แพ้แลคโตส คืออะไร อาการแพ้แลคโตสทารก ที่แม่ต้องรู้

แพ้แลคโตส คืออะไร อาการแพ้แลคโตสทารก ที่แม่ต้องรู้

09.05.2024

อาการแพ้แลคโตสทารก คือภาวะที่ทารกไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสได้ หรือที่เรียกว่า ภาวะการย่อยแลคโตสบกพร่อง ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายของทารกไม่สามารถผลิตเอนไซม์ที่ใช้ย่อยน้ำตาลแลคโตสได้เพียงพอหรือไม่สร้างเลย ทำให้เมื่อทารกดื่มนม (ไม่ว่าจะเป็นนมแม่หรือนมวัว) ก็จะเกิดอาการไม่สบาย เช่น ท้องเสีย ถ่ายเหลว อาเจียน แต่บางครั้งเด็กที่กินนมแล้วมีอาการท้องอืด ท้องเสีย อาจไม่ใช่เพราะแพ้แลคโตสเสมอไป สาเหตุที่พบบ่อยคือ ระบบการย่อยน้ำตาลแลคโตสทำงานไม่ดีชั่วคราว หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารได้เช่นกัน

headphones

PLAYING: แพ้แลคโตส คืออะไร อาการแพ้แลคโตสทารก ที่แม่ต้องรู้

อ่าน 9 นาที

 

สรุป

  • ภาวะแพ้แลคโตสทารก เกิดจากการที่ร่างกายขาดเอนไซม์แลคเตส ทำให้เด็กบางคนไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมได้
  • อาการที่พบได้บ่อยในเด็กที่มีภาวะแพ้แลคโตสทารก คืออาการท้องเสีย ท้องอืด ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน โดยเฉพาะหลังจากดื่มนม
  • สาเหตุของภาวะแพ้แลคโตสทารก เกิดจากพันธุกรรม รวมถึงการติดเชื้อในลำไส้และเด็กที่คลอดก่อนกำหนด
  • วิธีการดูแลลูกน้อยเบื้องต้น คุณพ่อคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงนมและผลิตภัณฑ์นมที่มีแลคโตส และปรึกษาแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์สำหรับการให้นมที่เหมาะสม
  • ประโยชน์ของโพรไบโอติกในเด็ก ช่วยปรับสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ ลดอาการท้องเสีย และเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  • อาการย่อยแลคโตสไม่ได้ คืออาการที่สามารถพบได้ คุณพ่อคุณแม่ควรมีการจดบันทึกอาหารที่ลูกกินในแต่ละวันรวมถึงอาการต่าง ๆ ของลูกน้อย แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการขอคำแนะนำจากแพทย์
  • หากลูกน้อยทานนมแม่อยู่ คุณแม่สามารถปั๊มนมส่วนหน้าออกไปก่อน และให้ลูกดื่มนมที่เป็นนมส่วนหลัง เนื่องจากนมส่วนหน้าจะมีน้ำตาลแลคโตสสูงกว่า แล้วค่อยให้ลูกน้อยทานนมส่วนหลังทีละน้อยทีหลังเมื่ออาการดีขึ้นมากแล้ว เพื่อให้ลำไส้ของลูกได้ค่อยๆปรับตัว เพราะน้ำนมแม่มีประโยชน์กับลูก

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

อาการแพ้แลคโตสในทารก คืออะไร

อาการแพ้แลคโตสทารก คือภาวะการย่อยแลคโตสบกพร่อง เป็นอาการที่ร่างกายไม่สามารถย่อยน้ำตาลลคโตสที่อยู่ในนมแม่หรือนมวัวได้ ทำให้ลูกน้อยเกิดอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว และอาเจียนหลังจากทานนมเข้าไป ส่วนสาเหตุสามารถเกิดขึ้นได้หลายปัจจัยด้วยกัน หากพ่อแม่สงสัยว่าลูกเกิดอาการแพ้แลคโตสทารก ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที เพื่อให้ลูกได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

 

อาการภาวะย่อยแลคโตสบกพร่อง เป็นแบบไหน

อาการแพ้แลคโตสทารก ความรุนแรงของอาการย่อยแลคโตสบกพร่องจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณนมหรืออาหารที่ลูกน้อยได้ทานเข้าไป และปริมาณน้ำย่อยแลคเตสที่ผลิตได้ สำหรับอาการที่พบบ่อย ได้แก่

  • มีลมในท้อง ผายลมบ่อย มีกลิ่นเหม็น
  • แน่นท้อง ท้องอืด
  • ปวดท้องน้อย บริเวณโดยรอบสะดือ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ท้องเสีย ถ่ายเหลว มีฟองเป็นน้ำ

โดยปกติแล้วอาการแพ้แลคโตสเหล่านี้จะเกิดขึ้นหลังจากที่ลูกน้อยได้รับนมไปประมาณ 30 นาที จนถึง 2 ชั่วโมง ในช่วงระยะเวลานี้ คุณแม่ต้องคอยสังเกตดูว่าลูกน้อยมีอาการท้องเสียมากน้อยเพียงใด หากลูกมีอาการท้องเสียมากควรรีบไปพบแพทย์ทันที
  

ทารกแพ้แลคโตส อาการแพ้แลคโตสทารก

 

สัญญาณที่บอกว่าลูกไม่สามารถกินแลคโตสได้

เด็กแพ้แลคโตส อาการที่เกิดขึ้นจากการกินนมที่มีน้ำตาลแลคโตสแล้วไม่สามารถย่อยได้ ทำให้มีอาการปวดท้อง แน่นท้อง อาเจียน ท้องเสีย ซึ่งจะเป็นอยู่ชั่วคราวเท่านั้น โดยเฉพาะหลังจากมีอาการป่วยติดเชื้อที่พบได้บ่อย ๆ คือ ไวรัสลงกระเพาะ ซึ่งจะทำให้มีท้องเสียรุนแรง จนเซลบุลำไส้ที่สร้างน้ำย่อยแลคเตสเสียหายไป ดังนั้นคุณแม่จึงควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำการให้นมอย่างเหมาะสมต่อไป
 

อาการย่อยน้ำตาลแลคโตสไม่ได้ มีกี่ชนิด

อาการย่อยน้ำตาลแลคโตสไม่ได้ แบ่งได้เป็น 2 ชนิด

  1. ระดับปฐมภูมิในทารก เป็นภาวะทางพันธุกรรมที่พบได้น้อยมากของประเทศไทย และต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์
  2. ระดับทุติยภูมิในเด็กทารก พบได้มากกว่า เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ในเยื่อบุผิวลำไส้เล็กที่สร้างเอ็นไซม์แลคเตสถูกทำให้เสียหาย จาการติดเชื้อในลำไส้แล้วทำให้มีอาการท้องเสีย ทำให้เอ็นไซม์อาจพร่องลงได้

 

ลูกน้อยย่อยน้ำตาลแลคโตสไม่ได้ จะมีอาการอย่างไร

มักเกิดขึ้นหลังจากกินนมหรือผลิตภัณฑ์นมไปแล้ว 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมง โดยอาการที่พบ มีดังนี้

 

บ่อยครั้งที่จะเกิดอาการขึ้นเมื่อร่างกายได้รับแลคโตสเกินขีดจำกัดของร่างกาย ตัวอย่างเช่น ร่างกายสามารถรับแลคโตสปริมาณเล็กน้อยจากโยเกิร์ตได้โดยไม่แสดงอาการออกมา แต่การดื่มนมหนึ่งแก้วอาจทำให้ได้รับแลคโตสมากเกินไป จนทำให้แสดงอาการออกมา อาการของการไม่ย่อยน้ำตาลแลคโตส ค่อนข้างเป็นอาการที่มักพบได้ทั่วไป จึงเป็นเรื่องยากที่คุณพ่อคุณแม่จะรู้ว่าลูกมีภาวะดังกล่าวด้วยตนเอง ดังนั้นจึงควรมีการจดบันทึกอาหารที่ลูกกินในแต่ละวันและอาการต่าง ๆ แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการขอคำแนะนำจากแพทย์

 

สาเหตุที่ทำให้ลูกเกิดภาวะการขาดเอนไซม์แลคเตส

1. ความผิดปกติทางพันธุกรรม  

ความผิดปกติทางพันธุกรรม มักเกิดจากพ่อและแม่ที่ถูกถ่ายทอดมาสู่ลูกทำให้เด็กมีภาวะขาดเอนไซม์แลคเตสตั้งแต่แรกเกิด

 

2. เกิดจากภาวะพร่องเอนไซม์แลคเตส

ในช่วงที่เป็นทารกแรกเกิด โดยบางคนอาจมีภาวะนี้ตั้งแต่เกิด แต่เพิ่งจะมาแสดงอาการเมื่อโตขึ้นหรือแท้จริงแล้ว อาจมีสาเหตุมาจากช่วงอายุเพราะปกติแล้วปริมาณเอนไซม์แลคเตสจะมีมากในช่วงวัยทารก แล้วจะลดน้อยลงเรื่อย ๆ เมื่อเริ่มโตขึ้น ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างน้ำย่อยแลคโตสได้เพียงพอหรือไม่สร้างเลย

 

3. เกิดภายหลังติดเชื้อ หรือการอักเสบของลำไส้เล็ก

จากการท้องเสียบ่อย ๆ หรือท้องเสียเรื้อรัง เช่น ท้องเสียจากการติดเชื้อไวรัสโรต้า ทำให้ร่างกายสร้างน้ำย่อยหรือเอ็นไซม์ได้น้อยลงชั่วคราวได้จากการที่เยื่อบุลำไส้เล็กเกิดอาการบาดเจ็บจนเซลล์เยื่อบุลำไส้เล็กสร้างน้ำย่อยไม่เพียงพอจนส่งผลให้ย่อยนมและอาหารได้น้อยลง ทำให้ลำไส้ขาดน้ำย่อยน้ำตาลแลคโตส หรือมีอาการพร่องเอนไซม์แลคเตสเอาได้

 

4. เด็กคลอดก่อนกำหนด

โดยปกติแล้ว เด็กคลอดก่อนกำหนด มักมีอาการภาวะการย่อยแลคโตสบกพร่อง เนื่องจากระบบทางเดินอาหารของเด็กยังเติบโตไม่เต็มที่ ทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้เล็กจนนำไปสู่ภาวะดังกล่าวได้

 

ลูกมีอาการย่อยแลคโตสบกพร่อง ควรทำอย่างไร

หากคุณแม่สงสัยว่าเด็กแพ้แลคโตสหรือลูกน้อยอาจมีอาการแพ้แลคโตสทารกหรือภาวะการย่อยแลคโตสบกพร่องหรือไม่ สามารถขอรับคำปรึกษาและคำแนะนำจากแพทย์ได้ โดยคุณหมออาจจะแนะนำให้มีการปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงอาการย่อยแลคโตสผิดปกติ ดังนี้

1. ภาวะขาดเอนไซม์แลคเตสตั้งแต่กำเนิด  

อาการแพ้แลคโตสทารก หรือจากความผิดปกติของพันธุกรรม ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อให้หนูน้อยได้รับสารอาหารที่เพียงพออย่างต่อเนื่อง

 

2. ภาวะบกพร่องเอนไซม์แลคเตสชั่วคราว

แพทย์มักจะแนะนำให้คุณแม่หลีกเลี่ยงการให้นมลูกที่มีน้ำตาลแลคโตส ส่วนคุณแม่ให้นม แพทย์จะแนะนำให้ปั๊มนมส่วนหน้าที่มีน้ำตาลแลคโตสสูงออกไปก่อน แล้วค่อยให้ลูกน้อยทานนมส่วนหลังทีละน้อยทีหลังเมื่ออาการดีขึ้นมากแล้วเพื่อให้ลำไส้ของน้อง ๆ หนูๆ มีเวลาปรับตัวนั่นเอง

 

3. อาการแพ้แลคโตสทารก

เด็กแพ้แลคโตส คุณแม่จะต้องระวังอาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำตาลแลคโตสหรือนมวัวเป็นส่วนประกอบ เช่น เต้าหู้ เนยไอศกรีม ชีส ครีมเทียม ขนมปัง เค้ก เป็นต้น เพื่อหลีกเลี่ยงอาการรุนแรงเมื่อเด็กแพ้แลคโตส

 

ภาวะย่อยแลคโตสบกพร่อง ต่างกับภาวะแพ้นมวัวไหม

การย่อยแลคโตสบกพร่องไม่เหมือนกับอาการแพ้นมหรือแพ้โปรตีนนม เนื่องจากอาการแพ้น้ำตาลแลคโตสไม่ได้เป็นปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ จึงไม่พบอาการทางผิวหนัง ในขณะที่อาการแพ้โปรตีนนมมักเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่เกิดจากการตอบสนองกับนมหรืออาหารบางประเภททำให้ร่างกายเกิดการสนองด้วยอาการต่าง ๆ ตั้งแต่อาการเล็กน้อย เช่น ผื่นทารกตามร่างกาย คัน ไปจนถึงอาการรุนแรง เช่น หายใจติดขัด

 

อีกทั้งอาการย่อยแลคโตสบกพร่อง คุณแม่ยังสามารถให้นมลูกหรือนมวัวได้ แต่จำเป็นต้องลดปริมาณลงก่อนในช่วงแรก ๆ เพื่อให้ร่างกายมีการปรับตัวหากมีอาการพร่องเอนไซม์ชั่วคราวเด็กก็จะกลับมาทานนมแม่หรือนมวัวได้ แต่ในกรณีที่เด็กมีอาการแพ้โปรตีนนมวัว จะไม่สามารถทานนมวัว หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจากนมวัวได้เลย เพราะการที่หนูน้อยได้รับสารก่อภูมิแพ้เพียงนิดเดียวก็อาจกระตุ้นให้เด็กเกิดอาการแพ้นมได้

 

ประโยชน์ของโพรไบโอติก จุลินทรีย์สุขภาพ

1. โพรไบโอติก  (probiotics)

โพรไบโอติก หรือจุลินทรีย์สุขภาพ อาศัยอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตเจ้าบ้าน (host) ที่ช่วยให้ผลดีต่อสุขภาพ อีกทั้งยังได้รับการยืนยันด้วยการศึกษาทางคลินิกว่าสามารถป้องกันและรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร และโรคหรือความผิดปกตินอกระบบทางเดินอาหารบางชนิดปัจจุบันมีการนำมาใช้ทางด้านสุขภาพในหลากหลายรูปแบบ และแตกต่างกันออกไป

 

2. แอล รียูเทอรี (L.reutri)

แอล รียูเทอรี เป็นจุลินทรีย์สุขภาพกลุ่มแลคโตบาซิลัส (Lactobacillus) ที่มีการศึกษาหลากหลายตั้งแต่ในทารกจนถึงผู้ใหญ่ มีประโยชน์ต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย สามารถพบได้ในร่างกายมนุษย์ เช่น ระบบทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ ผิวหนัง และน้ำนมแม่ ซึ่งมีความสามารถในการผลิตเปปไทด์ต้านจุลชีพ (antimicrobial peptides) จำพวกกรดอินทรีย์หลายชนิดที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรค ทั้งยังช่วยปรับสมดุลการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในร่างกาย ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของลำไส้ให้แข็งแรง รวมถึงลดการติดเชื้อบางชนิด อีกทั้งยังมีส่วนช่วยในเรื่องของการดูดซึม แร่ธาตุและวิตามินจากอาหารเข้าสู่ร่างกายอีกด้วย 

 

นอกจากนี้ จากการศึกษาประโยชน์ของ (L. reuteri) ในเด็กท้องเสีย พบว่า การใช้ (L. reuteri) เสริมร่วมกับการรักษาอื่นในเด็กท้องเสีย เช่น เกลือแร่ดื่ม (oral rehydration solution, ORS) อาจช่วยลดระยะเวลาท้องเสีย ลดระยะเวลานอนโรงพยาบาล และ ลดความรุนแรงของการเกิดโรคได้ โดยควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกร เพื่อขอคำแนะนำที่ถูกต้อง

 

วิธีรับมือปัญหาการย่อยน้ำตาลแลคโตสในเด็ก

อาการแพ้แลคโตสทารก ในช่วงที่ลูกน้อยมีปัญหาท้องเสีย ควรงดนมวัวที่มีน้ำตาลแลคโตสชั่วคราวและปรึกษาแพทย์เพื่อนรับคำแนะนำการรับประทานนมอย่างเหมาะสม เพราะการงดนมและผลิตภัณฑ์นมเป็นการตัดอาหารกลุ่มสำคัญจากอาหารที่ลูกกิน ซึ่งอาจทำให้เกิดผลกระทบทางสุขภาพตามมา อีกทั้งนมและผลิตภัณฑ์นมเป็นแหล่งของแคลเซียม ที่จำเป็นต่อการสร้างกระดูกและฟัน และน้ำตาลแลคโตสยังช่วยในการดูดซึมแคลเซียมได้ดีมากขึ้นด้วย โดยหากลูกน้อยที่ทานนมแม่อยู่นั้น คุณแม่สามารถปั๊มนมส่วนหน้าออกไปก่อน และให้ลูกดื่มนมที่เป็นนมส่วนหลัง

 

เนื่องจากนมส่วนหน้าจะมีน้ำตาลแลคโตสสูงกว่านั่นเอง ลักษณะนี้ทำให้ลูกยังสามารถดื่มน้ำนมแม่ได้โดยลดกปริมาณน้ำตาลแลคโตส เพราะน้ำนมแม่มีประโยชน์มากมาย มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด และยังมีคุณสมบัติเป็น Hypo-Allergenic หรือ H.A. ที่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคภูมิแพ้ได้ด้วย อีกทั้งโปรตีนในนมแม่บางส่วน ได้ถูกย่อยให้มีขนาดเล็กลง หรือที่เรียกว่า PHP (Partially Hydrolyzed Proteins )

 

ซึ่งง่ายต่อการดูดซึมเข้าร่างกายของลูกน้อย รวมถึงมีพรีไบโอติกโอลิโกแซคคาไรด์ใยอาหารหลักที่สำคัญ ที่ช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อต่าง ๆ ซึ่งโอลิโกแซคคาไรด์ ประกอบด้วยใยอาหารหลากหลายชนิด ซึ่ง 5 ใยอาหารหลัก (5 Oligosaccharide หรือ 5 HMO เช่น 2’FL, DFL, LNT, 6’SL และ 3’SL ) มีช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันในเด็กเล็ก และมีโพรไบโอติกหลายชนิด เช่น B. lactis (บีแล็กทิส) ซึ่งเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการเกิดภูมิแพ้ แต่ถ้ายังมีปัญหาควรปรึกษาแพทย์

 

ข้อแนะนำสำหรับเด็กมีอาการแพ้แลคโตสทารก

1. รับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ

การรับประทานอาหารคนท้อง ที่มีประโยชน์ในระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด ช่วยให้แม่มีปริมาณน้ำนมที่เพียงพอ หลังการคลอดบุตร การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นสิ่งที่ดีสุดสำหรับทารก เนื่องจากนมแม่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงสุด และช่วยปกป้องลูกน้อยจากภาวะเจ็บป่วยต่างๆ

 

2. ทารกกินนมแม่อย่างเดียว อาจมีการถ่ายนิ่ม 

เนื่องจากลูกได้รับนมส่วนหน้ามากกว่านมส่วนหลัง สาเหตุจากการที่แม่พยายามให้ลูกดูดนมบ่อย รวมถึงการเปลี่ยนข้างบ่อย เพราะในนมส่วนหน้านี้มีน้ำและน้ำตาลแลคโตสในปริมาณมาก ลูกน้อยจึงถ่ายบ่อย บางรายอาจถ่ายจนก้นแดง ซึ่งคุณแม่สามารถแก้ไขได้โดยที่ลูกสามารถกินนมแม่ต่อไป

 

3. ควรให้นมลูกอย่างถูกต้อง 

โดยพยายามให้ลูกดูดนมให้นานพอ ดูดให้เกลี้ยงเต้า เนื่องจากน้ำนมส่วนหน้าและน้ำนมส่วนหลังมีความแตกต่างกัน ในกรณีมีปัญหาเรื่องการย่อยแลคโตสชั่วคราว คุณแม่อาจบีบนมส่วนหน้า (foremilk) ทิ้งก่อนแล้วค่อยให้ลูกดูดนมส่วนหลัง (hindmilk) เพราะนมแม่มีคุณประโยชน์มากมาย เช่น มีโพรไบโอติกหลายชนิด เช่น แอล รียูเทอรี (L. reuteri) ที่ช่วยปรับสมดุลและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคภายในลำไส้ มี DHA และ AA ที่เป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อระบบประสาทและการมองเห็นของทารก ทั้งยังมีสารอาหารที่ช่วยสร้างสมอง และพัฒนาการทางสมองที่ดีด้วย อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่พบว่าลูกไม่สบายจากอาการท้องเสีย ซึม ลูกท้องผูกเรื้อรัง ดูดนมได้ไม่ดี มีลักษณะของการติดเชื้อและน้ำหนักลด ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของปัญหาทางท้องเสีย

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่



อ้างอิง:

  1. ไขข้อข้องใจ..โรคแพ้โปรตีนนมวัวและการย่อยแลกโทสบกพร่อง ต่างกันอย่างไร?, โรงพยาบาลพญาไท อ้างอิง ณ วันที่ 3 มีนาคม 2567
  2. อรวรรณ ละอองคำ. โพรไบโอติก: จุลินทรีย์คัดสรรเพื่อสุขภาพ, วารสารอาหาร. ต.ค.-ธ.ค. 2562;49(4)
  3. Qinghui Mu, Vincent J. Tavella and Xin M. Luo. Role of Lactobacillus reuteri in Human Health and Diseases. 2018:757(9)
  4. สมาคมกุมารเวชศาสตร์ทางเดินอาหารและตับ. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคท้องร่วงเฉียบพลันในเด็ก. 2562
  5. เจษฎา โทนุสิน. Breastfeeding in Special Condition. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์
  6. ผกากรอง วนไพศาล. น้ำนมแม่ ประโยชน์อเนกอนันต์. ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ้างอิง ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2564
 

บทความแนะนำ

เจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ ปวดแผลผ่าคลอดหลังผ่าตัดคลอด อันตรายไหม

เจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ ปวดแผลผ่าคลอดหลังผ่าตัดคลอด อันตรายไหม

เจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ ปวดแผลผ่าคลอดทันทีหลังผ่าตัดคลอด คุณแม่ผ่าคลอดควรทำอย่างไร หากเจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ และปวดแผลผ่าคลอด พร้อมวิธีดูแลตัวเอง

แผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน คุณแม่เจ็บแผลผ่าตัดข้างใน อันตรายไหม

แผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน คุณแม่เจ็บแผลผ่าตัดข้างใน อันตรายไหม

แผลผ่าคลอดอักเสบข้างในหลังผ่าคลอด เกิดจากอะไร คุณแม่เจ็บแผลผ่าตัดข้างในบ่อย จะเป็นอันตรายกับคุณแม่ในระยะยาวไหม ไปดูวิธีดูแลตัวเองเบื้องต้นกัน

ตุ่มใสที่นิ้วอันตรายไหม ลูกมีตุ่มใสขึ้นที่มือคัน คุณแม่รับมือยังไงดี

ตุ่มใสที่นิ้วอันตรายไหม ลูกมีตุ่มใสขึ้นที่มือคัน คุณแม่รับมือยังไงดี

ตุ่มใสที่นิ้วลูก เกิดจากอะไร ลูกมีตุ่มใสที่มือคัน อันตรายไหม คุณพ่อคุณแม่จะรับมืออย่างไร หากลูกมีตุ่มใส ๆ ที่มือ พร้อมวิธีบรรเทาตุ่ม ใสที่นิ้ว

ลูกถ่ายวันละ 3-4 ครั้งปกติไหม ลูกถ่ายกะปริบกะปรอย อันตรายหรือเปล่า

ลูกถ่ายวันละ 3-4 ครั้งปกติไหม ลูกถ่ายกะปริบกะปรอย อันตรายหรือเปล่า

ลูกถ่ายวันละ 3-4 ครั้งปกติไหม หากลูกถ่ายกะปริบกะปรอยบ่อย ๆ ทุกวัน อันตรายกับลูกน้อยหรือเปล่า อาการถ่ายบ่อยของลูกแบบไหนที่คุณแม่ควรรีบพาไปพบแพทย์

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก