ลูกน้อยเป็นผื่นผ้าอ้อมทำยังไงดี พร้อมวิธีดูแลเมื่อลูกมีผื่นแพ้ผ้าอ้อม

ผื่นแพ้ผ้าอ้อมในเด็ก เรื่องใกล้ตัวที่คุณแม่ควรสังเกต พร้อมวิธีดูแล

07.09.2024

ผิวที่อ่อนโยนบอบบาง แพ้ง่ายของลูก มักต้องการการดูแลเอาใจใส่อย่างถูกวิธี โดยเฉพาะเรื่องผื่นผ้าอ้อม ที่พบได้มากในวัยทารกแรกเกิดถึง 4 ปี เมื่อเกิดการระคายเคืองจากผดผื่น ลูกอาจร้องไห้ งอแง ทำให้ไม่สบายได้ คุณพ่อคุณแม่ที่กังวลใจในผื่นแพ้ผ้าอ้อมของลูก ควรศึกษาวิธีดูแลผื่นแพ้ผ้าอ้อมของลูกให้ถูกวิธีและเหมาะสม เพื่อป้องกันการอักเสบลุกลาม  ของผิวหนัง การเกิดผื่นแพ้ผ้าอ้อมซ้ำ ๆ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อรา หรือเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนขึ้นได้

headphones

PLAYING: ผื่นแพ้ผ้าอ้อมในเด็ก เรื่องใกล้ตัวที่คุณแม่ควรสังเกต พร้อมวิธีดูแล

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • ผื่นผ้าอ้อม จะพบได้มากในวัยแรกเกิดถึง 4 ปี ที่ยังใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป หรือผ้าอ้อมอื่น ๆ อยู่ โดยเฉพาะช่วงวัยทารกที่อายุ 9-12 เดือน
  • ผื่นผ้าอ้อม เกิดจากการที่ผิวหนังของลูกนั้นสัมผัสกับอุจจาระ ปัสสาวะ ที่อยู่ในผ้าอ้อมเป็นเวลานาน ๆ จนเกิดความอับชื้น เกิดการอักเสบ เอนไซม์ในปัสสาวะ อุจจาระ จะทำให้ผิวของลูกระคายเคืองและอับชื้น เมื่อผ้าอ้อมเสียดสีกับผิวของลูกจะทำให้เกิดผื่นแดง เป็นแผล
  • ผื่นผ้าอ้อม จะเป็นลักษณะผื่นแดง เกิดที่บริเวณผิวหนังในส่วนที่นูน เช่น ก้น อวัยวะเพศ ต้นขาด้านใน หรือท้องน้อย  ที่เกิดการเสียดสีกับผ้าอ้อม ทำให้ผิวหนังเกิดผื่นแดงนูน เมื่อผิวหนังมีการอักเสบมากขึ้น ผื่นแดงจะเริ่มมีวงกว้างมากขึ้น จนเกิดรอยถลอกและสะเก็ด หรืออาจทำให้ผิวเกิดตุ่มหนอง ตุ่มน้ำได้
  • ผื่นผ้าอ้อม ที่ลูกเคยเป็นแล้ว สามารถกลับมาเป็นซ้ำใหม่ได้อีก เมื่อเป็นผื่นผ้าอ้อม คุณพ่อคุณแม่ควรหาสาเหตุที่ทำให้ลูกเกิดผื่นผ้าอ้อม อาจลองเปลี่ยนยี่ห้อผ้าอ้อม เลือกผ้าอ้อมที่ระบายอากาศได้ดี และทำความสะอาดผิวลูกทุกครั้งหลังการปัสสาวะ อุจจาระ เป็นต้น

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ผื่นผ้าอ้อม เกิดจากอะไร

ผื่นผ้าอ้อมในเด็ก เกิดจากการที่ผิวหนังของลูกสัมผัสกับอุจจาระ ปัสสาวะ ที่อยู่ในผ้าอ้อมเป็นเวลานาน ๆ ทำให้เกิดการอับชื้น จนน้ำย่อยในอุจจาระและปัสสาวะย่อยเซลล์ผิว ทำให้ผิวของเด็กเป็นผื่น เกิดการอักเสบ เมื่อผ้าอ้อมเสียดสีกับผิวของลูกจะทำให้เกิดการระคายเคือง มีผื่นแดง เป็นแผล หรืออาจทำให้เกิดเชื้อรา หรือติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้ ผื่นผ้าอ้อมพบมากในเด็กวัยแรกเกิดถึง 4 ปี ที่ยังใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป หรือผ้าอ้อมอื่น ๆ อยู่ โดยเฉพาะช่วงวัยทารกอายุ 9-12 เดือน

 

ผื่นผ้าอ้อม อาการเป็นอย่างไร

  • เมื่อผิวหนังในส่วนที่นูนของลูก เช่น ท้องน้อย ต้นขาด้านใน ก้น อวัยวะเพศ เกิดการเสียดสี กดทับกับผ้าอ้อม บริเวณนั้นจะเกิดผื่นแดงนูน
  • ในช่วงแรกอาจมีผื่นแดงเพียงเล็กน้อย เมื่อมีการอักเสบมากขึ้น ผื่นแดงจะเริ่มมีวงกว้างมากขึ้น จนเกิดสะเก็ด มีรอยถลอก ในเด็กบางรายอาจมีรอยถลอกที่ผิวลึกลงไป
  • หากผื่นผ้าอ้อมรุนแรงมากขึ้น จะทำให้มีผื่นแดงจัด ตุ่มหนอง ตุ่มน้ำได้
  • ลูกจะไม่สบายตัว เจ็บแผล คัน แสบ และร้องไห้งอแง

 

ผื่นแพ้ผ้าอ้อม เกิดขึ้นกับเด็กวัยไหน

ผื่นผ้าอ้อมหรือผื่นในเด็กเล็ก  จะพบได้มากในวัยแรกเกิดถึง 4 ปี ที่ยังใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป หรือผ้าอ้อมอื่น ๆ อยู่ โดยเฉพาะช่วงวัยทารกที่อายุ 9-12 เดือน เนื่องจากทารกวัยนี้เริ่มเปลี่ยนมาทานอาหารเด็กอ่อนแล้ว ทำให้อุจจาระมีความเป็นกรดมากขึ้น

 

ลูกน้อยเป็นผื่นผ้าอ้อม หายเองได้ไหม

ผื่นผ้าอ้อมสามารถเกิดขึ้นได้ในเด็กวัยทารกที่ยังใส่ผ้าอ้อมอยู่ หากลูกมีผื่นแพ้ผ้าอ้อม คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลผื่นแพ้ผ้าอ้อมเบื้องต้นได้เองที่บ้าน ด้วยวิธีการเปลี่ยนผ้าอ้อมเป็นประจำ ดูแลการสวมใส่ผ้าอ้อม เปลี่ยนผ้าอ้อมให้ถูกสุขลักษณะ ทำความสะอาดในทุกขั้นตอนให้แห้งและสะอาด ไม่เปียกชื้น หลีกเลี่ยงการเช็ดถูด้วยความรุนแรง หากดูแลผื่นแพ้ผ้าอ้อมแล้วอาการไม่ดีขึ้น ยังมีผดผื่นเม็ดเล็ก ๆ  มาก ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาผื่นผ้าอ้อมอย่างถูกวิธี

 

ลูกน้อยเป็นผื่นผ้าอ้อม ดูแลลูกยังไงดี

 

ลูกน้อยเป็นผื่นผ้าอ้อม ดูแลลูกยังไงดี

  • หมั่นเปลี่ยนผ้าอ้อมสำเร็จรูปให้ลูกบ่อย ๆ ทุก 3 ชั่วโมง หากลูกถ่ายอุจจาระ ให้รีบเปลี่ยนผ้าอ้อมสำเร็จรูปทันที
  • ในกรณีที่ลูกใส่ผ้าอ้อมผ้า ให้เปลี่ยนผ้าอ้อมผ้าทันทีทุกครั้งเมื่อมีการปัสสาวะ หรืออุจจาระ
  • ก่อนเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้ง ให้ล้างก้นด้วยน้ำเปล่า หากอุจจาระให้ล้างด้วยสบู่สูตรอ่อนโยนให้สะอาด
  • ใช้ผ้าซับ เช็ดให้แห้ง แล้วผึ่งก้นให้แห้งสนิท อย่างน้อย 3-5 นาทีก่อนใส่ผ้าอ้อมให้ลูก
  • ก่อนใส่ผ้าอ้อม ทาผลิตภัณฑ์ที่ใช้เคลือบผิวหนังเพื่อป้องกันภาวะผิวแห้งตามแพทย์แนะนำ
  • ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ และน้ำหอม
  • ไม่ใช้แป้งเพื่อลดการเสียดสี
  • ใช้ผ้าอ้อมที่ดูดซับความเปียกชื้น และระบายอากาศได้ดี
  • ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ก่อนหรือหลังเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูก เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
  • หากดูแลผื่นผ้าอ้อมให้ลูกเบื้องต้นแล้วยังไม่ดีขึ้น ไม่ควรซื้อยามาใช้เอง ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจอาการและรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป

 

ผื่นแพ้ผ้าอ้อมกลับมาเป็นซ้ำได้ไหม

ผื่นผ้าอ้อม สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ เมื่อเป็นผื่นผ้าอ้อม คุณพ่อคุณแม่ควรหาสาเหตุที่ทำให้ลูกเกิดผื่นผ้าอ้อม อาจลองเปลี่ยนยี่ห้อผ้าอ้อม เลือกผ้าอ้อมที่ระบายอากาศได้ดี ทำความสะอาดผิวลูกทุกครั้งหลังการปัสสาวะ อุจจาระ เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นผื่นแพ้ผ้าอ้อมซ้ำอีกครั้ง

 

ป้องกันไม่ให้ลูกกลับมาเป็นผื่นผ้าอ้อมซ้ำได้ไหม

  • ไม่ควรปล่อยให้ลูกใส่ผ้าอ้อมตลอดเวลา ควรถอดออกบ้าง ให้ผิวลูกได้มีการพักการใส่ผ้าอ้อมเพื่อลดความอับชื้น
  • หมั่นเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อย ๆ ไม่ให้หมักหมม เพราะเอนไซม์ในปัสสาวะ อุจจาระ จะทำให้ผิวลูกระคายเคืองและเกิดความอับชื้นขึ้นได้
  • ทุกครั้งที่ถึงเวลาต้องเปลี่ยนผ้าอ้อม ควรทำความสะอาดผิวลูกด้วยน้ำสบู่ที่อ่อนโยนต่อผิวเด็ก
  • หากลูกใช้ผ้าอ้อมผ้า ควรซักด้วยน้ำยาซักผ้า และน้ำยาปรับผ้านุ่มสูตรธรรมชาติ อ่อนโยนต่อผิวลูก ซักผ้าที่เปื้อนอุจจาระ ปัสสาวะ ให้สะอาดและตากให้แห้ง
  • เปลี่ยนผ้าอ้อม เลือกชนิด หรือยี่ห้อผ้าอ้อม แบบระบายอากาศได้ดี และซึมซับได้ดี
  • หากผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่ลูกใส่รัดแน่นเกินไป ควรเปลี่ยนขนาดผ้าอ้อมให้เหมาะสมกับสัดส่วนของลูก
  • ก่อนการเปลี่ยน หรือหลังเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูก คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ดูแลควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค

 

ลูกเป็นผื่นผ้าอ้อม ซื้อยาทาเองได้ไหม

หากดูแลผื่นผ้าอ้อมของลูกแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น เพื่อการรักษาอย่างถูกวิธี และปลอดภัย คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรซื้อยามาทาให้ลูกเองเพราะอาจมีอันตรายได้ ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดว่าลูกเป็นผื่นแพ้ผ้าอ้อมจริงไหม จะได้รักษาอย่างถูกวิธี

 

ผื่นผ้าอ้อม ผื่นแดงที่เกิดขึ้นจากการเสียดสีของผิวหนังกับผ้าอ้อมนั้น มักเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ กับเด็ก ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรศึกษา วิธีการดูแลรับมือกับผื่นผ้าอ้อมเบื้องต้นให้ลูกอย่างถูกวิธี แต่หากดูแลผื่นผ้าอ้อมของลูกแล้วไม่หาย อาการไม่ดีขึ้น เพื่อป้องกันการลุกลาม หรือติดเชื้อแทรกซ้อน คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรซื้อยามาทาให้ลูกเอง ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดและรักษาอย่างถูกวิธี

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 

 

อ้างอิง:

  1. การดูแลรักษาผื่นผ้าอ้อม, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ภาควิชากุมารเวชศาสตร์  
  2. ผื่นผ้าอ้อมในเด็ก เรื่องเล็กที่พ่อแม่ต้องใส่ใจ, โรงพยาบาลพญาไท
  3. ผื่นผ้าอ้อม (Nappy rash), haarmor
  4. ผื่นผ้าอ้อม ดูแลและป้องกันอย่างไรให้ปลอดภัยต่อลูก, pobpad
  5. ผื่นผ้าอ้อม, กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณะสุข
  6. ผื่นผ้าอ้อม, โรงพยาบาลกรุงเทพ

อ้างอิง ณ วันที่ 22 กรกฎาคม 2567
 

บทความแนะนำ

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 9-10 เดือน

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 9-10 เดือน วิธีกระตุ้นพัฒนาการเด็ก

พัฒนาการลูกน้อยอายุ 9-10 เดือน มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้บ้าง อาหารแบบไหน ที่เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็กทารกอายุ 9-10 เดือน พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยตามช่วงวัย

พัฒนาการลูกน้อยอายุ 8-9 เดือน

พัฒนาการลูกน้อย 8-9 เดือน ลูกน้อยมีพัฒนาการอย่างไร

พัฒนาการลูกน้อยอายุ 8-9 เดือน มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้บ้าง อาหารแบบไหน ที่เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็กทารกอายุ8-9 เดือน พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยตามช่วงวัย 

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 7-8 เดือน

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 7-8 เดือน วิธีกระตุ้นพัฒนาการลูก

พัฒนาการลูกน้อยอายุ 7-8 เดือน มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้บ้าง อาหารแบบไหน ที่เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็กทารกอายุ 7-8 เดือน พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยตามช่วงวัย

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 6- 7 เดือน

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 6-7 เดือน พัฒนาสมองและการสื่อสาร

พัฒนาการลูกน้อยอายุ 6-7 เดือน มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้บ้าง อาหารแบบไหน ที่เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็กทารกอายุ 6-7 เดือน พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยตามช่วงวัย

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก