ลูกหัวโน หัวปูด อันตรายแค่ไหน พร้อมวิธีรับมือ  เบื้องต้นเมื่อลูกหัวโน

ลูกหัวโน หัวปูด อันตรายไหม ลูกหัวโนกี่วันหาย พร้อมวิธีดูแล

07.09.2024

เด็กวัยคลาน วัยกำลังซน หรือลูกวัยอนุบาล บางครั้งเล่นสนุกอาจมีพลาดล้มจนศีรษะไปกระแทกพื้น ชนโต๊ะ หรือสิ่งของที่อยู่ข้าง ๆ จนทำให้ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ ทำให้มีอาการปูด หัวโน (Minor Head Injury หรือ Bump on Head) ออกมา ซึ่งอาการหัวโนที่ศีรษะเกิดจากแรงกระแทกที่ไม่รุนแรงมาก และมีอาการบาดเจ็บเป็นระยะเวลาเพียงสั้น ๆ เท่านั้น

headphones

PLAYING: ลูกหัวโน หัวปูด อันตรายไหม ลูกหัวโนกี่วันหาย พร้อมวิธีดูแล

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • อาการหัวโน (Minor Head Injury หรือ Bump on Head) เกิดจากการที่ศีรษะได้รับบาดเจ็บหรือเกิดอุบัติเหตุถูกกระแทกที่ไม่รุนแรงมาก
  • อาการหัวโน หากเป็นการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยไม่ได้รุนแรง จะดีขึ้นจนหายเป็นปกติใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน
  • อาการหัวโน ให้ประคบเย็น ด้วยการใช้ถุงเย็น หรือใช้เป็นน้ำแข็งห่อใส่ผ้า แล้วนำมาประคบที่ศีรษะตรงบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บประมาณ 15 นาที

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

อุบัติเหตุที่พบบ่อยที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับเด็กก็คือการล้มหัวกระแทกพื้น ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการหัวโน หรือหัวปูด ซึ่งสร้างความกังวลให้กับคุณพ่อคุณแม่เป็นอย่างมาก ส่วนใหญ่อาการหัวโนมักไม่รุนแรง แต่ยังมีบางกรณีที่อาจบ่งบอกถึงอันตรายร้ายแรง คุณพ่อคุณแม่จึงควรสังเกตอาการของลูกอย่างใกล้ชิด บทความนี้จะมาไขข้อสงสัยว่าอาการหัวโน หัวปูด ลูกมีอาการแบบไหนอันตราย และควรทำอย่างไรเมื่อลูกน้อยเกิดการกระแทกขึ้นที่ศีรษะจนหัวโน

 

ลูกหัวโน ควรยุบได้เองภายในกี่วัน

ศีรษะของเด็ก ๆ ที่ถูกกระแทกจนได้รับบาดเจ็บ แล้วมีอาการหัวโน หัวปูดออกมา หากเป็นการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยไม่ได้รุนแรง อาการหัวโนจะดีขึ้นจนหายเป็นปกติ ใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน แต่ทั้งนี้หากอาการบาดเจ็บที่ศีรษะจากการถูกกระแทก จนสมองกระทบกระเทือน (Concussion Syndrome) ทำให้การทำงานผิดปกติ ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อรับการประเมิน โดยอาการนี้อาจจะเป็นเพียงแค่ชั่วคราวและสามารถหายเป็นปกติ ใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์ ซึ่งหากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกมีอาการที่นานกว่า 6 สัปดาห์ ควรพาไปพบแพทย์อีกครั้ง

 

เช็กลิสต์อุปกรณ์ปฐมพยาบาลที่ต้องมีติดบ้าน

อุบัติเหตุเกิดขึ้นกับลูกได้ตลอดเวลา ดังนั้นเพื่อการดูแลรักษาอาการบาดเจ็บให้กับลูก ๆ ได้อย่างทันท่วงที และปลอดภัย คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ปฐมพยาบาลพื้นฐานเบื้องต้นเหล่านี้ไว้ใช้ที่บ้าน

1. อุปกรณ์ปฐมพยาบาลพื้นฐาน

  1. แผ่นปิดตา
  2. สำลี น้ำเกลือล้างแผล และ เบตาดีน
  3. ผ้าปิดแผล ผ้าพันแผล ผ้าก๊อซ เข็มกลัด และ พลาสเตอร์

 

2. อุปกรณ์ปฐมพยาบาลเพิ่มเติม

  • กรรไกร ปากคีบ
  • หน้ากากอนามัย ไฟฉาย และนกหวีด
  • ถุงมือแบบใช้ครั้งเดียว และ ถุงทิ้งขยะ
  • แผ่นทำความสะอาดแผล และ ขวดน้ำ

 

วิธีปฐมพยาบาลเมื่อลูกหกล้ม หัวฟาดพื้น หัวโน

 

วิธีปฐมพยาบาลเมื่อลูกหกล้ม หัวฟาดพื้น หัวโน

เมื่อลูกหกล้ม หัวฟาดพื้น มีอาการหัวโนเล็กน้อย และไม่ได้มีอาการผิดปกติอื่นใด คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้ลูกได้ ดังนี้

  1. ตั้งสติเป็นอันดับแรก หากลูกเกิดอุบัติเหตุหกล้ม คุณพ่อคุณแม่ต้องตั้งสติให้ดี อย่าตกใจ
  2. ค่อย ๆ พยุงตัวลูกให้ลุกนั่งช้า ๆ อย่างเบามือ
  3. สังเกตบาดแผลให้ทั่ว เพื่อดูว่าผิวหนังมีบาดแผลฉีกขาด และมีเลือดออกด้วยหรือไม่
  4. ประคบเย็น ใช้ถุงเย็น หรือใช้เป็นน้ำแข็งห่อใส่ผ้า แล้วนำมาประคบที่ศีรษะของลูกประมาณ 15 นาที
  5. สังเกตอาการ 24 ชั่วโมง คุณพ่อคุณแม่สังเกตอาการลูกหลังจากล้มหัวกระแทกพื้น นอกจากหัวโน หัวปูดออกมาแล้วนั้น หากพบอาการผิดปกติ เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ กระตุก หรือมีการเกร็ง เป็นต้น ให้รีบพาส่งโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ทันที

 

ลูกหัวโน ต้องให้กินยาแก้ปวดหรือไม่

หลังจากปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้ลูกแล้ว หากภายใน 24 ชั่วโมง ลูกยังมีอาการเจ็บที่ศีรษะมาก แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่พาลูกไปโรงพยาบาลเพื่อให้คุณหมอประเมินอาการ และขอคำแนะนำในการรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการปวดที่ถูกต้อง และในปริมาณเหมาะสมกับช่วงอายุของลูก ไม่ควรซื้อยาให้ลูกทานเอง

 

ลูกหัวโนและมีไข้ร่วมด้วย ผิดปกติไหม

ในกรณีที่ศีรษะกระแทกและเกิดการบาดเจ็บ หัวโน หัวปูดเพียงเล็กน้อย คุณพ่อคุณแม่สามารถพาลูกไปโรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์ได้ตรวจดูอาการ และให้การรักษาเบื้องต้น เมื่อแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ ยังต้องสังเกตอาการที่บ้านต่อเนื่องอีกอย่างน้อย 72 ชั่วโมง เนื่องจากอาการบาดเจ็บที่มีผลต่อสมองอาจไม่ได้เกิดขึ้นทันที ซึ่งหากพบว่าภายใน 72 ชั่วโมง หรือหลังจากนี้ ลูกมีไข้สูง และปวดในลูกตา หรืออาเจียนมาก เป็นต้น เป็นอาการผิดปกติควรรีบพาลูกกลับไปพบแพทย์ทันที

 

ลูกหัวโนและมีอาการร่วมแบบไหน ต้องไปพบแพทย์

การได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะจากการถูกกระแทก ให้คุณพ่อคุณแม่สังเกตอาการเหล่านี้ที่อาจเกิดขึ้นได้ใน 72 ชั่วโมง ซึ่งหากพบว่าลูกมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบพาลูกไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ทันที

  1. ชักเกร็ง
  2. หมดสติ
  3. ซึมผิดปกติ
  4. ปวดหัวรุนแรง
  5. ลูกอาเจียน
  6. พูดไม่รู้เรื่อง และไม่เข้าใจว่าคนรอบข้างสื่อสารว่าอะไร
  7. หายใจลำบาก ชีพจรเต้นช้า
  8. มีเลือดออกทางจมูก หรือหู

 

การที่ลูกหัวโน หัวปูด มักเกิดจากการกระแทกหรือได้รับการกระทบกระเทือนที่ศีรษะ อาการนี้อาจไม่ร้ายแรง แต่ก็ควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดภายใน 72 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามหากพบอาการผิดปกติ เช่น อาเจียน ซึม ปวดศีรษะรุนแรงหรือ ตัวร้อนมีไข้  ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ทันที เพื่อเป็นการป้องกันลูก ๆ จากการได้รับบาดเจ็บ คุณพ่อคุณแม่ และผู้ปกครองควรดูแลเด็กเล็กอย่างใกล้ชิด เก็บสิ่งของที่อาจเป็นอันตรายให้พ้นมือเด็ก และจัดบ้านให้ปลอดภัยเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 

 

อ้างอิง:

  1. ความหมายหัวโน, POBPAD
  2. ลูกหัวโน เด็กศีรษะกระแทก อย่าชะล่าใจ วิธีสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด, โรงพยาบาลสมิติเวช
  3. First Aid Kit อุปกรณ์ปฐมพยาบาลที่พ่อแม่ต้องมีไว้, โรงพยาบาลสมิติเวช
  4. First Aid Kit ชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ควรมี, โรงพยาบาลบางปะกอก 9
  5. ลูกล้มหัวกระแทกพื้นบ่อยๆ อันตรายแค่ไหน ควรหาหมอหรือไม่, โรงพยาบาลสินแพทย์
  6. เฝ้าระวังหลังศีรษะกระแทก 72 ชั่วโมง, โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์

อ้างอิง ณ วันที่ 22 กรกฎาคม 2567
 

บทความแนะนำ

เด็กทารกนอนอ้าปาก ลูกนอนหายใจทางปาก อันตรายไหม

เด็กทารกนอนอ้าปาก ลูกนอนหายใจทางปาก อันตรายไหม

เด็กทารกนอนอ้าปากปกติไหม ลูกนอนหายใจทางปาก เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง คุณแม่ควรสังเกตอาการลูกน้อยอย่างไร เมื่อเด็กทารกนอนอ้าปากบ่อย พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

ลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว คุณแม่ดูแลลูกลิ้นขาวอย่างไรให้ถูกวิธี

ลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว คุณแม่ดูแลลูกลิ้นขาวอย่างไรให้ถูกวิธี

ลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว เกิดจากอะไร ลูกลิ้นขาวผิดปกติไหม อาการลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว คือเชื้อราในปากเด็กหรือเปล่า พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย เมื่อลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว

เด็กกัดเล็บตัวเองปกติไหม เสี่ยงติดเชื้อหรือเปล่า

เด็กกัดเล็บตัวเองปกติไหม เสี่ยงติดเชื้อหรือเปล่า

เด็กกัดเล็บตัวเอง เกิดจากอะไร ลูกน้อยกัดเล็บตัวเองบ่อย จะเสี่ยงติดเชื้อในปากหรือเปล่า คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร เมื่อรู้ว่าเด็กชอบกัดเล็บตัวเอง

สิวทารกแรกเกิด เป็นแบบไหน พร้อมวิธีดูแลทารกเป็นสิวที่หน้า

สิวทารกแรกเกิด เป็นแบบไหน พร้อมวิธีดูแลทารกเป็นสิวที่หน้า

สิวทารกเป็นยังไง เกิดจากอะไร สิวทารกแรกเกิดอันตรายไหม จะหายเองได้หรือเปล่า หรือว่าต้องทายาอะไรให้หายเร็ว คุณแม่ต้องดูแลลูกน้อยอย่างไร มีอะไรต้องระวังเป็นพิเศษไหม

ทารกจามบ่อยผิดปกติไหม ลูกจามบ่อย เป็นภูมิแพ้หรือเปล่า

ทารกจามบ่อยผิดปกติไหม ลูกจามบ่อย เป็นภูมิแพ้หรือเปล่า

เด็กทารกจามบ่อย เกิดจากอะไร ลูกจามบ่อยปกติไหม อาการแบบนี้ คือสัญญาณของภูมิแพ้ในเด็กหรือเปล่า คุณแม่ควรสังเกตอาการลูกน้อยอย่างไร เมื่อทารกจามบ่อยขึ้น

วิธีฝึกลูกนอนยาว ฝึกลูกนอนเอง ช่วยให้หลับสบายตลอดคืน

วิธีฝึกลูกนอนยาว ฝึกลูกนอนเอง ช่วยให้หลับสบายตลอดคืน

รวมวิธีฝึกลูกนอนยาว สอนลูกน้อยให้นอนหลับเองได้ ช่วยให้ลูกหลับสนิทตลอดคืน พร้อมเสริมพัฒนาการทางร่างกายและสมอง ช่วยเพิ่มเวลาพักผ่อนให้คุณพ่อคุณแม่

ขี้เทาทารก คืออะไร ภาวะอุจจาระแรกของทารก ที่พ่อแม่ควรรู้

ขี้เทาทารก คืออะไร ภาวะอุจจาระแรกของทารก ที่พ่อแม่ควรรู้

ขี้เทาทารก คืออะไร อุจจาระแรกของทารกหลังคลอดสำคัญไหม หากลูกกินขี้เทาทารกเข้าไปจะเป็นอันตรายกับลูกหรือเปล่า พร้อมวิธีสังเกตขี้เทาทารก ที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก