DHA คืออะไร รู้จัก DHA สำหรับเด็ก ช่วยพัฒนาสมองลูกน้อย

DHA คืออะไร รู้จัก DHA สำหรับเด็ก ช่วยพัฒนาสมองลูกน้อย

DHA คืออะไร รู้จัก DHA สำหรับเด็ก ช่วยพัฒนาสมองลูกน้อย

ดูแลลูกตามช่วงวัย
บทความ
ก.ค. 10, 2023

เราต่างคุ้นเคยกันดีว่า DHA คือชื่อของสารอาหารที่สำคัญชนิดหนึ่ง  แต่รู้ไหมว่า แท้จริงแล้วสารอาหารนี้มีประโยชน์อย่างไร และมีความสำคัญกับสมองของลูกน้อยมากแค่ไหน บทความนี้จะพาไปทำความรู้จัก DHA ผ่านเรื่องที่น่ารู้เกี่ยวกับ DHA ไปพร้อมกัน

 

สรุป:

  • DHA เป็น กรดไขมันจำเป็นในตระกูลโอเมก้า 3 เป็นส่วนประกอบสำคัญของเยื่อหุ้มสมองและจอตา มีความจำเป็นต่อการทำงานของสมอง การมองเห็นของทารก และระบบประสาท
  • ร่างกายไม่สามารถผลิต DHA ได้ด้วยตัวเอง จำเป็นต้องได้รับอาหาร พบมากในน้ำนมแม่ ปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลาทู สาหร่ายทะเล เมล็ดตระกูลวอลนัต เป็นต้น

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

DHA เป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย

Docosahexaenoic Acid หรือ DHA คือกรดไขมันจำเป็นในตระกูลโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเยื่อหุ้มสมองและจอตา รวมถึงมีความจำเป็นต่อการทำงานของสมอง การมองเห็น และระบบประสาท โดยพบในเซลล์สมอง 40% และพบในประสาทตา 60% นอกจากนี้ DHA มีทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมข้อมูลระหว่างเซลล์ประสาทเข้าด้วยกัน มีผลต่อโครงสร้างของตัวรับสัญญาณและคุณภาพของตัวรับสารสื่อประสาท หากระบบสมองขาด DHA การส่งข้อมูลต่าง ๆ จะหยุดชะงัก

 

ร่างกายไม่สามารถสร้าง DHA ได้ด้วยตัวเอง

DHA เป็นสาอาหารที่มีความสำคัญ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตได้เองและจำเป็นต้องได้รับจากแหล่งของสารอาหารภายนอก โดย DHA เป็นสารสำคัญที่พบมากในน้ำนมแม่ นอกจากนี้ยังพบมากในปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลาโอลาย หรือปลาทู สาหร่ายทะเล เมล็ดพืชตระกูลวอลนัต เป็นต้น

 

DHA คืออะไร สารอาหารสำคัญ ช่วยพัฒนาสมองของลูกน้อย

 

ทารกต้องการ DHA ตั้งแต่ในครรภ์

คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ควรรับประทานอาหารสำหรับคนท้อง ที่มี DHA เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด และช่วยส่งเสริมด้านพัฒนาการทางด้านสมอง การมองเห็น และเพิ่มประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์  นักวิจัยพบว่าครึ่งหนึ่งของ DHA ในสมองเด็กได้รับมาแต่แรกเกิด ส่วนอีกครึ่งหนึ่งจะได้รับมาเมื่ออายุขวบปีแรก 
ดังนั้นคุณแม่จึงควรได้รับ DHA ที่เพียงพอต่อร่างกายและการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ โดยรับประทานปลาทะเลอย่างน้อยสัปดาห์ละสองครั้ง 
 

DHA สร้างสมองฉลาดให้ลูกน้อย

DHA มีส่วนสำคัญในการพัฒนาสมองโดยเฉพาะในส่วนของความจำ และการเรียนรู้ เพราะสาร DHA จะเข้าไปเสริมสร้างความเจริญเติบโตของปลายประสาทที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณผ่านข้อมูลระหว่างเซลล์สมองด้วยกัน ทำให้เกิดการเรียนรู้ดีขึ้น 
ดังนั้นในช่วง 3 ขวบปีแรกที่สมองจะมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ลูกน้อยจึงควรได้รับ DHA รวมถึงสารอาหารที่จำเป็นและเพียงพอ เพื่อให้ลูกน้อยมีพัฒนาการสมองและพัฒนาการทุกด้านได้อย่างสมวัย

 

DHA สร้างสมองฉลาดให้ลูกน้อย

 

DHA ในนมแม่ดีที่สุดสำหรับลูกรัก

เนื่องจากลูกน้อยไม่สามารถสร้าง DHA ได้ด้วยตนเอง จึงต้องอาศัยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่มี DHA เป็นหนึ่งในสารอาหารสำคัญ ซึ่งทารกแรกเกิดควรได้รับ DHA ไม่ต่ำกว่าวันละ 40 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักหนึ่งกิโลกรัม เพื่อให้เซลล์สมองและเซลล์ประสาททำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งผลดีต่อพัฒนาการเรียนรู้และการเจริญเติบโตของสมอง

 

DHA มีประโยชน์หลายด้านที่ดีต่อลูกน้อย

  • DHA ช่วยให้ลูกน้อยมองเห็นได้ดี เพราะเป็นส่วนประกอบสำคัญของเยื่อหุ้มสมองและจอตา การมองเห็นที่ชัดเจนส่งเสริมทักษะการเคลื่อนไหวที่แม่นยำ ช่วยให้ลูกน้อยเรียนรู้สิ่งรอบตัวได้ดียิ่งขึ้น
  • DHA ลดความเสี่ยงสมาธิสั้น โดยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ และเพิ่มประสิทธิภาพของทักษะกระบวนความคิดของลูกน้อย
  • DHA ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย โดยไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • DHA เพิ่มความสุขได้ โดยกรดไขมัน DHA มีหน้าที่ควบคุมสารสื่อประสาทในสมองใหทำงานได้อย่างสมบูรณ์ เพิ่มสารแห่งความสุข เพิ่มความสดชื่นให้ร่างกายและจิตใจ

 

ปริมาณ DHA ที่เหมาะสมต่อวันสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

ดังข้อมูลด้านบนจะเห็นได้ว่า DHA เป็นสารอาหารที่สำคัญยิ่งต่อทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ คุณแม่จึงควรรับประทานปริมาณ DHA ให้เพียงพอต่อร่างกายและการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ข้อมูลจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์บริโภค DHA อย่างน้อย 200 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเป็นการบริโภคอาหารทะเล โดยเฉพาะปลาทะเลน้ำลึกสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง

 

DHA คู่ สฟิงโกไมอีลิน สู่การเรียนรู้ที่ดีกว่า

DHA และ สฟิงโกไมอีลิน เป็นสารสำคัญที่อยู่ในนมแม่ โดย DHA เป็นส่วนประกอบสำคัญของเยื่อหุ้มสมองและจอตา รวมถึงมีความจำเป็นต่อการทำงานของสมอง การมองเห็น และระบบประสาท ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมข้อมูลระหว่างเซลล์ประสาทเข้าด้วยกัน มีผลต่อโครงสร้างของตัวรับสัญญาณและคุณภาพของตัวรับสารสื่อประสาท
ส่วน สฟิงโกไมอีลิน (Sphingomyelin) เป็นไขมันชนิดฟอสโฟไลปิดที่พบมากที่สุดในนมแม่ และมีไขมันที่มีความจำเพาะต่อการสร้างไมอีลินโดยเฉพาะ ไมอีลินนี้เป็นส่วนของหุ้มเส้นใยประสาทที่จะมาเชื่อมโยงเส้นประสาทต่างๆ อันส่งผลต่อการส่งสัญญาณประสาทและการประมวลผลภายในสมอง สมองเด็กที่มีไมอีลินมากกว่าจะเรียนรู้ได้ไวกว่า โดยเฉพาะเด็กที่ได้นมแม่จะมีการสร้างไมอีลินที่มากกว่า
เมื่อลูกน้อยได้รับ DHA และ สฟิงโกไมอีลิน คู่กันก็จะช่วยในการทำงานของสมอง การสื่อสัญญาณประสาท ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ ความจำ และพัฒนาที่ดีไปตามวัย

 

DHA คู่ สฟิงโกไมอีลิน สู่การเรียนรู้ที่ดีกว่า

 

สารอาหารในนมแม่มีอะไรบ้าง และสำคัญอย่างไรสำหรับลูกน้อย

องค์การอนามัยโลก (WHO) และยูนิเซฟ แนะนำว่าลูกควรได้กินนมแม่อย่างเดียว ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน และควรกินต่อเนื่องไปจนลูกอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น เนื่องจากนมแม่เป็นอาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับลูกน้อย ซึ่งประกอบด้วยสารอาหารสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายของลูก ดังนี้


โปรตีน
ในน้ำนมแม่มีโปรตีนมากกว่า 1,000 ชนิด ซึ่งกว่า 60% เป็นโปรตีนชนิดที่เรียกกันว่า “เวย์โปรตีน” ที่มีคุณสมบัติย่อยง่าย ดูดซึมง่าย ช่วยให้ไตทำงานน้อย ทั้งยังช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และป้องกันการติดเชื้อได้ดี ไม่มีเบต้าแลกโตโกลบุลินที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ รวมทั้งช่วยในการพัฒนาสมองอีกด้วย


ไขมัน
นมแม่จะมีปริมาณไขมันอยู่ที่ 4 กรัมต่อน้ำนม 100 มิลลิลิตร อุดมด้วยโอเมก้า 3, 6 คือ DHA และ AA มีคอเลสเตอรอลสร้างเส้นใยประสาท และมีน้ำย่อยไขมันไลเปสช่วยในการย่อยและดูดซึมไปใช้ได้ดี ไขมันในนมแม่เป็นแหล่งพลังงานสำคัญของลูก พร้อมมีส่วนช่วยในการพัฒนาสมอง และยังช่วยในการดูดซึมวิตามิน กระตุ้นกระบวนการเผาผลาญของร่างกายให้ทำงานอย่างสมบูรณ์


คาร์โบไฮเดรต
ในน้ำนมแม่มีน้ำตาลนม (แล็กโตส) สูง ช่วยเสริมพัฒนาการสมอง รวมถึงมีน้ำตาลเชิงซ้อนกว่า 200 ชนิดที่เรียกว่า โอลิโกแซคคาไรด์ ในปริมาณสูงมาก โดยทำหน้าที่เป็นพรีไบโอติก ช่วยส่งเสริมสุขภาพของลำไส้ของลูก และยังช่วยป้องกันการติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดและลดความเสี่ยงของการอักเสบของสมองได้อีกด้วย


วิตามินและแร่ธาตุ
วิตามินในน้ำนมแม่มีทั้งวิตามินที่ความสำคัญต่อการเจริญเติบโต ได้แก่ A, B1, B2, B6, B12, C, D, E, K แต่ปริมาณวิตามินจะมากหรือน้อยนั้น ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณวิตามินที่แม่ได้รับ ดังนั้นแม่ที่ให้นมบุตรจึงควรทานอาหารอย่างหลากหลาย ครบ 5 หมู่ นอกจากนี้ในนมแม่ยังมีธาตุเหล็ก สังกะสี และแคลเซียม เพียงพอกับลูกวัยแรกเกิด – 6 เดือน ถึงแม้อาจจะมีปริมาณที่ไม่มากแต่ก็สามารถดูดซึมได้ดีกว่าโดยเฉพาะธาตุเหล็ก (ดูดซึม 50 – 75%) สังกะสีและแคลเชียม

 

สารป้องกันเชื้อโรคและภูมิคุ้มกัน

น้ำนมช่วงแรกหลังคลอดที่เรียกกว่า “น้ำนมเหลือง” หรือ Colostrums น้ำนมในระยะนี้จะมีปริมาณสารภูมิคุ้มกันสูง ซึ่งจะช่วยป้องกันและลดโอกาสการติดเชื้อของทารกแรกเกิดได้ มีเม็ดเลือดขาวเป็นส่วนประกอบ 2,000-3,000 เซลล์/มิลลิลิตร มีปริมาณไลโซไซม์ ซึ่งเป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่สามารถทำลายผนังเซลล์ของแบคทีเรียทำให้เชื้อตาย สูงกว่านมอื่นๆ ถึง 5,000 เท่า จึงเป็นหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ได้รับการเปรียบเปรยว่านมแม่เปรียบเสมือนวัคซีนแรกของลูก 
    
น้ำนมแม่อุดมด้วยสารที่ช่วยการเจริญเติบโตของสมองและอวัยวะต่างๆ โดยมี สฟิงโกไมอีลีน ดีเอชเอ และสารอาหารอื่นๆ ที่ช่วยให้ลูกน้อยมีพัฒนาการทางสมองและร่างกายที่ดีตามวัย เติบโตได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรง นอกเหนือจากสารอาหารต่างๆ กว่า 200 ชนิดแล้ว ในนมแม่ยังมีน้ำย่อย เช่น น้ำย่อยไขมันและแป้ง รวมถึงมีฮอร์โมนนานาชนิด ที่มีผลดีต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของลูกน้อย

 

บทความแนะนำสำหรับพัฒนาการลูกน้อย

 

 

อ้างอิง

  • ทําไมต้องเป็น. "ไข่โอเมก้า 3”, ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • กินปลาสมองดี, มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • การรับประทาน โอเมก้า 3 ดีเอชเอ อาจป้องกันการคลอดก่อนกำหนดได้, หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • เรื่องปลา....ปลา..., คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • "น้ำมันปลา" บำรุงสมอง ป้องกันโรคหัวใจ, mgronline
  • ส่วนประกอบและคุณค่าของน้ำนมแม่, มูลนิธิศูนย์น้ำนมแม่แห่งประเทศไทย
  • สารอาหารที่จำเป็นสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์, megawecare
  • Omega-3 Fatty Acids and Pregnancy, National Library of Medicine
  • งานวิจัยล่าสุดชี้ “สฟิงโกไมอีลิน” หนึ่งในสารอาหารในนมแม่ที่ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการสมองที่ดีกว่า, thairath
  • เลี้ยงลูกให้แข็งแรงด้วยนมแม่, รพ.กรุงเทพ
  • เปิดส่วนประกอบ "นมแม่" ใน 1 หยดมีสารอาหารอะไรบ้างนะ, รพ.พญาไท
  • “น้ำนมแม่” ประโยชน์แท้จากธรรมชาติ, กระทรวงสาธารณสุข

อ้างอิง ณ วันที่ 22 ตุลาคม 2566
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details ลูกถ่ายไม่ออกร้องไห้ พร้อมวิธีดูแลลูกท้องผูก
บทความ
ลูกถ่ายไม่ออกร้องไห้ พร้อมวิธีดูแลลูกท้องผูก

ลูกถ่ายไม่ออกร้องไห้ พร้อมวิธีดูแลลูกท้องผูก

ลูกถ่ายไม่ออกร้องไห้ ลูกท้องผูก ลูกถ่ายยากทำไงดี คุณแม่ควรหมั่นสังเกตเมื่อลูกถ่ายไม่ออก พร้อมวิธีแก้ทารกไม่ถ่าย เมื่อลูกท้องผูก และลูกถ่ายไม่ออก

View details พัฒนาการเด็ก 2 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการเด็ก
บทความ
พัฒนาการเด็ก 2 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการเด็ก

พัฒนาการเด็ก 2 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการเด็ก

พัฒนาการเด็ก 2 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ทั้งน้ำหนัก ส่วนสูง พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการทารก 2 เดือน ให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีและแข็งแรง

View details ลูกปวดท้องตรงสะดือเป็น ๆ หาย ๆ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล
บทความ
ลูกปวดท้องตรงสะดือเป็น ๆ หาย ๆ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล

ลูกปวดท้องตรงสะดือเป็น ๆ หาย ๆ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล

ลูกปวดท้องตรงสะดือแบบเป็น ๆ หาย ๆ เกิดจากอะไร อาการแบบนี้อันตรายไหม เมื่อลูกปวดท้องตรงสะดือเป็น ๆ หาย ๆ ไปดูสาเหตุและวิธีดูแลลูกที่ถูกต้องกัน

8นาที อ่าน

View details วิธีห่อตัวทารกที่ถูกต้อง ให้ลูกน้อยสบายตัว เหมือนอยู่ในท้องแม่
บทความ
วิธีห่อตัวทารก การห่อตัวทารกให้ลูกสบายตัว คล้ายอยู่ในท้องแม่

วิธีห่อตัวทารกที่ถูกต้อง ให้ลูกน้อยสบายตัว เหมือนอยู่ในท้องแม่

รวมวิธีห่อตัวทารกที่ถูกต้อง สำหรับคุณแม่มือใหม่ ให้ลูกน้อยรู้สึกสบายตัว หลับง่าย ลดการสะดุ้งตื่นเหมือนอยู่ในท้องแม่ จะมีวิธีห่อตัวทารกแบบไหนบ้าง ไปดูกัน

5นาที อ่าน

View details แพ้แลคโตส คืออะไร อาการแพ้แลคโตสทารก ที่แม่ต้องรู้
บทความ
แพ้แลคโตส คืออะไร อาการแพ้แลคโตสทารก ที่แม่ต้องรู้

แพ้แลคโตส คืออะไร อาการแพ้แลคโตสทารก ที่แม่ต้องรู้

ลูกแพ้แลคโตส คืออะไร อาการแพ้แลคโตสทารก เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณแม่มีวิธีรับมือกับอาการแพ้แลคโตสทารกอย่างไร พร้อมวิธีป้องกันเมื่อลูกแพ้แลคโตสในนม

9นาที อ่าน

View details ลูกป่วยบ่อยมาก ทำไงดี พร้อมวิธีเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกแข็งแรง
บทความ
ลูกป่วยบ่อยมาก ทำไงดี พร้อมวิธีเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกแข็งแรง

ลูกป่วยบ่อยมาก ทำไงดี พร้อมวิธีเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกแข็งแรง

ลูกป่วยบ่อยมาก ทำไงดี ลูกไม่สบายบ่อย เกิดจากสาเหตุอะไร ลูกป่วยบ่อยอันตรายไหม อยากให้ลูกแข็งแรงต้องทำอย่างไร พร้อมวิธีดูแลลูกน้อยและเสริมภูมิคุ้มกัน

8นาที อ่าน

View details พัฒนาการและอาหารที่เหมาะกับลูกน้อยช่วง 10-11 เดือน
บทความ
พัฒนาการและอาหารที่เหมาะกับลูกน้อยช่วง 10-11 เดือน

พัฒนาการและอาหารที่เหมาะกับลูกน้อยช่วง 10-11 เดือน

พัฒนาการลูกน้อยอายุ 10-11 เดือน มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้บ้าง อาหารแบบไหน ที่เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็กทารกอายุ 10-11 เดือน พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยตามช่วงวัย

View details พัฒนาการเด็ก 9 เดือน ทารก 9 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก
บทความ
พัฒนาการเด็ก 9 เดือน ทารก 9 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการเด็ก 9 เดือน ทารก 9 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการทารก 9 เดือน ลูกน้อยมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง คุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการทารก 9 เดือน และส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 9 เดือน ได้อย่างไร ไปดูกัน

9นาที อ่าน

View details ท่านั่ง w-sitting ทำไมเด็กเล็กชอบนั่ง เรื่องอันตรายควรรู้
บทความ
ท่านั่ง w-sitting ทำไมเด็กเล็กชอบนั่ง เรื่องอันตรายที่พ่อแม่ควรรู้

ท่านั่ง w-sitting ทำไมเด็กเล็กชอบนั่ง เรื่องอันตรายควรรู้

ท่านั่ง w-sitting ท่านั่งยอดฮิตในเด็กเล็ก เพราะเป็นท่าที่นั่งสบาย คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม ไปดูกันว่าทำไมท่านั่ง w-sitting ถึงไม่ดีกับลูกน้อย

7นาที อ่าน

View details ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เพราะอะไร อาการแบบนี้ปกติไหม
บทความ
ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เพราะอะไร อาการแบบนี้ปกติไหม

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เพราะอะไร อาการแบบนี้ปกติไหม

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท ทารกนอนหลับไม่สนิทบิดตัวไปมา เกิดจากสาเหตุอะไร ปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้คุณพ่อคุณแม่ ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท อันตรายหรือเปล่า ไปดูกัน

7นาที อ่าน

View details วิธีไล่ลมในท้องทารก เมื่อลูกน้อยมีอาการท้องอืด ไม่สบายท้อง
บทความ
วิธีไล่ลมในท้องทารก เมื่อลูกน้อยมีอาการท้องอืด ไม่สบายท้อง

วิธีไล่ลมในท้องทารก เมื่อลูกน้อยมีอาการท้องอืด ไม่สบายท้อง

วิธีไล่ลมในท้องทารก คุณพ่อคุณแม่ทำยังไงได้บ้าง เมื่อลูกน้อยรู้สึกท้องอืด ไม่สบายท้อง การไล่ลมในท้องทารกต้องทำยังไง ไปดูวิธีไล่ลมในท้องทารก ช่วยให้ลูกสบายท้องกัน

7นาที อ่าน

View details อาการแพ้แลคโตสทารก เกิดจากอะไร พร้อมวิธีป้องกันเมื่อลูกแพ้
บทความ
4 อาการแพ้แลคโตสทารก พร้อมสาเหตุของการแพ้ ที่แม่ต้องรู้

อาการแพ้แลคโตสทารก เกิดจากอะไร พร้อมวิธีป้องกันเมื่อลูกแพ้

อาการแพ้แลคโตสทารก เกิดจากอะไร ทำไมลูกน้อยถึงท้องเสีย ถ่ายเหลวและท้องอืดบ่อย ไปดูสาเหตุอาการแพ้แลคโตสทารกหรือภาวะย่อยแลคโตสบกพร่องกัน

5นาที อ่าน

View details ทารกแหวะนม ทารกสำลักนมอันตรายไหม ปัญหากวนใจที่แม่รับมือได้
บทความ
ทารกแหวะนมบ่อย อันตรายหรือไม่ ปัญหากวนใจที่คุณแม่รับมือได้

ทารกแหวะนม ทารกสำลักนมอันตรายไหม ปัญหากวนใจที่แม่รับมือได้

ทารกแหวะนม ทารกสำลักนมบ่อย อาการแหวะนมของลูก เกิดจากอะไรได้บ้าง ลักษณะแบบไหนที่บ่งบอกว่าลูกเริ่มมีอาการผิดปกติ พร้อมวิธีรับมือเมื่อลูกแหวะนม

5นาที อ่าน

View details ลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัว ปัญหาผื่นทารก พร้อมวิธีดูแลลูก
บทความ
ลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัว ปัญหาผื่นทารก พร้อมวิธีดูแลลูก

ลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัว ปัญหาผื่นทารก พร้อมวิธีดูแลลูก

ผื่นทารกหรือผื่นแพ้ในเด็ก อาการลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัว เกิดจากอะไร ทำไมถึงเกิดขึ้นกับเล็กเด็ก ไปดูสาเหตุที่ทำให้ลูกมีผื่นทารกและผื่นแพ้ในเด็ก พร้อมวิธีดูแล

8นาที อ่าน

View details เปลี่ยนนามสกุลใช้เอกสารอะไร พร้อมขั้นตอนการเปลี่ยนนามสกุลลูก
บทความ
เปลี่ยนนามสกุลใช้เอกสารอะไร พร้อมขั้นตอนการเปลี่ยนนามสกุลลูก

เปลี่ยนนามสกุลใช้เอกสารอะไร พร้อมขั้นตอนการเปลี่ยนนามสกุลลูก

เปลี่ยนนามสกุลใช้เอกสารอะไรบ้าง ทำผ่านออนไลน์ได้ไหม มีขั้นตอนอย่างไร ลูกน้อยต้องอายุเท่าไหร่ถึงเปลี่ยนนามสกุลได้ พร้อมขั้นตอนการเปลี่ยนนามสกุลลูก

4นาที อ่าน

View details ลูก 3 เดือนไม่ถ่าย 3 วัน เป็นไรไหม ทารก 3 เดือนไม่ถ่าย ทำไงดี
บทความ
ลูก 3 เดือนไม่ถ่าย 3 วัน เป็นไรไหม ทารก 3 เดือนไม่ถ่าย ทำไงดี

ลูก 3 เดือนไม่ถ่าย 3 วัน เป็นไรไหม ทารก 3 เดือนไม่ถ่าย ทำไงดี

ลูก 3 เดือนไม่ถ่าย 3 วัน เป็นไรไหม ทารก 3 เดือนไม่ถ่าย เกิดจากอะไร ลูกถ่ายยาก จะเป็นอันตรายกับสุขภาพของเด็กไหม ไปดูวิธีรับมือเมื่อลูก 3 เดือน ไม่ยอมถ่ายกัน

7นาที อ่าน

View details พัฒนาการลูกน้อย อายุ 4-5 เดือน วิธีช่วยกระตุ้นพัฒนาการเด็ก
บทความ
พัฒนาการลูกน้อย อายุ 4-5 เดือน วิธีช่วยกระตุ้นพัฒนาการเด็ก

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 4-5 เดือน วิธีช่วยกระตุ้นพัฒนาการเด็ก

พัฒนาการลูกน้อยอายุ 4-5 เดือน มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้บ้าง อาหารแบบไหน ที่เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็กทารกอายุ 4-5 เดือน พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยตามช่วงวัย

View details การมองเห็นของทารก ลูกน้อยแต่ละช่วงวัย มองเห็นอะไรบ้าง
บทความ
การมองเห็นของทารก ลูกน้อยแต่ละช่วงวัย มองเห็นอะไรบ้าง

การมองเห็นของทารก ลูกน้อยแต่ละช่วงวัย มองเห็นอะไรบ้าง

การมองเห็นของทารกแรกเกิดจนถึง 1 ขวบ มีพัฒนาการในด้านการมองเห็นที่แตกต่างกัน คุณแม่สามารถช่วยกระตุ้นการมองเห็นของทารกได้ด้วยวิธีง่ายๆ พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

7นาที อ่าน

View details ลูกหัวแบน ทำยังไงดี พร้อมวิธีแก้ไขเมื่อทารกหัวแบน
บทความ
ลูกหัวแบน ทำยังไงดี พร้อมวิธีแก้ไขเมื่อทารกหัวแบน

ลูกหัวแบน ทำยังไงดี พร้อมวิธีแก้ไขเมื่อทารกหัวแบน

ลูกหัวแบน ทารกหัวแบน เกิดจากอะไร หนึ่งในความกังวลใจของคุณแม่มือใหม่ที่ ลูกหัวแบน แก้ไขได้เบื้องต้นอย่างไร มีวีธีป้องกันเบื้องต้นไหม ทำไมลูกหัวแบน ไปดูกัน

6นาที อ่าน