เจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ ปวดแผลผ่าคลอดหลังผ่าตัดคลอด อันตรายไหม

เจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ ปวดแผลผ่าคลอดหลังผ่าตัดคลอด อันตรายไหม

21.08.2024

หลังผ่าคลอด คุณแม่หลายคนอาจมีคำถามเกี่ยวกับวิธีรับมือกับอาการเจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ หลังคลอดกันอยู่แน่ ๆ อาการแบบนี้อันตรายไหม เป็นปกติของคุณแม่หลังผ่าตัดคลอดหรือเปล่า วันนี้เราจะมาคลายข้อสงสัยของคุณแม่หลังผ่าคลอด รวมถึงเคล็ดลับดี ๆ ในการดูแลตัวเองหลังผ่าคลอดมาฝากกัน

headphones

PLAYING: เจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ ปวดแผลผ่าคลอดหลังผ่าตัดคลอด อันตรายไหม

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • อาการเจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ เป็นอาการปวดแผลผ่าคลอดที่พบได้ปกติของคุณแม่ที่ผ่านการผ่าคลอด โดยจะมีอาการมากขึ้นเมื่อคุณแม่มีการเคลื่อนไหวขยับตัว รวมถึงการไอ และการหัวเราะด้วย
  • อาการปวดแผลผ่าคลอดของแม่ผ่าคลอดจะค่อย ๆ ดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ หรืออาจนานกว่านั้นหลายเดือนกว่าอาการปวดแผลผ่าคลอดจะหายสนิท
  • วิธีลดอาการปวดแผลผ่าคลอดสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น ไม่ยกของหนัก ใช้น้ำแข็งประคบแผล ใช้ผ้ารัดหน้าท้อง พักผ่อนมาก ๆ และการลุกนั่งอย่างช้า ๆ เป็นต้น

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

เจ็บแผลผ่าคลอดจี๊ด ๆ ปวดแผลผ่าคลอด เกิดจากอะไร

การผ่าคลอด เป็นวิธีการทำคลอดที่คุณหมอใช้วิธีการกรีดช่องท้องผ่านผนังมดลูกของคุณแม่แล้วใช้ไหมเย็บปิดแผลผ่าคลอด ทำให้คุณแม่หลังผ่าคลอดอาจรู้สึกเจ็บแผลผ่าคลอดจี๊ด ๆ เจ็บแปลบ ๆ เป็นครั้งคราวและอาจจะปวดแผลผ่าคลอดมากขึ้นเมื่อคุณแม่ขยับตัวไปมา ไอ จาม และหัวเราะ รวมถึงอาจเกิดจากการที่มดลูกของคุณแม่กำลังหดตัวโดยคุณแม่อาจรู้สึกเจ็บปวดมากขึ้นในขณะที่กำลังให้นมลูกน้อย นอกจากนี้ อาการท้องผูกและท้องอืดก็อาจทำให้เกิดอาการปวดบริเวณแผลได้เช่นกัน หากคุณแม่รู้สึกเจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ บ่อย ๆ ควรพักผ่อนให้มาก ๆ ทานอาหารที่มีประโยชน์ และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการปวดแผลผ่าคลอดมากขึ้น

 

อาการปวดแผลผ่าคลอด อันตรายไหม

 

อาการปวดแผลผ่าคลอด อันตรายไหม

หลังผ่าคลอด คุณแม่มักจะมีอาการปวดแผลผ่าคลอดซึ่งเป็นอาการปกติที่พบได้ทั่วไป ส่วนใหญ่แล้วคุณแม่จะยิ่งรู้สึกเจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ มากขึ้นเมื่อมีอาการไอ ขยับตัวไม่ว่าจะนั่งหรือนอน และหัวเราะ ในกรณีที่คุณแม่มีอาการปวดแผลผ่าคลอดเรื้อรังอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คนท้องปวดหลัง ปวดอุ้งเชิงกราน หรือแม้แต่อาการตึงและชา ให้รีบเข้าพบแพทย์ทันที

 

อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรคอยสังเกตอาการของตัวเองว่ามีอาการผิดปกติอย่างอื่นด้วยหรือไม่ เพราะอาจเป็นเป็นสัญญาณของแผลผ่าคลอดติดเชื้อ โดยมีลักษณะอาการดังต่อไปนี้ ควรเข้าพบแพทย์ทันที

  • แผลผ่าคลอดบวมแดง
  • มีไข้
  • เจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ มากขึ้น
  • มีเลือดซึมออกจากแผลผ่าคลอด

 

ปวดแผลผ่าคลอด ใช้เวลากี่วันถึงหายดี

แผลผ่าคลอดจะใช้เวลาในการสมานแผลนานกว่าแผลฝีเย็บ อาการปวดแผลผ่าคลอดของคุณแม่ผ่าคลอดอาจใช้เวลานานราว 2-3 สัปดาห์กว่าจะหาย และใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์กว่าที่แผลจะหายสนิท แต่สำหรับคุณแม่ที่คลอดธรรมชาติแผลฝีเย็บจะหายหลังจากคลอดได้ 7 วัน และอาจมีความรู้สึกเจ็บปวดแผลคลอดประมาณ 2 สัปดาห์ คุณแม่บางคนอาจจะยังรู้สึกเจ็บแผลผ่าคลอดแปลบ ๆ นาน ๆ ครั้งแบบนี้ไปอีกหลายเดือนจนกว่าจะหายปกติ แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลมากจนเกินไปนะคะ เพราะอาการเจ็บแผลผ่าคลอดจี๊ดแบบนี้จะค่อย ๆ ดีขึ้น

 

วิธีบรรเทาอาการปวดแผลผ่าคลอดของคุณแม่

1. ไม่ยกของหนัก

หลังผ่าคลอดคุณแม่ไม่ควรยกของหนัก หรือหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการเกร็งที่บริเวณกล้ามเนื้อหน้าท้อง เพราะอาจทำให้คุณแม่รู้สึกปวดแผลผ่าคลอดมากขึ้น และเสี่ยงต่อการเกิดแผลอักเสบจนทำให้แผลหายช้าขึ้นไปอีก

 

2. ประคบด้วยน้ำแข็ง

การประคบด้วยน้ำแข็งหรือเจลเย็นเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการปวดแผลผ่าคลอดของคุณแม่ได้ เพราะความเย็นจะช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดการไหลเวียนเลือด ลดการส่งสัญญาณประสาทให้ช้าลง จึงช่วยลดอาการเจ็บปวดแผลผ่าคลอดลงได้

 

3. รักษาความสะอาดของแผลผ่าคลอด

การรักษาความสะอาดแผลผ่าคลอดอย่างเหมาะสม จะช่วยลดโอกาสไม่ให้แผลผ่าคลอดของคุณแม่ไม่เกิดการอักเสบ บวมแดง หรือปวดแผล โดยวิธีดูแลแผลผ่าคลอดอย่างถูกวิธีคุณแม่สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการไม่แกะแผล หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำ หากแผลโดนน้ำคุณแม่ควรซับแผลเบา ๆ จนแห้งสนิทค่ะ

 

4. ตะแคงตัวเมื่อต้องการลุกจากเตียง

ช่วงที่คุณแม่รู้สึกเจ็บปวดแผลผ่าคลอดและต้องการลุกนั่งหรือลุกจากเตียงนอนหลังผ่าคลอด คุณแม่สามารถทำได้โดยการพลิกตะแคงตัวไปข้างใดข้างหนึ่ง จากนั้นใช้แขนช่วยดันตัวขึ้นเพื่อลดความตึงบริเวณแผลผ่าคลอดที่หน้าท้อง ทำให้อาการปวดแผลผ่าคลอดลดน้อยลง แล้วค่อย ๆ ลุกขึ้นจากเตียงอย่างช้า ๆ ค่ะ

 

5. ใช้ผ้ารัดท้องหลังคลอด

หากคุณแม่รู้สึกปวดแผลผ่าคลอดมาก สามารถบรรเทาอาการปวดแผลผ่าคลอดได้ด้วยการใช้ผ้ารัดหน้าท้อง เพราะในระหว่างที่คุณแม่รัดผ้า ตัวผ้าจะช่วยพยุงหน้าท้องไม่ให้แผลผ่าคลอดถูกดึงรั้งจากหน้าท้องที่หย่อนคล้อยนั่นเองค่ะ

 

6. ค่อย ๆ ลุกนั่งอย่างช้า ๆ

การลุกขึ้นที่รวดเร็วอาจทำให้คุณแม่รู้สึกปวดตึงที่แผลผ่าคลอดมากขึ้น วิธีลดอาการปวดแผลผ่าคลอดได้ คือ การที่คุณแม่ลุกขึ้นยืนอย่างช้า ๆ

 

7. เปลี่ยนท่าให้นมลูกน้อย

คุณแม่ที่ผ่าคลอดจำเป็นต้องให้นมลูก บางครั้งท่าการให้นมลูกอาจทำให้เกิดอาการปวดแผลผ่าคลอดมากขึ้น ดังนั้น เพื่อบรรเทาอาการปวดแผลผ่าคลอดคุณแม่ควรหาท่าสบาย ๆ ในการให้นมลูกน้อย โดยสามารถทำตามวิธีดังนี้

  • ท่าอุ้มลูกฟุตบอล (Clutch hold หรือ Football hold) นำหมอนมาหนุนเพื่อลดแรงกดทับจากน้ำหนักตัวของลูก จากนั้นให้คุณแม่อุ้มลูกน้อยในท่านอนตะแคง โดยที่แม่ใช้มือข้างใดข้างหนึ่งประคองที่คอของลูกน้อย ส่วนปลายเท้าของลูกสอดอยู่ใต้วงแขนของคุณแม่ในลักษณะเหมือนการโอบกอด แล้วจึงอุ้มลูกขึ้นมาดูดนมจากเต้าของคุณแม่
  • ท่าอุ้มนอนตะแคง (Side lying position) เริ่มจากให้คุณแม่จัดลูกในท่านอนตะแคงหันหน้าเข้าหาคุณแม่ ส่วนคุณแม่ก็นอนตะแคงเข้าหาลูก หนุนศีรษะให้สูงกว่าลูกเล็กน้อย โดยที่ปากของลูกต้องอยู่ในระดับเดียวกับเต้านมคุณแม่ ในระหว่างให้นม คุณแม่สามารถใช้หมอนหนุนหลังลูกน้อยเพื่อไม่ให้ลูกน้อยพลิกตัวไปมาได้

 

8. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์

คุณแม่ที่ผ่าคลอดควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าแผลผ่าคลอดจะแห้งสนิท เพื่อเป็นการลดอาการเจ็บปวดหลังผ่าคลอดของแม่ผ่าคลอด

 

9. พักผ่อนให้มาก ๆ

การพักผ่อนเป็นวิธีลดอาการปวดแผลผ่าคลอดได้ดีที่สุด เพราะคุณแม่ไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกายขณะหลับพักผ่อนจะไม่ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนที่กระทบถึงแผลผ่าคลอดนั่นเอง

 

อาการปวดแผลผ่าคลอดของคุณแม่เป็นสิ่งที่คุณแม่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่คุณแม่สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการดูแลทำความสะอาดแผลผ่าคลอดเป็นประจำ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการอักเสบของแผลผ่าคลอด ไม่ยกของหนัก ประคบเย็น เปลี่ยนท่าให้นมลูกให้เหมาะสม ใช้ผ้ารัดหน้าท้อง การลุกขึ้นนั่งหรือยืนช้า ๆ และหลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดและอาหารมันจนกว่าแผลจะหายดีจะช่วยป้องกันแก๊สและอาการท้องอืดได้ อาการเจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ ของคุณแม่ก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นจนหายสนิทในที่สุด

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด

 


อ้างอิง:

  1. What to Expect With a C-Section Scar, Webmd
  2. Postpartum Pain Management, Mass General Brigham Newton-Wellesley Hospital
  3. การดูแลหลังคลอด แบบผ่าตัดทางหน้าท้อง, โรงพยาบาลสมิติเวช
  4. Caring for Yourself after Birth, BC Women's Hospital + Health Centre
  5. Postpartum Symptoms and Solutions, what to expect
  6. การดูแลตัวเองหลังคลอดที่คุณแม่ต้องรู้, โรงพยาบาลเปาโล
  7. คำถามยอดฮิตที่คุณแม่ผ่าคลอดอยากรู้, โรงพยาบาลศิครินทร์
  8. บทความวิชาการ การจัดการความปวดหลังผ่าตัดคลอดบุตร, วารสารศูนย์อนามัยที่ 9
  9. C-Section Recovery, Webmd
  10. Cesarean Section: Postpartum Incision Care, Apollo Cradle & Children’s Hospital
  11. caesarean section, Australasian Birth Trauma Association

อ้างอิง ณ วันที่ 5 กรกฎาคม 2567

บทความแนะนำ

คุณแม่หลังคลอดมีไข้หนาวสั่น พร้อมวิธีดูแลตัวเองเมื่อมีไข้หลังคลอด

คุณแม่หลังคลอดมีไข้หนาวสั่น พร้อมวิธีดูแลตัวเองเมื่อมีไข้หลังคลอด

คุณแม่หลังคลอดมีไข้หนาวสั่น อาการแบบนี้ปกติหรือไม่ ไข้หลังคลอดของคุณแม่ เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง คุณแม่หลังคลอดมีไข้หนาวสั่น ควรดูแลร่างกายตัวเองอย่างไร

เด็กขาโก่ง จำเป็นต้องดัดขาลูกไหม ลูกขาโก่งดูยังไง

เด็กขาโก่ง จำเป็นต้องดัดขาลูกไหม ลูกขาโก่งดูยังไง

เด็กขาโก่ง เกิดจากอะไร ภาวะขาโก่งในเด็ก อันตรายไหม ลูกน้อยขาโก่ง คุณแม่ต้องดัดขาลูกทุกวันหรือเปล่า ลูกขาโก่งดูยังไง ไปดูวิธีสังเกตเด็กขาโก่งและวิธีแก้ไขกัน

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน แผลสมานไม่สนิท เกิดจากอะไร

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน แผลสมานไม่สนิท เกิดจากอะไร

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณแม่แผลเย็บหลังคลอดไม่ติด แผลจะอักเสบไหม อันตรายกับคุณแม่หลังคลอดหรือเปล่า พร้อมวิธีดูแลแผลฝีเย็บไม่ติดกัน

Overfeeding คืออะไร ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป อันตรายแค่ไหน

Overfeeding คืออะไร ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป อันตรายแค่ไหน

Overfeeding คืออะไร คุณแม่ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป จะเป็นอันตรายกับลูกน้อยไหม ลูกน้อยจะมีอาการอย่างไร เมื่อให้นมลูกเยอะเกิน พร้อมวิธีให้นมลูกน้อยที่ถูกต้อง

ประจำเดือนหลังคลอดจะเริ่มมาเมื่อไหร่ ประจำเดือนหลังคลอดมากี่วัน

ประจำเดือนหลังคลอดจะเริ่มมาเมื่อไหร่ ประจำเดือนหลังคลอดมากี่วัน

ประจำเดือนหลังคลอดจะกลับมาตอนไหน ประจําเดือนหลังคลอดมากี่วัน แบบไหนเรียกผิดปกติ คุณแม่หลังคลอดดูแลตัวเองยังไงให้ร่างกายกลับมาปกติเร็วที่สุด

แม่หลังคลอดกินผลไม้อะไรได้บ้าง ผลไม้ชนิดไหนช่วยฟื้นฟูร่างกาย ดีต่อสุขภาพ

แม่หลังคลอดกินผลไม้อะไรได้บ้าง ผลไม้ชนิดไหนช่วยฟื้นฟูร่างกาย

แม่หลังคลอดกินผลไม้อะไรได้บ้าง ผลไม้ชนิดไหนช่วยให้ร่างกายของคุณแม่แข็งแรงและกระตุ้นน้ำนมให้ไหลดี มีคุณภาพ ช่วยให้สารอาหารส่งถึงลูกโดยตรง ไปดูกัน

ไขบนหัวทารก เกิดจากอะไร คุณแม่ดูแลไขที่หัวทารกได้อย่างไรบ้าง

ไขบนหัวทารก เกิดจากอะไร คุณแม่ดูแลไขที่หัวทารกได้อย่างไรบ้าง

ไขบนหัวทารก เกิดจากสาเหตุอะไร ไขที่หัวทารกอันตรายไหมกับลูกน้อยไหม ไขที่หัวทารกกี่วันถึงหายไป ต้องพาลูกน้อยไปพบแพทย์ไหม พร้อมวิธีดูแลและทำความสะอาดไขบนหัวลูก

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก