนังสือที่เหมาะสม กับระดับอายุและความสนใจของพวกเขา รวมถึงการ เล่านิทาน อ่านหนังสือกับเด็ก แล้วชวนพูดคุยเกี่ยวกับนิทานเรื่องนั้น


ความยืดหยุ่นทางความคิด
(Cognitive Flexibility)
คือ ความสามารถในการปรับตัวและยืดหยุ่น ทางความคิด แก้ไขปัญหาด้วยวิธีที่แตกต่างกัน รู้จักพลิกแพลงและปรับเปลี่ยน เป็นจุดเริ่มต้นของการมีความคิดสร้างสรรค์และคิดนอกกรอบ โดยสามารถกระตุ้นการทำงานของ ความคิดยืดหยุ่นของสมองส่วนหน้า ผ่านกิจกรรม “แก้ปัญหา” ให้ลูกๆ อยู่เสมอ เช่น การเล่น “บอร์ดเกม”


ความสามารถในการยับยั้งและ
ควบคุมตนเอง (Inhibitory Control)
ความสามารถในการทนต่อสิ่งยั่วยุทางอารมณ์ คือ ความสามารถในการยั้งคิดไตร่ตรอง สามารถควบคุมความต้องการ หยุดคิดก่อน ที่จะกระทำได้ โดยสามารถกระตุ้นความสามารถในการอดทน ควบคุมและยับยั้งตนเองของสมองส่วนหน้าผ่านกิจกรรม การฝึกให้เด็กมีสมาธิ เช่น ปั้น playdough หรือ การต่อเลโก้ ต่อจิ๊กซอว์ ต่อบล็อก

การใช้เวลาคุณภาพผ่านการทำกิจกรรมจะช่วยให้ทารกเรียนรู้
และพัฒนาทักษะต่างๆ ที่สำคัญต่อทุกความสำเร็จในอนาคต
คุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการสมองเด็กและการเรียนรู้ไว
ได้ตั้งแต่วัยเด็ก ผ่านตัวช่วยสำคัญอย่าง PLAYBRAIN
การใช้เวลาคุณภาพผ่านการทำกิจกรรมจะช่วยให้ทารกเรียนรู้และพัฒนาทักษะต่างๆ ที่สำคัญต่อทุกความสำเร็จในอนาคต คุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการสมองเด็กและการเรียนรู้ไว ได้ตั้งแต่วัยเด็ก ผ่านตัวช่วยสำคัญอย่าง PLAYBRAIN
ตั้งแต่วันนี้
สำคัญต่ออย่างไรต่อสมอง
ของลูกน้อย
เอกสารอ้างอิง
1. National Institutes of Health (US); Biological Sciences Curriculum Study.
2. Bethesda (MD): National Institutes of Health (US); 2007.
3. Deoni S, 2012.
4. Deoni S, 2018.
5. Kar P, et al. Neuroimage. 2021 Aug 1:236:118084. Department of Mental Health (dmh.go.th)